วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

#สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ# ๒๖๗. ทานํ อตฺถจริยา ปิย-, วาจา อตฺตสมํปิ จ; สงฺคหา จตุโร อิเม, มุนินฺเทน ปกาสิตา ฯ @ ธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์ ๔ ประการ เหล่านี้ คือ การแบ่งปัน ๑ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑ การเจรจาน่ารัก ๑ และ ความไม่ถือตัว ๑ อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นจอมแห่งมุนีได้ตรัสไว้แล้ว. (#ธัมมนีติ ๒๖๗, #กวิทัปปณนีติ ๒๕๒, #นรทักขทีปนี ๑๔๑) __________________________ อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้ @ การเผื่อแผ่ ๑ ประพฤติประโยชน์ ๑ วาจาน่ารัก ๑ ความมีตนเสมอไม่ถือตัว ๑ ธรรม ๔ เหล่านี้แล เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว(โลกไว้) อันพระจอมปราชญ์ ประกาศแล้ว ฯ _________________________ ศัพท์น่ารู้ : #ทานํ (การให้ปัน) ทาน+สิ นป. #อตฺถจริยา (การประพฤติประโยชน์) อตฺถ+จริยา > อตฺถจริยา+สิ อิต. #ปิยวาจา (เจรจาวาจาเป็นอ่อนหวาน, พูดคำที่ไพเราะ, วาจาเป็นที่รัก, -น่ารัก) ปิย+วาจา > ปิยวาจา+สิ อิต. #อตฺตสมํปิ ตัดบทเป็น อตฺตสมํ+อปิ (แม้ความเป็นผู้มีตนเสมอ, -เสมอแห่งตน?) อตฺต+สม > อตฺตสม+สิ นป. #สงฺคหา (การสงเคราะห์ ธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์ ท.) สงฺคห+โย #จตุโร (สี่) จตุ+โย สังขยาสัพพนาม #อิเม (เหล่านี้) อิม+โย สัพพนาม #มุนินฺเทน (อันพระผู้เป็นจอมแห่งพระมุนี, อันพระพุทธเจ้า) มุนิ+อินฺท > มุนินฺท+นา #ปกาสิตา: (ประกาศแล้ว, กล่าวแล้ว, ตรัสไว้แล้ว) ป+√กาส+อิ+ต > ปกาสิต+โย คาถานี้เข้าใจว่า เป็นคาถาที่ท่านโบราณาจารย์แต่งขึ้น เป็นบทขัด สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ ก็อาจเป็นได้ เพราะมีคำว่า มุนินฺเทน ปกาสิตา ซึ่งแปลว่า อันพระจอมมุนีได้ตรัสไว้แล้ว. ส่วนสังหควัตถุธรรม ที่มาในพระบาฬี องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๒, และ ขุ. ชา. ๒๘/๑๖๒ มีข้อความ ดังนี้. #ทานญฺจ เปยฺยวชฺชญฺจ, อตฺถจริยา จ ยา อิธ; สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ, ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ; เอเต โข สงฺคหา โลเก, รถสฺสาณีว ยายโตฯ @ การให้ ๑ ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑ ความประพฤติประโยชน์ในโลกนี้ ๑ ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ตามสมควร ๑ ธรรมเหล่านั้นแล เป็นเครื่องสงเคราะห์โลก ประดุจสลักเพลาควบคุมรถที่แล่นไปอยู่ไว้ได้ ฉะนั้น. และทรงตรัสบอกถึงโทษและอานิสงส์แก่ผู้ประพฤติตามสังคหวัตถุธรรมทั้ง ๔ ประการไว้ว่า #เอเต จ สงฺคหา นาสฺสุ, น มาตา ปุตฺตการณา; ลเภถ มานํ ปูชํ วา, ปิตา วา ปุตฺตการณา ฯ #ยสฺมา จ สงฺคหา เอเต, สมเวกฺขนฺติ ปณฺฑิตา; ตสฺมา มหตฺตํ ปปฺโปนฺติ, ปาสํสา จ ภวนฺติ เต ฯ @ ถ้าธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ ไม่พึงมีไซร์ มารดาหรือบิดาไม่พึงได้ความนับถือหรือบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร. ก็เพราะเหตุที่ บัณฑิตพิจารณาเห็นธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ ฉะนั้น พวกเขาจึงถึงความเป็นใหญ่ และเป็นที่นาสรรเสริญ. _____________________ CR: ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต FB

#สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ#
๒๖๗.
ทานํ อตฺถจริยา ปิย-, วาจา อตฺตสมํปิ จ;
สงฺคหา จตุโร อิเม, มุนินฺเทน ปกาสิตา ฯ

@ ธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์ ๔ ประการ เหล่านี้ คือ
การแบ่งปัน ๑ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑
การเจรจาน่ารัก ๑ และ ความไม่ถือตัว ๑
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นจอมแห่งมุนีได้ตรัสไว้แล้ว.

(#ธัมมนีติ ๒๖๗, #กวิทัปปณนีติ ๒๕๒, #นรทักขทีปนี ๑๔๑)

__________________________

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

@ การเผื่อแผ่ ๑ ประพฤติประโยชน์ ๑ วาจาน่ารัก ๑
ความมีตนเสมอไม่ถือตัว ๑ ธรรม ๔ เหล่านี้แล
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว(โลกไว้) อันพระจอมปราชญ์
ประกาศแล้ว ฯ

_________________________

ศัพท์น่ารู้ :

#ทานํ (การให้ปัน) ทาน+สิ นป.
#อตฺถจริยา (การประพฤติประโยชน์) อตฺถ+จริยา > อตฺถจริยา+สิ อิต.

#ปิยวาจา (เจรจาวาจาเป็นอ่อนหวาน, พูดคำที่ไพเราะ, วาจาเป็นที่รัก, -น่ารัก) ปิย+วาจา > ปิยวาจา+สิ  อิต.
#อตฺตสมํปิ ตัดบทเป็น อตฺตสมํ+อปิ (แม้ความเป็นผู้มีตนเสมอ, -เสมอแห่งตน?) อตฺต+สม > อตฺตสม+สิ นป.
#สงฺคหา (การสงเคราะห์ ธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์ ท.) สงฺคห+โย
#จตุโร (สี่) จตุ+โย  สังขยาสัพพนาม
#อิเม (เหล่านี้) อิม+โย สัพพนาม
#มุนินฺเทน (อันพระผู้เป็นจอมแห่งพระมุนี, อันพระพุทธเจ้า) มุนิ+อินฺท > มุนินฺท+นา
#ปกาสิตา: (ประกาศแล้ว, กล่าวแล้ว, ตรัสไว้แล้ว) ป+√กาส+อิ+ต > ปกาสิต+โย

คาถานี้เข้าใจว่า เป็นคาถาที่ท่านโบราณาจารย์แต่งขึ้น เป็นบทขัด สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ ก็อาจเป็นได้ เพราะมีคำว่า มุนินฺเทน ปกาสิตา ซึ่งแปลว่า อันพระจอมมุนีได้ตรัสไว้แล้ว.

ส่วนสังหควัตถุธรรม ที่มาในพระบาฬี องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๒, และ ขุ. ชา. ๒๘/๑๖๒ มีข้อความ ดังนี้.

#ทานญฺจ เปยฺยวชฺชญฺจ,  อตฺถจริยา จ ยา อิธ;
สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ,  ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ;
เอเต โข สงฺคหา โลเก,  รถสฺสาณีว ยายโตฯ

@ การให้ ๑ ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑
ความประพฤติประโยชน์ในโลกนี้ ๑
ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ตามสมควร ๑
ธรรมเหล่านั้นแล เป็นเครื่องสงเคราะห์โลก
ประดุจสลักเพลาควบคุมรถที่แล่นไปอยู่ไว้ได้ ฉะนั้น.

และทรงตรัสบอกถึงโทษและอานิสงส์แก่ผู้ประพฤติตามสังคหวัตถุธรรมทั้ง ๔ ประการไว้ว่า

#เอเต จ สงฺคหา นาสฺสุ, น มาตา ปุตฺตการณา;
ลเภถ มานํ ปูชํ วา, ปิตา วา ปุตฺตการณา ฯ

#ยสฺมา จ สงฺคหา เอเต, สมเวกฺขนฺติ ปณฺฑิตา;
ตสฺมา มหตฺตํ ปปฺโปนฺติ, ปาสํสา จ ภวนฺติ เต ฯ

@ ถ้าธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ ไม่พึงมีไซร์
มารดาหรือบิดาไม่พึงได้ความนับถือหรือบูชา
เพราะเหตุแห่งบุตร.

ก็เพราะเหตุที่ บัณฑิตพิจารณาเห็นธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้
ฉะนั้น พวกเขาจึงถึงความเป็นใหญ่ และเป็นที่นาสรรเสริญ.

_____________________
CR: ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต FB

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น