วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เจมส์ อาร์รูด้า เฮนรี่ : นักเขียนชายชราผู้เคยอ่านหนังสือไม่ออก ชายผู้นี้พิสูจน์แล้วว่า “ไม่มีคำว่าสายเกินไป” เขาผ่านชีวิตมานานกว่า 90 ปีโดยไม่รู้หนังสือ แต่สุดท้ายเขากลายเป็นนักเขียนได้สำเร็จในวัยใกล้ร้อยปี เจมส์ อาร์รูด้า เฮนรี่ (James Arruda Henry) ชาวอเมริกันเชื้อสายโปรตุเกส เป็นกัปตันเรือจับกุ้งล็อบสเตอร์ที่ชอบช่วยเหลือชุมชน เขามีเพื่อนฝูงมากมายแต่กลับรู้สึกราวกับว่าตนเองไม่เคยมีตัวตนเพราะต้องคอยปกปิดความจริงตลอดเวลาว่า “เป็นคนไม่รู้หนังสือ” พ่อของเขาติดเหล้า ชอบทุบตี และบังคับให้ออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ตั้งแต่นั้นเจมส์ต้องทำงานหนักสารพัด เมื่อถึงวัย 20 ปีต้น ๆ เขาแต่งงานกับภรรยาซึ่งเป็นคนเดียวที่รู้ความลับนี้ เจมส์ต้องเอาตัวรอดเพื่อไม่ให้ใครรู้เวลาไปร้านอาหาร เขาต้องรอให้คนอื่นสั่งอาหารก่อนแล้วจึงสั่งตาม เมื่อถึงเวลาเช็กบิลก็จะแกล้งทำเป็นอ่านหนังสือพิมพ์ แล้วใช้วิธีถามเด็กเสิร์ฟว่ามื้อนี้ราคาเท่าไหร่ แม้สามารถเซ็นชื่อของตัวเองได้ แต่เขาก็รู้สึกทรมานใจทุกครั้งที่ต้องเซ็นชื่อลงบนเอกสารที่ตัวเองอ่านไม่ออก เขาทนกล้ำกลืนเก็บความลับนี้ไว้กับตัวมาตลอด กระทั่งอายุได้ราว 92 ปี ภรรยาของเขาล้มป่วย หลานสาวจึงอ่านหนังสือเรื่อง Life Is So Good ให้ฟัง ซึ่งเจมส์ก็ได้ฟังด้วย หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องชีวิตจริงของชายผิวดำชื่อ จอร์จ ดอว์สัน (George Dawson) ชายชราที่มีปู่เป็นทาส เริ่มเรียนเขียนอ่านตอนอายุ 98 ปี และเขียนหนังสือเล่มนี้ตอนอายุ 101 ปี เมื่อเจมส์ได้ฟังก็เกิดแรงบันดาลใจ จึงพยายามหัดอ่านหนังสือด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากการพลิกดูหนังสือภาพ พจนานุกรม และหนังสือแบบเรียนสำหรับเด็ก เขาพยายามเรียนรู้อยู่เป็นปี แต่กลับถอดใจเมื่อภรรยาเสียชีวิต กระทั่งวันหนึ่งเจมส์ประสบอุบัติเหตุหกล้มสะโพกหัก ต้องย้ายไปอยู่บ้านพักคนชราที่สอนให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ เขาตัดสินใจหัดอ่านหัดเขียนอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยมีผู้ช่วยคือ มาร์ก โฮแกน (Mark Hogan) ครูสอนภาษาอังกฤษที่เกษียณอายุแล้วมาเป็นอาสาสมัครสอนหนังสือ เจมส์ได้รับกำลังใจจากครูอาสาและลูกหลาน จนในที่สุดเขาก็อ่านเขียนได้คล่องตอนอายุ 96 ปี อีกสองปีต่อมาเขาสามารถเขียนเล่าเรื่องราวของตัวเองในหนังสือเรื่อง In a Fisherman’s Language เป็นหนังสือที่โรงเรียนประถมทั่วสหรัฐอเมริกาคัดเลือกให้มีไว้ในห้องสมุด เขากลายเป็นคนดังระดับประเทศในวัยเหยียบร้อยปี ปี 2013 เจมส์ อาร์รูด้า เฮนรี่ จากไปอย่างสงบในวัย 99 ปี กลายเป็นอีกบุคคลในตำนานที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ เข้าใจความสำคัญของการอ่านเขียน และพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน” อย่าปล่อยให้เวลาทำลายความตั้งใจ ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับผู้ที่มีความพยายาม ขอขอบคุณภาพและข้อมูล www fishermanslanguage com

เจมส์ อาร์รูด้า เฮนรี่ : นักเขียนชายชราผู้เคยอ่านหนังสือไม่ออก

ชายผู้นี้พิสูจน์แล้วว่า “ไม่มีคำว่าสายเกินไป” เขาผ่านชีวิตมานานกว่า 90 ปีโดยไม่รู้หนังสือ แต่สุดท้ายเขากลายเป็นนักเขียนได้สำเร็จในวัยใกล้ร้อยปี

เจมส์ อาร์รูด้า เฮนรี่ (James Arruda Henry) ชาวอเมริกันเชื้อสายโปรตุเกส เป็นกัปตันเรือจับกุ้งล็อบสเตอร์ที่ชอบช่วยเหลือชุมชน เขามีเพื่อนฝูงมากมายแต่กลับรู้สึกราวกับว่าตนเองไม่เคยมีตัวตนเพราะต้องคอยปกปิดความจริงตลอดเวลาว่า “เป็นคนไม่รู้หนังสือ”

พ่อของเขาติดเหล้า ชอบทุบตี และบังคับให้ออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ตั้งแต่นั้นเจมส์ต้องทำงานหนักสารพัด เมื่อถึงวัย 20 ปีต้น ๆ เขาแต่งงานกับภรรยาซึ่งเป็นคนเดียวที่รู้ความลับนี้

เจมส์ต้องเอาตัวรอดเพื่อไม่ให้ใครรู้เวลาไปร้านอาหาร เขาต้องรอให้คนอื่นสั่งอาหารก่อนแล้วจึงสั่งตาม เมื่อถึงเวลาเช็กบิลก็จะแกล้งทำเป็นอ่านหนังสือพิมพ์ แล้วใช้วิธีถามเด็กเสิร์ฟว่ามื้อนี้ราคาเท่าไหร่ แม้สามารถเซ็นชื่อของตัวเองได้ แต่เขาก็รู้สึกทรมานใจทุกครั้งที่ต้องเซ็นชื่อลงบนเอกสารที่ตัวเองอ่านไม่ออก เขาทนกล้ำกลืนเก็บความลับนี้ไว้กับตัวมาตลอด

กระทั่งอายุได้ราว 92 ปี ภรรยาของเขาล้มป่วย หลานสาวจึงอ่านหนังสือเรื่อง Life Is So Good ให้ฟัง ซึ่งเจมส์ก็ได้ฟังด้วย หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องชีวิตจริงของชายผิวดำชื่อ จอร์จ ดอว์สัน (George Dawson) ชายชราที่มีปู่เป็นทาส เริ่มเรียนเขียนอ่านตอนอายุ 98 ปี และเขียนหนังสือเล่มนี้ตอนอายุ 101 ปี

เมื่อเจมส์ได้ฟังก็เกิดแรงบันดาลใจ จึงพยายามหัดอ่านหนังสือด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากการพลิกดูหนังสือภาพ พจนานุกรม และหนังสือแบบเรียนสำหรับเด็ก เขาพยายามเรียนรู้อยู่เป็นปี แต่กลับถอดใจเมื่อภรรยาเสียชีวิต

กระทั่งวันหนึ่งเจมส์ประสบอุบัติเหตุหกล้มสะโพกหัก ต้องย้ายไปอยู่บ้านพักคนชราที่สอนให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ เขาตัดสินใจหัดอ่านหัดเขียนอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยมีผู้ช่วยคือ มาร์ก โฮแกน (Mark Hogan) ครูสอนภาษาอังกฤษที่เกษียณอายุแล้วมาเป็นอาสาสมัครสอนหนังสือ

เจมส์ได้รับกำลังใจจากครูอาสาและลูกหลาน จนในที่สุดเขาก็อ่านเขียนได้คล่องตอนอายุ 96 ปี อีกสองปีต่อมาเขาสามารถเขียนเล่าเรื่องราวของตัวเองในหนังสือเรื่อง In a Fisherman’s Language เป็นหนังสือที่โรงเรียนประถมทั่วสหรัฐอเมริกาคัดเลือกให้มีไว้ในห้องสมุด เขากลายเป็นคนดังระดับประเทศในวัยเหยียบร้อยปี

ปี 2013 เจมส์ อาร์รูด้า เฮนรี่ จากไปอย่างสงบในวัย 99 ปี กลายเป็นอีกบุคคลในตำนานที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ เข้าใจความสำคัญของการอ่านเขียน และพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน”
                อย่าปล่อยให้เวลาทำลายความตั้งใจ ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับผู้ที่มีความพยายาม

ขอขอบคุณภาพและข้อมูล

www fishermanslanguage com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น