วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับโลกยุค 4.0 ถ้าจะถามว่า 4.0 คือ เรื่องใหม่ที่มนุษยชาติเพิ่งค้นพบรึเปล่า คำตอบ คือ ไม่ใช่แน่นอนครับ ความเป็น4.0นั้น เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่เพิ่งจะมาโดดเด่นและ "จำเป็น" เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนสอดคล้องกัน ทำให้เราเข้าสู่สภาวะกลับด้าน ผู้บริโภคก้าวสู่การทำธุรกิจ (คนกลายเป็นแบรนด์) ในขณะที่ภาคธุรกิจพยายามก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผู้บริโภค (แบรนด์กลายเป็นคน) ผมได้เขียนถึงการเปลี่ยนแปลงจากการมองคุณค่าที่สอดคล้องกับ Human Spirit ในยุค 3.0 มาสู่ Your Spirit เพราะเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมด้วยความฉาบฉวยและทุกเรื่องได้ แต่จำเป็นที่จะต้องตอบสนองคุณค่าบางอย่างแบบจริงจังจนเกิดผลสัมฤทธิ์ จะทำอย่างนั้นได้ ทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์ ทั้งคน (People) ทั้งสิ่งแวดล้อม (Planet) และทั้งแบรนด์ (Brand for Profit) เองหรือ Brand Actualisation มันถึงจะยั่งยืนอย่างแท้จริง (ปล. ไม่มีใครอยากทำธุรกิจแบบชั่วคราวแล้วเจ๊งใช่มั้ยครับ) นอกจากที่ผมพยายามอย่างเต็มที่ที่จะอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ในหนังสือ BRANDing4.0 แล้ว นับเป็นความโชคดีของคนไทยทุกคน เพราะเราได้เรียนรู้เรื่องราวของความยั่งยืนมานานมากแล้ว ผ่านสิ่งที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ่อยครั้ง แต่ยังไม่ตระหนักรู้อย่างแท้จริง นั่นก็คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy : SEP) ด้วยความที่แบรนด์ของ SEP ถูกเชื่อมโยงกับภาคการเกษตรมาโดยตลอด ทำให้ SEP ไม่ถูกกล่าวถึงอย่างเป็นเรื่องราวในสังคมหรือโลกธุรกิจอย่างแท้จริง โดยหารู้ไม่ว่า SEP เนี่ยแหละ ที่ได้อธิบายเรื่องราวของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนไว้ตั้งแต่เรายังไม่รู้จัก 2.0 3.0 4.0 เลยด้วยซ้ำ โพสต์นี้ผมอยากจะยกย่อง SEP ไม่เพียงเพราะเป็นพระราชดำรัสที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพของในหลวงเท่านั้น แต่อยากจะยกย่องเพราะ SEP สามารถอธิบายกลไกและความเป็นไปทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ในทุกมิติทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ไม่เฉพาะในบริบทของไทย แต่เป็นบริบทโลก มาทำความเข้าใจ SEP กันก่อนนะครับ SEP ประกอบไปด้วย 3 ห่วงและ 2 เงื่อนไข ห่วงที่ 1 รู้จักตัวเอง นี่คือ แบรนด์ของเราเลยครับ การรู้จักตัวเอง คือ ค้นพบสิ่งที่เราทำได้ดีและมีความสุข ไม่ใช่การทำตามกระแส (เอาตลาดเป็นตัวตั้ง) ไม่ใช่การเลียนแบบคนอื่น เมื่อเรารู้จักตัวเอง เราจะรู้แค่ไหนที่เราต้องการ แค่ไหนคือพอ แล้วก็ไม่ต้องไปตามหาความแตกต่างที่ไหน เพราะตัวเรานี่แหละ คือ สิ่งเดียวในโลกที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร เมื่อรู้จักตัวเอง จะเห็นคุณค่าของตัวเอง ในทางธุรกิจนั้น การรู้จักตัวเอง คือ การที่เราเข้าใจความเป็นเรา ทั้งในมิติของความเชี่ยวชาญ ต้นทุน เป้าหมาย ทำให้เราสามารถที่จะถ่ายทอดตัวตนและจิตวิญญาณออกไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ซึ่งสำคัญมากในยุคที่การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) เป็นกลไกขับเคลื่อความสำเร็จ ห่วงที่ 2 มีเหตุผล รู้จักตัวเอง ทำอย่างที่ตัวเองต้องการ โดยไม่สนใจสังคม สภาพแวดล้อม หรือความเป็นจริง คือ การขาดเหตุผลครับ เราต้องดำเนินธุรกิจและตัดสินใจบนพื้นฐานของการมีที่มาและที่ไป สนใจว่าแบรนด์และธุรกิจของเราตอบโจทย์ลูกค้าอย่างไร เราจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างไร ในทางธุรกิจนั้น มันคือการที่เราให้ความสำคัญกับการวางแผน อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล มองความเป็นไปได้ในตลาด รู้จักลูกค้า เข้าใจในส่ิงที่ทำว่าอะไรควรลงทุนก่อน อะไรควรลงทุนหลัง อะไรไม่ควรลงทุน ซึ่งมันช่วยให้เรานำส่งสินค้าและบริการจากแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนเงื่อนไขที่จำกัด ห่วงที่ 3 มีภูมิคุ้มกัน นอกจากมีเหตุผลแล้ว การดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ต้องรู้จักสร้างภูมิคุ้มกัน ประมาณตน ไม่ทำอะไรเกินตัว ควบคุมไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้สร้างแต่ธุรกิจจนละเลยความรู้สึกและความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากสร้างลูกค้าแล้วก็สร้างคนรักไปพร้อมๆ กัน ในทางธุรกิจนั้น เรามี Model จำนวนมากไม่ว่าจะเป็น CRM การทำ Portfolio Management การทำ Financial and Investment Plan ที่จะทำให้เรารู้เท่าทันตัวเอง พร้อมรับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้น และที่สำคัญ ในยุคที่คุณค่ามาก่อนมูลค่า ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จที่สำคัญในโลกธุรกิจ นอกจาก 3 ห่วงหลักแล้ว ยังอีกสองเงื่อนไขที่เปรียบเสมือนสิ่งที่ประคับประคองให้เราเดินได้ถูกทาง เงื่อนไขที่ 1 ความรู้ การไม่มีความรู้ การมีความรู้แต่ไม่ถูกต้อง หรือการไม่รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ เป็นปัญหาสำคัญของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ความรู้ คือ ประสบการณ์ที่ถูกกลั่นกรองและตกผลึกจนกลายเป็นสิ่งที่เชื่อได้ว่าเป็นประโยชน์กับคนทั่วไป ทำให้เราไม่ต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่เองทุกครั้ง ในทางธุรกิจ ปัจจุบันความรู้เป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกออนไลน์ แต่ความรู้ที่น่าเชื่อถือกลับหาได้ยากขึ้น และที่สำคัญที่สุด ความรู้ที่สอดคล้องกับเราและสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงกลับเป็นความรู้ที่มีค่ามีราคามากที่สุด การทำให้ธุรกิจเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป เงื่อนไขที่ 2 คุณธรรม การมีคุณธรรม คือ เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เราเคารพซึ่งกันและกัน ทำแต่พอดี ทำแบบไม่ทำร้ายใคร ทำแบบไม่ให้คนอื่นเดือดร้อน การไม่ทำให้เกิดสถานการณ์ปลาเล็กกินปลาใหญ่ การไม่ใช่วิธีสกปรกหรือไม่ถูกต้องในการได้มาซึ่งชัยชนะ คุณธรรมไม่เพียงแค่ช่วยหนุนนำให้เกิดความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังทำให้ความสำเร็จนั้นได้รับการยอมรับและยกย่องอีกด้วย ปัจจุบัน คุณธรรมได้กลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญทางธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคที่เรา Shift จากการมองว่าความสำเร็จของภาคธุรกิจ คือ การสร้างผลกำไรสูงสุดเพียงเท่านั้น สู่การตอบสนองต่อ Brand Actualisation ไม่ว่าจะเป็นด้านจริยธรรม ด้านความเป็นธรรมชาติ ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยมีคุณธรรมเป็นตัวคุมให้เรารู้จักที่ทำธุรกิจโดยไม่เบียดเบียนและทำร้ายใคร ต้องขอบคุณช่วงเวลาตลอดครึ่งปี ที่ผมได้มีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ #พอแล้วดี #TheCreator ในฐานะ Trainer เค้าให้มาสอนคนอื่น แต่กลับเป็นผมที่ได้เรียนรู้จากพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ อีกมากมาย จนเกิดความรู้แจ้งและศรัทธาต่อ SEP ยังมีอะไรต้องเรียนรู้อีกมากจริงๆ ครับ มาช่วยกันทำให้ SEP ถูกพิสูจน์และจับต้องได้ โดยมีพวกเรา คนไทยทุกคนเป็น Brand Ambassador กันนะครับ #BRAND #BRANDi #BRANDist #BRANDing4pointO #BRANDigital

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับโลกยุค 4.0

ถ้าจะถามว่า 4.0 คือ เรื่องใหม่ที่มนุษยชาติเพิ่งค้นพบรึเปล่า คำตอบ คือ ไม่ใช่แน่นอนครับ ความเป็น4.0นั้น เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่เพิ่งจะมาโดดเด่นและ "จำเป็น" เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนสอดคล้องกัน ทำให้เราเข้าสู่สภาวะกลับด้าน

ผู้บริโภคก้าวสู่การทำธุรกิจ (คนกลายเป็นแบรนด์) ในขณะที่ภาคธุรกิจพยายามก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผู้บริโภค (แบรนด์กลายเป็นคน)

ผมได้เขียนถึงการเปลี่ยนแปลงจากการมองคุณค่าที่สอดคล้องกับ Human Spirit ในยุค 3.0 มาสู่ Your Spirit เพราะเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมด้วยความฉาบฉวยและทุกเรื่องได้ แต่จำเป็นที่จะต้องตอบสนองคุณค่าบางอย่างแบบจริงจังจนเกิดผลสัมฤทธิ์ จะทำอย่างนั้นได้ ทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์

ทั้งคน (People)
ทั้งสิ่งแวดล้อม (Planet)
และทั้งแบรนด์ (Brand for Profit) เองหรือ Brand Actualisation

มันถึงจะยั่งยืนอย่างแท้จริง (ปล. ไม่มีใครอยากทำธุรกิจแบบชั่วคราวแล้วเจ๊งใช่มั้ยครับ)

นอกจากที่ผมพยายามอย่างเต็มที่ที่จะอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ในหนังสือ BRANDing4.0 แล้ว นับเป็นความโชคดีของคนไทยทุกคน เพราะเราได้เรียนรู้เรื่องราวของความยั่งยืนมานานมากแล้ว ผ่านสิ่งที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ่อยครั้ง แต่ยังไม่ตระหนักรู้อย่างแท้จริง นั่นก็คือ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy : SEP)

ด้วยความที่แบรนด์ของ SEP ถูกเชื่อมโยงกับภาคการเกษตรมาโดยตลอด ทำให้ SEP ไม่ถูกกล่าวถึงอย่างเป็นเรื่องราวในสังคมหรือโลกธุรกิจอย่างแท้จริง
โดยหารู้ไม่ว่า SEP เนี่ยแหละ ที่ได้อธิบายเรื่องราวของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนไว้ตั้งแต่เรายังไม่รู้จัก 2.0 3.0 4.0 เลยด้วยซ้ำ

โพสต์นี้ผมอยากจะยกย่อง SEP ไม่เพียงเพราะเป็นพระราชดำรัสที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพของในหลวงเท่านั้น แต่อยากจะยกย่องเพราะ SEP สามารถอธิบายกลไกและความเป็นไปทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ในทุกมิติทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ไม่เฉพาะในบริบทของไทย แต่เป็นบริบทโลก 

มาทำความเข้าใจ SEP กันก่อนนะครับ SEP ประกอบไปด้วย 3 ห่วงและ 2 เงื่อนไข

ห่วงที่ 1 รู้จักตัวเอง
นี่คือ แบรนด์ของเราเลยครับ การรู้จักตัวเอง คือ ค้นพบสิ่งที่เราทำได้ดีและมีความสุข ไม่ใช่การทำตามกระแส (เอาตลาดเป็นตัวตั้ง) ไม่ใช่การเลียนแบบคนอื่น เมื่อเรารู้จักตัวเอง เราจะรู้แค่ไหนที่เราต้องการ แค่ไหนคือพอ แล้วก็ไม่ต้องไปตามหาความแตกต่างที่ไหน เพราะตัวเรานี่แหละ คือ สิ่งเดียวในโลกที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร เมื่อรู้จักตัวเอง จะเห็นคุณค่าของตัวเอง

ในทางธุรกิจนั้น การรู้จักตัวเอง คือ การที่เราเข้าใจความเป็นเรา ทั้งในมิติของความเชี่ยวชาญ ต้นทุน เป้าหมาย ทำให้เราสามารถที่จะถ่ายทอดตัวตนและจิตวิญญาณออกไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ซึ่งสำคัญมากในยุคที่การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) เป็นกลไกขับเคลื่อความสำเร็จ

ห่วงที่ 2 มีเหตุผล
รู้จักตัวเอง ทำอย่างที่ตัวเองต้องการ โดยไม่สนใจสังคม สภาพแวดล้อม หรือความเป็นจริง คือ การขาดเหตุผลครับ เราต้องดำเนินธุรกิจและตัดสินใจบนพื้นฐานของการมีที่มาและที่ไป สนใจว่าแบรนด์และธุรกิจของเราตอบโจทย์ลูกค้าอย่างไร เราจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างไร

ในทางธุรกิจนั้น มันคือการที่เราให้ความสำคัญกับการวางแผน อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล มองความเป็นไปได้ในตลาด รู้จักลูกค้า เข้าใจในส่ิงที่ทำว่าอะไรควรลงทุนก่อน อะไรควรลงทุนหลัง อะไรไม่ควรลงทุน ซึ่งมันช่วยให้เรานำส่งสินค้าและบริการจากแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนเงื่อนไขที่จำกัด

ห่วงที่ 3 มีภูมิคุ้มกัน
นอกจากมีเหตุผลแล้ว การดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ต้องรู้จักสร้างภูมิคุ้มกัน ประมาณตน ไม่ทำอะไรเกินตัว ควบคุมไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้สร้างแต่ธุรกิจจนละเลยความรู้สึกและความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากสร้างลูกค้าแล้วก็สร้างคนรักไปพร้อมๆ กัน

ในทางธุรกิจนั้น เรามี Model จำนวนมากไม่ว่าจะเป็น CRM การทำ Portfolio Management การทำ Financial and Investment Plan ที่จะทำให้เรารู้เท่าทันตัวเอง พร้อมรับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้น และที่สำคัญ ในยุคที่คุณค่ามาก่อนมูลค่า ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จที่สำคัญในโลกธุรกิจ

นอกจาก 3 ห่วงหลักแล้ว ยังอีกสองเงื่อนไขที่เปรียบเสมือนสิ่งที่ประคับประคองให้เราเดินได้ถูกทาง

เงื่อนไขที่ 1 ความรู้
การไม่มีความรู้ การมีความรู้แต่ไม่ถูกต้อง หรือการไม่รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ เป็นปัญหาสำคัญของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ความรู้ คือ ประสบการณ์ที่ถูกกลั่นกรองและตกผลึกจนกลายเป็นสิ่งที่เชื่อได้ว่าเป็นประโยชน์กับคนทั่วไป ทำให้เราไม่ต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่เองทุกครั้ง

ในทางธุรกิจ ปัจจุบันความรู้เป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกออนไลน์ แต่ความรู้ที่น่าเชื่อถือกลับหาได้ยากขึ้น และที่สำคัญที่สุด ความรู้ที่สอดคล้องกับเราและสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงกลับเป็นความรู้ที่มีค่ามีราคามากที่สุด การทำให้ธุรกิจเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป  

เงื่อนไขที่ 2 คุณธรรม
การมีคุณธรรม คือ เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เราเคารพซึ่งกันและกัน ทำแต่พอดี ทำแบบไม่ทำร้ายใคร ทำแบบไม่ให้คนอื่นเดือดร้อน การไม่ทำให้เกิดสถานการณ์ปลาเล็กกินปลาใหญ่ การไม่ใช่วิธีสกปรกหรือไม่ถูกต้องในการได้มาซึ่งชัยชนะ คุณธรรมไม่เพียงแค่ช่วยหนุนนำให้เกิดความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังทำให้ความสำเร็จนั้นได้รับการยอมรับและยกย่องอีกด้วย 

ปัจจุบัน คุณธรรมได้กลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญทางธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคที่เรา Shift จากการมองว่าความสำเร็จของภาคธุรกิจ คือ การสร้างผลกำไรสูงสุดเพียงเท่านั้น สู่การตอบสนองต่อ Brand Actualisation ไม่ว่าจะเป็นด้านจริยธรรม ด้านความเป็นธรรมชาติ ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยมีคุณธรรมเป็นตัวคุมให้เรารู้จักที่ทำธุรกิจโดยไม่เบียดเบียนและทำร้ายใคร

ต้องขอบคุณช่วงเวลาตลอดครึ่งปี ที่ผมได้มีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ #พอแล้วดี #TheCreator ในฐานะ Trainer เค้าให้มาสอนคนอื่น แต่กลับเป็นผมที่ได้เรียนรู้จากพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ อีกมากมาย จนเกิดความรู้แจ้งและศรัทธาต่อ SEP ยังมีอะไรต้องเรียนรู้อีกมากจริงๆ ครับ

มาช่วยกันทำให้ SEP ถูกพิสูจน์และจับต้องได้ โดยมีพวกเรา คนไทยทุกคนเป็น Brand Ambassador กันนะครับ
#BRAND #BRANDi #BRANDist #BRANDing4pointO #BRANDigital

Credit Pic : พอแล้วดี The Creator

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น