วัดประจำรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑-๔ ในยามราตรี
ประวัติความเป็นมา
สำหรับ วัดประจำรัชกาลที่
๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว) แต่จริงๆ แล้ววัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังเท่านั้น
ส่วนวัดประจำรัชกาลที่ ๑ จริงๆ แล้วก็คือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์” วัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่ตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และพระบรมมหาราชวัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
“วัดโพธิ์” หรือมีนามทางราชการว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม” เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑ ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้
ครั้นมาในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นนครหลวง ได้ทรงกำหนดเขตเมืองหลวงทั้งสองฝั่ง มีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตกลางเมืองหลวง วัดโพธารามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงอยู่ในเขตพระมหานคร และได้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา
“วัดโพธิ์” หรือมีนามทางราชการว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม” เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑ ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้
ครั้นมาในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นนครหลวง ได้ทรงกำหนดเขตเมืองหลวงทั้งสองฝั่ง มีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตกลางเมืองหลวง วัดโพธารามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงอยู่ในเขตพระมหานคร และได้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา
จนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
ขึ้นเสวยราชสมบัติ และได้ย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งพระนคร
มีการสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธารามที่อยู่ในบริเวณเดียวกันไปด้วย
และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง ภายหลังวัดแห่งนี้ก็ได้ถือว่าเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลที่
๑
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอารามหลวงแห่งนี้ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ
ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาว แบ่งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสแยกจากกันไว้อย่างชัดเจน มีหลักฐานปรากฏใน “จารึกวัดโพธิ์” ไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าแก่ขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ส่วนด้านใต้ คือ วัดโพธาราม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่ฝีมือเยี่ยม มาร่วมอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อสถาปนาให้เป็นวัดหลวง
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอารามหลวงแห่งนี้ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ
ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาว แบ่งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสแยกจากกันไว้อย่างชัดเจน มีหลักฐานปรากฏใน “จารึกวัดโพธิ์” ไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าแก่ขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ส่วนด้านใต้ คือ วัดโพธาราม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่ฝีมือเยี่ยม มาร่วมอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อสถาปนาให้เป็นวัดหลวง
โดยเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี
พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลาถึง ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จและโปรดเกล้าฯ
ให้มีการเฉลิมฉลองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๔๔ แล้วพระราชทานนาม “วัดโพธาราม” ใหม่ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ
ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”
ดังปรากฏในศิลาจารึกซึ่งติดไว้ที่ผนังด้านในพระวิหารทิศพระพุทธโลกนาถมุขหลัง
ครั้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เป็นเวลานานถึง
๑๖ ปี ๗ เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
สวนมิสกวันสถาปนาขึ้นใหม่ พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อคราวเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ
๒๐๐ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น
มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ
เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า
รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ ขุนนาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนัก
ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ
ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถาน
และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ภายในวัดพระอารามหลวง ด้วยพลังศรัทธาตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของไทย) ที่รวบรวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กันอย่างไม่รู้จบสิ้น
และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ภายในวัดพระอารามหลวง ด้วยพลังศรัทธาตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของไทย) ที่รวบรวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กันอย่างไม่รู้จบสิ้น
พระอุโบสถ นับเป็นหนึ่งในพระอุโบสถที่งดงามมากของวัดในเมืองไทย
บริเวณพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)
สถานะและที่ตั้ง
พระอารามหลวง
ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่ตั้ง ๒ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร สังกัด มหานิกาย
“พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑
“พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๒
“พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๓
“พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔
สางแปลง เฝ้าอยู่ที่ ซุ้มประตูกำแพงแก้ว
“พระอัคฆีย์เจดีย์” ที่มุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง ๔ ด้าน
ถะ (สถูปเจดีย์หิน) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างพระระเบียงคดชั้นนอกและชั้นใน
สิ่งสำคัญในวัด
• ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า
• ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ
• ศาสนวัตถุสำคัญอื่นๆ ภายในวัด
• จารึกวัดโพธิ์
• มรดกความทรงจำแห่งโลก
• รัตนกวีแห่งวัดโพธิ์
• พระตำหนักวาสุกรี
• ยักษ์วัดโพธิ์-นายทวารบาล
• ซุ้มประตูทรงมงกุฏ
พระอุโบสถ และ ซุ้มเสมายอดเจดีย์
ความงดงามของ “พระอุโบสถ” วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
“พระอุโบสถ” ในยามราตรี
พระอุโบสถ
พระอุโบสถมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ ลักษณะพระระเบียงคด (พระวิหารคด) ที่สร้างล้อมพระอุโบสถถึง ๒ ชั้นด้วยกัน แล้วเชื่อมต่อกับพระวิหารทิศทั้ง ๔ ทิศ นอกจากนี้รอบๆ ซุ้มประตูกำแพงแก้ว ยังมี สางแปลง ซึ่งมีลักษณะคล้ายตุ๊กตาจีนและมีรูปร่างแปลกกว่าสัตว์ชนิดอื่น คอยเฝ้าอยู่ที่ซุ้มประตูกำแพงแก้วทุกด้าน
ต่อมาปูนที่พอกไว้เริ่มทรุดโทรม จึงได้มีการปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง เมื่อกระเทาะปูนเก่าออกจึงพบพระหล่อสัมฤทธิ์ฝีมือช่างโบราณ งดงามอย่างยากจะหาดูได้ ไม่เพียงพระพุทธรูปที่พระระเบียงคดเท่านั้น พระพุทธรูปภายในพระวิหารทิศทั้ง ๔ ทิศก็ล้วนเก่าแก่และงดงาม เป็นพระพุทธรูปที่มีคุณค่าทั้งในทางฝีมือและวัตถุที่นำมาสร้าง ซึ่งบางองค์งดงามประหลาดกว่าพระพุทธรูปในวัดอื่นๆ
พระอุโบสถมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ ลักษณะพระระเบียงคด (พระวิหารคด) ที่สร้างล้อมพระอุโบสถถึง ๒ ชั้นด้วยกัน แล้วเชื่อมต่อกับพระวิหารทิศทั้ง ๔ ทิศ นอกจากนี้รอบๆ ซุ้มประตูกำแพงแก้ว ยังมี สางแปลง ซึ่งมีลักษณะคล้ายตุ๊กตาจีนและมีรูปร่างแปลกกว่าสัตว์ชนิดอื่น คอยเฝ้าอยู่ที่ซุ้มประตูกำแพงแก้วทุกด้าน
พระพุทธรูปเก่าแก่ ที่พระระเบียงคด (พระวิหารคด) รอบพระอุโบสถ
พระพุทธรูปเก่าแก่ ในพระวิหารทิศทั้ง ๔ ทิศ
พระพุทธรูปเก่าแก่
อีกทั้งบรรดา พระพุทธรูปเก่าแก่ ที่พระระเบียงคดรอบพระอุโบสถ ล้วนมีความงดงามที่น่าทึ่งเช่นกัน
จะพบว่าภายใต้พระพุทธรูปปูนปั้นเหล่านั้น มีพระพุทธรูปโบราณหลายยุคทั้งสมัยอู่ทอง
สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา ฯลฯ บรรจุอยู่ภายใน ซึ่งตามประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์วัดกล่าวว่า รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ
ให้รวบรวมพระพุทธรูปเก่าแก่จากหัวเมืองต่างๆ นับได้จำนวนพันองค์
มาไว้รวมกันที่วัดโพธิ์แห่งนี้ แต่เพราะต้องการให้มองเห็นพระพุทธรูปเหล่านั้นเป็นลักษณะเดียวกันหมด เพื่อความสวยงาม
จึงเอาปูนมาพอกทับไว้ให้ได้ขนาดต่อมาปูนที่พอกไว้เริ่มทรุดโทรม จึงได้มีการปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง เมื่อกระเทาะปูนเก่าออกจึงพบพระหล่อสัมฤทธิ์ฝีมือช่างโบราณ งดงามอย่างยากจะหาดูได้ ไม่เพียงพระพุทธรูปที่พระระเบียงคดเท่านั้น พระพุทธรูปภายในพระวิหารทิศทั้ง ๔ ทิศก็ล้วนเก่าแก่และงดงาม เป็นพระพุทธรูปที่มีคุณค่าทั้งในทางฝีมือและวัตถุที่นำมาสร้าง ซึ่งบางองค์งดงามประหลาดกว่าพระพุทธรูปในวัดอื่นๆ
“พระพุทธเทวปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ
“ซุ้มจรณัม” ประจำประตูทางเข้าพระอุโบสถ
พระพุทธไสยาส (พระนอน) ทางด้านพระพักตร์ขององค์พระ
พระพุทธไสยาส (พระนอน) ทางด้านพระปฤษฎางค์ (ด้านหลัง) ขององค์พระ
“พระพุทธเทวปฏิมากร” นามอันมีความหมายว่า เทวดามาสร้างไว้
พระพุทธเทวปฏิมากร
ศาสนสถานและศาสนวัตถุสิ่งสำคัญที่น่าสนใจในวัดพระเชตุพนฯ นั้น มีมากมายนับตั้งแต่ พระอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร” อันหมายถึง เทวดามาสร้างไว้
เนื่องด้วยเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามเป็นอย่างยิ่งสมกับชื่อ ที่ใต้ฐานชุกชีพระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่อไว้ ๓ ชั้นนั้น ในชั้นที่ ๑ ได้บรรจุพระบรมอัฐิ (บางส่วน) และพระบรมราชสรีรางคารของบุรพกษัตริย์รัชกาลที่ ๑ ไว้ด้วย
“พระพุทธเทวปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปโบราณ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว มีหลักฐานปรากฏใน ‘จารึกวัดโพธิ์’ ไว้ว่า เดิมพระพุทธเทวปฏิมากรประดิษฐานอยู่ ณ วัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดโพธาราม ให้เป็นวัดใหญ่สำหรับพระนคร และได้ทรงขนานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระองค์ได้ทรงเลือกหาพระพุทธรูป ที่มีพุทธลักษณะงามสมควรเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด จึงได้พบและเลือกพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์) ดังกล่าว ครั้งนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ถวายพระนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร”
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระอุโบสถเก่าซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ลงทั้งสิ้น แล้วทรงสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเก่า ส่วนฐานพระพุทธเทวปฏิมากรนั้นรื้อของเก่าทำขึ้นใหม่ขยายเป็น ๓ ชั้น พระสาวกเดิมมี ๒ องค์ ทรงสร้างขึ้นใหม่อีก ๘ องค์ รวมเป็นพระสาวก ๑๐ องค์ ดังที่ปรากฏอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔มีพระราชดำริถึงพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลนั้น ได้รับพระราชทานไปกระทำสักการบูชา เมื่อเจ้านายพระองค์นั้นๆ สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ไม่มีใครพิทักษ์รักษา ได้เชิญมาเป็นของหลวง มีอยู่ควรจะประดิษฐานไว้ให้มหาชน ได้กระทำสักการบูชาโดยสะดวก จึงโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมอัฐิในกล่องศิลา แล้วเชิญมาบรรจุไว้ในพระพุทธอาสน์ของพระพุทธเทวปฏิมากร และยังมีคำที่เล่าสืบกันมาว่าถึงพระอุณาโลมพระพุทธเทวปฏิมากรนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้โปรดให้สร้างถวายในครั้งนั้นด้วย
อนึ่ง พระพุทธเทวปฏิมากรพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงเคารพนับถือว่าเป็นเจดีย์สถานสำคัญแห่งหนึ่งมาช้านานแล้ว เพราะปรากฏในจดหมายเหตุว่า เมื่อได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเสร็จแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยสถลมารค เมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ ปีกุน พุทธศักราช ๒๓๗๙ ครั้งนั้น จึงได้เสด็จประทับพระอุโบสถทรงกระทำสักการบูชา พระพุทธเทวปฏิมากรเป็นปฐม เรื่องนี้เลยเป็นพระราชประเพณีตั้งแต่นั้นสืบมา คือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยสถลมารคนั้น ย่อมเสด็จประทับ ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรสืบมาทุกรัชกาล
ศาสนสถานและศาสนวัตถุสิ่งสำคัญที่น่าสนใจในวัดพระเชตุพนฯ นั้น มีมากมายนับตั้งแต่ พระอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร” อันหมายถึง เทวดามาสร้างไว้
เนื่องด้วยเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามเป็นอย่างยิ่งสมกับชื่อ ที่ใต้ฐานชุกชีพระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่อไว้ ๓ ชั้นนั้น ในชั้นที่ ๑ ได้บรรจุพระบรมอัฐิ (บางส่วน) และพระบรมราชสรีรางคารของบุรพกษัตริย์รัชกาลที่ ๑ ไว้ด้วย
“พระพุทธเทวปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปโบราณ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว มีหลักฐานปรากฏใน ‘จารึกวัดโพธิ์’ ไว้ว่า เดิมพระพุทธเทวปฏิมากรประดิษฐานอยู่ ณ วัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดโพธาราม ให้เป็นวัดใหญ่สำหรับพระนคร และได้ทรงขนานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระองค์ได้ทรงเลือกหาพระพุทธรูป ที่มีพุทธลักษณะงามสมควรเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด จึงได้พบและเลือกพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์) ดังกล่าว ครั้งนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ถวายพระนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร”
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระอุโบสถเก่าซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ลงทั้งสิ้น แล้วทรงสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเก่า ส่วนฐานพระพุทธเทวปฏิมากรนั้นรื้อของเก่าทำขึ้นใหม่ขยายเป็น ๓ ชั้น พระสาวกเดิมมี ๒ องค์ ทรงสร้างขึ้นใหม่อีก ๘ องค์ รวมเป็นพระสาวก ๑๐ องค์ ดังที่ปรากฏอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔มีพระราชดำริถึงพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลนั้น ได้รับพระราชทานไปกระทำสักการบูชา เมื่อเจ้านายพระองค์นั้นๆ สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ไม่มีใครพิทักษ์รักษา ได้เชิญมาเป็นของหลวง มีอยู่ควรจะประดิษฐานไว้ให้มหาชน ได้กระทำสักการบูชาโดยสะดวก จึงโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมอัฐิในกล่องศิลา แล้วเชิญมาบรรจุไว้ในพระพุทธอาสน์ของพระพุทธเทวปฏิมากร และยังมีคำที่เล่าสืบกันมาว่าถึงพระอุณาโลมพระพุทธเทวปฏิมากรนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้โปรดให้สร้างถวายในครั้งนั้นด้วย
อนึ่ง พระพุทธเทวปฏิมากรพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงเคารพนับถือว่าเป็นเจดีย์สถานสำคัญแห่งหนึ่งมาช้านานแล้ว เพราะปรากฏในจดหมายเหตุว่า เมื่อได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเสร็จแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยสถลมารค เมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ ปีกุน พุทธศักราช ๒๓๗๙ ครั้งนั้น จึงได้เสด็จประทับพระอุโบสถทรงกระทำสักการบูชา พระพุทธเทวปฏิมากรเป็นปฐม เรื่องนี้เลยเป็นพระราชประเพณีตั้งแต่นั้นสืบมา คือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยสถลมารคนั้น ย่อมเสด็จประทับ ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรสืบมาทุกรัชกาล
พระวิหารพระพุทธไสยาส (พระวิหารพระนอน)
บริเวณด้านหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
พระวิหารพระพุทธไสยาส
นอกจากนั้นก็ยังมีพระวิหารอีกหลายแห่งที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญไว้ทั้งสิ้น ที่สำคัญคือ พระวิหารพระพุทธไสยาส หรือพระวิหารพระนอน ภายในประดิษฐาน “พระพุทธไสยาส” หรือ “พระนอน” ปางโปรดอสุรินทราหู ขนาดองค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย ซึ่งเป็นพระพุทธไสยาสที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยสร้างองค์พระขึ้นก่อนแล้วจึงสร้างพระวิหารครอบในภายหลัง
นอกจากนั้นก็ยังมีพระวิหารอีกหลายแห่งที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญไว้ทั้งสิ้น ที่สำคัญคือ พระวิหารพระพุทธไสยาส หรือพระวิหารพระนอน ภายในประดิษฐาน “พระพุทธไสยาส” หรือ “พระนอน” ปางโปรดอสุรินทราหู ขนาดองค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย ซึ่งเป็นพระพุทธไสยาสที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยสร้างองค์พระขึ้นก่อนแล้วจึงสร้างพระวิหารครอบในภายหลัง
ภายในพระวิหารพระพุทธไสยาส (พระวิหารพระนอน)
พระพุทธไสยาส (พระนอน) มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้นๆ แห่งสยามประเทศ
พระพุทธไสยาส (พระนอน) ขนาดองค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ
พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน
ลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการที่พระบาทพระพุทธไสยาส (พระนอน)
๑ ในลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการที่พระบาทพระพุทธไสยาส (พระนอน)
พระพุทธไสยาส
“พระพุทธไสยาส” หรือ “พระนอน” วัดโพธิ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น พระพุทธไสยาสที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้นๆ แห่งสยามประเทศ มีขนาดความยาวถึง ๔๖ เมตรด้วยกัน ดำเนินการสร้างโดยช่างสิบหมู่หลวง และมีหลวงพระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) เป็นผู้กำกับดูแลการก่อสร้าง เชื่อกันว่าเป็นปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ในขณะที่พระพักตร์อิ่มเอิบ ดูขรึมขลังงดงามสมส่วน เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธายิ่งนัก
ลักษณะพระพุทธไสยาสโดยทั่วๆ ไป มีลักษณะบรรทมตะแคงขวา พระบาทขวาเลื่อมพระบาทซ้าย แต่พระพุทธไสยาสวัดโพธิ์นั้น มีความแตกต่างออกไปซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะ คือ พระบาททั้งซ้ายและขวานั้นซ้อนเสมอกัน อาจเป็นความตั้งใจของช่างสิบหมู่หลวงผู้สร้างที่ตั้งใจจะแสดงลวดลาย
ลักษณะเป็น ภาพมงคล ๑๐๘ ประการ บนฝ่าพื้นพระบาททั้งสองก็เป็นได้ ที่น่าทึ่งคือ ลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการที่งดงามโดดเด่นอย่างยิ่งบนฝ่าพื้นพระบาททั้งสองข้าง ซึ่งเป็นลายศิลปะไทยกับจีนผสมผสานกันกลมกลืนลงตัวอย่างประณีตศิลป์ หากพิจารณาแล้ว ภาพมงคล ๑๐๘ ประการ และลวดลายภูเขาต่างๆ ในป่าหิมพานต์ เป็นคติแบบไทยที่รับมาจากชมพูทวีป ส่วน ภาพนก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ รวมทั้งแนวคิดเรื่องฮวงจุ้ยเป็นคติแบบจีน
อนึ่ง การประดับลวดลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการไว้ที่ฝ่าพระบาทนั้น เป็นไปตามคติอินเดียโบราณที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งคือฝ่าพระบาทมีลายมงคล ๑๐๘ ประการ ได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้าง แก้ว นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้า ซึ่งหากเป็นพระพุทธรูปปางอื่นๆ จะมองไม่เห็น ยกเว้นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ทำให้ช่างผู้สร้างบรรจงประดับลวดลายอันวิจิตรไว้อย่างเต็มที่
“พระพุทธไสยาส” หรือ “พระนอน” วัดโพธิ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น พระพุทธไสยาสที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้นๆ แห่งสยามประเทศ มีขนาดความยาวถึง ๔๖ เมตรด้วยกัน ดำเนินการสร้างโดยช่างสิบหมู่หลวง และมีหลวงพระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) เป็นผู้กำกับดูแลการก่อสร้าง เชื่อกันว่าเป็นปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ในขณะที่พระพักตร์อิ่มเอิบ ดูขรึมขลังงดงามสมส่วน เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธายิ่งนัก
ลักษณะพระพุทธไสยาสโดยทั่วๆ ไป มีลักษณะบรรทมตะแคงขวา พระบาทขวาเลื่อมพระบาทซ้าย แต่พระพุทธไสยาสวัดโพธิ์นั้น มีความแตกต่างออกไปซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะ คือ พระบาททั้งซ้ายและขวานั้นซ้อนเสมอกัน อาจเป็นความตั้งใจของช่างสิบหมู่หลวงผู้สร้างที่ตั้งใจจะแสดงลวดลาย
ลักษณะเป็น ภาพมงคล ๑๐๘ ประการ บนฝ่าพื้นพระบาททั้งสองก็เป็นได้ ที่น่าทึ่งคือ ลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการที่งดงามโดดเด่นอย่างยิ่งบนฝ่าพื้นพระบาททั้งสองข้าง ซึ่งเป็นลายศิลปะไทยกับจีนผสมผสานกันกลมกลืนลงตัวอย่างประณีตศิลป์ หากพิจารณาแล้ว ภาพมงคล ๑๐๘ ประการ และลวดลายภูเขาต่างๆ ในป่าหิมพานต์ เป็นคติแบบไทยที่รับมาจากชมพูทวีป ส่วน ภาพนก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ รวมทั้งแนวคิดเรื่องฮวงจุ้ยเป็นคติแบบจีน
อนึ่ง การประดับลวดลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการไว้ที่ฝ่าพระบาทนั้น เป็นไปตามคติอินเดียโบราณที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งคือฝ่าพระบาทมีลายมงคล ๑๐๘ ประการ ได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้าง แก้ว นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้า ซึ่งหากเป็นพระพุทธรูปปางอื่นๆ จะมองไม่เห็น ยกเว้นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ทำให้ช่างผู้สร้างบรรจงประดับลวดลายอันวิจิตรไว้อย่างเต็มที่
วัดโพธิ์ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘อาณาจักรแห่งเจดีย์’
ในภาพ : พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑-๔
“พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑
“พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๒
“พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๓
“พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑-๔
พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว
พระมหาเจดีย์ประจำราชกาล ๔ พระองค์
ส่วนเหตุที่ “วัดโพธิ์” ได้รับการขนานนามว่าเป็น
“อาณาจักรแห่งเจดีย์” นั้น ก็เนื่องมาจากว่าที่นี่มีเจดีย์กว่าร้อยองค์
เป็นวัดที่ได้ชื่อว่ามีเจดีย์มากที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งเจดีย์รายและเจดีย์หมู่
แต่เจดีย์ที่มีความงดงามและโดดเด่นที่สุดก็คือ
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นเจดีย์ประจำพระองค์ของรัชกาลที่ ๑-๔
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นเจดีย์ประจำพระองค์ของรัชกาลที่ ๑-๔
อยู่ในบริเวณกำแพงสีขาว
ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ
เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่ พระมหาเจดีย์แต่ละองค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุมสูง
๔๒ เมตร ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ สังเกตได้ง่าย
เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีเขียว มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เพื่อครอบพระพุทธรูป “พระศรีสรรเพชญ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๑๖ เมตร เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา ที่ถูกพม่าทำลายจนเกินจะปฏิสังขรณ์ใหม่ได้ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีขาว มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๒ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ ๒
เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีเหลือง มีนามว่า “พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๓ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เช่นกัน ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา
ส่วนเจดีย์องค์สุดท้ายนั้นเป็นเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้อง สีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย ไว้ ๑ องค์ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จครั้นใกล้จะเสด็จสวรรคตได้มีพระราชดำรัสเฉพาะกับ รัชกาลที่ ๕ ว่า“พระเจดีย์วัดพระเชตุพนฯ นั้นกลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป ถ้าจะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่า พระเจ้าแผ่นดินทั้งสี่พระองค์นั้น ท่านได้เคยเห็นกันทั้งสี่พระองค จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้ต้องสร้างทุกแผ่นดินเลย” (พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๘๑)
เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีเขียว มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เพื่อครอบพระพุทธรูป “พระศรีสรรเพชญ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๑๖ เมตร เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา ที่ถูกพม่าทำลายจนเกินจะปฏิสังขรณ์ใหม่ได้ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีขาว มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๒ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ ๒
เจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ สีเหลือง มีนามว่า “พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๓ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เช่นกัน ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา
ส่วนเจดีย์องค์สุดท้ายนั้นเป็นเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้อง สีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย ไว้ ๑ องค์ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จครั้นใกล้จะเสด็จสวรรคตได้มีพระราชดำรัสเฉพาะกับ รัชกาลที่ ๕ ว่า“พระเจดีย์วัดพระเชตุพนฯ นั้นกลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป ถ้าจะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่า พระเจ้าแผ่นดินทั้งสี่พระองค์นั้น ท่านได้เคยเห็นกันทั้งสี่พระองค จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้ต้องสร้างทุกแผ่นดินเลย” (พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๘๑)
ส่วนบริเวณที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ก็คือ
พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว ที่สร้างขึ้นในสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวนี้ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้ง
๔ ด้าน หมู่เจดีย์ประกอบไปด้วยพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลาง และล้อมรอบด้วยพระเจดีย์เล็กอีกสี่องค์อยู่บนฐานเดียวกัน
เป็นสถาปัตยกรรมเจดีย์ย่อไม้สิบสองและเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม
ตัวเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องเครื่องถ้วยตัดประดิษฐ์เป็นลวดลายดอกไม้สวยงาม และที่สำคัญภายในพระเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ทุกองค์ด้วย
พระเจดีย์ราย
สำหรับ พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่รายรอบพระระเบียงชั้นนอก เป็นสถาปัตยกรรมคล้ายเจดีย์หมู่ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง มีทั้งหมด ๗๑ องค์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เดิมนั้นรัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ์
รอยพระพุทธบาทจำลอง
นอกจากนี้ก็ยังมี รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถวายไว้ในพระอารามแห่งนี้ ประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป บริเวณพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ที่ด้านหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) มี “ยักษ์วัดโพธิ์” (ตัวจริง)ซึ่งตนเล็กยืนเฝ้าประตูอยู่ในตู้กระจก มีจำนวนเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ ยักษ์กายสีแดง มีชื่อว่า “พญาแสงอาทิตย์” กับ ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า “พญามัยราพณ์” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยักษ์กายสีเทา มีชื่อว่า “พญาขร” กับ ยักษ์กายสีเนื้อ มีชื่อว่า “พญาสัทธาสูร” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ “ยักษ์วัดโพธิ์” มีลักษณะคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีสำคัญเรื่องรามเกียรติ์ เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ที่มีตำนานเล่าขานว่าไปรบต่อสู้กับ “ยักษ์วัดแจ้ง” นั่นแหละ
นอกจากนี้ก็ยังมี รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถวายไว้ในพระอารามแห่งนี้ ประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป บริเวณพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ที่ด้านหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) มี “ยักษ์วัดโพธิ์” (ตัวจริง)ซึ่งตนเล็กยืนเฝ้าประตูอยู่ในตู้กระจก มีจำนวนเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ ยักษ์กายสีแดง มีชื่อว่า “พญาแสงอาทิตย์” กับ ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า “พญามัยราพณ์” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยักษ์กายสีเทา มีชื่อว่า “พญาขร” กับ ยักษ์กายสีเนื้อ มีชื่อว่า “พญาสัทธาสูร” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ “ยักษ์วัดโพธิ์” มีลักษณะคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีสำคัญเรื่องรามเกียรติ์ เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ที่มีตำนานเล่าขานว่าไปรบต่อสู้กับ “ยักษ์วัดแจ้ง” นั่นแหละ
รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป
ภายในบริเวณพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)
พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)
สำหรับ พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) คืออาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างกันของรูปแบบหลังคาเป็นที่มาของชื่อเรียกมณฑปทรงต่างๆ สำหรับพระมณฑปของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) นั้น เป็น พระมณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ ซึ่งมีลักษณะผสมผสานกัน ระหว่างทรงมงกุฎและจัตุรมุข คือ มีการก่อมุขยื่นออกไปอีกทั้ง ๔ ด้านยอดประดับด้วยมงกุฎเช่นกัน โดยเป็นสถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในพระมณฑปมี ตู้เก็บพระไตรปิฎกมี ศาลาราย ล้อมพระมณฑป ๓ ด้าน ผนังภายในศาลารายมีภาพจิตรกรรม เรื่องกำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกศาลารายมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิตเรียกว่า โคลงโลกนิติ
สำหรับ พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) คืออาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างกันของรูปแบบหลังคาเป็นที่มาของชื่อเรียกมณฑปทรงต่างๆ สำหรับพระมณฑปของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) นั้น เป็น พระมณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ ซึ่งมีลักษณะผสมผสานกัน ระหว่างทรงมงกุฎและจัตุรมุข คือ มีการก่อมุขยื่นออกไปอีกทั้ง ๔ ด้านยอดประดับด้วยมงกุฎเช่นกัน โดยเป็นสถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในพระมณฑปมี ตู้เก็บพระไตรปิฎกมี ศาลาราย ล้อมพระมณฑป ๓ ด้าน ผนังภายในศาลารายมีภาพจิตรกรรม เรื่องกำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกศาลารายมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิตเรียกว่า โคลงโลกนิติ
“ซุ้มเสมายอดเจดีย์” โดยรอบพระอุโบสถ
“ซุ้มเสมายอดเจดีย์” โดยรอบพระอุโบสถ
ซุ้มเสมา
โดยรอบพระอุโบสถของวัดจะมี
“ซุ้มเสมา” ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลให้
“ใบเสมา”
มีความโดดเด่นและมีความงดงามมากยิ่งขึ้น ซุ้มเสมาเป็นอีกรูปแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
โดยสืบทอดแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
เป็นแบบแผนที่ยังคงมีให้ศึกษามาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สำหรับซุ้มเสมาของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนั้นเป็น ซุ้มเสมายอดเจดีย์ คือซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยอดซุ้มทำเป็นรูปทรงอย่างเจดีย์ มียอดแหลม
สำหรับซุ้มเสมาของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนั้นเป็น ซุ้มเสมายอดเจดีย์ คือซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยอดซุ้มทำเป็นรูปทรงอย่างเจดีย์ มียอดแหลม
ตุ๊กตาหินจีน
อีกทั้งยังมีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณและการนวดแผนโบราณ
ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และสิ่งที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของวัดก็คือ ตุ๊กตาหินจีน
ซึ่งมีจำนวนมากมายที่ประดับอยู่ตามซุ้มประตู
หรือบริเวณต่างๆ ภายในวัด อันเป็นเสน่ห์ของวัดโพธิ์ที่น่าสนใจไม่น้อย
หรือบริเวณต่างๆ ภายในวัด อันเป็นเสน่ห์ของวัดโพธิ์ที่น่าสนใจไม่น้อย
หอระฆัง
เป็นสถานที่ต้องสร้างประจำไว้ที่วัดเพื่อเป็นสัญญาณบอกเวลา และในความหมายพุทธปรัชญาหมายถึง
การตื่นและรู้สัจธรรม ตลอดทั้งให้ความรู้สึกแห่งสันติสุข เขตพุทธาวาสของวัด มีหอระฆัง
๒ หอ คือด้านเหนือและด้านใต้ ขนาบพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เจดีย์ประจำรัชกาลที่
๑-๔ ด้านใต้สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑
ส่วนด้านเหนือสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นสถาปัตยกรรมจตุรมุขยอดทรงเจดีย์ย่อไม้สิบสอง
ประดับด้วยกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายหลากสี ฐานสูงก่อทึบ มีบันไดและกำแพงล้อมรอบลานประทักษิณ
“ศาลาการเปรียญ” ในปัจจุบัน
(พระอุโบสถหลังเก่าของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา)
บานหน้าต่างของศาลาการเปรียญ
สระจระเข้
ภายใน สระจระเข้ มีสระน้ำก่ออิฐถือปูน
ตรงกลางสระมีภูเขาและบันไดเวียนเดินขึ้นได้ บนยอดเขามีพระเจดีย์ขนาดเล็กประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง
เป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ทางด้านตะวันออกของสระมีตึกหลังหนึ่ง
ตึกฝรั่ง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ ชาวบ้านเรียกว่า ตึกฝรั่ง มีลักษณะคล้ายเก๋งจีนปัจจุบันนี้ โดยรอบขอบสระจระเข้ปรับปรุงเป็นสวนปลูกพรรณไม้ในวรรณคดีไทย
ไม้หอม ดูร่มรื่น ตึกฝรั่ง เป็นทรงจีน หลังคาเป็นแบบฝรั่ง
มีจิตรกรรมฝาผนังฝรั่งสิบสามห้าง เดิมเคยเป็นที่เรียนหนังสือของเจ้าฟ้าและเชื้อพระวงศ์รุ่นโต
จารึกวัดโพธิ์
ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ พระอารามหลวงประจำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ครั้งใหญ่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๓ นั้น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมเลือกสรรตำรับตำราต่างๆ ชึ่งสมควรจะเล่าเรียน เป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมปราชญ์ผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง
ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ พระอารามหลวงประจำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ครั้งใหญ่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๓ นั้น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมเลือกสรรตำรับตำราต่างๆ ชึ่งสมควรจะเล่าเรียน เป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมปราชญ์ผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง
ในส่วนของ “จารึกวัดโพธิ์” นั้น ได้เริ่มมีขึ้น
ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่อีกครั้ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ โดยการบูรณะในครั้งนั้น พระองค์ได้ทรงมีพระราชประสงค์
ให้พระอารามแห่งนี้เป็น “มหาวิทยาลัย” สำหรับประชาชนทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำเอาองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทยและสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น ตำราการแพทย์ โบราณคดี และวรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนทั้งหลาย ฯลฯ
ให้พระอารามแห่งนี้เป็น “มหาวิทยาลัย” สำหรับประชาชนทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำเอาองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทยและสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น ตำราการแพทย์ โบราณคดี และวรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนทั้งหลาย ฯลฯ
มาจารึกลงบนแผ่นหินอ่อนจำนวน
๑,๓๖๐ แผ่น ประดับไว้ตามบริเวณผนัง-เสาพระระเบียงรอบพระอุโบสถ
พระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด
ดังที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในคำนำหนังสือ ‘ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน’ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๒ ว่า
“...ในการที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ มีพระราชประสงค์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ ถ้าจะเรียกอย่างทุกวันนี้ ก็คือจะให้เป็นมหาวิทยาลัย เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการพิมพ์หนังสือไทย การเล่าเรียนส่วนสามัญศึกษาที่มีเรียนอยู่ตามวัดทั่วไป แต่ส่วนวิสามัญศึกษาอันจะเป็นวิชาอาชีพของคนทั้งหลายยังศึกษาได้แต่ในสกุล ผู้อยู่นอกสกุลโดยเฉพาะที่เป็นพลเมืองสามัญไม่มีโอกาสที่จะเรียนได้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมเลือกสรรตำรับตำราต่างๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียน เป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่า ตระกูลชั้นใดๆ ใครมีใจรักวิชาอย่างใด ก็ให้สามารถเล่าเรียนได้จากศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ จึงมีหลายอย่าง ทั้งเป็นความรู้ส่วนวรรณคดี โบราณคดี และศัสตราคมต่างๆ เป็นอันมาก และได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา...”
“...ในการที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ มีพระราชประสงค์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ ถ้าจะเรียกอย่างทุกวันนี้ ก็คือจะให้เป็นมหาวิทยาลัย เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการพิมพ์หนังสือไทย การเล่าเรียนส่วนสามัญศึกษาที่มีเรียนอยู่ตามวัดทั่วไป แต่ส่วนวิสามัญศึกษาอันจะเป็นวิชาอาชีพของคนทั้งหลายยังศึกษาได้แต่ในสกุล ผู้อยู่นอกสกุลโดยเฉพาะที่เป็นพลเมืองสามัญไม่มีโอกาสที่จะเรียนได้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมเลือกสรรตำรับตำราต่างๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียน เป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่า ตระกูลชั้นใดๆ ใครมีใจรักวิชาอย่างใด ก็ให้สามารถเล่าเรียนได้จากศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ จึงมีหลายอย่าง ทั้งเป็นความรู้ส่วนวรรณคดี โบราณคดี และศัสตราคมต่างๆ เป็นอันมาก และได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา...”
จารึกทั้งหมดในวัดโพธิ์จากหนังสือ
‘ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน’ (คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกสมโภชหิรัญบัฏ
และฉลองอายุวัฒนมงคล ๘๕ ปี พระธรรมปัญญาบดี พ.ศ. ๒๕๔๔) เมื่อแบ่งประเภทออกแล้วก็นับได้หลายหมวดด้วยกัน
ดังนี้
หมวดประวัติ ได้แก่ จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑, จารึกครั้งรัชกาลที่ ๑ จดหมายเหตุเรื่องว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน, การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนถอดจากโคลงดั้นฯ, พระพุทธเทวปฏิมากร, พระพุทธโลกนาถ, พระพุทธมารวิชัย, พระพุทธชินราช, พระพุทธชินศรี, พระพุทธปาลิไลย, พระพุทธศาสดา, พระพุทธไสยาสน์, รายการแบ่งด้านปฏิสังขรณ์ถอดจากโคลงดั้นฯ, โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)และโคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์
หมวดประวัติ ได้แก่ จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑, จารึกครั้งรัชกาลที่ ๑ จดหมายเหตุเรื่องว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน, การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนถอดจากโคลงดั้นฯ, พระพุทธเทวปฏิมากร, พระพุทธโลกนาถ, พระพุทธมารวิชัย, พระพุทธชินราช, พระพุทธชินศรี, พระพุทธปาลิไลย, พระพุทธศาสดา, พระพุทธไสยาสน์, รายการแบ่งด้านปฏิสังขรณ์ถอดจากโคลงดั้นฯ, โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)และโคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์
หมวดพระพุทธศาสนา ได้แก่ จารึกเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ ๔๑ องค์ ติดไว้ที่เชิงผนังหน้าต่างระหว่างพระอุโบสถ
เนื้อหาอธิบายถึงประวัติของพระเถระแต่ละรูป เหตุที่ออกบวช และคุณสมบัติพิเศษที่ได้รับการยกย่องไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
ของพระเถระแต่ละองค์ เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ฯลฯ,
จารึกเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ ๑๓ องค์ ที่อยู่เชิงผนังหน้าต่างพระวิหารพระพุทธไสยาสน์,
จารึกเรื่องอุบาสกเอตทัคคะ ๑๐ คน, จารึกเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ ๑๐ คน,
จารึกเรื่องอสุภ ๑๐ และญาณ ๑๐, จารึกเรื่องฎีกาพาหุง ๘ บท,
จารึกเรื่องพระพุทธบาท, จารึกเรื่องธุดงค์ ๑๓, จารึกเรื่องพาหิรนิทาน,
จารึกเรื่องอรรถกถาชาดก, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๒, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๓,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๔, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๐,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๒, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๓,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๖, จารึกเรื่องศาลาการเปรียญ,
จารึกเรื่องเวสสันดรชาดก, จารึกเรื่องมหาวงษ์,
จารึกเรื่องนิรยกถา และจารึกเรื่องเปรตกถา
จารึกเรื่องอุบาสกเอตทัคคะ ๑๐ คน, จารึกเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ ๑๐ คน,
จารึกเรื่องอสุภ ๑๐ และญาณ ๑๐, จารึกเรื่องฎีกาพาหุง ๘ บท,
จารึกเรื่องพระพุทธบาท, จารึกเรื่องธุดงค์ ๑๓, จารึกเรื่องพาหิรนิทาน,
จารึกเรื่องอรรถกถาชาดก, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๒, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๓,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๔, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๐,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๒, จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๓,
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑๖, จารึกเรื่องศาลาการเปรียญ,
จารึกเรื่องเวสสันดรชาดก, จารึกเรื่องมหาวงษ์,
จารึกเรื่องนิรยกถา และจารึกเรื่องเปรตกถา
หมวดวรรณคดี ได้แก่ จารึกเรื่องรามเกียรติ์, จารึกนิทานสิบสองเหลี่ยม ที่จารึกไว้ที่คอสอง
เฉลียงศาลาล้อมพระมณฑปทิศตะวันตก (ปัจจุบันศาลาแห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เก็บของมีค่าของวัด),
จารึกตำราฉันท์วรรณพฤติ, จารึกตำราฉันท์มาตราพฤติ,
จารึกเพลงยาวกลบทและกลอักษร, จารึกโคลงกลบท
ที่ติดอยู่ตามพระระเบียงของพระอุโบสถ และจารึกโคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์
ที่เป็นแผ่นหินอ่อนอยู่รอบพระอุโบสถ
หมวดทำเนียบ ได้แก่ จารึกทำเนียบตราตำแหน่งสมณศักดิ์, จารึกทำเนียบหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามและผู้ครองเมือง และจารึกโคลงภาพคนต่างภาษา จารึกอยู่ตามผนังเฉลียงสกัดศาลารายรอบวัด เพื่ออธิบายลักษณะ อุปนิสัย บ้านเมืองชาวต่างประเทศที่ชาวสยามคุ้นเคย
หมวดทำเนียบ ได้แก่ จารึกทำเนียบตราตำแหน่งสมณศักดิ์, จารึกทำเนียบหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามและผู้ครองเมือง และจารึกโคลงภาพคนต่างภาษา จารึกอยู่ตามผนังเฉลียงสกัดศาลารายรอบวัด เพื่ออธิบายลักษณะ อุปนิสัย บ้านเมืองชาวต่างประเทศที่ชาวสยามคุ้นเคย
หมวดประเพณี ได้แก่ จารึกเรื่องรามัญหุงข้าวทิพย์, จารึกเรื่องมหาสงกรานต์,
จารึกเกี่ยวกับริ้วกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารค เป็นต้น
หมวดสุภาษิต ได้แก่ จารึกฉันท์กฤษณาสอนน้อง อยู่ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังเหนือ,
จารึกฉันท์พาลีสอนน้อง อยู่ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ทิศใต้, จารึกสุภาษิตพระร่วง, จารึกฉันท์อัษฎาพานร และจารึกโคลงโลกนิติ มีจำนวน ๔๒๐ บทด้วยกัน อยู่ที่ผนังด้านนอกศาลาทิศพระมณฑป
หมวดอนามัย ได้แก่ จารึกโคลงภาพฤาษีดัดตนเป็นท่าดัดตนทั้ง ๘๐ ท่าที่จะแก้การปวดเมื่อยของอวัยวะต่างๆ และจารึกอาธิไท้โพธิบาทว์ เป็นต้น
รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปสลักหินฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ จำนวนทั้งหมด ๘๐ ท่า สำหรับอธิบายประกอบตำรับตำรา การบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น ใช้เวลาไปถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน จึงแล้วเสร็จ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้วัดโพธิ์ได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัย” เท่านั้น แต่ยังทำให้วัดโพธิ์ในตอนนั้นดูงดงามจนกวีเอกอย่าง “สุนทรภู่” ถึงกับเอ่ยชมออกมาเป็นบทกลอนว่า
“.....เห็นวัดโพธิ์โสภาสถาพร
สง่างอนงามพริ้งทุกสิ่งอัน
โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง
ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์.....”
เรียกได้ว่าพระองค์ทรงพัฒนาวัดนี้ในทุกด้านอย่างไม่ขาดตกบกพร่องเลยทีเดียว ซึ่งในรัชกาลต่อมาๆ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ก็ได้โปรดให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญมาตลอดทุกรัชกาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
จารึกทั้งหมดนี้จึงเป็นความรู้ด้านศาสนา วิชาการวรรณคดี โบราณคดี การแพทย์ ประวัติศาสตร์ และอีกหลายสาขา ซึ่งทรงมุ่งหวังให้ยั่งยืนและเผยแพร่ให้ประชาชนศึกษาได้อย่างเสรี เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชน โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ ยศถาบรรดาศักดิ์ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีหนังสือ ไม่มีโรงเรียน การเล่าเรียนส่วนใหญ่จะมีสอนให้อยู่ตามวัดต่างๆ หรือตามบ้านผู้ดีมีสกุลเท่านั้น พระอารามแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพิ่มเติมจากการเล่าเรียนวิชาสามัญศึกษาที่มีอยู่ตามวัดทั่วไป แม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า ๑๗๘ ปี วัดโพธิ์ก็ยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้สรรพวิทยา เห็นได้จากความรู้เกี่ยวกับโยคะศาสตร์และตำราการนวดแผนโบราณวัดโพธิ์ เป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไปทั่วโลกในปัจจุบัน
จารึกเกี่ยวกับริ้วกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารค เป็นต้น
หมวดสุภาษิต ได้แก่ จารึกฉันท์กฤษณาสอนน้อง อยู่ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังเหนือ,
จารึกฉันท์พาลีสอนน้อง อยู่ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ทิศใต้, จารึกสุภาษิตพระร่วง, จารึกฉันท์อัษฎาพานร และจารึกโคลงโลกนิติ มีจำนวน ๔๒๐ บทด้วยกัน อยู่ที่ผนังด้านนอกศาลาทิศพระมณฑป
หมวดอนามัย ได้แก่ จารึกโคลงภาพฤาษีดัดตนเป็นท่าดัดตนทั้ง ๘๐ ท่าที่จะแก้การปวดเมื่อยของอวัยวะต่างๆ และจารึกอาธิไท้โพธิบาทว์ เป็นต้น
รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปสลักหินฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ จำนวนทั้งหมด ๘๐ ท่า สำหรับอธิบายประกอบตำรับตำรา การบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น ใช้เวลาไปถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน จึงแล้วเสร็จ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้วัดโพธิ์ได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัย” เท่านั้น แต่ยังทำให้วัดโพธิ์ในตอนนั้นดูงดงามจนกวีเอกอย่าง “สุนทรภู่” ถึงกับเอ่ยชมออกมาเป็นบทกลอนว่า
“.....เห็นวัดโพธิ์โสภาสถาพร
สง่างอนงามพริ้งทุกสิ่งอัน
โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง
ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์.....”
เรียกได้ว่าพระองค์ทรงพัฒนาวัดนี้ในทุกด้านอย่างไม่ขาดตกบกพร่องเลยทีเดียว ซึ่งในรัชกาลต่อมาๆ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ก็ได้โปรดให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญมาตลอดทุกรัชกาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
จารึกทั้งหมดนี้จึงเป็นความรู้ด้านศาสนา วิชาการวรรณคดี โบราณคดี การแพทย์ ประวัติศาสตร์ และอีกหลายสาขา ซึ่งทรงมุ่งหวังให้ยั่งยืนและเผยแพร่ให้ประชาชนศึกษาได้อย่างเสรี เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชน โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ ยศถาบรรดาศักดิ์ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีหนังสือ ไม่มีโรงเรียน การเล่าเรียนส่วนใหญ่จะมีสอนให้อยู่ตามวัดต่างๆ หรือตามบ้านผู้ดีมีสกุลเท่านั้น พระอารามแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพิ่มเติมจากการเล่าเรียนวิชาสามัญศึกษาที่มีอยู่ตามวัดทั่วไป แม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า ๑๗๘ ปี วัดโพธิ์ก็ยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้สรรพวิทยา เห็นได้จากความรู้เกี่ยวกับโยคะศาสตร์และตำราการนวดแผนโบราณวัดโพธิ์ เป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไปทั่วโลกในปัจจุบัน
พระตำหนักวาสุกรี
“พระตำหนักวาสุกรี” เป็นพิพิธภัณฑ์สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสปัจจุบัน พระตำหนักวาสุกรีซึ่งท่านเคยประทับ ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดโพธิ์ ก็ยังคงอยู่และยังรักษาสภาพไว้อย่างดียิ่ง โดยภายในพระตำหนักจะมี พระโกศทรงฝรั่งเป็นบุษบกซึ่งบรรจุพระอัฐิของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และมีพระรูปหล่อของพระองค์ รวมทั้ง ยังมีข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ อีกมากมายของพระองค์ที่ทางวัดโพธิ์ได้เก็บรักษาไว้ บริเวณหน้าบุษบกที่บรรจุพระอัฐิไว้นั้นมีกระดานจารึก กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงนิพนธ์ไว้ด้วยพระองค์เอง และเชื่อว่าทุกคนคงเคยท่องจำกันติดปากมาแล้วเมื่อสมัยเรียนหนังสือ ความว่า
“พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ความดีก็ปรากฏ กิติยศฤาชา
ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจร”
“พระตำหนักวาสุกรี” เป็นพิพิธภัณฑ์สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสปัจจุบัน พระตำหนักวาสุกรีซึ่งท่านเคยประทับ ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดโพธิ์ ก็ยังคงอยู่และยังรักษาสภาพไว้อย่างดียิ่ง โดยภายในพระตำหนักจะมี พระโกศทรงฝรั่งเป็นบุษบกซึ่งบรรจุพระอัฐิของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และมีพระรูปหล่อของพระองค์ รวมทั้ง ยังมีข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ อีกมากมายของพระองค์ที่ทางวัดโพธิ์ได้เก็บรักษาไว้ บริเวณหน้าบุษบกที่บรรจุพระอัฐิไว้นั้นมีกระดานจารึก กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงนิพนธ์ไว้ด้วยพระองค์เอง และเชื่อว่าทุกคนคงเคยท่องจำกันติดปากมาแล้วเมื่อสมัยเรียนหนังสือ ความว่า
“พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ความดีก็ปรากฏ กิติยศฤาชา
ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจร”
ยักษ์วัดโพธิ์-นายทวารบาล
“ยักษ์” เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่ง มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี เป็นความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ โดยเชื่อว่ายักษ์มีหลายระดับขึ้นอยู่กับบุญบารมี ยักษ์ชั้นสูงจะมีวิมานเป็นทอง มีรูปร่างสวยงาม ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา ยักษ์ชั้นกลางส่วนใหญ่จะเป็นบริวารของยักษ์ชั้นสูงส่วนยักษ์ชั้นต่ำที่บุญน้อยก็จะมีรูปร่างน่ากลัว ผมหยิกตัวดำผิวหยาบ นิสัยดุร้าย
จะเห็นได้ว่าในวัดวาอารามต่างๆ มักจะมียักษ์มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของวัด หรือโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นยักษ์แบกพระเจดีย์ในวัดพระแก้วรูปปั้นยักษ์แบกองค์พระปรางค์ในวัดแจ้ง หรือยักษ์วัดโพธิ์ เป็นต้น ซึ่งตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เทศน์สั่งสอนยักษ์ให้ลดทิฐิมานะ ยักษ์ที่ได้ฟังและเข้าใจในพระธรรม จึงได้กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาหรืออีกนัยหนึ่งก็หมายถึง ผู้แบกสรวงสวรรค์ และทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองสถูปสถานและอาคารศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้มั่งคงและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา
สำหรับยักษ์ประจำวัดโพธิ์ หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่า บริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น เป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์” โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ
ตำนานกำเนิดท่าเตียน มีว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น ทั้ง ๒ ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง พร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่ายหนี้ เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้
ดังนั้น ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตนจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ยักษ์ทั้งสองประลองกำลังกันนั้น จึงราบเรียบเป็นหน้ากลองกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย ซึ่งตามตำนานเรื่องเล่าดังกล่าวยังสรุปไม่ได้ว่า ยักษ์วัดไหนเป็นฝ่ายชนะ
ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน ทำให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ วัดโพธิ์ และให้ยักษ์วัดแจ้ง ทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหาร วัดแจ้ง เรื่อยมา
ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน” เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
“ยักษ์” เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่ง มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี เป็นความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ โดยเชื่อว่ายักษ์มีหลายระดับขึ้นอยู่กับบุญบารมี ยักษ์ชั้นสูงจะมีวิมานเป็นทอง มีรูปร่างสวยงาม ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา ยักษ์ชั้นกลางส่วนใหญ่จะเป็นบริวารของยักษ์ชั้นสูงส่วนยักษ์ชั้นต่ำที่บุญน้อยก็จะมีรูปร่างน่ากลัว ผมหยิกตัวดำผิวหยาบ นิสัยดุร้าย
จะเห็นได้ว่าในวัดวาอารามต่างๆ มักจะมียักษ์มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของวัด หรือโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นยักษ์แบกพระเจดีย์ในวัดพระแก้วรูปปั้นยักษ์แบกองค์พระปรางค์ในวัดแจ้ง หรือยักษ์วัดโพธิ์ เป็นต้น ซึ่งตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เทศน์สั่งสอนยักษ์ให้ลดทิฐิมานะ ยักษ์ที่ได้ฟังและเข้าใจในพระธรรม จึงได้กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาหรืออีกนัยหนึ่งก็หมายถึง ผู้แบกสรวงสวรรค์ และทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองสถูปสถานและอาคารศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้มั่งคงและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา
สำหรับยักษ์ประจำวัดโพธิ์ หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่า บริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น เป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์” โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ
ตำนานกำเนิดท่าเตียน มีว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น ทั้ง ๒ ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง พร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่ายหนี้ เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้
ดังนั้น ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตนจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ยักษ์ทั้งสองประลองกำลังกันนั้น จึงราบเรียบเป็นหน้ากลองกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย ซึ่งตามตำนานเรื่องเล่าดังกล่าวยังสรุปไม่ได้ว่า ยักษ์วัดไหนเป็นฝ่ายชนะ
ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน ทำให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ วัดโพธิ์ และให้ยักษ์วัดแจ้ง ทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหาร วัดแจ้ง เรื่อยมา
ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน” เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อคาดคะเนจากตำนานการต่อสู้
ยักษ์ทั้งสามน่าจะมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายคนเลยเข้าใจผิดคิดว่า “ลั่นถัน
นายทวารบาล” หรือตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่ที่ยืนถือศาสตราวุธ
เฝ้าซุ้มประตูเข้า-ออกในเขตพุทธาวาสของวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดรวม ๓๒ ตัวนั้น คือ ยักษ์วัดโพธิ์ แต่โดยแท้จริงแล้ว “ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ
ยักษ์กายสีแดง, ยักษ์กายสีเขียว, ยักษ์กายสีเทา
และ ยักษ์กายสีเนื้อ ประติมากรรมรูปร่างเป็นยักษ์ไทย เขี้ยวแหลมโง้ง
มือทั้งสองกุมไม้กระบองเป็นอาวุธ
ซึ่งทั้งหมดมีลักษณะคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีสำคัญเรื่องรามเกียรติ์
เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก เล็กจนสามารถตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ได้
ส่วนประวัติการสร้างเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้รื้ออสูรที่ยืนเฝ้าประจำประตูทั้ง ๔ ประตูของวัดออกไป แล้วนำ “ลั่นถัน นายทวารบาล” หรือรูปตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่มาตั้งแทน กาลนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ปูนปั้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๘ ตน ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๑ คู่ เพื่อให้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก (พระมณฑปหรือหอไตรจตุรมุข ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก เรียกว่าหอพระไตรปิฎกก็ได้)
เมื่อครั้งทำระเบียงพระมหาเจดีย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ออกไป ๒ ซุ้ม ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์วัดโพธิ์เหลืออยู่เพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ
ยักษ์กายสีแดง มีชื่อว่า “พญาแสงอาทิตย์” กับ ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า “พญามัยราพณ์” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ยักษ์กายสีเทา มีชื่อว่า “พญาขร” กับ ยักษ์กายสีเนื้อ มีชื่อว่า “พญาสัทธาสูร” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ส่วนซุ้มประตูทางเข้าฯ ด้านที่รื้อออกไป ๒ ซุ้มนั้น แต่เดิมเป็นยักษ์มีชื่อว่า “สหัสเดชะ” กับ “ทศกัณฐ์”
ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และยักษ์มีชื่อว่า “อินทรชิต” กับ “สุริยาภพ” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
คนโบราณเชื่อว่ายักษ์ที่ยืนเฝ้าซุ้มประตูมีอิทธิฤทธิ์ในการขับไล่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย จึงมีหน้าที่ปกปักรักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันมีค่าที่อยู่ด้านใน
เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก เล็กจนสามารถตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ได้
ส่วนประวัติการสร้างเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้รื้ออสูรที่ยืนเฝ้าประจำประตูทั้ง ๔ ประตูของวัดออกไป แล้วนำ “ลั่นถัน นายทวารบาล” หรือรูปตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่มาตั้งแทน กาลนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ปูนปั้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๘ ตน ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๑ คู่ เพื่อให้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก (พระมณฑปหรือหอไตรจตุรมุข ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก เรียกว่าหอพระไตรปิฎกก็ได้)
เมื่อครั้งทำระเบียงพระมหาเจดีย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ออกไป ๒ ซุ้ม ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์วัดโพธิ์เหลืออยู่เพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ
ยักษ์กายสีแดง มีชื่อว่า “พญาแสงอาทิตย์” กับ ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า “พญามัยราพณ์” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ยักษ์กายสีเทา มีชื่อว่า “พญาขร” กับ ยักษ์กายสีเนื้อ มีชื่อว่า “พญาสัทธาสูร” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ส่วนซุ้มประตูทางเข้าฯ ด้านที่รื้อออกไป ๒ ซุ้มนั้น แต่เดิมเป็นยักษ์มีชื่อว่า “สหัสเดชะ” กับ “ทศกัณฐ์”
ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และยักษ์มีชื่อว่า “อินทรชิต” กับ “สุริยาภพ” ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
คนโบราณเชื่อว่ายักษ์ที่ยืนเฝ้าซุ้มประตูมีอิทธิฤทธิ์ในการขับไล่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย จึงมีหน้าที่ปกปักรักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันมีค่าที่อยู่ด้านใน
เปรตวัดสุทัศน์
ชมยักษ์แล้วต่อไปลองชมเปรตดูบ้าง ตามธรรมดาคนทั่วไปอาจจะเคยได้ยิน แต่แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งเป็นเพียงตำนานเล่าขานต่อๆ กันมา สำหรับเปรตวัดโพธิ์ถึงไม่ได้เล่าขานเป็นตำนาน แต่หากใครที่อยากเห็นก็สามารถพาสองตามาพิสูจน์ได้ โดยภาพจิตรกรรมฝาหนังรูปเปรตในนรกภูมิทั้ง ๑๒ จำพวกนั้น ปรากฏให้เห็นบริเวณเหนือเสาบนคานศาลาการเปรียญ (พระอุโบสถหลังเก่าของวัดโพธารามในสมัยกรุงศรีอยุธยา) งานนี้รับรองว่า ไม่มีน่ากลัว ไม่มีหวาดเสียว แต่หากเงยคอดูนานเกินไปก็อาจมีอาการเมื่อยเอาง่ายๆ
อนึ่ง สำหรับภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดโพธิ์นั้น มีแบบต่างๆ ที่สวยสดงดงามมากมาย แต่หากถ้าเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ลูกเล็กเด็กแนวที่ไหนก็รู้ว่า ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เป็นที่เหมาะจะศึกษามากที่สุด เพราะมีภาพที่สวยงามและค่อนข้างสมบูรณ์กว่าที่อื่นๆ แต่หากศึกษาลึกลงไปแล้วอาจเกิดอาการงงได้ เพราะตอนหนึ่งถึงตอนสามของเรื่องกลับไม่ปรากฏที่ผนังภายในวัดพระแก้ว ซึ่งอาจจะมีแฟนพันธุ์แท้เพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าแท้จริงแล้ว ต้นกำเนิดภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสามตอนที่หายไปนั้น อยู่ที่ผนังด้านในศาลารายโดยรอบพระมณฑปของวัดโพธิ์นั่นเอง
ซุ้มประตูทรงมงกุฏ
เป็นซุ้มประตูทางเข้าวัดประดับกระเบื้องที่ตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้เรียงกัน ลดหลั่นสีสันสดสวย งานกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีสันต่างๆ นำมาตัดด้วยคีมเหล็กและเล็มจนมนเป็นกลีบดอกไม้แล้วนำมาเรียงเป็นลวดลายดอกไม้ ประดับอยู่ตามพุทธสถานต่างๆ ในวัดนี้นับเป็นประณีตศิลป์ที่เป็นอยู่ทั่วไป ซุ้มประตูทางเข้าเขตพุทธาวาสของวัดมีทั้งหมด ๑๖ ประตู เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า งานสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงมงกุฎนี้ เป็นรูปแบบที่รัชกาลที่ ๓ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ
ครั้นเมื่อลอดซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าไปทุกประตู แล้วหันหลังกลับจะเห็น ตุ๊กตารูปสลักศิลาหน้าตาเป็นจีน มือถือศาสตราวุธ ยืนเฝ้าด้านซ้ายขวาเรียกว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล” รูปตุ๊กตาศิลปะจีนนั้นจะเห็นตั้งประดับอยู่มากมายหลายแห่งทั่ววัด
เป็นซุ้มประตูทางเข้าวัดประดับกระเบื้องที่ตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้เรียงกัน ลดหลั่นสีสันสดสวย งานกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีสันต่างๆ นำมาตัดด้วยคีมเหล็กและเล็มจนมนเป็นกลีบดอกไม้แล้วนำมาเรียงเป็นลวดลายดอกไม้ ประดับอยู่ตามพุทธสถานต่างๆ ในวัดนี้นับเป็นประณีตศิลป์ที่เป็นอยู่ทั่วไป ซุ้มประตูทางเข้าเขตพุทธาวาสของวัดมีทั้งหมด ๑๖ ประตู เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า งานสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงมงกุฎนี้ เป็นรูปแบบที่รัชกาลที่ ๓ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ
ครั้นเมื่อลอดซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าไปทุกประตู แล้วหันหลังกลับจะเห็น ตุ๊กตารูปสลักศิลาหน้าตาเป็นจีน มือถือศาสตราวุธ ยืนเฝ้าด้านซ้ายขวาเรียกว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล” รูปตุ๊กตาศิลปะจีนนั้นจะเห็นตั้งประดับอยู่มากมายหลายแห่งทั่ววัด
“พระพุทธศาสดา” พระประธานในศาลาการเปรียญ
มองผ่าน “ธรรมมาสน์บุษบกไม้แกะสลัก” เข้าไปภายในศาลาการเปรียญ
(พระอุโบสถหลังเก่าของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา)
พระพุทธศาสดา
สำหรับพระพุทธรูปสำคัญภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ์) นอกจาก พระพุทธไสยาส (พระนอน) และ พระพุทธเทวปฏิมากร พระอุโบสถหลังเก่าของวัดโพธารามตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดพระเชตุพนฯ แล้ว จึงได้ลดฐานะพระอุโบสถหลังเก่าเป็น “ศาลาการเปรียญ” โดยภายในมี “พระพุทธศาสดา” ประดิษฐานเป็นองค์พระประธาน
“พระพุทธศาสดา” พระประธานในศาลาการเปรียญ มีขนาดหน้าตัก ๔ ศอก พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง ปรากฏแต่ว่าเดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถของวัดโพธารามเห็นจะตั้งแต่ครั้งแรกสร้างวัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณก็อยู่ในราว รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖ หรือภายหลังจากนั้นมา
ครั้นถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ แต่ครั้งยังเรียกว่า “วัดโพธาราม” อันเป็นอารามเก่า
ให้เป็นพระอารามใหญ่โตสำหรับพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒
“พระพุทธศาสดา” พระประธานในศาลาการเปรียญ มีขนาดหน้าตัก ๔ ศอก พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง ปรากฏแต่ว่าเดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถของวัดโพธารามเห็นจะตั้งแต่ครั้งแรกสร้างวัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณก็อยู่ในราว รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖ หรือภายหลังจากนั้นมา
ครั้นถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ แต่ครั้งยังเรียกว่า “วัดโพธาราม” อันเป็นอารามเก่า
ให้เป็นพระอารามใหญ่โตสำหรับพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒
ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้าฯ
สถาปนาพระอุโบสถขึ้นหลังใหม่ ส่วนพระอุโบสถหลังเก่านั้นให้สร้างแก้เป็นศาลาการเปรียญ ซึ่งยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
ข้อนี้มีปรากฏอยู่ใน พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องตำนานพระพุทธรูปสำคัญ เพราะฉะนั้น “พระพุทธศาสดา” จึงคงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมา
ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ครั้งนั้นได้ให้ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญให้ใหญ่โตกว่าเก่า คือให้ตั้งเสารอยรอบนอกทำเป็นเฉลียงรอบต่อออกไปอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพื้นของเก่านั้นเป็นพื้นกระดานชำรุดหมด ให้รื้อเสียแล้วถมเป็นพื้นปูศิลา ยกอาสนสงฆ์ทั้ง ๒ ข้างๆ ละ ๔ ห้อง ส่วน “พระพุทธศาสดา” นั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประทับบนฐานชุกชีงดงามก็คงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในศาลาการเปรียญต่อมาจนกาลทุกวันนี้ ตามเสาและเหนือขอบประตูหน้าต่างภายในมีกรอบไม้สักแกะสลัก ลวดลายดอกพุดตานงดงามมาก ที่คอสองมุขหน้าและด้านหลัง มีภาพจิตรกรรมฝาหนังนรกขุมต่างๆ และเปรต ๑๒ จำพวก
ต่อมารัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า “พระพุทธศาสดา มหากรุณาทิคุณ สุนธรธรรมทาน บุราณสุคตบพิตร” และโปรดเกล้าฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฐานไว้ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีการบูรณะศาลาการเปรียญเพิ่มอีก ที่ผนังด้านทิศตะวันออก สร้างซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปางเปิดโลก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในศาลาการเปรียญจัดให้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและฝึกสมาธิ ใกล้กับประตูกลางตรงหน้าองค์พระประธานตั้งธรรมมาสน์บุษบกไม้แกะสลัก
ฝีมือสกุลช่างอยุธยาตอนปลาย อันประณีตงดงาม
ปัจจุบันศาลาการเปรียญเป็นพุทธสถานที่ปฏิบัติธรรมแทนพระวิหาร เพราะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจฟังเทศน์ ทำบุญ และใช้เป็นที่เรียนธรรมของพระภิกษุสงฆ์
ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ครั้งนั้นได้ให้ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญให้ใหญ่โตกว่าเก่า คือให้ตั้งเสารอยรอบนอกทำเป็นเฉลียงรอบต่อออกไปอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพื้นของเก่านั้นเป็นพื้นกระดานชำรุดหมด ให้รื้อเสียแล้วถมเป็นพื้นปูศิลา ยกอาสนสงฆ์ทั้ง ๒ ข้างๆ ละ ๔ ห้อง ส่วน “พระพุทธศาสดา” นั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประทับบนฐานชุกชีงดงามก็คงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในศาลาการเปรียญต่อมาจนกาลทุกวันนี้ ตามเสาและเหนือขอบประตูหน้าต่างภายในมีกรอบไม้สักแกะสลัก ลวดลายดอกพุดตานงดงามมาก ที่คอสองมุขหน้าและด้านหลัง มีภาพจิตรกรรมฝาหนังนรกขุมต่างๆ และเปรต ๑๒ จำพวก
ต่อมารัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า “พระพุทธศาสดา มหากรุณาทิคุณ สุนธรธรรมทาน บุราณสุคตบพิตร” และโปรดเกล้าฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฐานไว้ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีการบูรณะศาลาการเปรียญเพิ่มอีก ที่ผนังด้านทิศตะวันออก สร้างซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปางเปิดโลก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในศาลาการเปรียญจัดให้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและฝึกสมาธิ ใกล้กับประตูกลางตรงหน้าองค์พระประธานตั้งธรรมมาสน์บุษบกไม้แกะสลัก
ฝีมือสกุลช่างอยุธยาตอนปลาย อันประณีตงดงาม
ปัจจุบันศาลาการเปรียญเป็นพุทธสถานที่ปฏิบัติธรรมแทนพระวิหาร เพราะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจฟังเทศน์ ทำบุญ และใช้เป็นที่เรียนธรรมของพระภิกษุสงฆ์
“พระพุทธปาลิไลย” ในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า
พระพุทธปาลิไลย
ภายใน พระวิหารทิศเหนือมุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์ ประดิษฐานอยู่
มีนามว่า “พระพุทธปาลิไลย” หรือนามทางการว่า“พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร
วิมุตติญาณบพิตร”
พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์
วัสดุโลหะสัมฤทธิ์ สูง ๘ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว
องค์พระประทับนั่งบนศิลา มีช้างถวายคนโทน้ำและวานรถวายรวงผึ้ง ปรากฏหลักฐานใน ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่า เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒
ครั้งนั้นได้ทรงสร้างขึ้นใหม่เป็นพระพุทธรูปหล่อปิดทองสูง ๘ ศอกคืบ ๕ นิ้ว มีพระอาการประทับห้อยพระบาท ทรงบรรจุพระบรมธาตุแล้วเชิญประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า ถวายพระนามว่า “พระป่าเลไลย” และโปรดฯ ให้หล่อรูปช้างถวายคนโทน้ำและรูปวานรถวายรวงผึ้ง ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
พระพุทธรูปปางต่างๆ ทั้งหมดภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นับว่า “พระพุทธปาลิไลย” พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพียงองค์เดียวเท่านั้น
ต่อมาถึงรัชสมัย รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ลงรักปิดทองใหม่ในคราวเดียวกันกับพระพุทธรูปอื่นๆ ทั่วทั้งพระอาราม ดังมีข้อความปรากฏใน พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวณฺณรํสี)สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังต่อไปนี้
พระนิพนธ์
ปวงปฏิมามากถ้วน ทงงอา วาศเอย
อุโบสถวิหารทิศสถยร ทกเหล้า
รบยงสามสริบนนดา เดอมใหม่ ก็ดี
มีอาทิพระเจ้าเบื้อง โบสถ์ประธาน
ทรงศรัทธาไป่เอื้อ ออมราช ทรัพย์แฮ
เว้นมัจเฉรมลาย โลภมล้าง
รงงเรขรักมาดผจง เผจอศทั่ว องค์เอย
รมยลใหม่แม้นสร้างซ้ำ สืบแสดง
ล่วงมาถึงรัชสมัย รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์ในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระนามพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ประดิษฐานภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายสร้อยพระนามของ “พระพุทธปาลิไลย”พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า ว่า “พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร” ดังนี้ และโปรดฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฝาผนังไว้ดังปรากฏอยู่บัดนี้
องค์พระประทับนั่งบนศิลา มีช้างถวายคนโทน้ำและวานรถวายรวงผึ้ง ปรากฏหลักฐานใน ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่า เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒
ครั้งนั้นได้ทรงสร้างขึ้นใหม่เป็นพระพุทธรูปหล่อปิดทองสูง ๘ ศอกคืบ ๕ นิ้ว มีพระอาการประทับห้อยพระบาท ทรงบรรจุพระบรมธาตุแล้วเชิญประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า ถวายพระนามว่า “พระป่าเลไลย” และโปรดฯ ให้หล่อรูปช้างถวายคนโทน้ำและรูปวานรถวายรวงผึ้ง ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
พระพุทธรูปปางต่างๆ ทั้งหมดภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นับว่า “พระพุทธปาลิไลย” พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพียงองค์เดียวเท่านั้น
ต่อมาถึงรัชสมัย รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ลงรักปิดทองใหม่ในคราวเดียวกันกับพระพุทธรูปอื่นๆ ทั่วทั้งพระอาราม ดังมีข้อความปรากฏใน พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวณฺณรํสี)สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังต่อไปนี้
พระนิพนธ์
ปวงปฏิมามากถ้วน ทงงอา วาศเอย
อุโบสถวิหารทิศสถยร ทกเหล้า
รบยงสามสริบนนดา เดอมใหม่ ก็ดี
มีอาทิพระเจ้าเบื้อง โบสถ์ประธาน
ทรงศรัทธาไป่เอื้อ ออมราช ทรัพย์แฮ
เว้นมัจเฉรมลาย โลภมล้าง
รงงเรขรักมาดผจง เผจอศทั่ว องค์เอย
รมยลใหม่แม้นสร้างซ้ำ สืบแสดง
ล่วงมาถึงรัชสมัย รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์ในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระนามพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ประดิษฐานภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายสร้อยพระนามของ “พระพุทธปาลิไลย”พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า ว่า “พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร” ดังนี้ และโปรดฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฝาผนังไว้ดังปรากฏอยู่บัดนี้
ภายใน พระวิหารทิศตะวันออกมุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตัก ๓ ศอกคืบ นามว่า “พระพุทธมารวิชัย” หรือนามทางการว่า “พระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ อัครพฤกษโพธิภิรมย อภิสมพุทธบพิตร” พระพุทธมารวิชัยองค์นี้เป็นพระพุทธรูปโบราณ และปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่า “เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยนาก เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดเขาอินทร์เมืองสวรรคโลก
ชำรุดหาพระกรมิได้” กล่าวไว้เพียงเท่านี้ และไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง ในข้อนี้สันนิษฐานจาก ตำนานของเมืองสวรรคโลก เป็นลำดับดังนี้
เมืองสวรรคโลกเป็นเมืองโบราณ ตั้งแต่พวกล่ะว้ายังเป็นใหญ่ เดิมเรียกชื่อว่า “เมืองชะเลียง” และตัวเมืองชะเลียงตามที่สันนิษฐานกันในชั้นหลังนี้ว่า ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดมหาธาตุ ซึ่งราษฎรเรียกว่าวัดน้อย ครั้นต่อมาพวกขอมได้แผ่อำนาจขึ้นไปจนถึงได้ปกครองเมืองชะเลียง ครั้นถึงประมาณในราว พ.ศ. ๑๗๐๐ พวกไทยได้ลงมาตั้งเป็นอิศรมีอำนาจอยู่ที่เมืองเชียงแสน ฝ่ายขอมเกรงว่าไทยจะแผ่อำนาจลงมาข้างใต้ จึงพร้อมกันยกบาธรรมราชขึ้นเป็นหัวหน้า ให้จัดการบ้านเมือง เมื่อไทยแผ่อำนาจลงมาจริงพวกขอมก็สู้ไทยไม่ได้
ไทยจึงได้เมืองชะเลียงตั้งเป็นที่มั่นก่อน ครั้นต่อมาไทยจึงได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ อีกเมืองหนึ่งทางทิศตะวันตก เมืองชะเลียงนั้นสร้างให้เป็นเมืองมีป้อมปราการมั่นคง เรียกชื่อว่า “เมืองศรีสชนาไลย” เป็นราชธานีของไทยขึ้นในแดนสยามเป็นปฐม ไทยจึงตั้งหน้าทำสงครามกับพวกของเมืองสุโขทัยต่อมา จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๐๐ ไทยจึงได้เมืองสุโขทัยจากพวกขอม พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ซึ่งเรียกกันว่า “พระร่วง” จึงได้มาเสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสุโขทัย นับเป็นรัชชกาลที่ ๑ ในราชวงศ์พระร่วง ส่วนเมืองศรีสัชนาไลยนั้นยังคงเป็นราชธานี คู่กันกับเมืองสุโขทัยตลอดมา จนถึงรัชชกาลที่ ๓ และต่อมาเมื่อพระเจ้าเลือไทยเสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสุโขทัย เป็นรัชชกาลที่ ๔ นั้น จึงให้พระเจ้าลิไทยพระราชโอรสเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองศรีสัชนาไลย ดังปรากฏในศิลาจารึกครั้งรัชชกาลพระเจ้าลิไทยนั้นว่า “เมื่อครั้งมหาศักราช ๑๒๖๙ (พ.ศ. ๑๙๐๐) ศกกุน พระมหาธรรมราชาลิไทยเป็นพระมหาอุปราชอยู่ ณ เมืองศรีสัชนาไลย” ดังนี้
ส่วนพระพุทธมารวิชัยฯ พระองค์นี้ซึ่งปรากฏว่าหล่อด้วยนากทั้งพระองค์ จึงเห็นว่าเกินกำลังที่ราษฎรพลเมืองจะสร้างได้ นอกจากเจ้านายผู้ครองนครเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงน่าจะสันนิษฐานว่า เป็นพระพุทธรูปซึ่งพระเจ้าลิไทยได้สร้างขึ้น ในสมัยเมื่อยังเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาไลยนั้น ทั้งได้ปรากฏว่า พระเจ้าลิไทย นั้นทรงพระศรัทธากล้าหาญและรอบรู้แตกฉาน ในพระไตรปิฎกอย่างยอดเยี่ยมในสมัยนั้น และเมื่อได้เสวยราชย์ครองกรุงสุโขทัยแล้ว ยังทรงสร้างพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์และพระศรีอาริย์เป็นต้น และยังได้ทรงบำเพ็ญกุศลอื่นๆ อีกเป็นอันมาก จนได้พระนามปรากฏว่า “พระเจ้าธรรมราชา”
ครั้นต่อมากรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงจนถึงเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๑ ส่วนเมืองศรีสัชนาไลยซึ่งเคยเป็นราชธานีมีเจ้านายปกครองมาแต่เดิมนั้น คงเป็นแต่เมืองมีเจ้าเมืองปกครองเท่านั้น ถึงเช่นนั้นก็ยังถือว่าเมืองศรีสัชนาไลย เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง เพราะเป็นเมืองหน้าด่านต่อแดนประเทศลานนาเชียงใหม่ ซึ่งยังเป็นอิศรอยู่ในสมัยนั้นแต่ที่เรียกชื่อว่าเมืองสวรรคโลกนั้น จะได้บัญญัติในยุคใดหาทราบไม่ และชื่อนี้แรกปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ว่า “ทรงตั้งนักพระสุทันบุตรพระเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งเป็นพระราชบุตรบุญธรรมขึ้นไปครองเมืองสวรรคโลก” ดังนี้ เมืองสวรรคโลกนั้นนับตั้งแต่เป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาแล้วมา ยังต้องระส่ำระสายหลายครั้งหลายหนดังนี้ คือ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระยายุทธิศฐรเจ้าเมืองเอาใจออกห่างไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชเจ้านครเชียงใหม่ ได้นำกองทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๔
จนถึงกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จขึ้นไปประทับอยู่
ณ เมืองพิษณุโลกและการสงครามระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับพระเจ้าติโลกราชนั้น ได้ติดพันกันมาช้านานจนถึง พ.ศ. ๒๐๑๘
พระเจ้าติโลกราชจึงได้ขอเป็นไมตรี ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
คราวพระเจ้าหงษาวดียกกองทัพ
มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ ก็เดินกองทัพมาทางเมืองสวรรคโลก
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิศรภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ นั้น พระยาสวรรคโลกเข้าใจว่า สมเด็จพระนเรศวรจะสู้พระเจ้าหงษาวดีไม่ได้ จึงตั้งแขงเมืองอยู่ สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องเสด็จไปตีเมืองสวรรคโลก และเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทำสงครามกับพระเจ้าหงษาวดีต่อมาในครั้งนั้น ทรงเห็นว่ากำลังไทยในหัวเมืองฝ่ายเหนือไม่พอที่จะตั้งต่อสู้ฆ่าศึกได้ จึงให้กวาดผู้คนในหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาตั้งต่อสู้ฆ่าศึกที่พระนครศรีอยุธยาแห่งเดียว เมืองสวรรคโลกจึงเป็นเมืองร้างอยู่ถึง ๘ ปี จนสมเด็จพระนเรศวรมีชัยชนะ สงครามชนช้างกับพระมหาอุปราชแล้ว จึงได้กลับตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นอีก แต่นั้นมาเมืองสวรรคโลกยังคงนับว่าเป็นเมืองโท มิได้เป็นเมืองสำคัญดุจกาลก่อน มาถึงครั้งที่พม่ายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งหลังนั้น เนเมียวสีหบดีแม่ทัพทางเหนือยกลงมาทางเมืองสวรรคโลก เมืองสวรรคโลกก็ไม่มีกำลังที่จะต่อสู้ฆ่าศึกได้
เจ้าเมืองกรมการอพยพผู้คนพลเมืองหนีเข้าป่าไปหมด
ต่อมาเมื่อครั้งกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีมีชัยชนะพระฝาง ได้หัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นอาณาเขตหมดแล้ว จึงตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นอีกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ และในปีนั้นเองโปมะยุง่วนให้กองทัพเมืองเชียงใหม่ยกลงมาตีเมืองสวรรคโลก แต่ครั้งนี้กองทัพเมืองเชียงใหม่ตีเมืองสวรรคโลกไม่ได้ ครั้งอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ เจ้าเมืองกรมการเมืองสวรรคโลกก็ต้องอพยพผู้คนพลเมืองหนีเข้าป่าไปอีก ครั้งถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทรฯ เมื่อไทยมีชัยชนะแก่พม่าแล้ว
พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดฯ ให้ตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นอีก แต่บ้านเมืองถูกฆ่าศึกศัตรูย่ำยีมาหลายครั้งหลายหน จนผู้คนพลเมืองร่อยหลอ ไม่พอที่จะรักษาตัวเมืองได้ จึงโปรดฯ ให้ตั้งที่ว่าการเมืองขึ้นใหม่ที่ตำบลบ้านวังไม้ขอน เรียกชื่อว่า “เมืองสวรรคโลก” จนบัดนี้ ก็เมื่อบ้านเมืองต้องระส่ำระสายหลายครั้งหลายหน
ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นฉะนี้ ส่วนเจดีย์สถานต่างๆ ในทางพระศาสนานั้นไม่ต้องสงสัยว่า จะต้องชำรุดทรุดโทรมลงสักเพียงใด เพราะฉะนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ นั้นได้โปรดฯ ให้เชิญพระพุทธมารวิชัยฯ ลงมาจากวัดเขาอินทร์เมืองสวรรคโลกครั้งนั้น จึงปรากฏว่าชำรุดจนถึงกับหาพระกรมิได้ และเมื่อทรงปฏิสังขรณ์สำเร็จแล้ว จึงทรงบรรจุพระบรมธาตุ
แล้วเชิญประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหน้า ถวายพระนามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์”
ครั้งถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ อัครพฤกษโพธิภิรมย อภิสมพุทธบพิตร” ดังนี้ และโปรดฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฐานไว้ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ ก็เดินกองทัพมาทางเมืองสวรรคโลก
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิศรภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ นั้น พระยาสวรรคโลกเข้าใจว่า สมเด็จพระนเรศวรจะสู้พระเจ้าหงษาวดีไม่ได้ จึงตั้งแขงเมืองอยู่ สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องเสด็จไปตีเมืองสวรรคโลก และเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทำสงครามกับพระเจ้าหงษาวดีต่อมาในครั้งนั้น ทรงเห็นว่ากำลังไทยในหัวเมืองฝ่ายเหนือไม่พอที่จะตั้งต่อสู้ฆ่าศึกได้ จึงให้กวาดผู้คนในหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาตั้งต่อสู้ฆ่าศึกที่พระนครศรีอยุธยาแห่งเดียว เมืองสวรรคโลกจึงเป็นเมืองร้างอยู่ถึง ๘ ปี จนสมเด็จพระนเรศวรมีชัยชนะ สงครามชนช้างกับพระมหาอุปราชแล้ว จึงได้กลับตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นอีก แต่นั้นมาเมืองสวรรคโลกยังคงนับว่าเป็นเมืองโท มิได้เป็นเมืองสำคัญดุจกาลก่อน มาถึงครั้งที่พม่ายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งหลังนั้น เนเมียวสีหบดีแม่ทัพทางเหนือยกลงมาทางเมืองสวรรคโลก เมืองสวรรคโลกก็ไม่มีกำลังที่จะต่อสู้ฆ่าศึกได้
เจ้าเมืองกรมการอพยพผู้คนพลเมืองหนีเข้าป่าไปหมด
ต่อมาเมื่อครั้งกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีมีชัยชนะพระฝาง ได้หัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นอาณาเขตหมดแล้ว จึงตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นอีกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ และในปีนั้นเองโปมะยุง่วนให้กองทัพเมืองเชียงใหม่ยกลงมาตีเมืองสวรรคโลก แต่ครั้งนี้กองทัพเมืองเชียงใหม่ตีเมืองสวรรคโลกไม่ได้ ครั้งอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ เจ้าเมืองกรมการเมืองสวรรคโลกก็ต้องอพยพผู้คนพลเมืองหนีเข้าป่าไปอีก ครั้งถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทรฯ เมื่อไทยมีชัยชนะแก่พม่าแล้ว
พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดฯ ให้ตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นอีก แต่บ้านเมืองถูกฆ่าศึกศัตรูย่ำยีมาหลายครั้งหลายหน จนผู้คนพลเมืองร่อยหลอ ไม่พอที่จะรักษาตัวเมืองได้ จึงโปรดฯ ให้ตั้งที่ว่าการเมืองขึ้นใหม่ที่ตำบลบ้านวังไม้ขอน เรียกชื่อว่า “เมืองสวรรคโลก” จนบัดนี้ ก็เมื่อบ้านเมืองต้องระส่ำระสายหลายครั้งหลายหน
ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นฉะนี้ ส่วนเจดีย์สถานต่างๆ ในทางพระศาสนานั้นไม่ต้องสงสัยว่า จะต้องชำรุดทรุดโทรมลงสักเพียงใด เพราะฉะนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ นั้นได้โปรดฯ ให้เชิญพระพุทธมารวิชัยฯ ลงมาจากวัดเขาอินทร์เมืองสวรรคโลกครั้งนั้น จึงปรากฏว่าชำรุดจนถึงกับหาพระกรมิได้ และเมื่อทรงปฏิสังขรณ์สำเร็จแล้ว จึงทรงบรรจุพระบรมธาตุ
แล้วเชิญประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหน้า ถวายพระนามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์”
ครั้งถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ อัครพฤกษโพธิภิรมย อภิสมพุทธบพิตร” ดังนี้ และโปรดฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฐานไว้ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
“พระพุทธโลกนาถ” ในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง
พระพุทธโลกนาถ
ราชมหาสมมตวงศ องคอนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร
ส่วนภายใน พระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ นามว่า “พระพุทธโลกนาถ” หรือนามทางการว่า“พระพุทธโลกนาถ ราชมหาสมมตวงศ
องคอนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร”
พระพุทธโลกนาถซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติองค์นี้มีขนาดสูง ๒๐ ศอก เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา แต่เมื่อกรุงแตก วัดต่างๆ ถูกเผาทำลายรวมถึงวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้วย ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ ขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระพุทธโลกนาถจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลังจนปัจจุบัน
พระพุทธรูปพระองค์นี้มีพระนามมาแต่เดิมว่า “พระโลกนาถสาสดาจารย์” เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปซึ่งพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาทรงสร้างขึ้น แต่จะได้สร้างขึ้นเมื่อใดนั้นมิได้ปรากฏ เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา เมื่อพระนครศรีอยุธยาเสียแก่พม่าฆ่าศึก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐
ครั้งนั้นพวกพม่าได้เก็บทรัพย์สมบัติและผู้คนไปเมืองพม่าเสียเป็นอันมาก และยังซ้ำเผาพระมหาปราสาทพระราชมณเฑียรและวัดพระศรีสรรเพชญ์ ตลอดถึงบ้านเรือนราษฎรในพระนครนั้นด้วย ในเวลาที่พระนครศรีอยุธยาเสียแก่พม่าฆ่าศึกนั้น เจ้าตากจึงได้ไปตั้งรวบรวมรี้พลที่เมืองจันทบุรี แล้วยกกองทัพเข้ามาชิงพระนครศรีอยุธยาได้จากพวกพม่า แต่ในเวลานั้นหัวเมืองไทยที่มิได้เสียแก่พม่านั้น ต่างเมืองต่างก็ยังตั้งเป็นอิศรแก่กันอยู่ เจ้าตากคงจะเห็นว่าพระนครศรีอยุธยาใหญ่โตมาก กำลังรี้พลที่มีอยู่ไม่พอที่จะตั้งรักษาต่อสู้ฆ่าศึกได้จึงลงมาตั้งเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี
แต่เรื่องที่ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารนั้นว่า “เมื่อเจ้าตากได้พระนครศรีอยุธยาจากพม่าฆ่าศึกแล้ว ก็ดำริที่จะบำรุงพระนครให้ปรกติดีดังเก่า จึงได้เข้าไปพักแรมอยู่ ณ พระที่นั่งทรงปืนอยู่คืนหนึ่ง จึงนิมิตรฝันว่าพระมหากษัตริย์แต่ปางก่อนมาขับไล่เสียบมิให้อยู่”
ดังนี้ เจ้าตากจึงได้อพยพผู้คนพลเมืองลงมาตั้งเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ ตกลงคงปล่อยให้พระราชวังในพระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังร้างตั้งแต่นั้นมา ส่วนพระโลกนาถสาสดาจารย์ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ และต้องเพลิงเผาผลาญตั้งแต่ครั้งเสียพระนครแก่พม่าฆ่าศึกนั้น ก็ย่อมชำรุดปรักหักพังทั้งต้องตรำฝนทนแดดอยู่ในที่นั้นช้านานตลอดสมัยรัชกาลกรุงธนบุรี ครั้นถึงกรุงรัตนโกสินทรฯ พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ ครั้งนั้น จึงโปรดฯ
ให้เชิญพระโลกนาถสาสดาจารย์ลงมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทรงปฏิสังขรณ์สำเร็จแล้ว ทรงบรรจุพระบรมธาตุแล้วเชิญประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลังดังปรากฏอยู่บัดนี้
อนึ่ง พระโลกนาถสาสดาจารย์พระองค์นี้ ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นชรอยมหาชนจะนิยมกันว่า
เป็นพระพุทธรูปซึ่งทรงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่างหนึ่ง จึงเป็นมูลเหตุสืบมาในชั้นหลัง คือเจ้าจอมแว่นพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ กราบทูลความปรารถนาใคร่จะอธิษฐานขอบุตร จึงโปรดฯ ให้สลักศิลาเป็นรูปกุมารกุมารี ประดับไว้ที่ฝาผนังพระวิหารเป็นพะยานปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และมีโคลงจารึกไว้กับรูปกุมารกุมารีดังต่อไปนี้
รจนาสุดารัตนแก้ว กุมารี หนึ่งฤา
เสนอธิบายบุตรี ลาภได้
บูชิตเชฐชินศรี เฉลาฉลัก หินเฮย
บุญส่งจงลุได้ เสร็จด้วยดังถวิล
กุมารหนึ่งพึงฉลักตั้ง ติดผนัง
สถิตย์อยู่ทิศเบื้องหลัง พระไว้
คุณเสือสวาดิหวัง แสวงบุตร ชายเอย
เฉลยเหตุธิเบศร์ให้ สฤษดิแสร้งแต่งผล
โคลงจารึกไว้กับรูปกุมารกุมารีทั้ง ๒ บทนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพทรงพระวินิจฉัยไว้ดังต่อไปนี้
พระนิพนธ์
โคลงจารึกไว้กับภาพกุมารในวิหารพระโลกนาถนั้น มักเข้าใจกันว่าเป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ข้าพเจ้าได้พิจารณาดูเห็นเป็นแน่ว่า เป็นพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส จึงสันนิษฐานว่า ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อเจ้าจอมแว่นพระสนมเอก ซึ่งเรียกกันว่าคุณเสือ กราบทูลความปรารถนาใคร่จะอธิษฐานขอบุตรนั้น โปรดฯ ให้ทำแต่รูปกุมารติดไว้ เรื่องเดิมของรูปกุมารเป็นแต่บอกเล่ารู้กันมา ชรอยพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพระราชดำริเกรงคนทั้งหลายภายหลังเห็นว่า รูปกุมารไม่เกี่ยวข้องกับพระศาสนา จะรื้อทำลายเสีย จึงอาราธนาสมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯ ให้ทรงพระนิพนธ์โคลงบอกเรื่องของภาพกุมารไว้ เห็นเป็นในคราวเดียวกับเมื่อทรงขนานนามพระพุทธรูปในพระวิหารทิศ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯ จึงทรงใช้นามในโคลงว่าคุณเสือ ตามซึ่งพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเรียกก่อน แล้วคนทั้งหลายเรียกตามจนชินปากต่อมา ถ้าเป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็จะหาทรงใช้นามว่าคุณเสือเช่นนั้นไม่ อันนี้เป็นหลักสำคัญในข้อวินิจฉัย
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายสร้อยพระนามพระโลกนาถสาสดาจารย์ว่า “พระพุทธโลกนาถ ราชมหาสมมตวงศ องคอนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร” ดังนี้ แล้วโปรดฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับไว้ที่ฝาผนังดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
พระพุทธโลกนาถซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติองค์นี้มีขนาดสูง ๒๐ ศอก เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา แต่เมื่อกรุงแตก วัดต่างๆ ถูกเผาทำลายรวมถึงวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้วย ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ ขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระพุทธโลกนาถจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลังจนปัจจุบัน
พระพุทธรูปพระองค์นี้มีพระนามมาแต่เดิมว่า “พระโลกนาถสาสดาจารย์” เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปซึ่งพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาทรงสร้างขึ้น แต่จะได้สร้างขึ้นเมื่อใดนั้นมิได้ปรากฏ เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา เมื่อพระนครศรีอยุธยาเสียแก่พม่าฆ่าศึก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐
ครั้งนั้นพวกพม่าได้เก็บทรัพย์สมบัติและผู้คนไปเมืองพม่าเสียเป็นอันมาก และยังซ้ำเผาพระมหาปราสาทพระราชมณเฑียรและวัดพระศรีสรรเพชญ์ ตลอดถึงบ้านเรือนราษฎรในพระนครนั้นด้วย ในเวลาที่พระนครศรีอยุธยาเสียแก่พม่าฆ่าศึกนั้น เจ้าตากจึงได้ไปตั้งรวบรวมรี้พลที่เมืองจันทบุรี แล้วยกกองทัพเข้ามาชิงพระนครศรีอยุธยาได้จากพวกพม่า แต่ในเวลานั้นหัวเมืองไทยที่มิได้เสียแก่พม่านั้น ต่างเมืองต่างก็ยังตั้งเป็นอิศรแก่กันอยู่ เจ้าตากคงจะเห็นว่าพระนครศรีอยุธยาใหญ่โตมาก กำลังรี้พลที่มีอยู่ไม่พอที่จะตั้งรักษาต่อสู้ฆ่าศึกได้จึงลงมาตั้งเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี
แต่เรื่องที่ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารนั้นว่า “เมื่อเจ้าตากได้พระนครศรีอยุธยาจากพม่าฆ่าศึกแล้ว ก็ดำริที่จะบำรุงพระนครให้ปรกติดีดังเก่า จึงได้เข้าไปพักแรมอยู่ ณ พระที่นั่งทรงปืนอยู่คืนหนึ่ง จึงนิมิตรฝันว่าพระมหากษัตริย์แต่ปางก่อนมาขับไล่เสียบมิให้อยู่”
ดังนี้ เจ้าตากจึงได้อพยพผู้คนพลเมืองลงมาตั้งเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ ตกลงคงปล่อยให้พระราชวังในพระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังร้างตั้งแต่นั้นมา ส่วนพระโลกนาถสาสดาจารย์ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ และต้องเพลิงเผาผลาญตั้งแต่ครั้งเสียพระนครแก่พม่าฆ่าศึกนั้น ก็ย่อมชำรุดปรักหักพังทั้งต้องตรำฝนทนแดดอยู่ในที่นั้นช้านานตลอดสมัยรัชกาลกรุงธนบุรี ครั้นถึงกรุงรัตนโกสินทรฯ พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ ครั้งนั้น จึงโปรดฯ
ให้เชิญพระโลกนาถสาสดาจารย์ลงมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทรงปฏิสังขรณ์สำเร็จแล้ว ทรงบรรจุพระบรมธาตุแล้วเชิญประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลังดังปรากฏอยู่บัดนี้
อนึ่ง พระโลกนาถสาสดาจารย์พระองค์นี้ ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นชรอยมหาชนจะนิยมกันว่า
เป็นพระพุทธรูปซึ่งทรงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่างหนึ่ง จึงเป็นมูลเหตุสืบมาในชั้นหลัง คือเจ้าจอมแว่นพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ กราบทูลความปรารถนาใคร่จะอธิษฐานขอบุตร จึงโปรดฯ ให้สลักศิลาเป็นรูปกุมารกุมารี ประดับไว้ที่ฝาผนังพระวิหารเป็นพะยานปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และมีโคลงจารึกไว้กับรูปกุมารกุมารีดังต่อไปนี้
รจนาสุดารัตนแก้ว กุมารี หนึ่งฤา
เสนอธิบายบุตรี ลาภได้
บูชิตเชฐชินศรี เฉลาฉลัก หินเฮย
บุญส่งจงลุได้ เสร็จด้วยดังถวิล
กุมารหนึ่งพึงฉลักตั้ง ติดผนัง
สถิตย์อยู่ทิศเบื้องหลัง พระไว้
คุณเสือสวาดิหวัง แสวงบุตร ชายเอย
เฉลยเหตุธิเบศร์ให้ สฤษดิแสร้งแต่งผล
โคลงจารึกไว้กับรูปกุมารกุมารีทั้ง ๒ บทนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพทรงพระวินิจฉัยไว้ดังต่อไปนี้
พระนิพนธ์
โคลงจารึกไว้กับภาพกุมารในวิหารพระโลกนาถนั้น มักเข้าใจกันว่าเป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ข้าพเจ้าได้พิจารณาดูเห็นเป็นแน่ว่า เป็นพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส จึงสันนิษฐานว่า ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อเจ้าจอมแว่นพระสนมเอก ซึ่งเรียกกันว่าคุณเสือ กราบทูลความปรารถนาใคร่จะอธิษฐานขอบุตรนั้น โปรดฯ ให้ทำแต่รูปกุมารติดไว้ เรื่องเดิมของรูปกุมารเป็นแต่บอกเล่ารู้กันมา ชรอยพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพระราชดำริเกรงคนทั้งหลายภายหลังเห็นว่า รูปกุมารไม่เกี่ยวข้องกับพระศาสนา จะรื้อทำลายเสีย จึงอาราธนาสมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯ ให้ทรงพระนิพนธ์โคลงบอกเรื่องของภาพกุมารไว้ เห็นเป็นในคราวเดียวกับเมื่อทรงขนานนามพระพุทธรูปในพระวิหารทิศ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯ จึงทรงใช้นามในโคลงว่าคุณเสือ ตามซึ่งพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเรียกก่อน แล้วคนทั้งหลายเรียกตามจนชินปากต่อมา ถ้าเป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็จะหาทรงใช้นามว่าคุณเสือเช่นนั้นไม่ อันนี้เป็นหลักสำคัญในข้อวินิจฉัย
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายสร้อยพระนามพระโลกนาถสาสดาจารย์ว่า “พระพุทธโลกนาถ ราชมหาสมมตวงศ องคอนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร” ดังนี้ แล้วโปรดฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับไว้ที่ฝาผนังดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
“พระพุทธมารวิชัย” ในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหน้า
“พระพุทธชินศรี” ในพระวิหารทิศตะวันตกมุขหน้า
พระพุทธชินศรี
มีอีกชื่อหนึ่งว่า
พระนาคปรก พระประธานในพระวิหารทิศตะวันตกมุขหน้า
เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว อัญเชิญมาจากเมืองลพบุรี ครั้นบูรณปฏิสังขรณ์แล้วจึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังองค์พระประธานด้วย จึงเรียกพระนามขององค์พระประธานว่า “พระนาคปรก” ดังปรากฏความใน “จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่
๑” ว่า
“...พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้ว ประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบันจุพระบรมธาตุ์ ถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพั้งพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องระเกษธาตุ์...”
พระพุทธรูปพระประธานในพระวิหารทิศตะวันตก มีเจตนาให้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก มาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พระองค์จึงถวายพระนามพระพุทธรูปว่า พระนาคปรก และทำพญานาคพร้อมด้วยต้นจิกประกอบ
แม้ว่าต่อมาจะอัญเชิญพระพุทธชินศรีจากสุโขทัย มาประดิษฐานแทนพระพุทธรูปองค์เดิม แต่แนวคิดเรื่องการเป็นพระพุทธรูปนาคปรกก็มิได้สูญหายไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร”ซึ่งย่อมมีเจตนาให้มีความหมายถึงพระพุทธประวัติตอนนาคปรกนั่นเอง
ปัจจุบันภายใน พระวิหารทิศตะวันตกมุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งประดิษฐานอยู่ นามว่า “พระพุทธชินศรี” หรือนามทางการว่า“พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร” และภายใน พระวิหารทิศใต้มุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งประดิษฐานอยู่ นามว่า “พระพุทธชินราช” หรือนามทางการว่า“พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”
พระพุทธชินราช และพระพุทธชินศรีทั้ง ๒ พระองค์นี้ ปรากฏว่าเดิมได้ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองสุโขทัย แต่ใครจะเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นยากที่จะทราบได้ ถึงในศิลาจารึกครั้งสมัยรัชกาลพระเจ้าขุนรามคำแหง ก็กล่าวไว้แต่เพียงว่า “กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารส
มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันงาม” ดังนี้ และในศิลาจารึกครั้งสมัยรัชกาลพระเจ้าลิไทย ต่อนั้นมา ก็กล่าวไว้ว่า “พระเจ้าลิไทยได้หล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์และพระศรีอาริย์” ดังนี้เป็นต้น
ในจารึกทั้ง ๒ รัชกาลนี้ หาได้กล่าวถึงพระพุทธชินราช และพระพุทธชินศรี ทั้ง ๒ พระองค์นี้ไม่ เพราะฉะนั้นจึงน่าจะสันนิษฐานว่าพระยาไสยฤาไทย ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระเจ้าลิไทย ผู้ครองกรุงสุโขทัยต่อนั้นมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชา ได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นพระพุทธรูปสำคัญในรัชกาลของพระองค์ และคงจะได้ถวายพระนามว่า พระพุทธชินราชพระองค์หนึ่ง พระพุทธชินศรีพระองค์หนึ่ง มาตั้งแต่แรกสร้างนั้นแล้ว
ดังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่า“ครั้นเสร็จการฉลองพระอารามแล้ว ภายหลังทรงพระกรุณาให้เชิญพระปฏิมากรทั้ง ๒ ซึ่งสถิตย์อยู่ในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศและประจิมทิศนั้น ขึ้นไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ให้เชิญพระปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์ ซึ่งเชิญมาแต่เมืองสุโขทัย น่าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งเท่ากัน พระองค์หนึ่งทรงพระนาม พระพุทธชินราช เข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศ พระองค์หนึ่งทรงพระนาม พระพุทธชินศรี เข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายประจิมทิศ” ดังนี้ และพระนามทั้ง ๒ นี้ก็น่าจะเลียนอย่างพระนาม พระพุทธชินราชและพระพุทธชินศรีเมืองพิษณุโลกนั้นด้วย
พระพุทธชินศรี เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ลักษณะคือพระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย ทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะคือพระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระองค์ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน ๔ ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค ๗ เศียร และมีต้นจิกอยู่ถัดออกไปทางเบื้องหลัง
ตามปกติแล้วพระพุทธรูปปางนาคปรกนิยมทำพระหัตถ์ในท่าสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางเหนือพระเพลา โดยพระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย แต่พระพุทธชินศรีกลับอยู่ในท่ามารวิชัย เป็นสิ่งที่อยู่นอกแบบแผนประเพณี ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่า เพราะขนดนาคกับพระพุทธรูปมิได้สร้างขึ้นครั้งเดียวกัน โดยขนดนาคทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ส่วนพระพุทธชินศรีสร้างขึ้นครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งเป็นยุคสมัยที่นิยมพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นโดยมิได้ตั้งใจให้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกมาแต่แรก แต่ด้วยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่โปรดอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ มาประดิษฐานไว้เหนือขนดนาค จึงทำให้เกิดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยู่บนขนดนาค
สำหรับในส่วนของนาคยังมีข้อน่าสังเกตเพิ่มเติมอีก กล่าวคือ คัมภีร์พุทธศาสนาต่างพรรณนาเหตุการณ์นี้ว่าพญานาคมุจลินท์ขนดกาย ล้อมองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ รอบ และแผ่พังพานปกป้องพระเศียร แต่ขนดนาคที่ปรากฏร่วมกันกับพระพุทธชินศรีกลับทำในลักษณะของบัลลังก์ ให้พระพุทธองค์ประทับ มิได้ล้อมรอบ และพังพานนาคก็มิได้ปกเหนือพระเศียรอย่างมิดชิด แต่เหมือนแผ่อยู่เบื้องหลังมากกว่า แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับคัมภีร์พุทธศาสนา แต่นาคในลักษณะเช่นนี้ก็นิยมทำกันมาเนิ่นนานแล้ว และสร้างพลังศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี ประหนึ่งว่าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหนือพญานาค แต่หากทำขนดนาคล้อมรอบ ๗ รอย และแผ่พังพานคุ้มกันอย่างมิดชิด อาจให้ความรู้สึกอึดอัดต่อผู้พบเห็น เพราะเสมือนว่าพระพุทธองค์กำลังถูกนาคทำร้าย
พระพุทธชินศรี มีรูปแบบตามอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยสอดคล้องกันกับประวัติที่ระบุว่าอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ ก็ดูละม้ายกับพระพุทธสมัยรัตนโกสินทร์อยู่บ้าง ชวนให้นึกถึงข้อมูลเอกสารที่ระบุว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดหักพังจากหัวเมืองต่างๆ คือ พิษณุโลก สวรรคโลก สุโขทัย ลพบุรี อยุธยา จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มาปฏิสังขรณ์ อาทิ ต่อพระศอ พระเศียร พระบาท พระหัตถ์ที่ชำรุดเสียหาย แปลงพระพักตร์ แปลงพระองค์ให้งดงาม อาจเป็นไปได้ว่า พระพุทธชินศรี ก็เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาในครั้งนี้ด้วย
“...พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้ว ประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบันจุพระบรมธาตุ์ ถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพั้งพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องระเกษธาตุ์...”
พระพุทธรูปพระประธานในพระวิหารทิศตะวันตก มีเจตนาให้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก มาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พระองค์จึงถวายพระนามพระพุทธรูปว่า พระนาคปรก และทำพญานาคพร้อมด้วยต้นจิกประกอบ
แม้ว่าต่อมาจะอัญเชิญพระพุทธชินศรีจากสุโขทัย มาประดิษฐานแทนพระพุทธรูปองค์เดิม แต่แนวคิดเรื่องการเป็นพระพุทธรูปนาคปรกก็มิได้สูญหายไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร”ซึ่งย่อมมีเจตนาให้มีความหมายถึงพระพุทธประวัติตอนนาคปรกนั่นเอง
ปัจจุบันภายใน พระวิหารทิศตะวันตกมุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งประดิษฐานอยู่ นามว่า “พระพุทธชินศรี” หรือนามทางการว่า“พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร” และภายใน พระวิหารทิศใต้มุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งประดิษฐานอยู่ นามว่า “พระพุทธชินราช” หรือนามทางการว่า“พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”
พระพุทธชินราช และพระพุทธชินศรีทั้ง ๒ พระองค์นี้ ปรากฏว่าเดิมได้ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองสุโขทัย แต่ใครจะเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นยากที่จะทราบได้ ถึงในศิลาจารึกครั้งสมัยรัชกาลพระเจ้าขุนรามคำแหง ก็กล่าวไว้แต่เพียงว่า “กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารส
มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันงาม” ดังนี้ และในศิลาจารึกครั้งสมัยรัชกาลพระเจ้าลิไทย ต่อนั้นมา ก็กล่าวไว้ว่า “พระเจ้าลิไทยได้หล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์และพระศรีอาริย์” ดังนี้เป็นต้น
ในจารึกทั้ง ๒ รัชกาลนี้ หาได้กล่าวถึงพระพุทธชินราช และพระพุทธชินศรี ทั้ง ๒ พระองค์นี้ไม่ เพราะฉะนั้นจึงน่าจะสันนิษฐานว่าพระยาไสยฤาไทย ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระเจ้าลิไทย ผู้ครองกรุงสุโขทัยต่อนั้นมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชา ได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นพระพุทธรูปสำคัญในรัชกาลของพระองค์ และคงจะได้ถวายพระนามว่า พระพุทธชินราชพระองค์หนึ่ง พระพุทธชินศรีพระองค์หนึ่ง มาตั้งแต่แรกสร้างนั้นแล้ว
ดังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่า“ครั้นเสร็จการฉลองพระอารามแล้ว ภายหลังทรงพระกรุณาให้เชิญพระปฏิมากรทั้ง ๒ ซึ่งสถิตย์อยู่ในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศและประจิมทิศนั้น ขึ้นไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ให้เชิญพระปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์ ซึ่งเชิญมาแต่เมืองสุโขทัย น่าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งเท่ากัน พระองค์หนึ่งทรงพระนาม พระพุทธชินราช เข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศ พระองค์หนึ่งทรงพระนาม พระพุทธชินศรี เข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายประจิมทิศ” ดังนี้ และพระนามทั้ง ๒ นี้ก็น่าจะเลียนอย่างพระนาม พระพุทธชินราชและพระพุทธชินศรีเมืองพิษณุโลกนั้นด้วย
พระพุทธชินศรี เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ลักษณะคือพระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย ทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะคือพระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระองค์ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน ๔ ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค ๗ เศียร และมีต้นจิกอยู่ถัดออกไปทางเบื้องหลัง
ตามปกติแล้วพระพุทธรูปปางนาคปรกนิยมทำพระหัตถ์ในท่าสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางเหนือพระเพลา โดยพระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย แต่พระพุทธชินศรีกลับอยู่ในท่ามารวิชัย เป็นสิ่งที่อยู่นอกแบบแผนประเพณี ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่า เพราะขนดนาคกับพระพุทธรูปมิได้สร้างขึ้นครั้งเดียวกัน โดยขนดนาคทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ส่วนพระพุทธชินศรีสร้างขึ้นครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งเป็นยุคสมัยที่นิยมพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นโดยมิได้ตั้งใจให้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกมาแต่แรก แต่ด้วยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่โปรดอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ มาประดิษฐานไว้เหนือขนดนาค จึงทำให้เกิดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยู่บนขนดนาค
สำหรับในส่วนของนาคยังมีข้อน่าสังเกตเพิ่มเติมอีก กล่าวคือ คัมภีร์พุทธศาสนาต่างพรรณนาเหตุการณ์นี้ว่าพญานาคมุจลินท์ขนดกาย ล้อมองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ รอบ และแผ่พังพานปกป้องพระเศียร แต่ขนดนาคที่ปรากฏร่วมกันกับพระพุทธชินศรีกลับทำในลักษณะของบัลลังก์ ให้พระพุทธองค์ประทับ มิได้ล้อมรอบ และพังพานนาคก็มิได้ปกเหนือพระเศียรอย่างมิดชิด แต่เหมือนแผ่อยู่เบื้องหลังมากกว่า แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับคัมภีร์พุทธศาสนา แต่นาคในลักษณะเช่นนี้ก็นิยมทำกันมาเนิ่นนานแล้ว และสร้างพลังศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี ประหนึ่งว่าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหนือพญานาค แต่หากทำขนดนาคล้อมรอบ ๗ รอย และแผ่พังพานคุ้มกันอย่างมิดชิด อาจให้ความรู้สึกอึดอัดต่อผู้พบเห็น เพราะเสมือนว่าพระพุทธองค์กำลังถูกนาคทำร้าย
พระพุทธชินศรี มีรูปแบบตามอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยสอดคล้องกันกับประวัติที่ระบุว่าอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ ก็ดูละม้ายกับพระพุทธสมัยรัตนโกสินทร์อยู่บ้าง ชวนให้นึกถึงข้อมูลเอกสารที่ระบุว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดหักพังจากหัวเมืองต่างๆ คือ พิษณุโลก สวรรคโลก สุโขทัย ลพบุรี อยุธยา จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มาปฏิสังขรณ์ อาทิ ต่อพระศอ พระเศียร พระบาท พระหัตถ์ที่ชำรุดเสียหาย แปลงพระพักตร์ แปลงพระองค์ให้งดงาม อาจเป็นไปได้ว่า พระพุทธชินศรี ก็เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาในครั้งนี้ด้วย
“พระพุทธชินราช” ในพระวิหารทิศใต้มุขหน้า
พระพุทธชินราช
มีอักชื่อหนึ่งว่า
พระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร พระประธานในพระวิหารทิศใต้มุขหน้า เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสี่ศอกห้านิ้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากกรุงเก่า
ดังปรากฏความใน “จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่
๑” ว่า
“...พระพุทธรูปน่าตักสี่ศอกห้านิ้วเชิญมาแต่กรุงเก่า ปติสังขรณ์เสรจ์แล้วประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศใต้ ถวายพระนามว่าพระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร มีพระปัญจะภักดีทั้งห้านั่งฟังพระธรรมเทศนาด้วย แลผนังนั้นเขียนเรื่องเทศนาพระธรรมจักรและเทศนาดาวดึงส์...”
ในจารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑ ภายหลังจากมีการฉลองพระอาราม วัดพระเชตุพนแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญพระประธานพระวิหารทิศใต้และทิศตะวันตกไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) และโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัยมาประดิษฐานไว้แทน ข้อความในร่างจารึกเดียวกันนี้ ยังกล่าวถึงการเชิญพระบรมธาตุ เข้าประดิษฐานในพระชินราชด้วย ดังความว่า
“...แล้วเชิญพระบรมธาตุในพระราชวัง ๑๑ พระองค์นั้น บรรจบกับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่านเข้ากัน ๖๐ พระองค์ กับทั้งเครื่องสักการบูชาเก่าใหม่ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระชินราช เชิญขึ้นสถิตเหนือวิจิตรบวรพุทธอาสนในพระวิหารด้านประจิมทิศ ไว้เป็นที่เจดียถานให้เป็นที่สักการบูชาสนองพระพุทธองค์ ดุจทรงนั่งตรัสพระธรรมเทศนาพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคียภิกษุทั้ง ๕ ในอิสิปัตนมฤคทายวัน จึงเชิญธาตุอรหันต์ ๑๘๖ พระองค์ ใส่ในพระโกศแก้ว ๕ ใบ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระปัญจวัคคียภิกษุสาวกทั้ง ๕...”
นอกจากนั้น “โคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์” ซึ่งกล่าวถึงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีการกล่าวถึง “พระพุทธชินราช” หรือ “พระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร” ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารทิศใต้ ไว้ว่า
ศุโขทัยธรรมราชผู้ นามชิน ราชฤา
สถิตย์วิหารทักษิณ มุขหน้า
ธรรมจักรแจกพรหมินทร์ หมื่นภพ ผองเฮย
เบญจพัคคีย์มีห้า อยู่เฝ้าสดับแสดงฯ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ถวายพระนามพระพุทธชินราช ดังปรากฏในจารึกที่ฐานพระพุทธชินราช ว่า “พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”
“...พระพุทธรูปน่าตักสี่ศอกห้านิ้วเชิญมาแต่กรุงเก่า ปติสังขรณ์เสรจ์แล้วประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศใต้ ถวายพระนามว่าพระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร มีพระปัญจะภักดีทั้งห้านั่งฟังพระธรรมเทศนาด้วย แลผนังนั้นเขียนเรื่องเทศนาพระธรรมจักรและเทศนาดาวดึงส์...”
ในจารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑ ภายหลังจากมีการฉลองพระอาราม วัดพระเชตุพนแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญพระประธานพระวิหารทิศใต้และทิศตะวันตกไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) และโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัยมาประดิษฐานไว้แทน ข้อความในร่างจารึกเดียวกันนี้ ยังกล่าวถึงการเชิญพระบรมธาตุ เข้าประดิษฐานในพระชินราชด้วย ดังความว่า
“...แล้วเชิญพระบรมธาตุในพระราชวัง ๑๑ พระองค์นั้น บรรจบกับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่านเข้ากัน ๖๐ พระองค์ กับทั้งเครื่องสักการบูชาเก่าใหม่ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระชินราช เชิญขึ้นสถิตเหนือวิจิตรบวรพุทธอาสนในพระวิหารด้านประจิมทิศ ไว้เป็นที่เจดียถานให้เป็นที่สักการบูชาสนองพระพุทธองค์ ดุจทรงนั่งตรัสพระธรรมเทศนาพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคียภิกษุทั้ง ๕ ในอิสิปัตนมฤคทายวัน จึงเชิญธาตุอรหันต์ ๑๘๖ พระองค์ ใส่ในพระโกศแก้ว ๕ ใบ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระปัญจวัคคียภิกษุสาวกทั้ง ๕...”
นอกจากนั้น “โคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์” ซึ่งกล่าวถึงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีการกล่าวถึง “พระพุทธชินราช” หรือ “พระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร” ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารทิศใต้ ไว้ว่า
ศุโขทัยธรรมราชผู้ นามชิน ราชฤา
สถิตย์วิหารทักษิณ มุขหน้า
ธรรมจักรแจกพรหมินทร์ หมื่นภพ ผองเฮย
เบญจพัคคีย์มีห้า อยู่เฝ้าสดับแสดงฯ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ถวายพระนามพระพุทธชินราช ดังปรากฏในจารึกที่ฐานพระพุทธชินราช ว่า “พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”
“พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑
เป็นที่ประดิษฐาน “พระศรีสรรเพชญ์” พระพุทธรูปยืนขนาดสูง ๑๖ เมตร
พระศรีสรรเพชญ์
เป็นพระพุทธรูปยืนอีกองค์หนึ่ง
ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก เพราะเป็นพระพุทธรูปยืนที่ประดิษฐานอยู่ใน พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ เจดีย์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียวซึ่งเป็นพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่
๑ “พระศรีสรรเพชญ์” นั้นเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่มีขนาดสูง
๑๖ เมตร เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์
ในพระราชวังพระนครศรีอยุธยา เช่นเดียวกับพระพุทธโลกนาถ
และได้ถูกข้าศึกทำลายในคราวกรุงแตกเช่นเดียวกัน อีกทั้งข้าศึกยังได้เอาไฟเผาเพื่อหลอมทองที่หุ้มองค์พระออกไปด้วย
องค์พระพุทธรูป “พระศรีสรรเพชญ์” จึงมีความเสียหายอย่างหนัก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เคยโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระศรีสรรเพชญ์ที่ชำรุดมากด้วยการหล่อขึ้นใหม่ แต่มีผู้ทัดทานไว้ว่าพระศรีสรรเพชญ์ได้เคยสร้างสำเร็จเป็นองค์พระพุทธรูปแล้ว ไม่ควรเอาเข้าไฟหล่อขึ้นใหม่อีก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่เหลือแต่แกนพระไว้ในพระมหาเจดีย์ และถวายนามพระมหาเจดีย์ตามชื่อของพระพุทธรูปว่า “พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” นั่นเอง
ซุ้มประตูทรงมงกุฏ เป็นซุ้มประตูทางเข้าวัด
ประดับกระเบื้องที่ตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้เรียงกัน ลดหลั่นสีสันสดสวย
งานกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีสันต่างๆ นำมาตัดด้วยคีมเหล็ก
และเล็มจนมนเป็นกลีบดอกไม้แล้วนำมาเรียงเป็นลวดลายดอกไม้
ประดับอยู่ตามพุทธสถานต่างๆ ในวัดนี้นับเป็นประณีตศิลป์ที่เป็นอยู่ทั่วไป
ซุ้มประตูทางเข้าเขตพุทธาวาสของวัดมีทั้งหมด ๑๖ ประตู
เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า งานสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงมงกุฎนี้
เป็นรูปแบบที่รัชกาลที่ ๓ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ
ครั้นเมื่อลอดซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าไปทุกประตู
แล้วหันหลังกลับจะเห็น ตุ๊กตารูปสลักศิลาหน้าตาเป็นจีน
มือถือศาสตราวุธ ยืนเฝ้าด้านซ้ายขวาเรียกว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล”
รูปตุ๊กตาศิลปะจีนนั้นจะเห็นตั้งประดับอยู่มากมายหลายแห่งทั่ววัด
“ซุ้มประตูทรงมงกุฏ” ซุ้มประตูเข้า-ออกวัด
ซึ่งมี “ลั่นถัน นายทวารบาล” ยืนถือศาสตราวุธเฝ้าซุ้มอยู่
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เคยโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระศรีสรรเพชญ์ที่ชำรุดมากด้วยการหล่อขึ้นใหม่ แต่มีผู้ทัดทานไว้ว่าพระศรีสรรเพชญ์ได้เคยสร้างสำเร็จเป็นองค์พระพุทธรูปแล้ว ไม่ควรเอาเข้าไฟหล่อขึ้นใหม่อีก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่เหลือแต่แกนพระไว้ในพระมหาเจดีย์ และถวายนามพระมหาเจดีย์ตามชื่อของพระพุทธรูปว่า “พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” นั่นเอง
ซุ้มประตูทรงมงกุฏ เป็นซุ้มประตูทางเข้าวัด
ประดับกระเบื้องที่ตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้เรียงกัน ลดหลั่นสีสันสดสวย
งานกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีสันต่างๆ นำมาตัดด้วยคีมเหล็ก
และเล็มจนมนเป็นกลีบดอกไม้แล้วนำมาเรียงเป็นลวดลายดอกไม้
ประดับอยู่ตามพุทธสถานต่างๆ ในวัดนี้นับเป็นประณีตศิลป์ที่เป็นอยู่ทั่วไป
ซุ้มประตูทางเข้าเขตพุทธาวาสของวัดมีทั้งหมด ๑๖ ประตู
เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า งานสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงมงกุฎนี้
เป็นรูปแบบที่รัชกาลที่ ๓ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ
ครั้นเมื่อลอดซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าไปทุกประตู
แล้วหันหลังกลับจะเห็น ตุ๊กตารูปสลักศิลาหน้าตาเป็นจีน
มือถือศาสตราวุธ ยืนเฝ้าด้านซ้ายขวาเรียกว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล”
รูปตุ๊กตาศิลปะจีนนั้นจะเห็นตั้งประดับอยู่มากมายหลายแห่งทั่ววัด
“ซุ้มประตูทรงมงกุฏ” ซุ้มประตูเข้า-ออกวัด
ซึ่งมี “ลั่นถัน นายทวารบาล” ยืนถือศาสตราวุธเฝ้าซุ้มอยู่