วัดประจำรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร
ด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสาราม (ด้านริมคลองด่าน)
ประวัติความเป็นมา
เป็นวัดเก่าแก่มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า ‘วัดจอมทอง’ บ้าง ‘วัดเจ้าทอง’ บ้าง หรือ ‘วัดกองทอง’ บ้าง
มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนา “วัดราชโอรสาราม” นั้น
สืบเนื่องจากบริเวณนี้เป็นนิวาสสถานของพระประยูรญาติ ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีของพระองค์ คือ กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๒) ธิดาของพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) ซึ่งมีจวนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นที่ตั้งวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน กับคุณหญิงเพ็ง
ซึ่งเป็นธิดาของพระยาราชวังสัน (หวัง) บ้านอยู่ข้างวัดหงส์รัตนาราม และท่านชู ท่านชูนี้เป็นพระปัยยิกา (ยายทวด) ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวกันว่าเป็นธิดาของคฤหบดีชาวสวน มีนิวาสสถานอยู่แถววัดหนังซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของวัดจอมทอง โดยมีคลองบางหว้าคั่นอยู่บริเวณสองฟากคลองด่านและคลองบางหว้า ซึ่งมีวัดอยู่ ๓ วัดคือ วัดจอมทอง วัดหนัง และวัดนางนอง จึงมีพวกชาวสวนผู้เป็นวงศาคณาญาติของท่านชูอยู่จำนวนมาก และกล่าวได้ว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นพระประยูรญาติ ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น
เป็นวัดเก่าแก่มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า ‘วัดจอมทอง’ บ้าง ‘วัดเจ้าทอง’ บ้าง หรือ ‘วัดกองทอง’ บ้าง
มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนา “วัดราชโอรสาราม” นั้น
สืบเนื่องจากบริเวณนี้เป็นนิวาสสถานของพระประยูรญาติ ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีของพระองค์ คือ กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๒) ธิดาของพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) ซึ่งมีจวนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นที่ตั้งวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน กับคุณหญิงเพ็ง
ซึ่งเป็นธิดาของพระยาราชวังสัน (หวัง) บ้านอยู่ข้างวัดหงส์รัตนาราม และท่านชู ท่านชูนี้เป็นพระปัยยิกา (ยายทวด) ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวกันว่าเป็นธิดาของคฤหบดีชาวสวน มีนิวาสสถานอยู่แถววัดหนังซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของวัดจอมทอง โดยมีคลองบางหว้าคั่นอยู่บริเวณสองฟากคลองด่านและคลองบางหว้า ซึ่งมีวัดอยู่ ๓ วัดคือ วัดจอมทอง วัดหนัง และวัดนางนอง จึงมีพวกชาวสวนผู้เป็นวงศาคณาญาติของท่านชูอยู่จำนวนมาก และกล่าวได้ว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นพระประยูรญาติ ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น
สำหรับเจ้าอาวาสวัดจอมทองในสมัยนั้น
คงจะเป็นที่รู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
มาตั้งแต่ยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในรัชกาลที่ ๒ และคงจะเป็นพระเถระที่มีความชำนาญทางวิปัสสนา
ดังนั้นเมื่อทรงสถาปนาพระอารามแล้ว จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
เป็นพระสุธรรมเทพเถระ รวมทั้งมีผู้เล่าว่าท่านชำนาญในการพยากรณ์ยามสามตา ด้วยความชำนาญด้านนี้อาจเป็นสาเหตุให้วัดจอมทองได้รับการสถาปนาใหม่
กล่าวคือในเดือน ๑๑ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีข่าวเข้ามายังพระนครว่า พม่าตระเตรียมกำลังพลจะยกทัพ เข้ามายังประเทศสยามอีกหลังจากเสร็จศึกเก้าทัพแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓) ทรงเป็นแม่ทัพคุมพลหมื่นหนึ่งเสด็จไปตั้งขัดตาทัพพม่า ทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ ณ ตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี
พระองค์ได้เสด็จยาตราทัพออกจากกรุงเทพฯ โดยทางเรือ เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะโรงนั้นเอง เส้นทางยาตราทัพในวันแรก ได้ผ่านคลองบางกอกใหญ่เข้าคลองด่าน เมื่อเสด็จถึง ‘วัดจอมทอง’
ซึ่งเป็นวัดโบราณ ก็เสด็จหยุดประทับแรมที่หน้าวัด และได้ทรงกระทำพิธีเบิกโขลนทวารตามลักษณะพิชัยสงคราม ณ ที่วัดแห่งนี้ด้วย ดังมีความในหนังสือนิราศตามเสด็จทัพลำแม่น้ำน้อยที่พระยาตรังคภูมาภิบาล (พระยาตรัง) กวีเอก ผู้โดยเสด็จราชการทัพครั้งนี้ บรรยายถึงการกระทำพิธีนี้ไว้ว่า
“อาดาลอาหุดิห้อม โหมสนาน
กล่าวคือในเดือน ๑๑ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีข่าวเข้ามายังพระนครว่า พม่าตระเตรียมกำลังพลจะยกทัพ เข้ามายังประเทศสยามอีกหลังจากเสร็จศึกเก้าทัพแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓) ทรงเป็นแม่ทัพคุมพลหมื่นหนึ่งเสด็จไปตั้งขัดตาทัพพม่า ทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ ณ ตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี
พระองค์ได้เสด็จยาตราทัพออกจากกรุงเทพฯ โดยทางเรือ เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะโรงนั้นเอง เส้นทางยาตราทัพในวันแรก ได้ผ่านคลองบางกอกใหญ่เข้าคลองด่าน เมื่อเสด็จถึง ‘วัดจอมทอง’
ซึ่งเป็นวัดโบราณ ก็เสด็จหยุดประทับแรมที่หน้าวัด และได้ทรงกระทำพิธีเบิกโขลนทวารตามลักษณะพิชัยสงคราม ณ ที่วัดแห่งนี้ด้วย ดังมีความในหนังสือนิราศตามเสด็จทัพลำแม่น้ำน้อยที่พระยาตรังคภูมาภิบาล (พระยาตรัง) กวีเอก ผู้โดยเสด็จราชการทัพครั้งนี้ บรรยายถึงการกระทำพิธีนี้ไว้ว่า
“อาดาลอาหุดิห้อม โหมสนาน
ถึกพฤฒิพราหมณ์ โสรจเกล้า
ชีพ่อเบิกโขลนทวาร ทวีเทวศ วายแล
ลารูปพระเจ้าปั้น แปดมือ”
ในพิธีดังกล่าวนี้พระองค์ได้ทรงตั้งจิตอธิษฐานขอให้เสด็จไปราชการทัพ คราวนี้ประสบความสำเร็จ เสด็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ หากมีชัยชนะกับศึกครั้งนี้เมื่อไร จะกลับมาบูรณะวัดให้เจริญรุ่งเรือง และท่านเจ้าอาวาสวัดจอมทองคงจะได้ถวายคำพยากรณ์ไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทรงเลื่อมใส เมื่อได้ยาตราทัพไปตั้งอยู่ ณ เมืองกาญจนบุรี จะย่างเข้าสู่ปีมะเส็งในปี พ.ศ. ๒๓๖๔ แล้ว ปรากฏว่าสุดท้ายก็ยังไม่มีวี่แววว่าข้าศึกพม่าจะยกทัพเข้ามาตามที่เล่าลือกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เลิกกองทัพ เสด็จกลับพระนคร เมื่อราวเดือน ๖-๗ ในปีมะเส็งนั้น
ครั้นเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ก็ทรงเริ่มปฏิสังขรณ์วัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งวัดเหมือนสร้างใหม่ ได้เสด็จมาประทับคุมงานและตรวจตราการก่อสร้าง ด้วยพระองค์เองตลอดมา เสร็จแล้วได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดราชโอรส’ หมายถึงว่าเป็นวัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนา เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชโอรสซึ่งเป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์
ในพิธีดังกล่าวนี้พระองค์ได้ทรงตั้งจิตอธิษฐานขอให้เสด็จไปราชการทัพ คราวนี้ประสบความสำเร็จ เสด็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ หากมีชัยชนะกับศึกครั้งนี้เมื่อไร จะกลับมาบูรณะวัดให้เจริญรุ่งเรือง และท่านเจ้าอาวาสวัดจอมทองคงจะได้ถวายคำพยากรณ์ไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทรงเลื่อมใส เมื่อได้ยาตราทัพไปตั้งอยู่ ณ เมืองกาญจนบุรี จะย่างเข้าสู่ปีมะเส็งในปี พ.ศ. ๒๓๖๔ แล้ว ปรากฏว่าสุดท้ายก็ยังไม่มีวี่แววว่าข้าศึกพม่าจะยกทัพเข้ามาตามที่เล่าลือกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เลิกกองทัพ เสด็จกลับพระนคร เมื่อราวเดือน ๖-๗ ในปีมะเส็งนั้น
ครั้นเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ก็ทรงเริ่มปฏิสังขรณ์วัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งวัดเหมือนสร้างใหม่ ได้เสด็จมาประทับคุมงานและตรวจตราการก่อสร้าง ด้วยพระองค์เองตลอดมา เสร็จแล้วได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดราชโอรส’ หมายถึงว่าเป็นวัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนา เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชโอรสซึ่งเป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์
ด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสาราม (ด้านริมคลองด่าน)
‘ซุ้มประตูแบบเก๋งจีน’ ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ
ซึ่งประดับด้วยกระเบื้องสีปูนปั้น ประดิษฐ์เป็นลวดลายดอกเบญจมาศ
ด้านเหนือของ ‘พระอุโบสถ’ วัดราชโอรสาราม
ตั้งอยู่ริมคลองด่าน และริมทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย
สถานะและที่ตั้ง
พระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิดราชวรวิหาร ที่ตั้ง ๒๕๘ ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพ ใหญ่
กรุงเทพมหานคร สังกัด มหานิกาย
สิ่งสำคัญในวัด
“พระอุโบสถ” วัดราชโอรสาราม
พระอุโบสถ
มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมผสมระหว่างไทยและจีน หลังคาเป็นแบบจีนสองชั้นแต่มุงกระเบื้องสีแบบไทย ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หรือไม่มีเครื่องบน หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ สวยงาม แต่งเป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ มีรูปสัตว์มงคลตามคติของจีน คือ มังกร หงส์ และนกยูงอยู่รอบๆ แจกัน ตอนล่างเป็นภาพทิวทัศน์มีบ้านเรือน สัตว์เลี้ยง ภูเขา ต้นไม้ ตามขอบหลังคาประดับกระเบื้องสี และถ้วยชามโดยรอบ
บริเวณหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถยังมี “นายทวารบาล” ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ ๒ ตัว ขนาดใหญ่กว่าคนจริง เป็นรูปชาวจีนหน้าตาดุดันยืนเฝ้าประตูอยู่ดูน่าเกรงขาม ดูจากลายเสื้อซึ่งเป็นลายมังกรของตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นรูปเยาวกษัตริย์ของจีน
มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมผสมระหว่างไทยและจีน หลังคาเป็นแบบจีนสองชั้นแต่มุงกระเบื้องสีแบบไทย ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หรือไม่มีเครื่องบน หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ สวยงาม แต่งเป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ มีรูปสัตว์มงคลตามคติของจีน คือ มังกร หงส์ และนกยูงอยู่รอบๆ แจกัน ตอนล่างเป็นภาพทิวทัศน์มีบ้านเรือน สัตว์เลี้ยง ภูเขา ต้นไม้ ตามขอบหลังคาประดับกระเบื้องสี และถ้วยชามโดยรอบ
บริเวณหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถยังมี “นายทวารบาล” ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ ๒ ตัว ขนาดใหญ่กว่าคนจริง เป็นรูปชาวจีนหน้าตาดุดันยืนเฝ้าประตูอยู่ดูน่าเกรงขาม ดูจากลายเสื้อซึ่งเป็นลายมังกรของตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นรูปเยาวกษัตริย์ของจีน
ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างพระอุโบสถประดับกระเบื้องสีปูนปั้น
ประดิษฐ์เป็นลวดลายดอกเบญจมาศ สำหรับ ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ นั้น เดิมเป็นยอดทรงจุลมงกุฏหรือพระเกี้ยวแปลง
ทำนองเดียวกับวัดสุทัศนเทพวราราม มาเปลี่ยนเป็น ซุ้มประตูแบบเก๋งจีน เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง
บานประตูด้านนอกพระอุโบสถ ลงรัก ประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆ ล้อมกรอบด้วยลายดอกเบญจมาศสลับลายอาวุธจีน
ฝีมือละเอียดประณีตและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ถือว่ามีแห่งเดียวของวัดในประเทศไทย ส่วน
ด้านในของประตูพระอุโบสถ เป็นภาพทวารบาลแต่งกายแบบจีน สำหรับ บานหน้าต่างพระอุโบสถ
นั้นแกะสลักเป็นรูปมังกรดั้นเมฆ ทำนองเดียวกับบานประตู
มังกรถือเป็นสัตว์มงคลตามคติจีน
ถะ (สถูปเจดีย์) และอับเฉาเรือรูปสิงโตแบบจีน
ใกล้พระปรางค์สีขาว บริเวณมุมด้านหน้าพระอุโบสถ
หน้าบันพระอุโบสถ ประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ สวยงาม
แต่งเป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ มีรูปสัตว์มงคลตามคติของจีน
“นายทวารบาล” ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบหน้าประตูพระอุโบสถ
บานประตูด้านนอกพระอุโบสถลงรักประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆ
ล้อมกรอบด้วยลายดอกเบญจมาศสลับลายอาวุธจีน
‘กระจกโบราณ’ เครื่องตกแต่งภายในพระอุโบสถ
ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ เป็นลายเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน
บางช่วงมีความหมายในการให้พร ฮก ลก ซิ่ว ตามคติของจีน
ซึ่งเขียนไว้อย่างวิจิตรงดงาม บนเพดานเขียนดอกเบญจมาศทองบนพื้นสีแดง
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
ด้านในพระอุโบสถเขียนเป็นลายเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน
บางช่วงมีความหมายในการให้พร ฮก ลก ซิ่ว ตามคติของจีน ซึ่งเขียนไว้อย่างวิจิตรงดงาม
บนเพดานเขียนดอกเบญจมาศทองบนพื้นสีแดง
ภาพเขียนจิตรกรรมด้านในของประตูหน้าต่างพระอุโบสถ เป็นภาพเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน
เหนือช่องกรอบประตูหน้าต่างมี “กระจกโบราณ” เป็นกระจกเงา ซึ่งเป็นสิ่งมงคลและให้ความสว่างไสว
กรอบกระจกฉลุสลักลวดลายและทำเป็นรูปหน้าปัดนาฬิกาและลวดลายต่างๆ หลายรูปแบบอย่างสวยงาม ติดไว้ช่องละ ๓ แผ่น เพื่อความเป็นมงคลตามคติจีน
ส่วนภายนอกพระอุโบสถยังมีถาวรวัตถุสำคัญที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ศาลาราย, พระวิหารคด (พระระเบียงคด), ถะ (สถูปเจดีย์หิน) ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนเห็นได้ชัด ตั้งอยู่เคียงกับ พระปรางค์สีขาว และ พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบไทยได้อย่างไม่ขัดเขิน
ภาพเขียนจิตรกรรมด้านในของประตูหน้าต่างพระอุโบสถ เป็นภาพเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน
เหนือช่องกรอบประตูหน้าต่างมี “กระจกโบราณ” เป็นกระจกเงา ซึ่งเป็นสิ่งมงคลและให้ความสว่างไสว
กรอบกระจกฉลุสลักลวดลายและทำเป็นรูปหน้าปัดนาฬิกาและลวดลายต่างๆ หลายรูปแบบอย่างสวยงาม ติดไว้ช่องละ ๓ แผ่น เพื่อความเป็นมงคลตามคติจีน
ส่วนภายนอกพระอุโบสถยังมีถาวรวัตถุสำคัญที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ศาลาราย, พระวิหารคด (พระระเบียงคด), ถะ (สถูปเจดีย์หิน) ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนเห็นได้ชัด ตั้งอยู่เคียงกับ พระปรางค์สีขาว และ พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบไทยได้อย่างไม่ขัดเขิน
ภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ของรัชกาลที่ ๓
ประดิษฐานอยู่ด้านข้างพระประธานในพระอุโบสถ
“พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร” พระประธานในพระอุโบสถ
“พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร” พระประธานในพระอุโบสถ
โดยมี ภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ของรัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานอยู่ด้านข้าง
พระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร
พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
ประดาฐานภายใต้ฉัตรแก้วเหนือฐานชุกชี ๕ ชั้น ชั้นล่างเป็นฐานเชียงรูปสี่เหลี่ยม
ประดับกระจก ตราผ้าทิพย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญ
พระสรีรังคารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาประดิษฐานไว้
พร้อมกับถวายพระปรมาภิไธยประจำรัชกาล และศิลาจารึกดวงพระชันษา พระราชทานพระนามว่า
“พระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร”
พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล อยู่ตรงด้านหน้าทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ
พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล (อีกมุมหนึ่ง)
พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อทรงเสด็จมาทรงคุมงานและตรวจการก่อสร้างวัด ได้ประทับที่ พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุลที่ตั้งอยู่ตรงด้านหน้าทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ และเล่ากันว่าเคยรับสั่งไว้ว่า “ถ้าฉันตายจะมาอยู่ที่ใต้ต้นพิกุลนี้”
อาจจะเป็นเพราะพระราชดำรัสนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมายังพระอารามแห่งนี้ จะมาทรงถวายสักการะที่พระแท่นนี้เสมอจนกลายเป็นประเพณี และเวลาเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระราชกฐินหรือเจ้านายเสด็จในการทอดกฐินพระราชทาน เจ้าหน้าที่จะตั้งเครื่องมุกไว้ทรงสักการะ ณ ต้นพิกุลนี้ทุกครั้ง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อทรงเสด็จมาทรงคุมงานและตรวจการก่อสร้างวัด ได้ประทับที่ พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุลที่ตั้งอยู่ตรงด้านหน้าทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ และเล่ากันว่าเคยรับสั่งไว้ว่า “ถ้าฉันตายจะมาอยู่ที่ใต้ต้นพิกุลนี้”
อาจจะเป็นเพราะพระราชดำรัสนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมายังพระอารามแห่งนี้ จะมาทรงถวายสักการะที่พระแท่นนี้เสมอจนกลายเป็นประเพณี และเวลาเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระราชกฐินหรือเจ้านายเสด็จในการทอดกฐินพระราชทาน เจ้าหน้าที่จะตั้งเครื่องมุกไว้ทรงสักการะ ณ ต้นพิกุลนี้ทุกครั้ง
‘ซุ้มประตูแบบเก๋งจีน’ ซุ้มประตูทางเข้า-ออก
ไปสู่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน) อีกทางหนึ่ง
ซุ้มหน้าต่าง พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)
‘เซี่ยวกาง’ (ทวารบาลของจีน) ทรงเครื่องแบบไทย
ที่บานหน้าต่างด้านนอกของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)
จิตรกรรมภาพหงส์ ที่บานประตูด้านใน
ของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)
โดยรอบมีหมู่พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองประดิษฐานอยู่ ๓๒ องค์
หน้าบันพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มี รูปไก่
สัตว์ประจำปีระกาซึ่งเป็นปีพระราชสมภพของรัชกาลที่ ๓
แผ่นหินอ่อนจารึกตำรายาแผนโบราณและตำราหมอนวด
รอบพระวิหารคด (พระระเบียงคด) ทั้ง ๔ ด้านของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
แผงกระเบื้องเคลือบกังไสแบบจีน บริเวณบันไดทางขึ้นพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
ภายในมีตุ๊กตาที่แสดงถึงเรื่องราวต่างๆ แต่หักพังไปมากแล้วจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องอะไร
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)
“พระวิหารพระพุทธไสยาสน์” มีอีกชื่อเรียกกันว่า “พระวิหารพระนอน”ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถในเขตกำแพงแก้วเช่นเดียวกัน แต่พระวิหารมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง โดยพระวิหารพระพุทธไสยาสน์เป็นพระวิหารขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ไม่เพียงเฉพาะพระอุโบสถเท่านั้น แต่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ก็มีศิลปะแบบจีนอันโดดเด่นเช่นกัน
ตรงที่ประตูทางเข้าไปสู่ พระวิหารคด (พระระเบียงคด) นั้น ได้เจาะเป็นช่องวงกลมเหมือนประตูจีน ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำสิ่งดีงามให้แก่ผู้ที่ผ่านประตูนี้เข้ามา ครั้นเมื่อเข้าไปด้านในแล้ว บริเวณบันไดทางขึ้นพระวิหารพระพุทธไสยาสน์มี แผงกระเบื้องเคลือบกังไสแบบจีน ภายในมีตุ๊กตาที่คงจะแสดงถึงเรื่องราวต่างๆ น่าเสียดายที่หักพังไปมากแล้วจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องอะไร
“พระวิหารพระพุทธไสยาสน์” มีอีกชื่อเรียกกันว่า “พระวิหารพระนอน”ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถในเขตกำแพงแก้วเช่นเดียวกัน แต่พระวิหารมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง โดยพระวิหารพระพุทธไสยาสน์เป็นพระวิหารขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ไม่เพียงเฉพาะพระอุโบสถเท่านั้น แต่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ก็มีศิลปะแบบจีนอันโดดเด่นเช่นกัน
ตรงที่ประตูทางเข้าไปสู่ พระวิหารคด (พระระเบียงคด) นั้น ได้เจาะเป็นช่องวงกลมเหมือนประตูจีน ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำสิ่งดีงามให้แก่ผู้ที่ผ่านประตูนี้เข้ามา ครั้นเมื่อเข้าไปด้านในแล้ว บริเวณบันไดทางขึ้นพระวิหารพระพุทธไสยาสน์มี แผงกระเบื้องเคลือบกังไสแบบจีน ภายในมีตุ๊กตาที่คงจะแสดงถึงเรื่องราวต่างๆ น่าเสียดายที่หักพังไปมากแล้วจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องอะไร
“พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร”
เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีสัดส่วนงดงามมาก วัดความยาวจากพระบาทถึงเปลวพระรัศมีได้
๒๐ เมตร สูง ๖ เมตร พระเขนยสี่เหลี่ยม ใต้พระเศียรซ้อน ๗
พระเขนยลงรักปิดทองประดับกระจกสี ฐานชุกชีประดับลวดลายสวยงาม ชั้นบนประดับปูนปั้นลายกลีบบัวรวนกลีบยาวติดกระจกสี
บานประตูและบานหน้าต่างด้านนอกทุกบานรอบพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
ประดับด้วยลายปูนปั้นที่เรียกว่า ‘กระแหนะ’ เป็นรูปเซี่ยวกาง (ทวารบาลของจีน)
ทรงเครื่องแบบไทยยืนอยู่บนประแจจีน ในมือถือแจกันดอกเบญจมาศและพานผลไม้ เช่น ทับทิม ส้มมือ
ลิ้นจี่ มังคุด และน้อยหน่า เป็นต้น ส่วนภาพจิตรกรรมบานประตูด้านในทำเป็นภาพหงส์
เพดานเขียนลายดอกเบญจมาศ นก และผีเสื้อ สีสวยงาม และหน้าบันด้านหน้าเป็นลวดลายปูนปั้นรูปหงส์ ส่วนหน้าบันด้านหลังเป็นกระเบื้องเคลือบสีลายดอกเบญจมาศและรูปสัตว์มงคลของจีน เช่น มังกร หงส์ เช่นเดียวกับหน้าบันพระอุโบสถ โดยหน้าบันทั้งสองด้านของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มี รูปไก่ สัตว์ประจำปีระกาซึ่งเป็นปีพระราชสมภพของรัชกาลที่ ๓
โดยรอบลานพระวิหารมี หมู่พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ประดิษฐานอยู่ ๓๒ องค์ ที่ผนังด้านนอกพระระเบียงของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มี แผ่นหินอ่อนจารึกตำรายาแผนโบราณและตำราหมอนวด ติดไว้เป็นระยะๆ รอบพระระเบียงทั้งสี่ด้านจำนวนทั้งสิ้น ๙๒ แผ่น โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
เพดานเขียนลายดอกเบญจมาศ นก และผีเสื้อ สีสวยงาม และหน้าบันด้านหน้าเป็นลวดลายปูนปั้นรูปหงส์ ส่วนหน้าบันด้านหลังเป็นกระเบื้องเคลือบสีลายดอกเบญจมาศและรูปสัตว์มงคลของจีน เช่น มังกร หงส์ เช่นเดียวกับหน้าบันพระอุโบสถ โดยหน้าบันทั้งสองด้านของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มี รูปไก่ สัตว์ประจำปีระกาซึ่งเป็นปีพระราชสมภพของรัชกาลที่ ๓
โดยรอบลานพระวิหารมี หมู่พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ประดิษฐานอยู่ ๓๒ องค์ ที่ผนังด้านนอกพระระเบียงของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มี แผ่นหินอ่อนจารึกตำรายาแผนโบราณและตำราหมอนวด ติดไว้เป็นระยะๆ รอบพระระเบียงทั้งสี่ด้านจำนวนทั้งสิ้น ๙๒ แผ่น โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
พระวิหารพระยืน
‘พระพุทธรูปยืน’ พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ ภายในพระวิหารพระยืนตอนหน้า
เป็นพระประธานพระอุโบสถหลังเก่าของวัดจอมทองก่อนรัชกาลที่ ๓ จะทรงบูรณะ
‘พระพุทธรูปยืน’ พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ ภายในพระวิหารพระยืนตอนหน้า
เป็นพระประธานพระอุโบสถหลังเก่าของวัดจอมทองก่อนรัชกาลที่ ๓ จะทรงบูรณะ
พระวิหารพระยืน (อีกมุมหนึ่ง)
พระวิหารพระยืน และซุ้มประตูกำแพงแก้ว
ด้านข้างของพระวิหารพระยืน
‘พระพุทธรูปยืน’ พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ ภายในพระวิหารพระยืนตอนหน้า
เป็นพระประธานพระอุโบสถหลังเก่าของวัดจอมทองก่อนรัชกาลที่ ๓ จะทรงบูรณะ
‘หมู่พระพุทธรูป’ ภายในพระวิหารพระยืนตอนหลัง
ที่บรรจุอัฐิเจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ ลดาวัลย์ พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๕
ในบริเวณพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้าพระวิหารพระยืน
พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่บรรจุอัฐิของราชสกุลลดาวัลย์
ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหารพระยืน และใกล้กับซุ้มประตูกำแพงแก้ว
พระวิหารพระยืน
อยู่ทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนทั้งหลัง หน้าบันเป็นลวดลายประแจจีน ประดับด้วยเครื่องถ้วย แปลกไปจากวัดอื่น ภายในพระวิหารพระยืนมี ๒ ห้อง ห้องแรกอยู่ตอนหน้า
เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร (ปางห้ามญาติ) พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ ศิลปแบบอู่ทอง และห้องที่สองอยู่ตอนหลัง เป็นที่ประดิษฐานหมู่พระพุทธรูปหลายปางหลายขนาด มีพระประธานองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปแบบอยุธยา สันนิษฐานว่าบริเวณพระวิหารหลังนี้คงเคยเป็นพระอุโบสถหลังเก่าของวัดจอมทอง
อยู่ทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนทั้งหลัง หน้าบันเป็นลวดลายประแจจีน ประดับด้วยเครื่องถ้วย แปลกไปจากวัดอื่น ภายในพระวิหารพระยืนมี ๒ ห้อง ห้องแรกอยู่ตอนหน้า
เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร (ปางห้ามญาติ) พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ ศิลปแบบอู่ทอง และห้องที่สองอยู่ตอนหลัง เป็นที่ประดิษฐานหมู่พระพุทธรูปหลายปางหลายขนาด มีพระประธานองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปแบบอยุธยา สันนิษฐานว่าบริเวณพระวิหารหลังนี้คงเคยเป็นพระอุโบสถหลังเก่าของวัดจอมทอง
โดยมี ‘พระพุทธรูปยืน’ ปางห้ามสมุทร
(ปางห้ามญาติ) เป็นพระประธานพระอุโบสถหลังเก่า ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓)
จะทรงมาบูรณะทั้งวัด และปรับปรุงพระอุโบสถให้เป็นพระวิหารพระยืนศิลปะแบบจีน หน้าบันของพระวิหารพระยืนเป็นลวดลายประแจจีน ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน มีลักษณะแปลกแตกต่างไปจากวัดอื่น และด้านหน้าพระวิหารพระยืนมี ซุ้มประตูกำแพงแก้ว
ด้านหน้าพระวิหารพระยืนเป็น พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบไทย อันเป็น ที่บรรจุอัฐิของราชสกุลลดาวัลย์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ บุคคลในราชสกุลนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้คิดค้นตำรับ ‘น้ำพริกลงเรือ’ เป็นท่านแรก
จะทรงมาบูรณะทั้งวัด และปรับปรุงพระอุโบสถให้เป็นพระวิหารพระยืนศิลปะแบบจีน หน้าบันของพระวิหารพระยืนเป็นลวดลายประแจจีน ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน มีลักษณะแปลกแตกต่างไปจากวัดอื่น และด้านหน้าพระวิหารพระยืนมี ซุ้มประตูกำแพงแก้ว
ด้านหน้าพระวิหารพระยืนเป็น พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบไทย อันเป็น ที่บรรจุอัฐิของราชสกุลลดาวัลย์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ บุคคลในราชสกุลนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้คิดค้นตำรับ ‘น้ำพริกลงเรือ’ เป็นท่านแรก
ศาลาการเปรียญ (พระวิหารพระนั่ง)
ด้านหน้าจะมี ‘ถะหิน’ ที่บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสวัดราชโอรส
พระประธานในศาลาการเปรียญ เป็นพระพุทธรูปปั้นถือตาลปัตร ปางประทานพระธรรมเทศนา
รอยพระพุทธบาทจำลอง ในศาลาการเปรียญ
‘ถะหิน’ ที่บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสวัดราชโอรส
ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของศาลาการเปรียญ (พระวิหารพระนั่ง)
ศาลาการเปรียญ (พระวิหารพระนั่ง)
อยู่ทางด้านขวาของพระอุโบสถ “ศาลาการเปรียญ” มีอีกชื่อเรียกกันว่า “พระวิหารพระนั่ง” เป็นอาคารที่มีลักษณะผสมทางศิลปกรรมระหว่างไทยและจีนเช่นเดียวกัน หลังคาหลังคาเป็นแบบจีน ลด ๒ ชั้น แต่มุงกระเบื้องแบบไทย บนสันหลังคาประดับรูปถะ (สถูปเจดีย์) ระหว่างมังกรล่อแก้ว ๒ ตัว และกระเบื้องเคลือบสีอย่างศาลเจ้าจีน ผนังด้านนอกตอนบนเขียนรูปผลไม้ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล (ฮก ลก ซิ่ว) เช่น ส้มมือ หมายถึง การมีวาสนาสูง ทับทิม หมายถึง ความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ และผลท้อ หมายถึง การมีอายุยืน
อยู่ทางด้านขวาของพระอุโบสถ “ศาลาการเปรียญ” มีอีกชื่อเรียกกันว่า “พระวิหารพระนั่ง” เป็นอาคารที่มีลักษณะผสมทางศิลปกรรมระหว่างไทยและจีนเช่นเดียวกัน หลังคาหลังคาเป็นแบบจีน ลด ๒ ชั้น แต่มุงกระเบื้องแบบไทย บนสันหลังคาประดับรูปถะ (สถูปเจดีย์) ระหว่างมังกรล่อแก้ว ๒ ตัว และกระเบื้องเคลือบสีอย่างศาลเจ้าจีน ผนังด้านนอกตอนบนเขียนรูปผลไม้ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล (ฮก ลก ซิ่ว) เช่น ส้มมือ หมายถึง การมีวาสนาสูง ทับทิม หมายถึง ความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ และผลท้อ หมายถึง การมีอายุยืน
สำหรับพระประธานในศาลาการเปรียญ
เป็น พระพุทธรูปปั้นถือตาลปัตร ปางประทานพระธรรมเทศนา แบบพระปฏิมากรชัยวัฒน์
ส่วนด้านหน้าของศาลาการเปรียญจะมี ถะหิน เล็กๆ เป็นที่บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม
นอกจากนี้ ภายในศาลาการเปรียญยังเป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง สลักจากหิน อันมีลักษณะคล้ายๆ กับที่อยู่ในพระมณฑปพระพุทธบาทจำลองของวัดอรุณราชวราราม
แม้ว่าสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในวัดราชโอรสแห่งนี้ จะเป็นศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นศิลปะแบบ “พระราชนิยม” ของรัชกาลที่ ๓ เกือบแทบทั้งหมด แต่ก็ยังคงคุณค่าของความเป็นวัดไทยไว้ได้อย่างงดงาม และถือเป็นมรดกอันสำคัญชิ้นหนึ่งของแผ่นดินไทย
นอกจากนี้ ภายในศาลาการเปรียญยังเป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง สลักจากหิน อันมีลักษณะคล้ายๆ กับที่อยู่ในพระมณฑปพระพุทธบาทจำลองของวัดอรุณราชวราราม
แม้ว่าสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในวัดราชโอรสแห่งนี้ จะเป็นศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นศิลปะแบบ “พระราชนิยม” ของรัชกาลที่ ๓ เกือบแทบทั้งหมด แต่ก็ยังคงคุณค่าของความเป็นวัดไทยไว้ได้อย่างงดงาม และถือเป็นมรดกอันสำคัญชิ้นหนึ่งของแผ่นดินไทย
สุสานพระธรรม
อยู่ข้างถะ (สถูปเจดีย์หิน) ด้านทิศเหนือหลังพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นเก๋งจีนเรือไฟหิน ใช้สำหรับเผาพระคัมภีร์หรือข้อเขียนทางพระพุทธศาสนา ภายในสุสานพระธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปแบบจีนหินสลักนูนจากแผ่นศิลา
อยู่ข้างถะ (สถูปเจดีย์หิน) ด้านทิศเหนือหลังพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นเก๋งจีนเรือไฟหิน ใช้สำหรับเผาพระคัมภีร์หรือข้อเขียนทางพระพุทธศาสนา ภายในสุสานพระธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปแบบจีนหินสลักนูนจากแผ่นศิลา
(ซ้าย) สุสานพระธรรม (ขวา) ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว
สุสานพระธรรม, ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว และ ถะ (สถูปเจดีย์หิน)
ใกล้บริเวณพระวิหารคด (พระระเบียงคด) ด้านหลังพระอุโบสถ
ถะ (สถูปเจดีย์หิน) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ
ถะ (สถูปเจดีย์หิน)
อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นสถูปเจดีย์หิน (ศิลา) แปดเหลี่ยมแบบจีน มีทรงเหลี่ยมซ้อนกัน ๕ ชั้น มีความสูงประมาณ ๕-๖ วา ยอดเป็นรูปทรงน้ำเต้า ถัดมาเป็นทรงเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในแต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นช่องเว้นระยะโดยรอบ ถะหรือสถูปเจดีย์องค์นี้ก่อด้วยอิฐถือปูนปิดทึบ ภายนอกเป็นแผ่นหินอ่อนสลักรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และลวดลายปะติดไว้ด้านนอก ถะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอับเฉาเรือที่มาพร้อมกับสิงโตหิน
ตั้งอยู่เคียงกับ ศาลาราย, พระวิหารคด (พระระเบียงคด), สุสานพระธรรม ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีน และพระปรางค์สีขาว, พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทย
ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว สร้างด้วยหินอ่อน มีใบเสมา ๒ ใบ เรียกว่าเสมาคู่
ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว
โดยรอบพระอุโบสถของวัดจะมี ‘ซุ้มเสมา’ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลให้ ‘ใบเสมา’ มีความโดดเด่นและมีความงดงามมากยิ่งขึ้น โดยซุ้มเสมาเป็นอีกรูปแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยสืบทอดแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นแบบแผนที่ยังคงมีให้ศึกษามาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
โดยรอบพระอุโบสถของวัดจะมี ‘ซุ้มเสมา’ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลให้ ‘ใบเสมา’ มีความโดดเด่นและมีความงดงามมากยิ่งขึ้น โดยซุ้มเสมาเป็นอีกรูปแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยสืบทอดแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นแบบแผนที่ยังคงมีให้ศึกษามาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สำหรับซุ้มเสมาวัดราชโอรสารามนั้นเป็น
ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว คือซุ้มเสมาที่ทำรูปแบบลักษณะซุ้มคล้ายอย่าง “เรือนเกี้ยว” (พาหนะที่ตั้งบนคานใช้คนแบกหามของจีน)
เป็นแบบแผนซุ้มเสมาที่เริ่มนิยมมาตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา โดยซุ้มเสมานี้สร้างขึ้นด้วยหินอ่อน มีใบเสมา ๒ ใบ
เรียกว่าเสมาคู่
หอระฆัง
สร้างเป็นหอหกเหลี่ยม สูงประมาณหกวาแบ่งเป็น ๓ ชั้น ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่กิตติศัพท์วัดราชโอรสาราม ศิลปกรรมทุกชิ้นในวัดแห่งนี้ล้วนสร้างขึ้นด้วยฝีมือประณีตบรรจงจริงๆ เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ ความงดงามของวัดราชโอรสารามที่ได้ทรงสร้างขึ้นนั้น เป็นที่เลื่องลือกันมาก มีชาวไทยและชาวต่างประเทศลงเรือมาชมกันมิได้ขาด เป็นเหตุให้มีผู้เขียนหนังสือชมเชยไว้หลายคน ที่เขียนเป็นแบบร้อยกรองตามที่สมัยนิยมกันในสมัยนั้นก็มี
นายจอห์น ครอฟอร์ด ราชทูตอังกฤษ ซึ่งได้เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ ได้เขียนชมวัดราชโอรสาราม และยกย่องชมเชยฝีมือการสร้างไว้ว่างดงามยิ่งนัก พร้อมทั้งได้ออกความเห็นไว้ว่า
“ที่วัดนี้สร้างขึ้นได้อย่างงดงามได้เช่นนี้ คงเป็นเพราะในกรมผู้ทรงเป็นเจ้าของวัดนั้น ทรงว่าการกรมท่า ทรงได้รับผลประโยชน์จากการติดต่อกับพ่อค้าชาวจีนอย่างกว้างขวาง”
แม้แต่ ท่านสุนทรภู่ กวีเอกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และกวีเอกของโลก เดินทางผ่านมาเห็นวัดราชโอรสารามที่สร้างขึ้นไว้ด้วยศิลปะที่แปลกและงดงามยิ่งนัก ในตอนปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้รำพันอนุโมทนาไว้อย่างน่าฟังมากใน ‘นิราศเมืองเพชร’ ว่า
“ถึงบางหว้าอารามนามจอมทอง
สร้างเป็นหอหกเหลี่ยม สูงประมาณหกวาแบ่งเป็น ๓ ชั้น ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่กิตติศัพท์วัดราชโอรสาราม ศิลปกรรมทุกชิ้นในวัดแห่งนี้ล้วนสร้างขึ้นด้วยฝีมือประณีตบรรจงจริงๆ เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ ความงดงามของวัดราชโอรสารามที่ได้ทรงสร้างขึ้นนั้น เป็นที่เลื่องลือกันมาก มีชาวไทยและชาวต่างประเทศลงเรือมาชมกันมิได้ขาด เป็นเหตุให้มีผู้เขียนหนังสือชมเชยไว้หลายคน ที่เขียนเป็นแบบร้อยกรองตามที่สมัยนิยมกันในสมัยนั้นก็มี
นายจอห์น ครอฟอร์ด ราชทูตอังกฤษ ซึ่งได้เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ ได้เขียนชมวัดราชโอรสาราม และยกย่องชมเชยฝีมือการสร้างไว้ว่างดงามยิ่งนัก พร้อมทั้งได้ออกความเห็นไว้ว่า
“ที่วัดนี้สร้างขึ้นได้อย่างงดงามได้เช่นนี้ คงเป็นเพราะในกรมผู้ทรงเป็นเจ้าของวัดนั้น ทรงว่าการกรมท่า ทรงได้รับผลประโยชน์จากการติดต่อกับพ่อค้าชาวจีนอย่างกว้างขวาง”
แม้แต่ ท่านสุนทรภู่ กวีเอกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และกวีเอกของโลก เดินทางผ่านมาเห็นวัดราชโอรสารามที่สร้างขึ้นไว้ด้วยศิลปะที่แปลกและงดงามยิ่งนัก ในตอนปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้รำพันอนุโมทนาไว้อย่างน่าฟังมากใน ‘นิราศเมืองเพชร’ ว่า
“ถึงบางหว้าอารามนามจอมทอง
ดูเรืองรองรุ่งโรจน์ที่โบสถ์ราม
สาธุสะพระองค์มาทรงสร้าง
เป็นเยี่ยงอย่างไว้ในภาษาสยาม
ในพระโกศโปรดปรานปประทานนาม
โอรสราชอารามนามเจริญ
มีเขื่อนรอบขอบคูดูพิลึก
กุฏิตึงเก๋งกุฏิสุดสรรเสริญ
ที่ริมน้ำทำศาลาไว้น่าเพลิน
จนเรือเดินมาถึงทางบางขุนเทียน”
สาธุสะพระองค์มาทรงสร้าง
เป็นเยี่ยงอย่างไว้ในภาษาสยาม
ในพระโกศโปรดปรานปประทานนาม
โอรสราชอารามนามเจริญ
มีเขื่อนรอบขอบคูดูพิลึก
กุฏิตึงเก๋งกุฏิสุดสรรเสริญ
ที่ริมน้ำทำศาลาไว้น่าเพลิน
จนเรือเดินมาถึงทางบางขุนเทียน”
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชศรัทธาอย่างมั่นคงในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามไว้เป็นจำนวนมากในรัชกาลของพระองค์ ถึงกับกล่าวกันว่า ในรัชกาลที่ ๓
ถ้าใครใจบุญชอบสร้างวัดวาอารามก็เป็นคนโปรด แต่วัดที่ทรงสร้างด้วยฝีมือประณีต
มีแบบอย่างศิลปกรรมที่แปลกและงดงามเป็นพิเศษ จนเป็นที่เลื่องลือกล่าวขวัญกันมาก
เห็นจะไม่มีวัดไหนเสมอ วัดราชโอรสาราม เหตุนี้ นายมี มหาดเล็ก
บุตรพระโหราธิบดี เมื่อแต่ง เพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ทูลเกล้าฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงวัดราชโอรสารามไว้ว่า
“วัดไหนไหนก็ไม่ลือระบือยศ
เหมือนวัดราชโอรสอันสดใส
เป็นวัดเดิมเริ่มสร้างไม่อย่างใคร
ล้วนอย่างใหม่ทรงคิดประดิษฐ์ทำ
ทรงสร้างด้วยพระมหาวิริยาธึก
โอฬารึกพร้อมพริ้งทุกสิ่งขำ
ล้วนเกลี้ยงเกลาเพราะเพริศดูเลิศล้ำ
ฟังข่าวคำลือสุดอยุธยา
จะรำพันสรรเสริญก็เกินสมุด
ขอยกหยุดพองามตามเลขา
กำหนดสร้างอาวาสโดยมาตรา
ประมาณช้านับได้สิบสี่ปี
จึงเสร็จการอาวาสราชโอรส
อันเลื่องยศเฟื่องฟุ้งทั่งกรุงศรี
แล้วสมโภชโปรดปรานการทวี
การที่มีเหลือล้นคณนา”
เพลงยาวนี้ได้เน้นว่าสร้างถึง ๑๔ ปีจึงสำเร็จ ทั้งนี้คงหมายความว่า ตอนที่ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงนั้นส่วนใหญ่ของวัดได้สำเร็จลงแล้ว เว้นแต่การก่อสร้างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ที่ได้สร้างเพิ่มเติมเรื่อยมา จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์แล้วหลายปี จึงได้หยุดการก่อสร้าง นับเวลาตั้งแต่เริ่มแรกลงมือสร้างจนเสร็จบริบูรณ์คงรวมเวลา ๑๔ ปี ดังเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติที่นายมีพรรณนาไว้
“วัดไหนไหนก็ไม่ลือระบือยศ
เหมือนวัดราชโอรสอันสดใส
เป็นวัดเดิมเริ่มสร้างไม่อย่างใคร
ล้วนอย่างใหม่ทรงคิดประดิษฐ์ทำ
ทรงสร้างด้วยพระมหาวิริยาธึก
โอฬารึกพร้อมพริ้งทุกสิ่งขำ
ล้วนเกลี้ยงเกลาเพราะเพริศดูเลิศล้ำ
ฟังข่าวคำลือสุดอยุธยา
จะรำพันสรรเสริญก็เกินสมุด
ขอยกหยุดพองามตามเลขา
กำหนดสร้างอาวาสโดยมาตรา
ประมาณช้านับได้สิบสี่ปี
จึงเสร็จการอาวาสราชโอรส
อันเลื่องยศเฟื่องฟุ้งทั่งกรุงศรี
แล้วสมโภชโปรดปรานการทวี
การที่มีเหลือล้นคณนา”
เพลงยาวนี้ได้เน้นว่าสร้างถึง ๑๔ ปีจึงสำเร็จ ทั้งนี้คงหมายความว่า ตอนที่ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงนั้นส่วนใหญ่ของวัดได้สำเร็จลงแล้ว เว้นแต่การก่อสร้างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ที่ได้สร้างเพิ่มเติมเรื่อยมา จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์แล้วหลายปี จึงได้หยุดการก่อสร้าง นับเวลาตั้งแต่เริ่มแรกลงมือสร้างจนเสร็จบริบูรณ์คงรวมเวลา ๑๔ ปี ดังเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติที่นายมีพรรณนาไว้
ศาสนสถานและศาสนวัตถุอื่นๆ ภายในวัด
ศาลาราย มีประตูเป็นศิลปกรรมแบบจีน ตั้งอยู่รายรอบพระอุโบสถ
สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมผสมระหว่างไทยและจีน หลังคาเป็นแบบจีนสองชั้น
แต่มุงกระเบื้องสีแบบไทย ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หรือไม่มีเครื่องบน
พระพุทธรูป ในพระวิหารคด (พระระเบียงคด)
พระปรางค์สีขาว ศิลปะแบบไทย ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านหน้าพระอุโบสถ
ศาลาท่าน้ำแบบจีน ริมคลองบริเวณหน้าวัด
๏ กิตติศัพท์วัดราชโอรสาราม
ศิลปกรรมทุกชิ้นในวัดแห่งนี้ล้วนสร้างขึ้นด้วยฝีมือประณีตบรรจงจริงๆ
เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ ความงดงามของวัดราชโอรสารามที่ได้ทรงสร้างขึ้นนั้น
เป็นที่เลื่องลือกันมาก มีชาวไทยและชาวต่างประเทศลงเรือมาชมกันมิได้ขาด
เป็นเหตุให้มีผู้เขียนหนังสือชมเชยไว้หลายคน
ที่เขียนเป็นแบบร้อยกรองตามที่สมัยนิยมกันในสมัยนั้นก็มี
นายจอห์น ครอฟอร์ด ราชทูตอังกฤษ ซึ่งได้เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕
ได้เขียนชมวัดราชโอรสาราม และยกย่องชมเชยฝีมือการสร้างไว้ว่างดงามยิ่งนัก
พร้อมทั้งได้ออกความเห็นไว้ว่า
“ที่วัดนี้สร้างขึ้นได้อย่างงดงามได้เช่นนี้
คงเป็นเพราะในกรมผู้ทรงเป็นเจ้าของวัดนั้น ทรงว่าการกรมท่า
ทรงได้รับผลประโยชน์จากการติดต่อกับพ่อค้าชาวจีนอย่างกว้างขวาง”
แม้แต่ ท่านสุนทรภู่ กวีเอกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และกวีเอกของโลก
เดินทางผ่านมาเห็นวัดราชโอรสารามที่สร้างขึ้นไว้ด้วยศิลปะที่แปลกและงดงามยิ่งนัก
ในตอนปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ได้รำพันอนุโมทนาไว้อย่างน่าฟังมากใน ‘นิราศเมืองเพชร’ ว่า
“ถึงบางหว้าอารามนามจอมทอง
ดูเรืองรองรุ่งโรจน์ที่โบสถ์ราม
สาธุสะพระองค์มาทรงสร้าง
เป็นเยี่ยงอย่างไว้ในภาษาสยาม
ในพระโกศโปรดปรานปประทานนาม
โอรสราชอารามนามเจริญ
มีเขื่อนรอบขอบคูดูพิลึก
กุฏิตึงเก๋งกุฏิสุดสรรเสริญ
ที่ริมน้ำทำศาลาไว้น่าเพลิน
จนเรือเดินมาถึงทางบางขุนเทียน”
รูปปั้นสุนทรภู่ ณ อนุสาวรีย์สุนทรภู่ อ.แกลง จ.ระยอง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงมีพระราชศรัทธาอย่างมั่นคงในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามไว้เป็นจำนวนมากในรัชกาลของพระองค์
ถึงกับกล่าวกันว่า ในรัชกาลที่ ๓ ถ้าใครใจบุญชอบสร้างวัดวาอารามก็เป็นคนโปรด
แต่วัดที่ทรงสร้างด้วยฝีมือประณีต มีแบบอย่างศิลปกรรมที่แปลกและงดงามเป็นพิเศษ
จนเป็นที่เลื่องลือกล่าวขวัญกันมาก เห็นจะไม่มีวัดไหนเสมอ วัดราชโอรสาราม
เหตุนี้ นายมี มหาดเล็ก บุตรพระโหราธิบดี เมื่อแต่ง เพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ
ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงวัดราชโอรสารามไว้ว่า
“วัดไหนไหนก็ไม่ลือระบือยศ
เหมือนวัดราชโอรสอันสดใส
เป็นวัดเดิมเริ่มสร้างไม่อย่างใคร
ล้วนอย่างใหม่ทรงคิดประดิษฐ์ทำ
ทรงสร้างด้วยพระมหาวิริยาธึก
โอฬารึกพร้อมพริ้งทุกสิ่งขำ
ล้วนเกลี้ยงเกลาเพราะเพริศดูเลิศล้ำ
ฟังข่าวคำลือสุดอยุธยา
จะรำพันสรรเสริญก็เกินสมุด
ขอยกหยุดพองามตามเลขา
กำหนดสร้างอาวาสโดยมาตรา
ประมาณช้านับได้สิบสี่ปี
จึงเสร็จการอาวาสราชโอรส
อันเลื่องยศเฟื่องฟุ้งทั่งกรุงศรี
แล้วสมโภชโปรดปรานการทวี
การที่มีเหลือล้นคณนา”
เพลงยาวนี้ได้เน้นว่าสร้างถึง ๑๔ ปีจึงสำเร็จ ทั้งนี้คงหมายความว่า
ตอนที่ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงนั้นส่วนใหญ่ของวัดได้สำเร็จลงแล้ว
เว้นแต่การก่อสร้างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ที่ได้สร้างเพิ่มเติมเรื่อยมา
จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์แล้วหลายปี
จึงได้หยุดการก่อสร้าง นับเวลาตั้งแต่เริ่มแรกลงมือสร้างจนเสร็จบริบูรณ์
คงรวมเวลา ๑๔ ปี ดังเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติที่นายมีพรรณนาไว้
ศาลาท่าน้ำแบบจีน ริมคลองบริเวณหน้าวัด
ทัศนียภาพอันงดงามภายในวัดราชโอรสาราม
๏ งานสมโภชวัดราชโอรสาราม
ครั้นในปลายปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๗๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชวัดราชโอรส ซึ่งสถาปนาสำเร็จแล้ว พร้อมกับวัดอื่นๆ เช่น
วัดราชสิทธาราม วัดภคนีนาถ วัดโมลีโลกยาราม วัดอรุณราชวราราม วัดระฆังโฆสิตาราม
วัดพระยาทำ วัดสุวรรณ และวัดสระเกศ ซึ่งวัดเหล่านี้ได้ทรงบูรณะใหม่ การยังไม่สำเร็จ
แต่โปรดเกล้าฯ ให้สมโภชพร้อมกันเสียครั้งหนึ่งก่อน โดยมีหมายกำหนดการสรุปได้ดังนี้
ณ วันอาทิตย์ เดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๗๔
(ตรงกับวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๔)
ได้ถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ที่วัดราชโอรสาราม
และพระสงฆ์ที่มาเจริญพระพุทธมนต์พระอารามอื่นทุกๆ พระอารามดังกล่าวข้างต้น
โดยโปรดเกล้าฯ ให้มารับไตรจีวรที่วัดราชโอรสาราม
รุ่งขึ้นวันจันทร์ เดือน ๒ ขึ้น ๑๔ ค่ำ
(ตรงกับวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๔)
เป็นวันที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เย็น สมโภชพร้อมกัน
มีมหกรรมทุกพระอาราม เฉพาะที่วัดราชโอรสารามโปรดเกล้าฯ
ให้ปลูกพลับพลาที่ริมคลองหน้าวัด
และโปรดเกล้าฯ ให้มีโขนโรงใหญ่ชักรอกตรงหน้าพลับพลาด้วย
เกณฑ์เรือประพาสข้าราชการร้องสักวาดอกสร้อย ที่บริเวณเกาะหน้าพลับพลา
ครั้นตกเวลาเย็น ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เป็นกระบวนพยุหยาตรา มีเรือกระบวนรูปสัตว์
มาประทับทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ทั้ง ๓ วัน
ที่เป็นกำหนดงานสมโภชพระอาราม
ประตูทางเข้าไปสู่พระวิหารคด (พระระเบียงคด) ได้เจาะเป็นช่องวงกลมเหมือนประตูจีน
ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำสิ่งดีงามให้แก่ผู้ที่ผ่านประตูนี้เข้ามา
ป้ายชื่อวัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร
(ฝั่งธนบุรี) และติดคลองบางหว้าทางด้านทิศเหนือของวัด
เลขที่ ๒๕๘ ซอยเอกชัย ๔ ถนนเอกชัย
ริมทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย และริมคลองด่าน
แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐
บริเวณวัดเปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๕.๐๐-๒๐.๐๐ น.
พระอุโบสถเปิดทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐-๐๙.๐๐ น. และ ๑๖.๓๐-๑๘.๐๐ น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ ๐-๒๔๑๕-๒๒๘๖, ๐-๒๘๙๓-๗๒๗๔ โทรสาร ๐-๒๘๙๓-๗๒๗๓
ความสำคัญของวัด : พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
เจ้าอาวาส : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต)
เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร รูปปัจจุบัน
ประวัติเจ้าอาวาส : -
เว็บไซต์ : http://ratorot.cjb.net/
การเดินทาง : หากเดินทางโดยรถประจำทางธรรมดา มีรถผ่าน สาย ๑๐, ๔๓, ๑๒๐
และรถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.พ. ๙ สำหรับท่าเรือ
(๑) เรือหางยาวโดยสาร : ท่าราชินี (ปากคลองตลาด)<->ท่าวัดราชโอรสฯ
เที่ยวไป ๐๘.๐๐ น. เที่ยวกลับ ๑๗.๐๐ น.
(๒) เรือหางยาวโดยสาร : ท่าราชินี (ปากคลองตลาด)<->ท่าวัดปากน้ำ<->รถโดยสารประจำทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น