วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นับว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศของกลุ่มประเทศอาณานิคมของยักษ์ใหญ่อย่างฝรั่งเศส หรือ 1 ใน 4 ของ “Equatorial Africa”หลังการมอบเอกราชให้ปกครองตนเอง ยังมีของแถมเป็นปมปัญหาความขัดแย้งมากมายภายในสังคมอีกด้วย “Central African Republic” หรือ “แอฟริกากลาง” หากดูจากแผนที่ตามหลักภูมิศาสตร์แล้วก็สมชื่อตามชื่อตั้งอยู่ตรงกลางทวีป และไม่มีช่องทางออกสู่ทะเลแม้แต่ทางเดียวและโดนขนาบข้างไปด้วยประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ประเทศชาด ซูดาน และแคเมอรูน แทบไม่น่าเชื่อได้เลยว่าประเทศที่เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีมูลค่าสูงอย่า เหมืองเพชร เหมืองทอง และน้ำมันดิบจะตกอยู่ในประเทศที่จนที่สุดในโลกโดยเมื่อวัดจากค่า GDP เฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่มีประชากร สี่ล้านคนเศษกระจายตัวอยู่ตามชนบทนอกพื้นที่เมืองกว่า 70%ของประชากรทั้งหมด จึงทำให้ค่า GDP ต่ำถึงประมาณ 19,471 บาทต่อคน ต่อปีซึ่งนับว่าห่างไกลกับประเทศที่มีค่า GDP สูงที่สุดในโลกอย่างกาตาร์อยู่ มากกว่า 200 เท่าตัว โดยนับว่าเป็นประเทศที่มีตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ -14 และมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกปีปีละ 1.5 เปอร์เซ็นซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก แล้วเพราะเหตุใดแหล่งทรัพยากรสำคัญของประเทศ แอฟริกากลางจึงตกอยู่ในที่นั่งลำบากเช่นนี้ หากจะนำหลากหลายเหตุผลมาอธิบายเหตุผลนี้ก็นับว่า มีมากมายหลายประเด็นเช่นกัน หลังแอฟริกา กลางได้รับเอกราชคืนกลับมานั้น “จักรพรรดิ Bokassa ก็สถาปนาตนเองขึ้นปกครองประเทศภายใต้ ระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา แต่ก็เรียกได้ว่าอำนาจก็ย่อมผูกขาดอยู่ที่จักรพรรดิ การใช้เงินคงคลังอย่างฟุ่มเฟือย การผูกขาดสินค้าของตนกับรัฐบาลและเอกชนเป้นปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐประหารเกิดขึ้น แต่เมื่อรัฐประหารสำเร็จทุกอย่างก็กลับมาสู่จุดเดิมครั้งแล้ว ครั้งเล่า วนเวียนซ้ำไปซ้ำมาเหมือนหนังม้วนเก่าถูกฉายย้อนไปมาเพียงแต่เปลี่ยนตัวละครเท่านั้น ความเลวร้ายของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไม่เพียงจะหยุดเพียงเท่านี้ การรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้เกิดกลุ่มหัวรุนแรงต่างความคิดมากมายหลายกลุ่ม มีทั้งเล่นแง่กับศาสนาทั้งคริสต์ทั้งอิสลาม ไม่ต่างกับประเทศอื่นอื่น เริ่มมีแนวคิดเราต่าง เขาต่างเกิดขึ้นมามากมายในหลายแง่มุม และผลสุดท้ายของบทสรุปก็คงหนีไม่พ้นสงครามกลางเมือง ความรุนแรงที่กระจายไปทุกหย่อมหญ้า ถึงแม้จะมีการเจรจาเกิดขึ้นหลายครั้งจน UN ต้องส่งทหารลงมาช่วยควบคุมสถานการณ์ จนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ฟร็องซัว บอซีเซ ประธานาธิบดีได้หลบหนีออกนอกประเทศหลังกบฏยึดทำเนียบได้ ผู้นำกบฏ มีแชล จอตอดียา ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีในวันเดียวกัน และเหตุการณ์ก็ค่อยค่อยสงบลงเรื่อยๆ หากจับประเด็นเหล่านี้มาวิเคราะห์ ประเทศแอฟริกากลางเป็นประเทศที่มีทรัพยากรที่เอื้อสำหรับอุตสาหกรรมมูลค่าสูงทั้งเพชร ทอง และน้ำมันดิบเพียงแต่ขาดผู้นำที่จะมอบทิศทาง นโยบายไปสู่การค้าที่ดีได้ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีการส่งออกสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าหลักออกนอกประเทศบ้าง เหมืองเพชร เหมืองทอง และน้ำมันดิบก็ยังมีการส่งออกไปยัง ฝรั่งเศส เยอรมัน เกาหลี บ้าง แต่ก็นับว่าไม่ได้ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรได้สักเท่าไหร่ อีกประเด็นหนึ่งก็คือการรวมตัวของหลากหลายชนเผ่าของประเทศทำให้ความขัดแย้งระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย การศึกษาและการสื่อสารที่ไม่สามารถเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในถิ่นแดนที่ห่างไกล ทำให้แต่ละพื้นที่ก็มีความเชื่อของตนเอง แนวคิดของตนเอง ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นได้ง่ายและมากมายหลากหลายประเด็นนี้เป็นสาเหตุทำให้ ความจนคุกคามประเทศที่มากไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่แสนอุดมสมบูรณ์ ต้องกลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก #แนววิชาการกันบ้าง

นับว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศของกลุ่มประเทศอาณานิคมของยักษ์ใหญ่อย่างฝรั่งเศส หรือ 1 ใน 4 ของ “Equatorial Africa”หลังการมอบเอกราชให้ปกครองตนเอง ยังมีของแถมเป็นปมปัญหาความขัดแย้งมากมายภายในสังคมอีกด้วย “Central African Republic” หรือ “แอฟริกากลาง”

หากดูจากแผนที่ตามหลักภูมิศาสตร์แล้วก็สมชื่อตามชื่อตั้งอยู่ตรงกลางทวีป และไม่มีช่องทางออกสู่ทะเลแม้แต่ทางเดียวและโดนขนาบข้างไปด้วยประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ประเทศชาด ซูดาน และแคเมอรูน แทบไม่น่าเชื่อได้เลยว่าประเทศที่เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีมูลค่าสูงอย่า เหมืองเพชร เหมืองทอง และน้ำมันดิบจะตกอยู่ในประเทศที่จนที่สุดในโลกโดยเมื่อวัดจากค่า GDP เฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่มีประชากร สี่ล้านคนเศษกระจายตัวอยู่ตามชนบทนอกพื้นที่เมืองกว่า 70%ของประชากรทั้งหมด จึงทำให้ค่า GDP ต่ำถึงประมาณ 19,471 บาทต่อคน ต่อปีซึ่งนับว่าห่างไกลกับประเทศที่มีค่า GDP สูงที่สุดในโลกอย่างกาตาร์อยู่ มากกว่า 200 เท่าตัว โดยนับว่าเป็นประเทศที่มีตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ -14 และมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกปีปีละ 1.5 เปอร์เซ็นซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก

แล้วเพราะเหตุใดแหล่งทรัพยากรสำคัญของประเทศ แอฟริกากลางจึงตกอยู่ในที่นั่งลำบากเช่นนี้ หากจะนำหลากหลายเหตุผลมาอธิบายเหตุผลนี้ก็นับว่า มีมากมายหลายประเด็นเช่นกัน  หลังแอฟริกา กลางได้รับเอกราชคืนกลับมานั้น “จักรพรรดิ Bokassa ก็สถาปนาตนเองขึ้นปกครองประเทศภายใต้ ระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา แต่ก็เรียกได้ว่าอำนาจก็ย่อมผูกขาดอยู่ที่จักรพรรดิ  การใช้เงินคงคลังอย่างฟุ่มเฟือย การผูกขาดสินค้าของตนกับรัฐบาลและเอกชนเป้นปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐประหารเกิดขึ้น แต่เมื่อรัฐประหารสำเร็จทุกอย่างก็กลับมาสู่จุดเดิมครั้งแล้ว ครั้งเล่า วนเวียนซ้ำไปซ้ำมาเหมือนหนังม้วนเก่าถูกฉายย้อนไปมาเพียงแต่เปลี่ยนตัวละครเท่านั้น

ความเลวร้ายของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไม่เพียงจะหยุดเพียงเท่านี้ การรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้เกิดกลุ่มหัวรุนแรงต่างความคิดมากมายหลายกลุ่ม มีทั้งเล่นแง่กับศาสนาทั้งคริสต์ทั้งอิสลาม ไม่ต่างกับประเทศอื่นอื่น  เริ่มมีแนวคิดเราต่าง เขาต่างเกิดขึ้นมามากมายในหลายแง่มุม และผลสุดท้ายของบทสรุปก็คงหนีไม่พ้นสงครามกลางเมือง ความรุนแรงที่กระจายไปทุกหย่อมหญ้า ถึงแม้จะมีการเจรจาเกิดขึ้นหลายครั้งจน UN ต้องส่งทหารลงมาช่วยควบคุมสถานการณ์ จนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ฟร็องซัว บอซีเซ ประธานาธิบดีได้หลบหนีออกนอกประเทศหลังกบฏยึดทำเนียบได้ ผู้นำกบฏ มีแชล จอตอดียา ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีในวันเดียวกัน และเหตุการณ์ก็ค่อยค่อยสงบลงเรื่อยๆ

หากจับประเด็นเหล่านี้มาวิเคราะห์ ประเทศแอฟริกากลางเป็นประเทศที่มีทรัพยากรที่เอื้อสำหรับอุตสาหกรรมมูลค่าสูงทั้งเพชร ทอง และน้ำมันดิบเพียงแต่ขาดผู้นำที่จะมอบทิศทาง นโยบายไปสู่การค้าที่ดีได้ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีการส่งออกสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าหลักออกนอกประเทศบ้าง เหมืองเพชร เหมืองทอง และน้ำมันดิบก็ยังมีการส่งออกไปยัง ฝรั่งเศส เยอรมัน เกาหลี บ้าง

แต่ก็นับว่าไม่ได้ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรได้สักเท่าไหร่ อีกประเด็นหนึ่งก็คือการรวมตัวของหลากหลายชนเผ่าของประเทศทำให้ความขัดแย้งระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย การศึกษาและการสื่อสารที่ไม่สามารถเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในถิ่นแดนที่ห่างไกล ทำให้แต่ละพื้นที่ก็มีความเชื่อของตนเอง แนวคิดของตนเอง ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นได้ง่ายและมากมายหลากหลายประเด็นนี้เป็นสาเหตุทำให้ ความจนคุกคามประเทศที่มากไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่แสนอุดมสมบูรณ์ ต้องกลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก

#แนววิชาการกันบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น