วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คนโง่ vs คนฉลาด เคยได้ยินชื่อ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ไหมครับ ? เขาเคยเป็นวิศวกรของ องค์การอวกาศนาซา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน เคยได้รับรางวัลงานวิจัยที่ดีที่สุดระดับโลก เกี่ยวกับเครื่องยนต์ไอ พ่น แต่ตัดสินใจกลับเมืองไทยเพราะ 1. อยากดูแลพ่อแม่ 2. ไม่อยากเป็นพลเมืองชั้นสองในบ้านพักคนชรา 3. อยากเที่ยว และ 4. ชอบกินอาหารอร่อย เคยเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง ผมประทับใจบทสัม ภาษณ์ของ ดร.วรภัทรใน " เสาร์สวัสดี " ของ " กรุงเทพธุรกิจ "คน อะไรก็ไม่รู้ ชีวิตมันส์เป็นบ้า ความคิดก็กวนเหลือหลาย ตอนที่เขาเป็นอาจารย์วิธีการสอนหนังสือของเขาแปลกกว่าคนอื่น " ผมออกนอกกรอบตลอดเวลา " เขาบอก เขาเคยพาเด็กวิศวะไปที่ริมสระว่ายน้ำเรียนไป และดูนิสิต สาว ๆ ว่ายน้ำไปด้วย คาดว่าคงไปเรียนเรื่อง " คลื่น " ระหว่างท่า ฟรีสไตล์ กับท่าผีเสื้อ คลื่นที่เกิดขึ้นของท่าไหนถี่กว่ากัน ระหว่าง ชุดทูพีซ กับวันพีซ แรงเสียดทานของน้ำ ชุดไหนจะมากกว่ากัน ... แนวการศึกษา จะออกไปในทำนองนี้ แต่ที่ชอบที่สุดคือ ตอนที่เขา ออกข้อสอบ ข้อสอบของเขาสั้นและกระชับมาก ... " จงออกข้อสอบเอง พร้อมเฉลย " โห ! ... เด็กวิดวะอึ้งกันทั้งห้อง คำตอบส่วนใหญ่เป็นการตั้งโจทย์ แบบง่ายๆ เช่น ปั้นจั่นมีกี่ชนิด ผลปรากฏว่า ได้ศูนย์กันทั้งห้อง เพราะเป็นคำตอบที่ไม่ได้แสดงความคิดที่ลึกซึ้ง สมกับที่เรียนมา ทั้งเทอม เหตุผลที่ ดร.วรภัทร ออกข้อสอบด้วยการให้นิสิตออก ข้อสอบเอง เป็นเหตุผลที่ตรงกับใจผมมาก " ชีวิตคนเรา จะรอให้อาจารย์ตั้งโจทย์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องหา โจทย์มาเอง คิดแล้วทำ ถ้าผิดแล้วอาจารย์จะปรับให้ " เขามองว่าเด็กรุ่นใหม่ติดนิสัยเด็กกวดวิชา รอคนคาบทุกอย่างมา ป้อนให้ ไม่รู้จักคิดเอง " "ถ้ารอ และตั้งรับ คุณก็เป็นพวกอีแร้ง แต่พวกคุณแย่กว่าเพราะเป็น แค่ลูกอีแร้ง คือรออาหารที่คนอื่นป้อนให้ " โหย ... เจ็บ ผมเชื่อมานานแล้วว่าชีวิตของคนเราเป็นข้อสอบอัตนัย ที่ต้องตั้ง โจทย์เองและตอบเอง ไม่ใช่ข้อสอบปรนัยที่มีคนตั้งโจทย์และมีคำ ตอบเป็นทางเลือก ก-ข-ค-ง ถ้าใครที่คุ้นกับ" ชีวิตปรนัย " ที่มีคนตั้ง โจทย์ให้ และเสนอทางเลือก 1-2-3-4 คนคนนั้นชีวิตจะไม่ก้าวหน้า เพราะต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา ติดกับ " กรอบ " ที่คนอื่นสร้าง ให้ ไม่เหมือนกับคนที่รู้จักคิดและตั้งคำถามเอง เรื่องการตั้งคำถาม กับชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่าลืมว่าเพราะมี "คำถาม " จึงมี " คำ ตอบ " เมื่อมี " คำตอบ " เราจึงเลือกเดิน พูดถึงเรื่องการตั้งคำถามผมนึกถึงโสเครติส เขาเป็นนักปรัชญาเอก ของโลก ที่สอนลูกศิษย์ด้วยการสนทนา ตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ตอบ สร้างองค์ความรู้จาก " คำถาม " กลยุทธ์ของโสเครติสในการสอน คือไม่ให้ความเห็นใดๆ แก่นักเรียน และทำลายความมั่นใจของนัก เรียนที่เชื่อว่าตนเองรู้ โสเครติสเชื่อว่า เมื่อเด็กตระหนักใน " ความ ไม่รู้ " ของตนเองเขาจะเริ่มต้นแสวงหา" ความรู้ " แต่ถ้าเด็กยังเชื่อ มั่นว่าตนเองมี " ความรู้ " เขาก็จะไม่แสวงหา " ความรู้ " การตั้งคำถามของโสเครติสจึงมีเป้าหมายโจมตี และทำลายความ เชื่อมั่นในภูมิความรู้ของนักเรียน เป็นกลยุทธ์เท " น้ำ " ให้หมดจาก แก้ว เมื่อแก้วไม่มีน้ำแล้วจึงเริ่มให้เขาเท " น้ำ " ใหม่ใส่แก้วด้วยมือ ของเขาเอง "น้ำ" ที่ลูกศิษย์แต่ละคนเทลงแก้วด้วยมือตัวเอง มาจาก" คำตอบ " ที่เขาค้นคิดขึ้นมาเอง " คำตอบ " จาก " คำถาม " ของโสเครติส โสเครติสนิยามความหมายของคำว่า "คนฉลาด " และ "คนโง่" ได้ อย่างน่าสนใจ " คนฉลาด " ในมุมมองของโสเครติสนั้น ไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่อง แต่ " คนฉลาด " คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ ส่วน " คนโง่ " นั้น คือคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้แต่ทำตัวราวกับเป็นผู้รู้ ไม่น่าเชื่อว่า ก่อนหน้านี้ผมยังมีความภาคภูมิใจใน " ความรู้ " ของ ตนเอง แต่พออ่านถึงบรรทัดนี้ ทำไมผมเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่รู้อะไร เลย ..... ขอขอบคุณนายสัตวแพทย์ สากล บทความคุณภาพจากเพจ #เรื่องดีๆมีข้อคิด ภาพ : http://www.secret-thai.com/video/7-days-guru/5794/7guru-ajworapat/ #เห็ดหลินจือ #Health_and_Wealth_Coffee #โลกสวย #ขำขันมันส์ฮา #สูตรเด็ด_เคล็ดอร่อย

คนโง่ vs คนฉลาด

เคยได้ยินชื่อ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ไหมครับ ? เขาเคยเป็นวิศวกรของ
องค์การอวกาศนาซา  ประเทศสหรัฐอเมริกา   เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน
เคยได้รับรางวัลงานวิจัยที่ดีที่สุดระดับโลก   เกี่ยวกับเครื่องยนต์ไอ
พ่น แต่ตัดสินใจกลับเมืองไทยเพราะ
1. อยากดูแลพ่อแม่
2. ไม่อยากเป็นพลเมืองชั้นสองในบ้านพักคนชรา
3. อยากเที่ยว และ
4. ชอบกินอาหารอร่อย
เคยเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง   ผมประทับใจบทสัม
ภาษณ์ของ ดร.วรภัทรใน " เสาร์สวัสดี " ของ " กรุงเทพธุรกิจ "คน
อะไรก็ไม่รู้ ชีวิตมันส์เป็นบ้า ความคิดก็กวนเหลือหลาย

ตอนที่เขาเป็นอาจารย์วิธีการสอนหนังสือของเขาแปลกกว่าคนอื่น
" ผมออกนอกกรอบตลอดเวลา "
เขาบอก เขาเคยพาเด็กวิศวะไปที่ริมสระว่ายน้ำเรียนไป และดูนิสิต
สาว ๆ ว่ายน้ำไปด้วย คาดว่าคงไปเรียนเรื่อง " คลื่น "   ระหว่างท่า
ฟรีสไตล์ กับท่าผีเสื้อ คลื่นที่เกิดขึ้นของท่าไหนถี่กว่ากัน   ระหว่าง
ชุดทูพีซ กับวันพีซ แรงเสียดทานของน้ำ ชุดไหนจะมากกว่ากัน ...

แนวการศึกษา จะออกไปในทำนองนี้ แต่ที่ชอบที่สุดคือ ตอนที่เขา
ออกข้อสอบ ข้อสอบของเขาสั้นและกระชับมาก ...
" จงออกข้อสอบเอง พร้อมเฉลย "
โห ! ... เด็กวิดวะอึ้งกันทั้งห้อง   คำตอบส่วนใหญ่เป็นการตั้งโจทย์
แบบง่ายๆ   เช่น  ปั้นจั่นมีกี่ชนิด   ผลปรากฏว่า   ได้ศูนย์กันทั้งห้อง
เพราะเป็นคำตอบที่ไม่ได้แสดงความคิดที่ลึกซึ้ง   สมกับที่เรียนมา
ทั้งเทอม     เหตุผลที่ ดร.วรภัทร ออกข้อสอบด้วยการให้นิสิตออก
ข้อสอบเอง  เป็นเหตุผลที่ตรงกับใจผมมาก

" ชีวิตคนเรา  จะรอให้อาจารย์ตั้งโจทย์อย่างเดียวไม่ได้     ต้องหา
โจทย์มาเอง คิดแล้วทำ ถ้าผิดแล้วอาจารย์จะปรับให้ "
เขามองว่าเด็กรุ่นใหม่ติดนิสัยเด็กกวดวิชา   รอคนคาบทุกอย่างมา
ป้อนให้  ไม่รู้จักคิดเอง "

"ถ้ารอ และตั้งรับ คุณก็เป็นพวกอีแร้ง แต่พวกคุณแย่กว่าเพราะเป็น
แค่ลูกอีแร้ง คือรออาหารที่คนอื่นป้อนให้ "
โหย ... เจ็บ

ผมเชื่อมานานแล้วว่าชีวิตของคนเราเป็นข้อสอบอัตนัย   ที่ต้องตั้ง
โจทย์เองและตอบเอง ไม่ใช่ข้อสอบปรนัยที่มีคนตั้งโจทย์และมีคำ
ตอบเป็นทางเลือก ก-ข-ค-ง ถ้าใครที่คุ้นกับ" ชีวิตปรนัย " ที่มีคนตั้ง
โจทย์ให้ และเสนอทางเลือก 1-2-3-4 คนคนนั้นชีวิตจะไม่ก้าวหน้า
เพราะต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา   ติดกับ " กรอบ " ที่คนอื่นสร้าง
ให้ ไม่เหมือนกับคนที่รู้จักคิดและตั้งคำถามเอง เรื่องการตั้งคำถาม
กับชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่าลืมว่าเพราะมี "คำถาม " จึงมี " คำ
ตอบ " เมื่อมี " คำตอบ " เราจึงเลือกเดิน

พูดถึงเรื่องการตั้งคำถามผมนึกถึงโสเครติส เขาเป็นนักปรัชญาเอก
ของโลก ที่สอนลูกศิษย์ด้วยการสนทนา ตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ตอบ
สร้างองค์ความรู้จาก " คำถาม "   กลยุทธ์ของโสเครติสในการสอน
คือไม่ให้ความเห็นใดๆ แก่นักเรียน  และทำลายความมั่นใจของนัก
เรียนที่เชื่อว่าตนเองรู้ โสเครติสเชื่อว่า  เมื่อเด็กตระหนักใน " ความ
ไม่รู้ " ของตนเองเขาจะเริ่มต้นแสวงหา" ความรู้ "  แต่ถ้าเด็กยังเชื่อ
มั่นว่าตนเองมี " ความรู้ " เขาก็จะไม่แสวงหา " ความรู้ "

การตั้งคำถามของโสเครติสจึงมีเป้าหมายโจมตี  และทำลายความ
เชื่อมั่นในภูมิความรู้ของนักเรียน เป็นกลยุทธ์เท " น้ำ " ให้หมดจาก
แก้ว เมื่อแก้วไม่มีน้ำแล้วจึงเริ่มให้เขาเท " น้ำ " ใหม่ใส่แก้วด้วยมือ
ของเขาเอง

"น้ำ" ที่ลูกศิษย์แต่ละคนเทลงแก้วด้วยมือตัวเอง มาจาก" คำตอบ "
ที่เขาค้นคิดขึ้นมาเอง    " คำตอบ " จาก " คำถาม "  ของโสเครติส
โสเครติสนิยามความหมายของคำว่า "คนฉลาด " และ "คนโง่" ได้
อย่างน่าสนใจ

" คนฉลาด " ในมุมมองของโสเครติสนั้น  ไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่อง   แต่
" คนฉลาด " คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้
ส่วน " คนโง่ " นั้น คือคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้แต่ทำตัวราวกับเป็นผู้รู้

ไม่น่าเชื่อว่า  ก่อนหน้านี้ผมยังมีความภาคภูมิใจใน " ความรู้ " ของ
ตนเอง  แต่พออ่านถึงบรรทัดนี้  ทำไมผมเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่รู้อะไร
เลย .....

ขอขอบคุณนายสัตวแพทย์ สากล
บทความคุณภาพจากเพจ #เรื่องดีๆมีข้อคิด
ภาพ : http://www.secret-thai.com/video/7-days-guru/5794/7guru-ajworapat/

#เห็ดหลินจือ
#Health_and_Wealth_Coffee
#โลกสวย
#ขำขันมันส์ฮา
#สูตรเด็ด_เคล็ดอร่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น