วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของภัตตาคารจีน บอกว่าอาหารจานที่ทำยากที่สุดคือ....ข้าวผัด ฟังดูไม่น่าเชื่อ เพราะข้าวผัดเป็นอาหารพื้น ๆ ไม่พิสดาร (และแพง) เหมือนหูฉลาม เป็ดปักกิ่ง ฯลฯ เมื่อถามถึงเหตุผล เขาบอกว่า เหตุที่ทำยากที่สุด เพราะข้าวผัดที่อร่อยนั้น ข้าวทุกเม็ดต้องถูกความร้อนสม่ำเสมอ ข้าวต้องไม่แฉะเกินไป เพราะจะติดกระทะ ไม่แห้งเกินไปเพราะจะแข็ง การผัดให้ข้าวทุกเม็ดรับความร้อน ต้องกวัดไกวตะหลิวเป็นจังหวะ ไม่เร็วเกินไป ไม่นานเกินไป ดังนั้นในการทดสอบหาพ่อครัวแม่ครัวประจำร้าน จึงมักให้ทดสอบด้วยการทำข้าวผัด หลักการของการผัดข้าวที่ดี ตรงกับหลักการใช้ชีวิตที่ดีเช่นกัน ชีวิตคนเราก็เหมือนข้าวผัด ต้องให้ถูกความร้อนสม่ำเสมอ ไม่สุกเฉพาะบางส่วน ไม่ใช้ชีวิตเร็วเกินไป ไม่รีบร้อน แต่ก็ไม่ช้าเกินไป บ่มจนเกิดปัญญา บ่มทั้งตัวจนมีความรู้ครบถ้วน ไม่สุกเอาเผากิน เมื่อเรียนหนังสือ ก็เรียนเพื่อให้รู้ ไม่ใช่เรียนเอากระดาษแผ่นเดียว รู้ว่าเรารู้อะไร ไม่รู้อะไร แยกแยะความแตกต่างให้ออกระหว่าง 'ระบบการศึกษา' กับ 'ความรู้' ดังที่มหาเศรษฐี มัลคอล์ม ฟอร์บส์ กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการเปิดสมองให้กว้าง อ่านหนังสือก็อ่านอย่างหลากหลาย อ่านเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เนื่องจากการอ่านออกเป็นคนละเรื่องกับการรู้ว่า สมควรอ่านอะไร ใช้ชีวิตอย่างอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ แข็งแกร่ง แต่ไม่แข็งกระด้าง ใช้ชีวิตให้คุ้มกับทุก ๆ นาทีที่ได้มา ชีวิตคนเราสั้น เราจึงสมควรทำให้ชีวิตของเรา 'อร่อย' แต่เราต้องเป็นคนปรุงอาหารชีวิตจานนี้เอง Cr. วินทร์ เลียววาริณ

เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของภัตตาคารจีน
บอกว่าอาหารจานที่ทำยากที่สุดคือ....ข้าวผัด

ฟังดูไม่น่าเชื่อ เพราะข้าวผัดเป็นอาหารพื้น ๆ
ไม่พิสดาร (และแพง) เหมือนหูฉลาม เป็ดปักกิ่ง ฯลฯ

เมื่อถามถึงเหตุผล เขาบอกว่า
เหตุที่ทำยากที่สุด เพราะข้าวผัดที่อร่อยนั้น
ข้าวทุกเม็ดต้องถูกความร้อนสม่ำเสมอ
ข้าวต้องไม่แฉะเกินไป เพราะจะติดกระทะ
ไม่แห้งเกินไปเพราะจะแข็ง

การผัดให้ข้าวทุกเม็ดรับความร้อน
ต้องกวัดไกวตะหลิวเป็นจังหวะ ไม่เร็วเกินไป
ไม่นานเกินไป ดังนั้นในการทดสอบหาพ่อครัวแม่ครัวประจำร้าน จึงมักให้ทดสอบด้วยการทำข้าวผัด

หลักการของการผัดข้าวที่ดี
ตรงกับหลักการใช้ชีวิตที่ดีเช่นกัน

ชีวิตคนเราก็เหมือนข้าวผัด
ต้องให้ถูกความร้อนสม่ำเสมอ ไม่สุกเฉพาะบางส่วน
ไม่ใช้ชีวิตเร็วเกินไป ไม่รีบร้อน แต่ก็ไม่ช้าเกินไป

บ่มจนเกิดปัญญา บ่มทั้งตัวจนมีความรู้ครบถ้วน
ไม่สุกเอาเผากิน

เมื่อเรียนหนังสือ ก็เรียนเพื่อให้รู้
ไม่ใช่เรียนเอากระดาษแผ่นเดียว
รู้ว่าเรารู้อะไร ไม่รู้อะไร

แยกแยะความแตกต่างให้ออกระหว่าง
         'ระบบการศึกษา' กับ 'ความรู้'

ดังที่มหาเศรษฐี มัลคอล์ม ฟอร์บส์ กล่าวว่า
จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการเปิดสมองให้กว้าง

อ่านหนังสือก็อ่านอย่างหลากหลาย
อ่านเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น
เนื่องจากการอ่านออกเป็นคนละเรื่องกับการรู้ว่า
สมควรอ่านอะไร

ใช้ชีวิตอย่างอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ แข็งแกร่ง
แต่ไม่แข็งกระด้าง

ใช้ชีวิตให้คุ้มกับทุก ๆ นาทีที่ได้มา

ชีวิตคนเราสั้น เราจึงสมควรทำให้ชีวิตของเรา 'อร่อย'

แต่เราต้องเป็นคนปรุงอาหารชีวิตจานนี้เอง

Cr. วินทร์ เลียววาริณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น