วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

(?)ท่านอยู่ใน วัยห้าว วัยหด หรือวัยเหี่ยว(!) 1. วัยห้าวฮึกเหิม วัยนี้ เป็นวัยเกษียณช่วงต้น เป็นช่วงที่มีอายุ 60-69 ปี ส่วนใหญ่ยังแข็งแรง พลังงานยังมีเต็มเปี่ยม ทำอะไรๆ ได้เหมือนกับช่วงก่อนเกษียณ และหลายคนในวัยนี้ ยังไม่รู้จักคำว่าเกษียณ สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ทำให้ยังมีรายได้และรู้สึกว่าตนเองยังมีค่าต่อครอบครัว และ สังคม - นอกจากนี้ ยังเป็นวัยที่ "ฮึกเหิม" อยากทำสิ่งใหม่ๆ ที่เคยใฝ่ฝันไว้ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน ที่หลายคนอยากเริ่มต้นอาชีพใหม่ นำเงินที่เก็บออมไว้ออกไปลงทุนทำธุรกิจ SME ทำไร่ ทำสวน ทำร้านอาหาร ฯลฯ - เพราะความห้าว ผสมกับความฮึกเหิมนี้เอง ที่ทำให้หลายคนต้องสูญเงินที่เก็บออมจำนวนมาก เพราะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ โดยไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ ไม่ได้ประเมินความสามารถ ความเหมาะสมกับกำลังวังชาของตน 2. วัยหด วัยนี้ ถือเป็น "วัยเกษียณจริง" เป็นข่วงอายุ 70-79 ปี เพราะ "ความสามารถในการใช้ชีวิตจะลดลง ไม่ว่าอดีตข้าราชการ อดีตผู้บริหาร ผู้มีอาชีพอิสระ หรือเจ้าของกิจการ จะไม่มีความแตกต่างด้านการใช้ชีวิตในวัยหดสักเท่าไร" ในขณะที่ความสามารถในการหารายได้ลดลง จนเกือบหมด แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีมากขึ้น เพราะโรคภัยจะแสดงอาการออกมาชัดเจนขึ้น จึงควรลดกิจกรรมต่างๆ ลง และให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพกาย และสุขภาพใจให้มากขึ้น อย่ามั่นใจในศักยภาพในอดีตของตัวเองจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาก่อนวัยอันควร 3. วัยเหี่ยว(!) - วัยนี้ เป็นช่วงในวัย 80 ปีขึ้นไป เป็นช่วงเข้าสู่วัยชรา และ วัยพักผ่อนอย่างแท้จริง โดยในช่วงที่ชราภาพมากๆ จำเป็น ต้องมีคนคอยดูแล เพราะปัญหาสุขภาพจะมีมากขึ้น ความจำจะแย่ลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องของสุขภาพ จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทางการเงินไว้สำหรับการใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นหลัก . - เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่เห็นว่าอายุ 60 แล้ว จะเหมารวมว่า เป็นผู้สูงอายุเหมือนๆ กันหมด คนไทยก็มีอายุยืนขึ้น โดยผู้ชายอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี ขณะที่ผู้หญิงอายุเฉลี่ย 80 ปี - และจากสถิติประชากรของประเทศไทย พบว่า ถ้ามีชีวิตรอดมาจนถึงอายุ 60 ปีได้แล้วล่ะก็ จะมีโอกาสที่จะมีชีวิตต่อไปถึง อายุประมาณ 80 ปี - เพราะฉะนั้น ถ้าวันนี้ เราประคับประคองชีวิตมาได้จนถึงวัยหลังเกษียณแล้ว ก็มองตัวเลขอายุ 80 ปีไว้เป็นเป้าหมายได้เลย จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับชีวิตในวัย 70-80 ปีไว้ - หากไม่เตรียมความพร้อม ใน "วัยห้าว" ให้รอบคอบ ในขณะที่ยังมีเรี่ยวแรงหารายได้ ซึ่งก็อาจจะยังไม่มีความทุกข์ในวันนี้ แต่ถ้าเข้าสู่วัยหด หรือ วัยเหี่ยว แล้ว เราย่อมจะเป็นคนที่มีทุกข์หนักพร้อมเหี่ยวเฉาได้ . - การสำรวจความคิดเห็นผู้สูงอายุ เมื่อปี 2559 โดย นิด้าโพล และศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) พบว่า มีอยู่ 7 เรื่องใหญ่ๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุไทยเป็นทุกข์ นั่นคือ 1. การไม่มีเงินใช้/ ไม่มีเงินออมเพียงพอให้ใช้ / หรือ มีแต่ไม่พอใช้ 2. อยากทำงาน แต่ไม่มีงานให้ทำ ทำให้ขาดรายได้มาเลี้ยงตนเอง 3. ยังมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้ 4. ไม่มีเพื่อนฝูงที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล 5. สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง/ มีโรคประจำตัว/ ต้องไปหาหมอบ่อย 6. มีลูกหลาน ก็เหมือนไม่มี เพราะลูกหลาน เขาก็มีภาระ และไม่สนใจดูแล 7. จิตใจไม่เบิกบาน ไม่สดชื่นแจ่มใส หม่นหมอง รู้สึกว่า ตนเองไม่มีคุณค่า . จะเห็นได้เลยว่า 3 เรื่องที่ใหญ่ที่ผู้เป็น สว. มีความโชคร้าย คือ ไม่มีเงิน ไม่มีงาน มีแต่หนี้สิน . ไม่ว่าคุณกำลังอยู่ตรงไหน.... ห้าว หด หรือ ... เหี่ยว การเตรียมความพร้อม ทำความเข้าใจกับสภาพที่เรากำลังเป็นอยู่ หรือ กำลังจะเป็น เป็นเรื่องที่ดีเสมอ Cr. วรวรรณ ธาราภูมิ" ประธานกรรมการบริหาร บลจ.บัวหลวง

(?)ท่านอยู่ใน วัยห้าว วัยหด หรือวัยเหี่ยว(!)

1. วัยห้าวฮึกเหิม

วัยนี้ เป็นวัยเกษียณช่วงต้น เป็นช่วงที่มีอายุ 60-69 ปี ส่วนใหญ่ยังแข็งแรง พลังงานยังมีเต็มเปี่ยม ทำอะไรๆ ได้เหมือนกับช่วงก่อนเกษียณ และหลายคนในวัยนี้ ยังไม่รู้จักคำว่าเกษียณ สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ทำให้ยังมีรายได้และรู้สึกว่าตนเองยังมีค่าต่อครอบครัว และ สังคม

- นอกจากนี้ ยังเป็นวัยที่ "ฮึกเหิม" อยากทำสิ่งใหม่ๆ ที่เคยใฝ่ฝันไว้ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน ที่หลายคนอยากเริ่มต้นอาชีพใหม่ นำเงินที่เก็บออมไว้ออกไปลงทุนทำธุรกิจ SME ทำไร่ ทำสวน ทำร้านอาหาร ฯลฯ

- เพราะความห้าว ผสมกับความฮึกเหิมนี้เอง ที่ทำให้หลายคนต้องสูญเงินที่เก็บออมจำนวนมาก เพราะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ โดยไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ ไม่ได้ประเมินความสามารถ ความเหมาะสมกับกำลังวังชาของตน

2. วัยหด

วัยนี้ ถือเป็น "วัยเกษียณจริง" เป็นข่วงอายุ 70-79 ปี เพราะ "ความสามารถในการใช้ชีวิตจะลดลง ไม่ว่าอดีตข้าราชการ อดีตผู้บริหาร ผู้มีอาชีพอิสระ หรือเจ้าของกิจการ จะไม่มีความแตกต่างด้านการใช้ชีวิตในวัยหดสักเท่าไร"

ในขณะที่ความสามารถในการหารายได้ลดลง จนเกือบหมด แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีมากขึ้น เพราะโรคภัยจะแสดงอาการออกมาชัดเจนขึ้น จึงควรลดกิจกรรมต่างๆ ลง และให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพกาย และสุขภาพใจให้มากขึ้น อย่ามั่นใจในศักยภาพในอดีตของตัวเองจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาก่อนวัยอันควร

3. วัยเหี่ยว(!)

- วัยนี้ เป็นช่วงในวัย 80 ปีขึ้นไป เป็นช่วงเข้าสู่วัยชรา และ วัยพักผ่อนอย่างแท้จริง โดยในช่วงที่ชราภาพมากๆ จำเป็น ต้องมีคนคอยดูแล เพราะปัญหาสุขภาพจะมีมากขึ้น ความจำจะแย่ลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องของสุขภาพ จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทางการเงินไว้สำหรับการใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นหลัก
.
- เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่เห็นว่าอายุ 60 แล้ว จะเหมารวมว่า เป็นผู้สูงอายุเหมือนๆ กันหมด คนไทยก็มีอายุยืนขึ้น โดยผู้ชายอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี ขณะที่ผู้หญิงอายุเฉลี่ย 80 ปี

- และจากสถิติประชากรของประเทศไทย พบว่า ถ้ามีชีวิตรอดมาจนถึงอายุ 60 ปีได้แล้วล่ะก็ จะมีโอกาสที่จะมีชีวิตต่อไปถึง อายุประมาณ 80 ปี

- เพราะฉะนั้น ถ้าวันนี้ เราประคับประคองชีวิตมาได้จนถึงวัยหลังเกษียณแล้ว ก็มองตัวเลขอายุ 80 ปีไว้เป็นเป้าหมายได้เลย จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับชีวิตในวัย 70-80 ปีไว้

- หากไม่เตรียมความพร้อม ใน "วัยห้าว" ให้รอบคอบ ในขณะที่ยังมีเรี่ยวแรงหารายได้ ซึ่งก็อาจจะยังไม่มีความทุกข์ในวันนี้ แต่ถ้าเข้าสู่วัยหด หรือ วัยเหี่ยว แล้ว เราย่อมจะเป็นคนที่มีทุกข์หนักพร้อมเหี่ยวเฉาได้
.
- การสำรวจความคิดเห็นผู้สูงอายุ เมื่อปี 2559 โดย นิด้าโพล และศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) พบว่า มีอยู่ 7 เรื่องใหญ่ๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุไทยเป็นทุกข์ นั่นคือ

1. การไม่มีเงินใช้/ ไม่มีเงินออมเพียงพอให้ใช้ / หรือ มีแต่ไม่พอใช้
2. อยากทำงาน แต่ไม่มีงานให้ทำ ทำให้ขาดรายได้มาเลี้ยงตนเอง
3. ยังมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้
4. ไม่มีเพื่อนฝูงที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล
5. สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง/ มีโรคประจำตัว/ ต้องไปหาหมอบ่อย
6. มีลูกหลาน ก็เหมือนไม่มี เพราะลูกหลาน เขาก็มีภาระ และไม่สนใจดูแล
7. จิตใจไม่เบิกบาน ไม่สดชื่นแจ่มใส หม่นหมอง รู้สึกว่า ตนเองไม่มีคุณค่า
.
จะเห็นได้เลยว่า 3 เรื่องที่ใหญ่ที่ผู้เป็น สว. มีความโชคร้าย คือ ไม่มีเงิน ไม่มีงาน มีแต่หนี้สิน
.
ไม่ว่าคุณกำลังอยู่ตรงไหน.... ห้าว หด หรือ ... เหี่ยว การเตรียมความพร้อม ทำความเข้าใจกับสภาพที่เรากำลังเป็นอยู่ หรือ กำลังจะเป็น เป็นเรื่องที่ดีเสมอ

Cr. วรวรรณ ธาราภูมิ" ประธานกรรมการบริหาร บลจ.บัวหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น