วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อย่าเห็นอะไรเป็นของตาย . . . เคยมีคนกล่าวไว้ว่า คนเรามักคิดว่าอะไรๆ จะไม่ค่อยเปลี่ยน เพราะเราอยู่ในโลกที่อากาศในวันพรุ่งนี้จะมีโอกาส 85% ที่จะเหมือนกับอากาศในวันนี้ . เป็นข้อสังเกตการณ์ที่น่ารักและแปลกที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมาเลยครับ :) . แต่มันทำให้ผมนึกถึง TED talk อันนึงครับ ซึ่งเป็นของ Amanda Burden ซึ่งเป็น City Chief Planner ของ มหานครนิวยอร์ก ภายใต้ยุคของนายกเทศมนตรี Michael Bloomberg ครับ . เธอมีส่วนในการพัฒนาโครงการให้กับเมืองนิวยอร์กหลายโครงการ . แต่ที่เราทุกคนรู้จักกันดีเห็นจะเป็น the High Line สวนลอยฟ้าที่เกิดขึ้นจากรางรถไฟเก่าที่โด่งดังไปทั่วโลกและมีผู้คนหลายล้านคนเดินทางมาที่นี่ทุกปี ที่เธอมีส่วนอย่างมากในการรักษามันไว้จนถึงวันนี้ . หรืออย่าง Brooklyn Waterfront ที่เปลี่ยนแหล่งเสื่อมโทรมที่ไม่อยากมีใครไปให้กลายเป็นจุดศูนย์รวมชุมชนที่กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่คนในเมืองได้มีที่พักผ่อนจากความวุ่นวายของมหานครที่เป็นที่อยู่ของประชากรเกือบสิบล้านคนแห่งนี้ . ในปี 2014 บนเวที TED เธอได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของมหานครนิวยอร์กแห่งนี้ไว้อย่างน่าสนใจมากครับ . Amanda เชื่อว่าพื้นที่สาธารณะหรือ public space นั้นเป็นกุญแจสำคัญในการออกแบบเมืองชั้นยอด . แล้วพื้นที่สาธารณะที่ดีในสายตาของเธอนั้นเป็นอย่างไร? . เธอบอกว่ามันคือพื้นที่ที่ ผู้คนรู้สึกว่าได้รับการต้อนรับ รู้สึกอยากเข้าไป รู้สึกเป็นพื้นที่ที่สามารถอยู่ได้อย่างไม่รู้สึกแปลกแยก และเมื่อมีคนจำนวนที่รู้สึกแบบนี้เยอะๆ ก็จะยิ่งดึงดูดคนให้เข้ามาในพื้นที่นั้นเยอะขึ้นอีก . คำถามคือทำไมเราถึงไม่มีพื้นที่สาธารณะแบบนี้มากขึ้น ถ้าเรารู้อยู่แล้วว่ามันเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเมืองใหญ่ . คำตอบน่าจะอยู่ที่ว่าพื้นที่สาธารณะนั้นได้มายากมาก และการรักษาอยู่ก็ยากพอกัน ต้องใช้ความพยายามและความร่วมมือร่วมใจกันของคนในชุมชนอยส่งมาก . ก่อนที่จะเล่าเรื่องพื้นที่สาธารณะต่อ เธอขอเล่าย้อนหลังกลับไปหลายปีมาแล้ว ตอนที่นายกเทศมนตรี Michael Bloomberg ให้โจทย์กับเธอในตอนนั้นว่านิวยอร์กจะโตจากเมืองที่มีประชากร 8 ล้านคนเป็น 9 ล้านคน . “แล้วเราจะเอาคนอีกหนึ่งล้านคนไปไว้ที่ไหนดี?” . เป็นคำถามที่น่าคิดมากๆสำหรับเมืองที่จะขยายแนวราบก็ไม่ได้แล้ว นี่ยังไม่รวมถึงเรื่องรถยนต์อีกนะครับ ถ้าคนเพิ่มรถก็เพิ่ม จะเอารถไปไว้ที่ไหน เพราะนิวยอร์กนั้นรับมือรถยนต์มากกว่านี้ไม่ไหวแล้วจริงๆ ทางออกก็เหมือนจะมีทางออกเดียวคือถ้าไปแนวราบไม่ได้ ก็ต้องขึ้นแนวสูง แล้วเรื่องรถละ? ต้องคิดไปพร้อมกันเลย ก็ต้องทำที่พักแนวสูงที่คนสามารถเดินทางได้โดยไม่ต้องใช้รถ ซึ่งนั้นหมายความว่าต้อง leverage สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด อันได้แก่ระบบขนส่งมวลชนของมหานครนิวยอร์ก . แต่ถ้าจะทำโครงการใหญ่ขนาดนี้ หมายถึงการรีดศักยภาพทุกหยดของระบบขนส่งของนิวยอร์กออกมาใช้ให้ได้ . ทำยังไงดี ? . คำตอบคือการทำโซนนิ่ง เพราะการทำโซนนิ่งคือเครื่องมือที่นักวางผังเมืองเอาไว้ใช้ในการวางแผนการเจริญเติบโตของเมือง และหากทำอย่างถูกต้องมันจะเป็นเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ที่ยากๆ ที่สุดท้ายลงตัวได้ ซึ่งคล้ายกับการวางผังเมืองที่ซับซ้อนอย่างนิวยอร์กเลย โดยการวางผังเมืองที่เน้นที่อยู่อาศัยที่จะใช้การขนส่งสาธารณะและ แบนหรือลดการใช้พื้นที่ของที่อยู่อาศัยที่ต้องใช้รถยนต์ในการเข้าถึง . ความยากของแผนนี้ก็คือคนในชุมชนต้องเห็นด้วย . Amanda บอกว่าวิธีการที่จะทำให้คนในชุมชนเห็นด้วยกับแผนการนี้คือต้อง ”รับฟัง”ครับ . และเธอก็เริ่มรับฟัง รับฟังอย่างอย่างจริงจัง เป็นพันๆชั่วโมงที่เธอและทีมงานนั่งฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากชุมชน เธอและทีมงานเดินเท้าไปชุมชนต่างๆทั้งวันที่ฝนตก แดดออก หิมะตก เพื่อเรื่องราวบนท้องถนนจริงๆ โดยใช้เวลาเป็นปีๆ เมื่อเธอใช้เวลาฟังและอยู่ในพื้นที่อย่างจริงจัง ชุมชนก็เริ่มเชื่อใจและมั่นใจ . เมื่อทำแบบนี้ Amanda จึงเข้าใจ DNA ของชุมขนและรู้จักเรื่องราวของแต่ละถนนว่ามันมีที่มาอย่างไร เธอจึงสามารถทำ “โซนนิ่ง” ที่ไม่ใช่ทำจากการดูแผนที่ แต่ทำจากการเข้าใจจริงว่าแต่ละบล็อคของถนนนั้นมีเรื่องราวยังไง . ทีละเล็กละน้อย ทีละบล๊อคทีละบล๊อค Amanda และทีมงานจึงเริ่มกำหนดลิมิตความสูงของตึกที่สร้างใหม่ในแต่ละโซน . ในระยะเวลา 12 ปี ทีมงานของเธอ เปลี่ยนแปลงการโซนนิ่งของชุมชน 124 ชุมชน 12,500 บล็อค ซึ่งคิดเป็น 40 % ของมหานครนิวยอร์ก . ผลของการทำแบบนี้ทำให้ 90% ของตึกทั้งหมดที่สร้างใหม่ในนิวยอร์คนั้นสามารถเดินเท้าถึงรถไฟใต้ดินได้ภายใน 10 นาที . พูดอีกนัยนึงก็คือ คนที่อยู่อาศัยในตึกที่สร้างใหม่เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีรถยนต์ในการเดินทาง . สุดยอดมากนะครับ เพราะนี่คือการจัดระเบียบเมืองที่มีอายุสามสี่ร้อยปีแล้วไม่ใช่การสร้างเมืองใหม่ . การทำโซนนิ่งกับการทำพื้นที่สาธารณะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง . ความใฝ่ฝันสูงสุดของ Amanda คือการทำให้เมืองมีพื้นที่สาธารณะเจ๋งๆเพราะ เพราะเธอเชื่อว่าพื้นที่สาธารณะที่ดี จะสร้างเมืองเจ๋งๆ และเมืองแบบนั้นก็เหมือนปาร์ตี้ที่สนุกมากๆ มันทำให้คนอยากอยู่แล้วไม่อยากไปไหน . Amanda มีตัวอย่างการทำพื้นที่สาธารณะที่ดีมากๆเช่นโครงการที่เธอร่วมทำที่ย่านริมน้ำใน Geenpoint และ Williamsburg ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่รกร้างมีแต่ขยะและแน่นอนไม่มีใครอยากเข้าใกล้ซึ่งความยาวกว่า 2 ไมล์ เธอและทีมงานใช้เวลาในการระดมสมองออกแบบพื้นที่ทุกตารางจากเดิมที่เป็นพื้นที่รกร้างเต็มไปด้วยขยะให้กลายเป็นสวนริมน้ำ ที่มีต้นไม้มากมาย และแน่นอนว่ามีที่นั่งเต็มไปหมด . ผลจากการทำงานหนักและละเอียด มันสร้างผลงานที่อัศจรรย์มาก ถ้าคุณลองไป google ภาพ before / after ของย่านนี้ดูคุณจะตะลึงกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าเชื่อนี้ แน่นอนครับ . และเธอก็เล่าเรื่องของ the High Line . The High Line เดิมเป็นทางรถไฟยกสูงที่ไม่ได้ใช้แล้ว ที่วิ่งผ่านสามโซนในฝั่งตะวันตกของเกาะแมนฮัตตัน . Amanda เล่าให้ฟังว่าตอนเห็น the High Line ครั้งแรก เธอตกหลุมรักมันเหมือนกับเวลาที่เราตกหลุมรักมนุษย์คนนึง . แม้ว่าแนวคิดในการจะรักษา the High Line ให้เป็นพื้นที่สาธารณะนั้นมีมาตั้งแต่ปี 1999 แล้ว โดย movement ที่ชื่อ friends of the High Line แต่มันก็ถูกแรงกดดันต่างๆมาตลอด มีความพยายามในการจะทุบ the High Line มาตั้งแต่ช่วงปลายๆยุค 1980 แล้ว . หนึ่งในสิ่งที่เธอได้ให้ความสำคัญสูงสุดคือการคือภารกิจการปกป้องในสอง section แรกของ the High Line โดยทุบในช่วงที่เธอดำรงตำแหน่งอยู่ เพราะเธอรู้ว่าถ้าเธอไม่ปกป้องมันอย่างแข็งขันมันมีโอกาสสูงที่จะโดนทุบได้ . เพราะแม้ว่าตอนนั้น the High Line จะเป็นที่นิยมในฐานะสวนสาธารณะที่เท่ห์มากๆแห่งนึงของนิวยอร์ก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่อยากให้มันเป็นสวนสาธารณะอยู่แบบนั้น . และความเป็นจริงของโลกเราก็คือความสนใจของภาคทุนนิยมจะมีโอกาสหรือแนวโน้มที่จะขัดแย้งกับความสนใจในการใช้พื้นที่สาธารณะได้ตลอด . คุณอาจพูดว่า “มันดีจังเลยนะ ที่มีคนสี่ล้านคนมาที่ the High Line ทุกปี” แต่ถ้าคุณเป็นนักพัฒนาที่ดินแล้วละก็สิ่งที่คุณจะเห็นคือ”ลูกค้า” . ความคิดในการใส่ร้านค้าจะเริ่มมี แล้วการใส่ร้านค้าเข้าไปมันไม่ดีตรงไหนละ? . ตามความคิดของ Amanda การมีร้านค้าจะทำให้พื้นที่นั้นกลายเป็น “ห้าง” ไม่ใช่ “สวนสาธารณะ” . บทบาทการรับใช้ผู้คนระหว่าง “ห้าง” กับ “สวนสาธารณะ” นั้นต่างกันมาก . เมื่อไม่นานมานี้ ส่วนที่สามและส่วนสุดท้ายของ the High Line ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยถึงประเด็นเรื่อง “development interests” ด้วยว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่กำลังสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว่า 17 ล้านตารางฟุตที่ Hudson Yards พวกเขามาหา Amanda เพื่อเสนอว่าควรจะรื้อถอนส่วนที่สามของ the High Line เป็นการชั่วคราว (temporarily disassemble) อาจจะเป็นเพราะว่า the High Line ไม่ได้อยู่ในจินตนาการของเมืองที่มีตึกระฟ้าที่สวยงามที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่บริเวณนั้น หรือมันอาจจะเป็นเพราะว่า the High Line แค่ไปขวางทางพวกเขาเข้า . แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ทีมงานของเธอใช้เวลาทุกวันเป็นเวลาเก้าเดือนอย่างไม่หยุดหย่อนในการเจรจาเพื่อที่จะได้รับการลงนามในสัญญาว่าด้วยการห้ามรื้อถอนทำลาย the High Line . เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2012 และเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ส่วนที่สามของ the High Line อยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ . Amanda ย้ำว่าสิ่งที่เธอเล่ามาทำให้เห็นว่าไม่ว่าพื้นที่สาธารณะนั้นจะเป็นที่รู้จักหรือโด่งดังแค่ไหน แต่ถ้าหากคุณเห็นมันเป็นของตาย มันมีโอกาสที่จะถูกทำให้หายไปเมื่อไรก็ได้ . พื้นที่สาธารณะจึงต้องมีคนคอยช่วยกันดูแลเพื่อป้องกันมันจากการโดน รุกล้ำ ละทิ้ง หรือ ปล่อยปละละเลย . เธอบอกว่า ถ้าหากมีบทเรียนซักเรื่องนึงที่เธอได้เรียนรู้จากการเป็นนักวางผังเมืองก็คือ พื้นที่สาธารณะนั้นมี”พลัง” มันไม่ได้เกี่ยวกับเฉพาะจำนวนของคนที่ใช้มัน แต่มันเกี่ยวข้องกับคนที่แม้จะไม่ได้ใช้มันแต่อุ่นใจที่เมืองมีมันอยู่ด้วย พื้นที่สาธารณะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่สร้างให้เมืองเป็นเมืองที่จะน่าอยู่สำหรับทุกคนในเมืองหรือไม่ . ไม่ได้มี TED talk เยอะนะครับที่จะได้รับ standing ovation ตอน speaker พูดจบ นี่เป็นหนึ่งในไม่กี่ TED talk ที่ได้ standing ovation เพราะว่าสิ่งที่เธอพูดมันโดนใจคนฟังจริงๆครับ . กลับมามองที่ตัวเรา ทุกวันนี้เราคิดถึงเรื่อง “พื้นที่สาธารณะ” สำหรับทุกคนในเมืองอย่างไรบ้าง . และในอนาคตเราจะเปลี่ยนเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง . ผมคิดว่าโลกในอนาคต ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนมากขึ้น จะเปลี่ยนมุมมองของเราในเรื่องนี้ครับ . สมมติมีโครงการอะไรซักอย่างที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่กับชุมชมของเราโดยตรงเช่น การตัดถนน สร้างสะพาน สวน เลนจักรยาน หรือพื้นที่สาธารณะแบบอื่น . ในโลกอนาคตอันใกล้นี้ เราสามารถมองเห็นความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้เลยว่า เมื่อของจริงๆมาแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ผมเคยอ่านเรื่องของ Rony Abovitz ซึ่งเป็น CEO ของ Magic Leap ซึ่งทำระบบ VR เขาบอกว่า”นึกภาพดูนะ คุณเดินอยู่ในประเทศจีนแล้วบิลบอร์ดทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ เมนูก็เป็นภาษา อังกฤษ คนทุกคนพูดกับคุณเป็นภาษาอังกฤษ มันเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาคุณโดยคุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีโลกดิจิทัลซ้อนทับโลกจริงอยู่” . แนวคิดนี้สามารถนำมาใช้ให้เห็นอนาคตกับสิ่งต่างๆที่เราต้องตัดสินให้กับชุมชนของเราได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ เมื่อเราเห็นการทำงานจริงของโครงการ เห็น dynamic เห็นประโยชน์ เห็นข้อเสีย และผลกระทบ สามารถทำการตรวจสอบได้ ทุกอย่างก็จะโปร่งใสมากขึ้น . เราจะตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าเราอยากได้มันจริงๆรึเปล่า . ตัดสินใจด้วยความคิดมากขึ้น ใช้อารมณ์น้อยลง อย่างน้อยผมเชื่อว่าเราน่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ . ทำการตัดสินใจได้ผ่านการโหวตผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อให้จำนวนคนที่มาออกเสียงมีมากขึ้น . และถ้าห่วงเรื่องความปลอดภัย เรื่องการสวมสิทธิ์ ในการโหวตผ่านอินเตอร์เน็ต ผมเชื่อว่า blockchain สามารถมาช่วยคุณได้ . นี่อาจจะเป็นมิติใหม่ของการใช้ความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในสถานที่ที่แท้จริง โดยเสียงของประชาชนจริงๆโดยไม่ต้องมีระบบตัวแทนแบบในอดีตที่ผ่านมา . อันนี้เป็นแค่แนวคิดแนวนึงนะครับ จริงๆแล้วมีอะไรที่สามารถปรับใช้ได้อีกมากมาย ผมเชื่อเหลือเกินว่าเราทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นรอบๆตัวเรา . ที่เขียนมาทั้งหมดอยากจะบอกว่าผมคิดว่าเมื่อโลกเปลี่ยนไปเยอะขนาดนี้ด้วยเทคโนโลยีด้วย business disruption ด้วยอะไรหลายๆอย่าง . บางทีเราอาจจะถึงเวลาต้องเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับ”พื้นที่สาธารณะ” . ให้เป็นของ”สาธารณะ”จริงๆซักที . . . (ใครอยากฟัง Amanda ไปตาม link นี้ได้เลยครับ : http://bit.ly/1qUX6Ho) . . . Photo credit : thehighline.org . . #missiontothemoon

อย่าเห็นอะไรเป็นของตาย
.
.
.

เคยมีคนกล่าวไว้ว่า คนเรามักคิดว่าอะไรๆ จะไม่ค่อยเปลี่ยน  เพราะเราอยู่ในโลกที่อากาศในวันพรุ่งนี้จะมีโอกาส 85% ที่จะเหมือนกับอากาศในวันนี้
.
เป็นข้อสังเกตการณ์ที่น่ารักและแปลกที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมาเลยครับ :)
.
แต่มันทำให้ผมนึกถึง TED talk อันนึงครับ ซึ่งเป็นของ Amanda Burden ซึ่งเป็น City Chief Planner ของ มหานครนิวยอร์ก ภายใต้ยุคของนายกเทศมนตรี Michael Bloomberg ครับ
.
เธอมีส่วนในการพัฒนาโครงการให้กับเมืองนิวยอร์กหลายโครงการ
.
แต่ที่เราทุกคนรู้จักกันดีเห็นจะเป็น the High Line สวนลอยฟ้าที่เกิดขึ้นจากรางรถไฟเก่าที่โด่งดังไปทั่วโลกและมีผู้คนหลายล้านคนเดินทางมาที่นี่ทุกปี ที่เธอมีส่วนอย่างมากในการรักษามันไว้จนถึงวันนี้ 
.
หรืออย่าง Brooklyn Waterfront ที่เปลี่ยนแหล่งเสื่อมโทรมที่ไม่อยากมีใครไปให้กลายเป็นจุดศูนย์รวมชุมชนที่กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่คนในเมืองได้มีที่พักผ่อนจากความวุ่นวายของมหานครที่เป็นที่อยู่ของประชากรเกือบสิบล้านคนแห่งนี้
.
ในปี  2014 บนเวที TED เธอได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของมหานครนิวยอร์กแห่งนี้ไว้อย่างน่าสนใจมากครับ
.
Amanda เชื่อว่าพื้นที่สาธารณะหรือ public space นั้นเป็นกุญแจสำคัญในการออกแบบเมืองชั้นยอด 
.
แล้วพื้นที่สาธารณะที่ดีในสายตาของเธอนั้นเป็นอย่างไร?
.
เธอบอกว่ามันคือพื้นที่ที่ ผู้คนรู้สึกว่าได้รับการต้อนรับ รู้สึกอยากเข้าไป รู้สึกเป็นพื้นที่ที่สามารถอยู่ได้อย่างไม่รู้สึกแปลกแยก และเมื่อมีคนจำนวนที่รู้สึกแบบนี้เยอะๆ ก็จะยิ่งดึงดูดคนให้เข้ามาในพื้นที่นั้นเยอะขึ้นอีก
.
คำถามคือทำไมเราถึงไม่มีพื้นที่สาธารณะแบบนี้มากขึ้น ถ้าเรารู้อยู่แล้วว่ามันเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเมืองใหญ่
.
คำตอบน่าจะอยู่ที่ว่าพื้นที่สาธารณะนั้นได้มายากมาก และการรักษาอยู่ก็ยากพอกัน ต้องใช้ความพยายามและความร่วมมือร่วมใจกันของคนในชุมชนอยส่งมาก
.
ก่อนที่จะเล่าเรื่องพื้นที่สาธารณะต่อ เธอขอเล่าย้อนหลังกลับไปหลายปีมาแล้ว ตอนที่นายกเทศมนตรี  Michael Bloomberg ให้โจทย์กับเธอในตอนนั้นว่านิวยอร์กจะโตจากเมืองที่มีประชากร 8 ล้านคนเป็น  9  ล้านคน
.
“แล้วเราจะเอาคนอีกหนึ่งล้านคนไปไว้ที่ไหนดี?”
.
เป็นคำถามที่น่าคิดมากๆสำหรับเมืองที่จะขยายแนวราบก็ไม่ได้แล้ว นี่ยังไม่รวมถึงเรื่องรถยนต์อีกนะครับ ถ้าคนเพิ่มรถก็เพิ่ม จะเอารถไปไว้ที่ไหน เพราะนิวยอร์กนั้นรับมือรถยนต์มากกว่านี้ไม่ไหวแล้วจริงๆ

ทางออกก็เหมือนจะมีทางออกเดียวคือถ้าไปแนวราบไม่ได้ ก็ต้องขึ้นแนวสูง แล้วเรื่องรถละ? ต้องคิดไปพร้อมกันเลย ก็ต้องทำที่พักแนวสูงที่คนสามารถเดินทางได้โดยไม่ต้องใช้รถ ซึ่งนั้นหมายความว่าต้อง leverage สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด อันได้แก่ระบบขนส่งมวลชนของมหานครนิวยอร์ก
.
แต่ถ้าจะทำโครงการใหญ่ขนาดนี้ หมายถึงการรีดศักยภาพทุกหยดของระบบขนส่งของนิวยอร์กออกมาใช้ให้ได้
.
ทำยังไงดี ?
.
คำตอบคือการทำโซนนิ่ง เพราะการทำโซนนิ่งคือเครื่องมือที่นักวางผังเมืองเอาไว้ใช้ในการวางแผนการเจริญเติบโตของเมือง และหากทำอย่างถูกต้องมันจะเป็นเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ที่ยากๆ ที่สุดท้ายลงตัวได้ ซึ่งคล้ายกับการวางผังเมืองที่ซับซ้อนอย่างนิวยอร์กเลย โดยการวางผังเมืองที่เน้นที่อยู่อาศัยที่จะใช้การขนส่งสาธารณะและ แบนหรือลดการใช้พื้นที่ของที่อยู่อาศัยที่ต้องใช้รถยนต์ในการเข้าถึง
.
ความยากของแผนนี้ก็คือคนในชุมชนต้องเห็นด้วย
.
Amanda บอกว่าวิธีการที่จะทำให้คนในชุมชนเห็นด้วยกับแผนการนี้คือต้อง ”รับฟัง”ครับ 
.
และเธอก็เริ่มรับฟัง รับฟังอย่างอย่างจริงจัง เป็นพันๆชั่วโมงที่เธอและทีมงานนั่งฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากชุมชน เธอและทีมงานเดินเท้าไปชุมชนต่างๆทั้งวันที่ฝนตก แดดออก หิมะตก เพื่อเรื่องราวบนท้องถนนจริงๆ โดยใช้เวลาเป็นปีๆ เมื่อเธอใช้เวลาฟังและอยู่ในพื้นที่อย่างจริงจัง ชุมชนก็เริ่มเชื่อใจและมั่นใจ
.
เมื่อทำแบบนี้ Amanda จึงเข้าใจ DNA ของชุมขนและรู้จักเรื่องราวของแต่ละถนนว่ามันมีที่มาอย่างไร เธอจึงสามารถทำ “โซนนิ่ง” ที่ไม่ใช่ทำจากการดูแผนที่  แต่ทำจากการเข้าใจจริงว่าแต่ละบล็อคของถนนนั้นมีเรื่องราวยังไง
.
ทีละเล็กละน้อย ทีละบล๊อคทีละบล๊อค Amanda และทีมงานจึงเริ่มกำหนดลิมิตความสูงของตึกที่สร้างใหม่ในแต่ละโซน
.
ในระยะเวลา 12 ปี ทีมงานของเธอ เปลี่ยนแปลงการโซนนิ่งของชุมชน 124 ชุมชน 12,500 บล็อค ซึ่งคิดเป็น 40 % ของมหานครนิวยอร์ก
.
ผลของการทำแบบนี้ทำให้ 90% ของตึกทั้งหมดที่สร้างใหม่ในนิวยอร์คนั้นสามารถเดินเท้าถึงรถไฟใต้ดินได้ภายใน  10 นาที
.
พูดอีกนัยนึงก็คือ คนที่อยู่อาศัยในตึกที่สร้างใหม่เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีรถยนต์ในการเดินทาง
.
สุดยอดมากนะครับ เพราะนี่คือการจัดระเบียบเมืองที่มีอายุสามสี่ร้อยปีแล้วไม่ใช่การสร้างเมืองใหม่
.
การทำโซนนิ่งกับการทำพื้นที่สาธารณะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง
.
ความใฝ่ฝันสูงสุดของ Amanda คือการทำให้เมืองมีพื้นที่สาธารณะเจ๋งๆเพราะ เพราะเธอเชื่อว่าพื้นที่สาธารณะที่ดี จะสร้างเมืองเจ๋งๆ และเมืองแบบนั้นก็เหมือนปาร์ตี้ที่สนุกมากๆ มันทำให้คนอยากอยู่แล้วไม่อยากไปไหน
.
Amanda มีตัวอย่างการทำพื้นที่สาธารณะที่ดีมากๆเช่นโครงการที่เธอร่วมทำที่ย่านริมน้ำใน Geenpoint  และ Williamsburg ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่รกร้างมีแต่ขยะและแน่นอนไม่มีใครอยากเข้าใกล้ซึ่งความยาวกว่า 2  ไมล์ เธอและทีมงานใช้เวลาในการระดมสมองออกแบบพื้นที่ทุกตารางจากเดิมที่เป็นพื้นที่รกร้างเต็มไปด้วยขยะให้กลายเป็นสวนริมน้ำ ที่มีต้นไม้มากมาย และแน่นอนว่ามีที่นั่งเต็มไปหมด
.
ผลจากการทำงานหนักและละเอียด มันสร้างผลงานที่อัศจรรย์มาก ถ้าคุณลองไป google  ภาพ before / after ของย่านนี้ดูคุณจะตะลึงกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าเชื่อนี้ แน่นอนครับ
.
และเธอก็เล่าเรื่องของ the High Line
.
The High Line เดิมเป็นทางรถไฟยกสูงที่ไม่ได้ใช้แล้ว ที่วิ่งผ่านสามโซนในฝั่งตะวันตกของเกาะแมนฮัตตัน
.
Amanda เล่าให้ฟังว่าตอนเห็น the High Line ครั้งแรก เธอตกหลุมรักมันเหมือนกับเวลาที่เราตกหลุมรักมนุษย์คนนึง
.
แม้ว่าแนวคิดในการจะรักษา the High Line ให้เป็นพื้นที่สาธารณะนั้นมีมาตั้งแต่ปี 1999 แล้ว โดย movement ที่ชื่อ friends of the High Line แต่มันก็ถูกแรงกดดันต่างๆมาตลอด มีความพยายามในการจะทุบ the High Line มาตั้งแต่ช่วงปลายๆยุค  1980 แล้ว
.
หนึ่งในสิ่งที่เธอได้ให้ความสำคัญสูงสุดคือการคือภารกิจการปกป้องในสอง section แรกของ the High Line โดยทุบในช่วงที่เธอดำรงตำแหน่งอยู่ เพราะเธอรู้ว่าถ้าเธอไม่ปกป้องมันอย่างแข็งขันมันมีโอกาสสูงที่จะโดนทุบได้ 
.
เพราะแม้ว่าตอนนั้น the High Line จะเป็นที่นิยมในฐานะสวนสาธารณะที่เท่ห์มากๆแห่งนึงของนิวยอร์ก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่อยากให้มันเป็นสวนสาธารณะอยู่แบบนั้น
.
และความเป็นจริงของโลกเราก็คือความสนใจของภาคทุนนิยมจะมีโอกาสหรือแนวโน้มที่จะขัดแย้งกับความสนใจในการใช้พื้นที่สาธารณะได้ตลอด
.
คุณอาจพูดว่า “มันดีจังเลยนะ ที่มีคนสี่ล้านคนมาที่ the High Line ทุกปี” แต่ถ้าคุณเป็นนักพัฒนาที่ดินแล้วละก็สิ่งที่คุณจะเห็นคือ”ลูกค้า”
.
ความคิดในการใส่ร้านค้าจะเริ่มมี แล้วการใส่ร้านค้าเข้าไปมันไม่ดีตรงไหนละ?
.
ตามความคิดของ Amanda การมีร้านค้าจะทำให้พื้นที่นั้นกลายเป็น “ห้าง” ไม่ใช่ “สวนสาธารณะ”
.
บทบาทการรับใช้ผู้คนระหว่าง “ห้าง” กับ “สวนสาธารณะ” นั้นต่างกันมาก
.
เมื่อไม่นานมานี้ ส่วนที่สามและส่วนสุดท้ายของ  the High Line ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยถึงประเด็นเรื่อง “development interests” ด้วยว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่กำลังสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว่า 17 ล้านตารางฟุตที่ Hudson Yards พวกเขามาหา Amanda เพื่อเสนอว่าควรจะรื้อถอนส่วนที่สามของ the High Line เป็นการชั่วคราว (temporarily disassemble) อาจจะเป็นเพราะว่า the High Line ไม่ได้อยู่ในจินตนาการของเมืองที่มีตึกระฟ้าที่สวยงามที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่บริเวณนั้น  หรือมันอาจจะเป็นเพราะว่า the High Line แค่ไปขวางทางพวกเขาเข้า
.
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ทีมงานของเธอใช้เวลาทุกวันเป็นเวลาเก้าเดือนอย่างไม่หยุดหย่อนในการเจรจาเพื่อที่จะได้รับการลงนามในสัญญาว่าด้วยการห้ามรื้อถอนทำลาย the High Line
.
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2012 และเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ส่วนที่สามของ the High Line อยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้
.
Amanda ย้ำว่าสิ่งที่เธอเล่ามาทำให้เห็นว่าไม่ว่าพื้นที่สาธารณะนั้นจะเป็นที่รู้จักหรือโด่งดังแค่ไหน แต่ถ้าหากคุณเห็นมันเป็นของตาย มันมีโอกาสที่จะถูกทำให้หายไปเมื่อไรก็ได้
.
พื้นที่สาธารณะจึงต้องมีคนคอยช่วยกันดูแลเพื่อป้องกันมันจากการโดน รุกล้ำ ละทิ้ง หรือ ปล่อยปละละเลย
.
เธอบอกว่า ถ้าหากมีบทเรียนซักเรื่องนึงที่เธอได้เรียนรู้จากการเป็นนักวางผังเมืองก็คือ พื้นที่สาธารณะนั้นมี”พลัง” มันไม่ได้เกี่ยวกับเฉพาะจำนวนของคนที่ใช้มัน แต่มันเกี่ยวข้องกับคนที่แม้จะไม่ได้ใช้มันแต่อุ่นใจที่เมืองมีมันอยู่ด้วย พื้นที่สาธารณะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่สร้างให้เมืองเป็นเมืองที่จะน่าอยู่สำหรับทุกคนในเมืองหรือไม่

.

ไม่ได้มี TED talk เยอะนะครับที่จะได้รับ standing ovation ตอน  speaker  พูดจบ นี่เป็นหนึ่งในไม่กี่ TED talk ที่ได้ standing  ovation เพราะว่าสิ่งที่เธอพูดมันโดนใจคนฟังจริงๆครับ
.
กลับมามองที่ตัวเรา ทุกวันนี้เราคิดถึงเรื่อง “พื้นที่สาธารณะ” สำหรับทุกคนในเมืองอย่างไรบ้าง
.
และในอนาคตเราจะเปลี่ยนเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง
.

ผมคิดว่าโลกในอนาคต ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนมากขึ้น จะเปลี่ยนมุมมองของเราในเรื่องนี้ครับ
.

สมมติมีโครงการอะไรซักอย่างที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่กับชุมชมของเราโดยตรงเช่น การตัดถนน สร้างสะพาน สวน เลนจักรยาน หรือพื้นที่สาธารณะแบบอื่น
.
ในโลกอนาคตอันใกล้นี้ เราสามารถมองเห็นความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้เลยว่า เมื่อของจริงๆมาแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ผมเคยอ่านเรื่องของ Rony  Abovitz ซึ่งเป็น CEO ของ Magic Leap ซึ่งทำระบบ VR เขาบอกว่า”นึกภาพดูนะ คุณเดินอยู่ในประเทศจีนแล้วบิลบอร์ดทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ เมนูก็เป็นภาษา อังกฤษ  คนทุกคนพูดกับคุณเป็นภาษาอังกฤษ มันเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาคุณโดยคุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีโลกดิจิทัลซ้อนทับโลกจริงอยู่”
.
แนวคิดนี้สามารถนำมาใช้ให้เห็นอนาคตกับสิ่งต่างๆที่เราต้องตัดสินให้กับชุมชนของเราได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ  เมื่อเราเห็นการทำงานจริงของโครงการ เห็น dynamic เห็นประโยชน์ เห็นข้อเสีย และผลกระทบ สามารถทำการตรวจสอบได้ ทุกอย่างก็จะโปร่งใสมากขึ้น
.
เราจะตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าเราอยากได้มันจริงๆรึเปล่า
.
ตัดสินใจด้วยความคิดมากขึ้น ใช้อารมณ์น้อยลง อย่างน้อยผมเชื่อว่าเราน่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ
.
ทำการตัดสินใจได้ผ่านการโหวตผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อให้จำนวนคนที่มาออกเสียงมีมากขึ้น
.
และถ้าห่วงเรื่องความปลอดภัย เรื่องการสวมสิทธิ์ ในการโหวตผ่านอินเตอร์เน็ต ผมเชื่อว่า blockchain สามารถมาช่วยคุณได้
.
นี่อาจจะเป็นมิติใหม่ของการใช้ความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในสถานที่ที่แท้จริง โดยเสียงของประชาชนจริงๆโดยไม่ต้องมีระบบตัวแทนแบบในอดีตที่ผ่านมา
.
อันนี้เป็นแค่แนวคิดแนวนึงนะครับ จริงๆแล้วมีอะไรที่สามารถปรับใช้ได้อีกมากมาย

ผมเชื่อเหลือเกินว่าเราทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นรอบๆตัวเรา
.
ที่เขียนมาทั้งหมดอยากจะบอกว่าผมคิดว่าเมื่อโลกเปลี่ยนไปเยอะขนาดนี้ด้วยเทคโนโลยีด้วย business disruption ด้วยอะไรหลายๆอย่าง
.
บางทีเราอาจจะถึงเวลาต้องเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับ”พื้นที่สาธารณะ”
.
ให้เป็นของ”สาธารณะ”จริงๆซักที
.
.
.
(ใครอยากฟัง Amanda ไปตาม  link นี้ได้เลยครับ :  http://bit.ly/1qUX6Ho)
.
.
.

Photo credit  : thehighline.org
.
.

#missiontothemoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น