วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

   ในช่วงประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา การสอบให้ได้ใบขับขี่รถยนต์ การได้ขับรถยนต์และเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัว มองได้ว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่และความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับของพวกเราทุกคน นอกจากนี้ การเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัวยังเป็นความภูมิใจและถือได้ว่าเป็นเครื่องใช้ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จและสถานะทางสังคม     แต่บทวิเคราะห์ Rethink X: Disruption, Implications and Choices­­—Rethinking Transportation 2020-2030 (พฤษภาคม 2017 โดยเจมส์ อาร์บีบ และโทนี เซบา) ทำนายว่าอุตสาหกรรมรถยนต์และระบบขนส่ง ตลอดจนอุตสาหกรรมข้างเคียง (เช่น ภาคพลังงาน) กำลังจะถึงคราวพลิกผัน เพราะพัฒนาการทางเทคโนโลยีว่าด้วยรถไฟฟ้าและรถไร้คนขับจะทำให้การเป็นเจ้าของรถและความผูกพันกับรถยนต์ส่วนตัวสาบสูญไปภายในไม่ถึง 15 ปี ข้างหน้า โดยคนส่วนใหญ่จะหันมาใช้บริการขนส่ง (Transportation-as-a-Service หรือ TaaS) ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนให้มีคุณภาพดีขึ้น แต่ก็จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออุตสาหกรรมและการจ้างงานบางภาคส่วนอย่างกว้างขวาง ซึ่งหากการวิเคราะห์ของเจมส์ และโทนี ถูกต้อง เราจะเริ่มเห็นผลพวงของความพลิกผันในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2030 ดังนี้ 1. ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐฯ จะลดลงไป 70% เมื่อเทียบกับปี 2020 และจำนวนรถยนต์ที่ใช้วิ่งบนถนนจะลดลงจาก 247 ล้านคัน เหลือเพียง 44 ล้านคัน รถยนต์ประมาณ 100 ล้านคันจะถูกเจ้าของจอดทิ้งไว้เพราะไปใช้บริการขนส่งที่ถูกและสะดวกกว่า 2. ต้นทุนการซื้อบริการขนส่งต่อ 1 กิโลเมตรจะถูกกว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์ถึง 10 เท่า ทำให้ทุกครอบครัวประหยัดเงินรวมกันได้ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเปรียบเสมือนกับการมีรายได้เพิ่ม 10% เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้น 3. น้ำมันที่ปัจจุบันราคาประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลจะลดลงเหลือ 25 ดอลลาร์สหรัฐ โชว์รูมขายรถยนต์จะเลิกกิจการทั้งหมดภายใน 2024 เบี้ยประกันรถยนต์จะลดลง 90% และรถยนต์สันดาปภายใน (เช่นที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้) จะแทบขายไม่ได้เลยหลังจากปี 2030 และอาชีพคนขับรถก็จะหายไปจากโลกนี้ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน     ท่านที่สนใจเรื่องนี้ในรายละเอียด ย่อมจะสามารถเข้าไปอ่านบทวิเคราะห์ดังกล่าวในอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึกอีกมากมาย แต่ในขั้นนี้ผมจะขออธิบายโดยสรุปว่าแนวคิดของนักวิเคราะห์ทั้ง 2 ที่นำมาสู่ข้อสรุปดังกล่าวนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ดังนี้ 1. ประเด็นพื้นฐานคือปัจจุบันทุกครัวเรือนเป็นเจ้าของรถยนต์บ้านละ 1-3 คัน โดยใช้รถยนต์ 10-15% ต่อวัน (ส่วนใหญ่จอด 20-22 ชั่วโมง ใช้จริงวันละ 2-4 ชั่วโมง) โดยรถคันหนึ่งถูกใช้ขับประมาณ 2 แสนกิโลเมตรในช่วง 5 ปีที่เป็นเจ้าของ แต่รถไฟฟ้าที่ให้บริการ TaaS นั้นจะถูกใช้ทั้งวันทั้งคืน จึงคาดว่าจะใช้งานคันละ 8 แสนกิโลเมตรภายใน 5 ปี แต่เสียค่าเสื่อมสภาพเท่ากันและค่าบำรุงรักษาต่ำ เป็นเพราะรถไฟฟ้ามีชิ้นส่วนที่สึกหรอเพียง 20 ชิ้นเมื่อเทียบกับรถสันดาปภายในที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันซึ่งมีชิ้นส่วนที่สึกหรอได้ 2,000 ชิ้น (รถไฟฟ้าไม่มีท่อไอเสีย หัวเทียนระบบ หัวฉีดน้ำมัน หม้อน้ำ ถังน้ำมัน เครื่องปั่นไฟ ฯลฯ) สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมนั้น นักวิเคราะห์ยืนยันว่ามีอายุใช้งานเกือบ 1 ล้านกิโลเมตร และน่าจะพัฒนาดีขึ้นไปอีกภายใน 10 ปีข้างหน้า พัฒนาการทางเทคโนโลยีว่าด้วยรถไฟฟ้าและรถไร้คนขับจะทำให้การเป็นเจ้าของรถและความผูกพันกับรถยนต์ส่วนตัวสาบสูญไปภายในไม่ถึง 15 ปีข้างหน้า 2. เนื่องจากบริษัทที่ให้บริการขนส่งจะซื้อรถไฟฟ้ามาเป็นจำนวนหลายพันหลายหมื่นคันจึงย่อมสามารถนำรถไฟฟ้ามาใช้งานได้คุ้มค่ากว่า (ใช้ทุกวันทั้งวัน) และยังกดราคาตลอดจนค่าบำรุงรักษาและค่าประกันได้ จึงสามารถขายบริการขนส่งได้ถูกกว่าการที่ครัวเรือนซื้อรถใช้เองถึง 4-5 เท่า นอกจากนั้นพัฒนาการของระบบไร้คนขับ ซึ่งเชื่อว่าจะมีกฎหมายออกมารองรับอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกับเทคโนโลยี (เช่น Lidar ที่ราคาลดลงเหลือไม่ถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี 2020-2025 จะทำให้ต้นทุนอีกส่วนหนึ่ง คือคนขับรถยนต์ ลดลงไปได้อย่างมากและเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการบริการอย่างเต็มรูปแบบ 3. รถที่ให้บริการขนส่งจะเปลี่ยนไปจากรถยนต์ส่วนตัวที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นห้องรับแขกหรือห้องทำงานเคลื่อนที่ กล่าวคือเมื่อขึ้นรถ เราก็จะเริ่มทำงานบนโลกออนไลน์ หรือดูหนัง ฟังเพลง ซื้อสินค้า ฯลฯ ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Google, Didi, Apple จึงต้องลงทุนและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีไร้คนขับอย่างมาก เพราะคาดว่าจะเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่จะขายบริการของตน ตลอดจนผลิตอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เป็นส่วนสำคัญของรถไร้คนขับได้ในอีกทางหนึ่งด้วย กล่าวคือการให้บริการดังกล่าวจะทำให้เกิดการแข่งขันตัดราคาค่าให้บริการขนส่งลงไปได้อีก โดยหวังว่าจะขายบริการอื่นๆ ให้กับผู้บริโภคได้เมื่อมานั่งในรถไร้คนขับของบริษัทตน 4. การขนส่งส่วนบุคคลกับการขนส่งสาธารณะจะแบ่งแยกออกจากกันลำบาก และรัฐบาลจะต้องแปรเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ควบคุมระบบการขนส่ง (รวมทั้งทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม) มากกว่าการที่รัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าของหรือสร้างระบบขนส่งด้วยตัวเองเช่นปัจจุบัน     กล่าวโดยสรุปคือเทคโนโลยีรถไฟฟ้าไร้คนขับจะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.48 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี 2015) ลดลงเหลือเพียง 393,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 ครับ■ - http://optimise.kiatnakinphatra.com/economic_review_9.php - Optimise Magazine

   ในช่วงประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา การสอบให้ได้ใบขับขี่รถยนต์ การได้ขับรถยนต์และเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัว มองได้ว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่และความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับของพวกเราทุกคน นอกจากนี้ การเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัวยังเป็นความภูมิใจและถือได้ว่าเป็นเครื่องใช้ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จและสถานะทางสังคม

    แต่บทวิเคราะห์ Rethink X: Disruption, Implications and Choices­­—Rethinking Transportation 2020-2030 (พฤษภาคม 2017 โดยเจมส์ อาร์บีบ และโทนี เซบา) ทำนายว่าอุตสาหกรรมรถยนต์และระบบขนส่ง ตลอดจนอุตสาหกรรมข้างเคียง (เช่น ภาคพลังงาน) กำลังจะถึงคราวพลิกผัน เพราะพัฒนาการทางเทคโนโลยีว่าด้วยรถไฟฟ้าและรถไร้คนขับจะทำให้การเป็นเจ้าของรถและความผูกพันกับรถยนต์ส่วนตัวสาบสูญไปภายในไม่ถึง 15 ปี ข้างหน้า โดยคนส่วนใหญ่จะหันมาใช้บริการขนส่ง (Transportation-as-a-Service หรือ TaaS) ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนให้มีคุณภาพดีขึ้น แต่ก็จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออุตสาหกรรมและการจ้างงานบางภาคส่วนอย่างกว้างขวาง ซึ่งหากการวิเคราะห์ของเจมส์ และโทนี ถูกต้อง เราจะเริ่มเห็นผลพวงของความพลิกผันในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2030 ดังนี้

1. ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐฯ จะลดลงไป 70% เมื่อเทียบกับปี 2020 และจำนวนรถยนต์ที่ใช้วิ่งบนถนนจะลดลงจาก 247 ล้านคัน เหลือเพียง 44 ล้านคัน รถยนต์ประมาณ 100 ล้านคันจะถูกเจ้าของจอดทิ้งไว้เพราะไปใช้บริการขนส่งที่ถูกและสะดวกกว่า

2. ต้นทุนการซื้อบริการขนส่งต่อ 1 กิโลเมตรจะถูกกว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์ถึง 10 เท่า ทำให้ทุกครอบครัวประหยัดเงินรวมกันได้ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเปรียบเสมือนกับการมีรายได้เพิ่ม 10% เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้น

3. น้ำมันที่ปัจจุบันราคาประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลจะลดลงเหลือ 25 ดอลลาร์สหรัฐ โชว์รูมขายรถยนต์จะเลิกกิจการทั้งหมดภายใน 2024 เบี้ยประกันรถยนต์จะลดลง 90% และรถยนต์สันดาปภายใน (เช่นที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้) จะแทบขายไม่ได้เลยหลังจากปี 2030 และอาชีพคนขับรถก็จะหายไปจากโลกนี้ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

    ท่านที่สนใจเรื่องนี้ในรายละเอียด ย่อมจะสามารถเข้าไปอ่านบทวิเคราะห์ดังกล่าวในอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึกอีกมากมาย แต่ในขั้นนี้ผมจะขออธิบายโดยสรุปว่าแนวคิดของนักวิเคราะห์ทั้ง 2 ที่นำมาสู่ข้อสรุปดังกล่าวนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ดังนี้

1. ประเด็นพื้นฐานคือปัจจุบันทุกครัวเรือนเป็นเจ้าของรถยนต์บ้านละ 1-3 คัน โดยใช้รถยนต์ 10-15% ต่อวัน (ส่วนใหญ่จอด 20-22 ชั่วโมง ใช้จริงวันละ 2-4 ชั่วโมง) โดยรถคันหนึ่งถูกใช้ขับประมาณ 2 แสนกิโลเมตรในช่วง 5 ปีที่เป็นเจ้าของ แต่รถไฟฟ้าที่ให้บริการ TaaS นั้นจะถูกใช้ทั้งวันทั้งคืน จึงคาดว่าจะใช้งานคันละ 8 แสนกิโลเมตรภายใน 5 ปี แต่เสียค่าเสื่อมสภาพเท่ากันและค่าบำรุงรักษาต่ำ เป็นเพราะรถไฟฟ้ามีชิ้นส่วนที่สึกหรอเพียง 20 ชิ้นเมื่อเทียบกับรถสันดาปภายในที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันซึ่งมีชิ้นส่วนที่สึกหรอได้ 2,000 ชิ้น (รถไฟฟ้าไม่มีท่อไอเสีย หัวเทียนระบบ หัวฉีดน้ำมัน หม้อน้ำ ถังน้ำมัน เครื่องปั่นไฟ ฯลฯ) สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมนั้น นักวิเคราะห์ยืนยันว่ามีอายุใช้งานเกือบ 1 ล้านกิโลเมตร และน่าจะพัฒนาดีขึ้นไปอีกภายใน 10 ปีข้างหน้า
พัฒนาการทางเทคโนโลยีว่าด้วยรถไฟฟ้าและรถไร้คนขับจะทำให้การเป็นเจ้าของรถและความผูกพันกับรถยนต์ส่วนตัวสาบสูญไปภายในไม่ถึง 15 ปีข้างหน้า
2. เนื่องจากบริษัทที่ให้บริการขนส่งจะซื้อรถไฟฟ้ามาเป็นจำนวนหลายพันหลายหมื่นคันจึงย่อมสามารถนำรถไฟฟ้ามาใช้งานได้คุ้มค่ากว่า (ใช้ทุกวันทั้งวัน) และยังกดราคาตลอดจนค่าบำรุงรักษาและค่าประกันได้ จึงสามารถขายบริการขนส่งได้ถูกกว่าการที่ครัวเรือนซื้อรถใช้เองถึง 4-5 เท่า นอกจากนั้นพัฒนาการของระบบไร้คนขับ ซึ่งเชื่อว่าจะมีกฎหมายออกมารองรับอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกับเทคโนโลยี (เช่น Lidar ที่ราคาลดลงเหลือไม่ถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี 2020-2025 จะทำให้ต้นทุนอีกส่วนหนึ่ง คือคนขับรถยนต์ ลดลงไปได้อย่างมากและเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการบริการอย่างเต็มรูปแบบ

3. รถที่ให้บริการขนส่งจะเปลี่ยนไปจากรถยนต์ส่วนตัวที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นห้องรับแขกหรือห้องทำงานเคลื่อนที่ กล่าวคือเมื่อขึ้นรถ เราก็จะเริ่มทำงานบนโลกออนไลน์ หรือดูหนัง ฟังเพลง ซื้อสินค้า ฯลฯ ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Google, Didi, Apple จึงต้องลงทุนและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีไร้คนขับอย่างมาก เพราะคาดว่าจะเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่จะขายบริการของตน ตลอดจนผลิตอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เป็นส่วนสำคัญของรถไร้คนขับได้ในอีกทางหนึ่งด้วย กล่าวคือการให้บริการดังกล่าวจะทำให้เกิดการแข่งขันตัดราคาค่าให้บริการขนส่งลงไปได้อีก โดยหวังว่าจะขายบริการอื่นๆ ให้กับผู้บริโภคได้เมื่อมานั่งในรถไร้คนขับของบริษัทตน

4. การขนส่งส่วนบุคคลกับการขนส่งสาธารณะจะแบ่งแยกออกจากกันลำบาก และรัฐบาลจะต้องแปรเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ควบคุมระบบการขนส่ง (รวมทั้งทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม) มากกว่าการที่รัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าของหรือสร้างระบบขนส่งด้วยตัวเองเช่นปัจจุบัน

    กล่าวโดยสรุปคือเทคโนโลยีรถไฟฟ้าไร้คนขับจะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.48 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี 2015) ลดลงเหลือเพียง 393,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 ครับ■ - http://optimise.kiatnakinphatra.com/economic_review_9.php - Optimise Magazine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น