วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เมื่อไม่นานมานี้ สัตยา นาเดลลา CEO บริษัทไมโครซอฟท์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ Business Insider ในบทสัมภาษณ์ดังกล่าวเขาได้กล่าวขอบคุณ Carol Dweck นักจิตวิยาจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ผู้เป็นเจ้าของหนังสือขายดียอดนิยมอย่าง Mindset ที่ได้กลายมาเป็นแรงบัลดาลใจในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้กับบริษัทไมโครซอฟท์ที่เขากำลังพยายามสร้างในตอนนี้ โดยสัตยา กล่าวว่า “สิ่งที่ผมได้รับจากหนังสือเล่มดังกล่าวไม่ใช่เรื่องของธุรกิจ หรือวัฒนธรรมการทำงาน แต่เป็นเรื่อง การศึกษาของเด็ก ผู้เขียนอธิบายเรื่องดังกล่าวผ่านทางการเปรียบเปรยง่าย ๆของเด็กๆ ที่โรงเรียน โดยหนึ่งในเด็กๆ เหล่านั้นจะมีเด็กประเภทหนึ่งที่เปรียบเสมือนน้ำเต็มแก้ว และจะมีอีกประเภทที่เปรียบเสมือนน้ำครึ่งแก้วที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่ตลอด สิ่งที่ตามมาก็คือ เด็กที่ทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้วมักทำอะไรได้ดีกว่าเด็กที่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว แม้เด็กประเภทหลังจะมี IQ สูงกว่าก็ตาม” “แล้วหากเป็นเรื่องของธุรกิจล่ะก็ ผมคิดว่า หากทฤษฎีน้ำเต็มแก้วดังกล่าวสามารถนำมาใช้กับเด็กๆ ได้ ในทำนองเดียวกันมันก็คงนำมาใช้กับ CEO แบบผม หรือแม้กระทั่งกับทั้งองค์กรอย่างไมโครซอฟท์ได้เช่นกัน” โดยสรุปง่ายๆ ก็คือ “จงอย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว แต่จงทำตัวเป็นดั่งน้ำครึ่งแก้วอยู่เสมอ” ทำไมคำแนะนำข้างต้นถึงเป็นคำแนะนำที่ยอดเยี่ยม? อันที่จริงการบอกว่าตัวเองเป็นกูรู เป็นผู้มีความรู้ หรือแม้แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้คนทั่วไปนิยมทำกันอยู่แล้ว แต่การป่าวประกาศตนเองไปแบบนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย แถมยังส่งผลเสียต่อตัวเองด้วย โดยนักวิเคราะห์ธุรกิจอย่าง Mandy Antoniacci ได้อธิบายว่า “สำหรับฉันแล้ว การที่คนเรากล่าวอ้างว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะสายงานไหนก็ตาม นั่นอาจหมายความว่า คุณนั้นได้อยู่จุดสูงสุดของสายงานแล้ว อีกนัยหนึ่งก็คือ คุณรู้หมดทุกอย่างแล้วและไม่มีอะไรที่ทำให้คุณอยากเรียนรู้อีกต่อไป” ซึ่งการคิดแบบนี้ หมายความว่าคุณได้กลายเป็นน้ำเต็มแก้วไปเสียแล้ว ดังนั้น แทนที่เราจะบอกว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ จะดีกว่าไหมหากเราคิดว่าตัวเราเป็นเด็กนักเรียนคนหนึ่ง ที่กำลังพร้อมจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว พร้อมจะลองผิดลองถูก การทำพลาดก็ไม่ได้หมายถึงล้มเหลวเสมอไป แต่กลับเป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้แหละที่มีประโยชน์มากทั้งในการใช้ชีวิตและการทำงาน จากกรณีของ สัตยา นาเดลลา ที่ได้นำวิธีคิดแบบนี้มาใช้ในบริษัทไมโครซอฟท์ เขากล่าวว่า “บางคนอาจเรียกสิ่งนี้ว่า “การทดลอง” แต่พวกเราเรียกมันว่า “การทดสอบสมมุติฐาน” หรือ hypothesis testing จะเกิดอะไรขึ้นหาก แทนที่คุณจะบอกว่า “ฉันมีไอเดียดีๆ นะ” เป็น “ฉันมีสมมุติฐานใหม่ๆ เรามาลองทดสอบกันหน่อยไหม? ซึ่งหากสมมุติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราจะสามารถพิสูจน์ให้เร็วที่สุดได้เมื่อไหร่? และหากสมมุติฐานนั้นไม่เป็นจริง เราก็จะทำการทดสอบสมมุติฐานใหม่ๆ ต่อไป” “แม้เกิดความล้มเหลวขึ้นก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เพราะหากสมมุติฐานใดไม่สามารถพิสูจน์ได้จริง ทางออกสำหรับผมก็คือ หาทางใหม่ ทางที่จะสามารถบอกได้ว่า อะไรกันแน่ที่เป็นความล้มเหลว และอะไรกันที่เป็นความสำเร็จ แล้วเราจะสามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร ซึ่งหนทางดังกล่าวอาจไม่ง่าย เราอาจต้องพบกับความล้มเหลวหรือการทดสอบสมมุติฐานนับครั้งไม่ถ้วน แต่นี่แหละคือการเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง” ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะ CEO พนักงาน ผู้ปกครอง ลูก หรือฐานะใดก็ตาม ให้ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้คือ ทดสอบสมมุติฐาน หากมันใช้ได้จริง จงหาทางทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิม แต่หากเกิดข้อผิดพลาด ก็จงหาหนทางใหม่ และสำคัญที่สุด จำไว้ว่า… “จงอย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว แต่จงทำตัวเป็นดั่งน้ำครึ่งแก้วอยู่เสมอ”

เมื่อไม่นานมานี้ สัตยา นาเดลลา CEO บริษัทไมโครซอฟท์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ Business Insider

ในบทสัมภาษณ์ดังกล่าวเขาได้กล่าวขอบคุณ Carol Dweck นักจิตวิยาจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ผู้เป็นเจ้าของหนังสือขายดียอดนิยมอย่าง Mindset ที่ได้กลายมาเป็นแรงบัลดาลใจในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้กับบริษัทไมโครซอฟท์ที่เขากำลังพยายามสร้างในตอนนี้ โดยสัตยา กล่าวว่า

“สิ่งที่ผมได้รับจากหนังสือเล่มดังกล่าวไม่ใช่เรื่องของธุรกิจ หรือวัฒนธรรมการทำงาน แต่เป็นเรื่อง การศึกษาของเด็ก ผู้เขียนอธิบายเรื่องดังกล่าวผ่านทางการเปรียบเปรยง่าย ๆของเด็กๆ ที่โรงเรียน โดยหนึ่งในเด็กๆ เหล่านั้นจะมีเด็กประเภทหนึ่งที่เปรียบเสมือนน้ำเต็มแก้ว และจะมีอีกประเภทที่เปรียบเสมือนน้ำครึ่งแก้วที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่ตลอด สิ่งที่ตามมาก็คือ เด็กที่ทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้วมักทำอะไรได้ดีกว่าเด็กที่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว แม้เด็กประเภทหลังจะมี IQ สูงกว่าก็ตาม”

“แล้วหากเป็นเรื่องของธุรกิจล่ะก็ ผมคิดว่า หากทฤษฎีน้ำเต็มแก้วดังกล่าวสามารถนำมาใช้กับเด็กๆ ได้ ในทำนองเดียวกันมันก็คงนำมาใช้กับ CEO แบบผม หรือแม้กระทั่งกับทั้งองค์กรอย่างไมโครซอฟท์ได้เช่นกัน”

โดยสรุปง่ายๆ ก็คือ

“จงอย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว แต่จงทำตัวเป็นดั่งน้ำครึ่งแก้วอยู่เสมอ”

ทำไมคำแนะนำข้างต้นถึงเป็นคำแนะนำที่ยอดเยี่ยม?

อันที่จริงการบอกว่าตัวเองเป็นกูรู เป็นผู้มีความรู้ หรือแม้แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้คนทั่วไปนิยมทำกันอยู่แล้ว แต่การป่าวประกาศตนเองไปแบบนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย แถมยังส่งผลเสียต่อตัวเองด้วย โดยนักวิเคราะห์ธุรกิจอย่าง Mandy Antoniacci ได้อธิบายว่า

“สำหรับฉันแล้ว การที่คนเรากล่าวอ้างว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะสายงานไหนก็ตาม นั่นอาจหมายความว่า คุณนั้นได้อยู่จุดสูงสุดของสายงานแล้ว อีกนัยหนึ่งก็คือ คุณรู้หมดทุกอย่างแล้วและไม่มีอะไรที่ทำให้คุณอยากเรียนรู้อีกต่อไป”

ซึ่งการคิดแบบนี้ หมายความว่าคุณได้กลายเป็นน้ำเต็มแก้วไปเสียแล้ว ดังนั้น แทนที่เราจะบอกว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ จะดีกว่าไหมหากเราคิดว่าตัวเราเป็นเด็กนักเรียนคนหนึ่ง ที่กำลังพร้อมจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว พร้อมจะลองผิดลองถูก การทำพลาดก็ไม่ได้หมายถึงล้มเหลวเสมอไป แต่กลับเป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้แหละที่มีประโยชน์มากทั้งในการใช้ชีวิตและการทำงาน

จากกรณีของ สัตยา นาเดลลา ที่ได้นำวิธีคิดแบบนี้มาใช้ในบริษัทไมโครซอฟท์ เขากล่าวว่า

“บางคนอาจเรียกสิ่งนี้ว่า “การทดลอง” แต่พวกเราเรียกมันว่า “การทดสอบสมมุติฐาน” หรือ hypothesis testing จะเกิดอะไรขึ้นหาก แทนที่คุณจะบอกว่า “ฉันมีไอเดียดีๆ นะ” เป็น “ฉันมีสมมุติฐานใหม่ๆ เรามาลองทดสอบกันหน่อยไหม? ซึ่งหากสมมุติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราจะสามารถพิสูจน์ให้เร็วที่สุดได้เมื่อไหร่? และหากสมมุติฐานนั้นไม่เป็นจริง เราก็จะทำการทดสอบสมมุติฐานใหม่ๆ ต่อไป”

“แม้เกิดความล้มเหลวขึ้นก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เพราะหากสมมุติฐานใดไม่สามารถพิสูจน์ได้จริง ทางออกสำหรับผมก็คือ หาทางใหม่ ทางที่จะสามารถบอกได้ว่า อะไรกันแน่ที่เป็นความล้มเหลว และอะไรกันที่เป็นความสำเร็จ แล้วเราจะสามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร ซึ่งหนทางดังกล่าวอาจไม่ง่าย เราอาจต้องพบกับความล้มเหลวหรือการทดสอบสมมุติฐานนับครั้งไม่ถ้วน แต่นี่แหละคือการเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง”

ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะ CEO พนักงาน ผู้ปกครอง ลูก หรือฐานะใดก็ตาม ให้ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้คือ ทดสอบสมมุติฐาน หากมันใช้ได้จริง จงหาทางทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิม แต่หากเกิดข้อผิดพลาด ก็จงหาหนทางใหม่

และสำคัญที่สุด จำไว้ว่า…

“จงอย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว แต่จงทำตัวเป็นดั่งน้ำครึ่งแก้วอยู่เสมอ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น