วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ในปี 1994 ขณะที่โลกอินเทอร์เน็ต (world wide web) มีผู้ใช้งานเพิ่มมากถึง 2,300% ต่อปี และยังไม่มีการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในขณะนั้น แต่ข้อมูลดังกล่าวก็เป็นแรงผลักดันที่ทำให้ เจฟฟ์ เบซอส ซึ่งขณะนั้นมีการงานที่มั่นคงและรายได้ดีในตำแหน่งรองประธานอาวุโสของ E.D. Shaw & Co. หนึ่งในบริษัทด้านบริหารจัดการการลงทุนที่มีชื่อของโลก ตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตนั่นคือ การลาออกจากงานในวัยที่อายุจะย่างเข้า 30 ปี พร้อมกับย้ายครอบครัวจากนิวยอร์กไปลงหลักปักฐานที่ซีแอตเทิล เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และในตอนนั้นใครๆ ตอนนั้นก็หาว่าเขา “คิดอะไรสั้นๆ” หรือ“คิดอะไรเพี้ยนๆ” ธุรกิจที่ถือว่าใหม่มากๆ ของโลกขณะนั้นก็คือ การขายหนังสือออนไลน์ โดยเบซอสได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ผ่านการศึกษาธุรกิจสั่งสินค้าทางจดหมายที่มียอดสูงสุด 20 อันดับแรก และหนังสือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุด ต่อมาก็พยายามเรียนรู้ธุรกิจหนังสือด้วยการลงทุนบินข้ามทวีปจากฝั่งตะวันตกไปตะวันออกที่ลอสแองเจลิส เพื่อร่วมงานการประชุมผู้ขายหนังสือแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้เขารู้ว่าบรรดาผู้ขายส่งหนังสือเจ้าหลักๆ นั้นมีการรวบรวมข้อมูลหนังสือไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่สิ่งที่พวกเขาขาดคือ แหล่งข้อมูลที่ผู้ซื้อจะเข้ามาตรวจสอบดูว่ามีหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ไหม ราคาเท่าไหร่ และมีอยู่ในสต๊อกหรือเปล่า ซึ่งเบซอสค้นพบว่าสิ่งที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อได้ก็คือ โลกของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง และจะดีแค่ไหนถ้าเขาสามารถนำทุกอย่างที่ผู้คนต้องการมาใส่ไว้ในโลกอินเทอร์เน็ตได้ แทนการเดินทางไปที่ร้านหนังสือเพื่อซื้อหนังสือสักเล่ม แต่หากเป็นการสั่งซื้อออนไลน์ นอกจากจะช่วยผู้ซื้อประหยัดเวลาในการเดินทาง ผู้ซื้อยังสามารถเลือกซื้อหนังสือจากอีกซีกโลกหนึ่งได้ไม่ว่าผู้ซื้อจะอยู่ที่ไหนก็ตาม และเหตุผลที่เขาต้องย้ายไปซีแอตเทิลก็เนื่องจากเป็นเมืองที่ซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์กระจายหนังสือที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา เบซอสมุ่งมั่นที่จะสร้างเว็บไซต์ Amazon.com อย่างแข็งขัน จนทำให้อเมซอนสามารถสร้างผลกำไรได้ภายในเดือนเดียวนับตั้งแต่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ปี 1995 และยังกลายเป็นร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านในอีก 2 ปีต่อมา หลังจากนั้น เบซอสก็ยังขยาย กิจการออกไปเป็นขายสินค้าสารพัดชนิดจนแทบกล่าวได้ว่า ทุกวันนี้ของแทบทุกอย่างบนโลกสามารถหาซื้อได้ที่ Amazon.com และยังพัฒนาบริการด้วยการใช้โดรนส่งพัสดุสินค้า การเปิด AmazonFresh Pickup บริการสั่งซื้อของในซูเปอร์มาเก็ตออนไลน์ เสร็จแล้วนัดเวลาขับรถมารับแบบ Drive Through นอกจากนี้เบซอสได้ขยายการทำธุรกิจไปทางด้านการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และให้บริการเก็บข่าวสารข้อมูลในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการเปิดบริษัทขนส่งทางอวกาศ Blue Origin อีกด้วย เจฟฟ์ เบซอส เป็นตัวอย่างที่ดีของคนหนุ่มสาวที่สร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ด้วยการมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต โดยอ่านเกมขาดว่า วิถีชีวิตของคนรุ่นต่อไปจะหันมาใช้ชีวิต รวมทั้งการซื้อขายของผ่านอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น จนสามารถสร้างสรรค์ธุรกิจแบบใหม่ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนได้อย่างทั่วถึงทุกมุมโลก และด้วยความมุ่งมั่นลงมือทำ เขาคิดเสมอว่าแม้จะล้มเหลว แต่คงเป็นเรื่องที่น่าเสียใจมากกว่าหากคิดแล้วไม่พยายามลงมือทำ นอกจากนั้นการเป็นคนคิดไกลและคิดนอกกรอบเสมอๆ ทำให้เบซอสกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 3 ของโลกด้วยมูลค่าสินทรัพย์ US$84.4 billion รองจาก บิล เกตต์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟต์ และ อามันซิโอ ออร์เตกา (Amancio Ortega) เจ้าของอาณาจักรแฟชั่นเสื้อผ้า ZARA จากการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes ในปีนี้ #KKSME #SME #SMEs #KiatnakinBank

ในปี 1994 ขณะที่โลกอินเทอร์เน็ต (world wide web) มีผู้ใช้งานเพิ่มมากถึง 2,300% ต่อปี และยังไม่มีการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในขณะนั้น แต่ข้อมูลดังกล่าวก็เป็นแรงผลักดันที่ทำให้ เจฟฟ์ เบซอส ซึ่งขณะนั้นมีการงานที่มั่นคงและรายได้ดีในตำแหน่งรองประธานอาวุโสของ E.D. Shaw & Co. หนึ่งในบริษัทด้านบริหารจัดการการลงทุนที่มีชื่อของโลก ตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตนั่นคือ การลาออกจากงานในวัยที่อายุจะย่างเข้า 30 ปี พร้อมกับย้ายครอบครัวจากนิวยอร์กไปลงหลักปักฐานที่ซีแอตเทิล เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และในตอนนั้นใครๆ ตอนนั้นก็หาว่าเขา “คิดอะไรสั้นๆ” หรือ“คิดอะไรเพี้ยนๆ”

ธุรกิจที่ถือว่าใหม่มากๆ ของโลกขณะนั้นก็คือ การขายหนังสือออนไลน์ โดยเบซอสได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ผ่านการศึกษาธุรกิจสั่งสินค้าทางจดหมายที่มียอดสูงสุด 20 อันดับแรก และหนังสือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุด ต่อมาก็พยายามเรียนรู้ธุรกิจหนังสือด้วยการลงทุนบินข้ามทวีปจากฝั่งตะวันตกไปตะวันออกที่ลอสแองเจลิส เพื่อร่วมงานการประชุมผู้ขายหนังสือแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้เขารู้ว่าบรรดาผู้ขายส่งหนังสือเจ้าหลักๆ นั้นมีการรวบรวมข้อมูลหนังสือไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่สิ่งที่พวกเขาขาดคือ แหล่งข้อมูลที่ผู้ซื้อจะเข้ามาตรวจสอบดูว่ามีหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ไหม ราคาเท่าไหร่ และมีอยู่ในสต๊อกหรือเปล่า ซึ่งเบซอสค้นพบว่าสิ่งที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อได้ก็คือ โลกของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง และจะดีแค่ไหนถ้าเขาสามารถนำทุกอย่างที่ผู้คนต้องการมาใส่ไว้ในโลกอินเทอร์เน็ตได้ แทนการเดินทางไปที่ร้านหนังสือเพื่อซื้อหนังสือสักเล่ม แต่หากเป็นการสั่งซื้อออนไลน์ นอกจากจะช่วยผู้ซื้อประหยัดเวลาในการเดินทาง ผู้ซื้อยังสามารถเลือกซื้อหนังสือจากอีกซีกโลกหนึ่งได้ไม่ว่าผู้ซื้อจะอยู่ที่ไหนก็ตาม และเหตุผลที่เขาต้องย้ายไปซีแอตเทิลก็เนื่องจากเป็นเมืองที่ซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์กระจายหนังสือที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา

เบซอสมุ่งมั่นที่จะสร้างเว็บไซต์ Amazon.com อย่างแข็งขัน จนทำให้อเมซอนสามารถสร้างผลกำไรได้ภายในเดือนเดียวนับตั้งแต่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ปี 1995 และยังกลายเป็นร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านในอีก 2 ปีต่อมา หลังจากนั้น เบซอสก็ยังขยาย กิจการออกไปเป็นขายสินค้าสารพัดชนิดจนแทบกล่าวได้ว่า ทุกวันนี้ของแทบทุกอย่างบนโลกสามารถหาซื้อได้ที่ Amazon.com และยังพัฒนาบริการด้วยการใช้โดรนส่งพัสดุสินค้า การเปิด AmazonFresh Pickup บริการสั่งซื้อของในซูเปอร์มาเก็ตออนไลน์ เสร็จแล้วนัดเวลาขับรถมารับแบบ Drive Through นอกจากนี้เบซอสได้ขยายการทำธุรกิจไปทางด้านการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และให้บริการเก็บข่าวสารข้อมูลในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการเปิดบริษัทขนส่งทางอวกาศ Blue Origin อีกด้วย

เจฟฟ์ เบซอส เป็นตัวอย่างที่ดีของคนหนุ่มสาวที่สร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ด้วยการมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต โดยอ่านเกมขาดว่า วิถีชีวิตของคนรุ่นต่อไปจะหันมาใช้ชีวิต รวมทั้งการซื้อขายของผ่านอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น จนสามารถสร้างสรรค์ธุรกิจแบบใหม่ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนได้อย่างทั่วถึงทุกมุมโลก และด้วยความมุ่งมั่นลงมือทำ เขาคิดเสมอว่าแม้จะล้มเหลว แต่คงเป็นเรื่องที่น่าเสียใจมากกว่าหากคิดแล้วไม่พยายามลงมือทำ นอกจากนั้นการเป็นคนคิดไกลและคิดนอกกรอบเสมอๆ ทำให้เบซอสกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 3 ของโลกด้วยมูลค่าสินทรัพย์ US$84.4 billion รองจาก บิล เกตต์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟต์ และ อามันซิโอ ออร์เตกา (Amancio Ortega) เจ้าของอาณาจักรแฟชั่นเสื้อผ้า ZARA จากการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes ในปีนี้

#KKSME #SME #SMEs #KiatnakinBank

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น