วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

เหตุผลเพื่อเอาชนะ หรือยอมรับผิด วันนี้เห็นลูกน้อง 2 คนเถียงกัน ต่างคนต่างบอกว่าอีกฝ่ายเป็นต้นเหตุที่ทำให้ไม่เวิร์ค เถียงกันอยู่พักใหญ่ก็หาจุดลงเอยไม่ได้ เพราะต่างคนต่างหาความถูกให้ตัวเอง และหาความผิดให้คนอื่น ผมนั่งขบน้ำแข็งฟังบทสนทนานั้น แล้วนึกในใจว่ามนุษย์หนอมนุษย์จะหาจุดจบลงตรงไหน ผมก็เลยมองแก้วที่วางอยู่ระหว่างทั้งสองคน แล้วตัดสินใจคว่ำแก้วจนน้ำหกลงบนโต๊ะ ผมบอกเค้าทั้งสองคนว่า... " สมมุติว่า A นั่งเขย่าขาแล้วโต๊ะสั่นจนแก้วนี้ล้ม แล้ว B ก็มัวแต่เล่นมือถือไม่ทันคว้าแก้วนั้นทัน ไหนทั้ง 2 คนลองเถียงให้พี่ฟังหน่อยว่า ใครพูดให้อีกฝ่ายเป็นคนผิดที่ทำแก้วนี้ล้มได้เป็นฝ่ายชนะ? " ทั้งสองคนต่างหาเหตุผล ให้อีกคนผิดได้อย่างออกอรรถรส ต่างคนต่างคานกันได้อย่างออกรสออกชาติ แต่สุดท้ายกลับไร้ทางออกในเรื่องแก้วใบนี้ เพราะไม่สามารถที่จะหาคนหนึ่งคนใด ที่ผิดคนเดียวได้อย่างแท้จริง ผมจึงบอกโจทย์ใหม่ให้เค้าพูดใหม่ "" สมมุติว่า A นั่งเขย่าขาแล้วโต๊ะสั่นจนแก้วนี้ล้ม แล้ว B ก็มัวแต่เล่นมือถือไม่ทันคว้าแก้วนั้นทัน ไหนทั้ง 2 คนลองเถียงให้พี่ฟังหน่อยว่า ใครพูดให้ตัวเองรับเป็นต้นเหตุที่ทำให้แก้วนี้ล้มได้เป็นผู้ชนะ " ทั้งสองคนพูดตะกุกตะกักเพราะไม่ถนัดปาก ในธรรมชาติที่สมองของคนจะคิดเห็นแต่ความผิดของคนอื่น แต่แทบจะสมองรวนทันทีที่ต้องหาความผิดของตนเอง แต่สิ่งที่น่าทึ่งเมื่อแต่ละคนหาเหตุผลให้ตนเองรับเป็นต้นเหตุ ที่ตัวเองทำให้แก้วล้ม พลังงานของความเข้าอกเข้าใจเกิดขึ้นระหว่างกัน ความผิดที่แต่ละคนดึงเข้าใส่ตัวเองนั้น กลายเป็นความรับผิดชอบที่ต่างคนต่างรับ 100% จุดจบของเรื่องจึงไม่ใช่ใครทำแก้วล้ม แต่เป็นจุดที่มนุษย์สองคนเข้าใจกันและกัน ว่าเราต่างมีความบกพร่องที่เราต่างช่วยกันได้ ในการที่จะป้องกันไม่ให้แก้วล้มในครั้งต่อไป ผมจับแก้วตั้งขึ้นพร้อมกับรอยร้าว ในความรู้สึกของทั้งสองคนที่หายไป แล้วคิดในใจว่าเราจะทำเช่นไร ที่โครงสร้างแบบนี้จะเกิดขึ้นอัตโนมัติกับมนุษย์ ที่จะหาบทสรุปที่ลงเอยกันได้ด้วยดีได้โดยที่ไม่ต้องมีเรา ที่มา โค๊ชพล ภาพ : https://th.jobsdb.com

เหตุผลเพื่อเอาชนะ หรือยอมรับผิด

วันนี้เห็นลูกน้อง 2 คนเถียงกัน
ต่างคนต่างบอกว่าอีกฝ่ายเป็นต้นเหตุที่ทำให้ไม่เวิร์ค
เถียงกันอยู่พักใหญ่ก็หาจุดลงเอยไม่ได้
เพราะต่างคนต่างหาความถูกให้ตัวเอง
และหาความผิดให้คนอื่น

ผมนั่งขบน้ำแข็งฟังบทสนทนานั้น
แล้วนึกในใจว่ามนุษย์หนอมนุษย์จะหาจุดจบลงตรงไหน
ผมก็เลยมองแก้วที่วางอยู่ระหว่างทั้งสองคน
แล้วตัดสินใจคว่ำแก้วจนน้ำหกลงบนโต๊ะ

ผมบอกเค้าทั้งสองคนว่า...

" สมมุติว่า A นั่งเขย่าขาแล้วโต๊ะสั่นจนแก้วนี้ล้ม
แล้ว B ก็มัวแต่เล่นมือถือไม่ทันคว้าแก้วนั้นทัน
ไหนทั้ง 2 คนลองเถียงให้พี่ฟังหน่อยว่า
ใครพูดให้อีกฝ่ายเป็นคนผิดที่ทำแก้วนี้ล้มได้เป็นฝ่ายชนะ? "

ทั้งสองคนต่างหาเหตุผล
ให้อีกคนผิดได้อย่างออกอรรถรส
ต่างคนต่างคานกันได้อย่างออกรสออกชาติ
แต่สุดท้ายกลับไร้ทางออกในเรื่องแก้วใบนี้
เพราะไม่สามารถที่จะหาคนหนึ่งคนใด
ที่ผิดคนเดียวได้อย่างแท้จริง

ผมจึงบอกโจทย์ใหม่ให้เค้าพูดใหม่

"" สมมุติว่า A นั่งเขย่าขาแล้วโต๊ะสั่นจนแก้วนี้ล้ม
แล้ว B ก็มัวแต่เล่นมือถือไม่ทันคว้าแก้วนั้นทัน
ไหนทั้ง 2 คนลองเถียงให้พี่ฟังหน่อยว่า
ใครพูดให้ตัวเองรับเป็นต้นเหตุที่ทำให้แก้วนี้ล้มได้เป็นผู้ชนะ "

ทั้งสองคนพูดตะกุกตะกักเพราะไม่ถนัดปาก
ในธรรมชาติที่สมองของคนจะคิดเห็นแต่ความผิดของคนอื่น
แต่แทบจะสมองรวนทันทีที่ต้องหาความผิดของตนเอง
แต่สิ่งที่น่าทึ่งเมื่อแต่ละคนหาเหตุผลให้ตนเองรับเป็นต้นเหตุ
ที่ตัวเองทำให้แก้วล้ม
พลังงานของความเข้าอกเข้าใจเกิดขึ้นระหว่างกัน
ความผิดที่แต่ละคนดึงเข้าใส่ตัวเองนั้น
กลายเป็นความรับผิดชอบที่ต่างคนต่างรับ 100%

จุดจบของเรื่องจึงไม่ใช่ใครทำแก้วล้ม
แต่เป็นจุดที่มนุษย์สองคนเข้าใจกันและกัน
ว่าเราต่างมีความบกพร่องที่เราต่างช่วยกันได้
ในการที่จะป้องกันไม่ให้แก้วล้มในครั้งต่อไป

ผมจับแก้วตั้งขึ้นพร้อมกับรอยร้าว
ในความรู้สึกของทั้งสองคนที่หายไป
แล้วคิดในใจว่าเราจะทำเช่นไร
ที่โครงสร้างแบบนี้จะเกิดขึ้นอัตโนมัติกับมนุษย์
ที่จะหาบทสรุปที่ลงเอยกันได้ด้วยดีได้โดยที่ไม่ต้องมีเรา

ที่มา โค๊ชพล
ภาพ : https://th.jobsdb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น