วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

ในช่วงฤดูร้อนของทุกๆ ปีในหลวง ร.9 จะเสด็จไปประทับที่วังไกลกังวลและโปรดที่จะขับรถสำรวจพื้นที่รอบๆ ซึ่งยังกันดารเป็นถนนลูกรังเพื่อไปดูวิถีชีวิตของชาวบ้านแถบนั้น เหตุการณ์สำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของปฐมบทเขาเต่าเกิดขึ้นในฤดูร้อนปี 2496 ตอนที่รถจี๊ปซึ่งในหลวงทรงขับเองเกิดไปติดหล่มโคลนเลนอยู่บริเวณหมู่บ้านเขาเต่าอันแห้งแล้ง โชคดีมีกลุ่มเด็กผู้ชายที่หนีเรียนมาเดินเลี้ยงวัวอยู่มาพบเข้าและช่วยดันรถขึ้นจากหล่ม เด็กเหล่านี้มีน้ำใจช่วยเหลือคนแปลกหน้าโดยที่ไม่มีใครรู้ว่าคนที่ตัวเองช่วยอยู่นั้นเป็นใคร จนท่านต้องหยิบแบงค์ขึ้นมาถามว่า “เคยเห็นคนในแบงค์นี้ไหม เหมือนเราไหม” เด็กๆ ถึงรู้ว่านี่คือในหลวงของพวกเขานั่นเอง สุดท้ายแรงเด็กๆ ก็ไม่พอเข็นรถขึ้นมาได้ ในหลวงจึงต้องเขียนจดหมายให้ถือไปส่งคุณครูที่โรงเรียนเพื่อหาคนมาช่วยเพิ่ม คุณครูพอเห็นเด็กหนีเรียนมาเข้าโรงเรียนก็จับตีก่อนจะเปิดจดหมายอ่าน แล้วตื่นตกใจพากันมาช่วยเข็นรถขึ้น เหตุการณ์ครั้งนี้นอกจากจะสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมแก่ชาวบ้านที่ได้เฝ้าและช่วยกันเข็นรถในหลวงแล้ว อุปสรรคที่ในหลวงประสบเองยังกระตุ้นให้ทรงสนใจที่จะพัฒนาพื้นที่เขาเต่าขึ้น ความจริงในหลวงเสด็จมายังพื้นที่นี้หลายครั้งแล้วและทรงสังเกตเห็นความยากลำบากของชาวบ้านที่ไม่มีน้ำจืดใช้ ต้องไปเดินหาบน้ำมาจากที่ไกลๆ พื้นที่ทำเกษตรก็ถูกน้ำเค็มซัดเวลาน้ำทะเลขึ้น ทำให้ปลูกพืชไม่ได้ดี ผลผลิตเสียหาย ช่องทางหารายได้ก็มีเพียงเก็บหอยขาย เวลาน้ำลงก็เกิดปัญหาอีกเพราะเกิดพื้นที่ชื้นแฉะเป็นตะกาดแบบเดียวกับที่ทำให้รถในหลวงติดหล่ม จึงทรงคิดริเริ่มที่จะจัดการน้ำในพื้นที่อันห่างไกลนี้โดยสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่าขึ้นเพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีน้ำจืดไว้ใช้กินใช้ดื่ม ทำการเกษตรและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ โครงการอ่างเก็บน้ำเขาเต่านี้ถือเป็นโครงการในพระราชดำริด้านการจัดการน้ำโครงการแรกของในหลวงที่ทรงลองแก้ปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่ และถือเป็นต้นแบบที่สะท้อนให้เห็นหลักสำคัญของโครงการในพระราชดำริที่ในหลวงพยายามและใส่ใจในการช่วยแก้ปัญหาให้ชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ และด้วยความที่เป็นโครงการในพระราชดำริแรก โครงการเขาเต่านี้จึงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ทรงต้องผ่านอุปสรรคและการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการลงมือทำจริง เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นอาจกล่าวได้ว่า ถ้าเทียบกับปัจจุบันนี้ เขาเต่าอาจจะมีลักษณะคล้ายโปรเจกต์ start up ของคนรุ่นใหม่ซึ่งมองเห็นปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้คน มีการหาช่องทาง แก้ไขลองผิดลองถูก และสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นเพื่อแก้ปัญหานั้น ต่างกันตรงที่สิ่งที่ในหลวงทรงสร้างไม่ใช่ธุรกิจ แต่เป็นโซลูชั่นหรือทางออกเพื่อยกระดับชีวิตประชาชนของพระองค์ให้ดีขึ้นแบบยั่งยืน ติดตามเรื่องเล่าจากซีรีส์เขาเต่าได้ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ #สานต่อที่พ่อทำ #ซีรีส์เขาเต่า เรียบเรียงจาก: หนังสือร้อยเรื่องเล่าเกร็ดการทรงงาน โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, นิตยสาร ฅ.คน ฉบับที่ 14 ประจำเดือนธันวาคม 2549

ในช่วงฤดูร้อนของทุกๆ ปีในหลวง ร.9 จะเสด็จไปประทับที่วังไกลกังวลและโปรดที่จะขับรถสำรวจพื้นที่รอบๆ ซึ่งยังกันดารเป็นถนนลูกรังเพื่อไปดูวิถีชีวิตของชาวบ้านแถบนั้น เหตุการณ์สำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของปฐมบทเขาเต่าเกิดขึ้นในฤดูร้อนปี 2496 ตอนที่รถจี๊ปซึ่งในหลวงทรงขับเองเกิดไปติดหล่มโคลนเลนอยู่บริเวณหมู่บ้านเขาเต่าอันแห้งแล้ง โชคดีมีกลุ่มเด็กผู้ชายที่หนีเรียนมาเดินเลี้ยงวัวอยู่มาพบเข้าและช่วยดันรถขึ้นจากหล่ม เด็กเหล่านี้มีน้ำใจช่วยเหลือคนแปลกหน้าโดยที่ไม่มีใครรู้ว่าคนที่ตัวเองช่วยอยู่นั้นเป็นใคร จนท่านต้องหยิบแบงค์ขึ้นมาถามว่า “เคยเห็นคนในแบงค์นี้ไหม เหมือนเราไหม” เด็กๆ ถึงรู้ว่านี่คือในหลวงของพวกเขานั่นเอง สุดท้ายแรงเด็กๆ ก็ไม่พอเข็นรถขึ้นมาได้ ในหลวงจึงต้องเขียนจดหมายให้ถือไปส่งคุณครูที่โรงเรียนเพื่อหาคนมาช่วยเพิ่ม คุณครูพอเห็นเด็กหนีเรียนมาเข้าโรงเรียนก็จับตีก่อนจะเปิดจดหมายอ่าน แล้วตื่นตกใจพากันมาช่วยเข็นรถขึ้น

เหตุการณ์ครั้งนี้นอกจากจะสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมแก่ชาวบ้านที่ได้เฝ้าและช่วยกันเข็นรถในหลวงแล้ว อุปสรรคที่ในหลวงประสบเองยังกระตุ้นให้ทรงสนใจที่จะพัฒนาพื้นที่เขาเต่าขึ้น ความจริงในหลวงเสด็จมายังพื้นที่นี้หลายครั้งแล้วและทรงสังเกตเห็นความยากลำบากของชาวบ้านที่ไม่มีน้ำจืดใช้ ต้องไปเดินหาบน้ำมาจากที่ไกลๆ พื้นที่ทำเกษตรก็ถูกน้ำเค็มซัดเวลาน้ำทะเลขึ้น ทำให้ปลูกพืชไม่ได้ดี ผลผลิตเสียหาย ช่องทางหารายได้ก็มีเพียงเก็บหอยขาย เวลาน้ำลงก็เกิดปัญหาอีกเพราะเกิดพื้นที่ชื้นแฉะเป็นตะกาดแบบเดียวกับที่ทำให้รถในหลวงติดหล่ม จึงทรงคิดริเริ่มที่จะจัดการน้ำในพื้นที่อันห่างไกลนี้โดยสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่าขึ้นเพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีน้ำจืดไว้ใช้กินใช้ดื่ม ทำการเกษตรและใช้ประโยชน์จากพื้นที่

โครงการอ่างเก็บน้ำเขาเต่านี้ถือเป็นโครงการในพระราชดำริด้านการจัดการน้ำโครงการแรกของในหลวงที่ทรงลองแก้ปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่ และถือเป็นต้นแบบที่สะท้อนให้เห็นหลักสำคัญของโครงการในพระราชดำริที่ในหลวงพยายามและใส่ใจในการช่วยแก้ปัญหาให้ชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ

และด้วยความที่เป็นโครงการในพระราชดำริแรก โครงการเขาเต่านี้จึงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ทรงต้องผ่านอุปสรรคและการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการลงมือทำจริง เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นอาจกล่าวได้ว่า ถ้าเทียบกับปัจจุบันนี้ เขาเต่าอาจจะมีลักษณะคล้ายโปรเจกต์ start up ของคนรุ่นใหม่ซึ่งมองเห็นปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้คน มีการหาช่องทาง แก้ไขลองผิดลองถูก และสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นเพื่อแก้ปัญหานั้น ต่างกันตรงที่สิ่งที่ในหลวงทรงสร้างไม่ใช่ธุรกิจ แต่เป็นโซลูชั่นหรือทางออกเพื่อยกระดับชีวิตประชาชนของพระองค์ให้ดีขึ้นแบบยั่งยืน

ติดตามเรื่องเล่าจากซีรีส์เขาเต่าได้ตลอดทั้งสัปดาห์นี้

#สานต่อที่พ่อทำ #ซีรีส์เขาเต่า

เรียบเรียงจาก: หนังสือร้อยเรื่องเล่าเกร็ดการทรงงาน โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, นิตยสาร ฅ.คน ฉบับที่ 14 ประจำเดือนธันวาคม 2549

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น