วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับถนนสายแรกที่ในหลวง ร.9 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างที่ห้วยมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งนับเป็นปฐมบทแห่งโครงการพัฒนาชนบท เพื่อความสุขของประชาชนคนไทย รู้หรือไม่ว่าโครงการนี้ถือกำเนิดได้อย่างไร และในหลวง ร.9 ทรงถอดบทเรียนจากโครงการนี้ได้ว่าอย่างไรบ้าง เมื่อปี 2495 ในหลวงเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ด้วยเส้นทางคมนาคมยังไม่สะดวก ทำให้รถยนต์พระที่นั่งติดหล่ม โชคดีที่ได้ชาวบ้านเข้ามาช่วยเหลือโดยไม่ทราบว่าเจ้าของรถยนต์ที่ขับมานั้นเป็นผู้ใด หลังจากแก้ปัญหาเรื่องรถติดหล่มเสร็จจึงทรงสอบถามถึงสภาพความเป็นอยู่กับชาวบ้าน ได้ความว่ามีปัญหาเรื่องการคมนาคม โดยเฉพาะเวลาขนเอาผักไปขายที่ตลาดหัวหินนั้นลำบากมาก ต้องใช้เวลา 2-3 วัน สิ่งที่ชาวบ้านต้องการมากที่สุดในขณะนั้นจึงคือถนน เมื่อทรงทราบดังนั้นแล้วจึงโปรดให้ค่ายนเรศวรมาช่วยสร้างทันที ไม่นานก็ได้เป็น ถ.ห้วยมงคล ที่ช่วยย่นระยะเวลาเดินทางเหลือแค่ 20 นาที คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าที่ไหนที่มีการตัดถนนผ่าน ที่นั่นจะมีความเจริญตามมาพร้อมด้วยความสุข แต่สิ่งที่น่าสนใจที่ไม่ค่อยมีใครได้รู้คือสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้จากการสร้างถนนห้วยมงคลนี้ทำให้ทรงเห็นแนวทางในการพัฒนาที่ต่างออกไปว่า ถ้าพูดถึงกรณีทั่วๆ ไป การพัฒนาชนบทนั้นควรเริ่มจากพื้นฐานคือถนน เจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปจัดการระบบชลประทาน ให้การศึกษา และดูแลเรื่องสุขอนามัย นำไปสู่เป้าหมายให้ประชาชนสามารถเพาะปลูกค้าขายได้... แต่ในบางครั้งอาจจะต้องสลับขั้นตอนกันบ้าง เพราะการสร้างถนนนั้นจะดีก็ต่อเมื่อคุณภาพชีวิตในด้านอื่นๆ ของประชาชนพัฒนาไปพร้อมๆ กันด้วย หากมีถนนเข้าไปถึง แต่ชาวบ้านยังพึ่งพาตัวเองไม่ได้ ถนนอาจกลายเป็นเหมือนดาบสองคมที่เปิดโอกาสให้นายทุนเข้าไปกว้านซื้อที่ดินริมถนน และสุดท้ายชาวบ้านก็ต้องกลายเป็นลูกจ้าง หรือบางส่วนก็ถางป่าเข้าไปลึกขึ้นเพื่อหาที่ทำกินใหม่แทน ซึ่งเป็นเหมือนการถอยหลังเข้าคลอง ดังนั้นเมื่อมีคนมาบอกให้ในหลวงร.9 สร้างถนนต่อไปที่หนองพลับ เพื่อนำรถแทรกเตอร์ไปให้กะเหรี่ยง พระองค์จึงทรงไม่เห็นด้วย แต่รับสั่งให้นำจอบเสียมเข้าไปให้ชาวกะเหรี่ยงแทน เพราะคนในพื้นที่จะได้รู้จักการทำงานด้วยมือของตนเองก่อน เมื่อทำงานด้วยอุปกรณ์ราคาไม่แพงอย่างจอบเสียมได้แล้ว จะมีหรือไม่มีแทรกเตอร์ก็จะทำกินได้เหมือนกัน ถือว่าเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้เอง หลังจากนั้นในหลวงร.9 จึงไม่โปรดให้สร้างถนนก่อนที่จะได้พัฒนาคุณภาพและให้แนวคิดในการใช้ชีวิตที่รู้จักพึ่งตนเองและเห็นความสำคัญของพื้นที่ทำกินก่อน หลังจากนั้นถนนจึงจะได้ทำหน้าที่ในการนำความเจริญเข้าไปถึงประชาชน และ นำผลผลิตของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ ออกมาสร้างรายได้ อย่างที่ถนนควรจะเป็น นี่เป็นบทเรียนหนึ่งในงานช่วงแรกของในหลวงร.9 สู่แนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน... #สานต่อที่พ่อทำ

เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับถนนสายแรกที่ในหลวง ร.9 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างที่ห้วยมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งนับเป็นปฐมบทแห่งโครงการพัฒนาชนบท เพื่อความสุขของประชาชนคนไทย รู้หรือไม่ว่าโครงการนี้ถือกำเนิดได้อย่างไร และในหลวง ร.9 ทรงถอดบทเรียนจากโครงการนี้ได้ว่าอย่างไรบ้าง

เมื่อปี 2495 ในหลวงเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ด้วยเส้นทางคมนาคมยังไม่สะดวก ทำให้รถยนต์พระที่นั่งติดหล่ม โชคดีที่ได้ชาวบ้านเข้ามาช่วยเหลือโดยไม่ทราบว่าเจ้าของรถยนต์ที่ขับมานั้นเป็นผู้ใด หลังจากแก้ปัญหาเรื่องรถติดหล่มเสร็จจึงทรงสอบถามถึงสภาพความเป็นอยู่กับชาวบ้าน ได้ความว่ามีปัญหาเรื่องการคมนาคม โดยเฉพาะเวลาขนเอาผักไปขายที่ตลาดหัวหินนั้นลำบากมาก ต้องใช้เวลา 2-3 วัน สิ่งที่ชาวบ้านต้องการมากที่สุดในขณะนั้นจึงคือถนน เมื่อทรงทราบดังนั้นแล้วจึงโปรดให้ค่ายนเรศวรมาช่วยสร้างทันที ไม่นานก็ได้เป็น ถ.ห้วยมงคล ที่ช่วยย่นระยะเวลาเดินทางเหลือแค่ 20 นาที

คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าที่ไหนที่มีการตัดถนนผ่าน ที่นั่นจะมีความเจริญตามมาพร้อมด้วยความสุข แต่สิ่งที่น่าสนใจที่ไม่ค่อยมีใครได้รู้คือสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้จากการสร้างถนนห้วยมงคลนี้ทำให้ทรงเห็นแนวทางในการพัฒนาที่ต่างออกไปว่า ถ้าพูดถึงกรณีทั่วๆ ไป การพัฒนาชนบทนั้นควรเริ่มจากพื้นฐานคือถนน เจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปจัดการระบบชลประทาน ให้การศึกษา และดูแลเรื่องสุขอนามัย นำไปสู่เป้าหมายให้ประชาชนสามารถเพาะปลูกค้าขายได้... แต่ในบางครั้งอาจจะต้องสลับขั้นตอนกันบ้าง เพราะการสร้างถนนนั้นจะดีก็ต่อเมื่อคุณภาพชีวิตในด้านอื่นๆ ของประชาชนพัฒนาไปพร้อมๆ กันด้วย หากมีถนนเข้าไปถึง แต่ชาวบ้านยังพึ่งพาตัวเองไม่ได้ ถนนอาจกลายเป็นเหมือนดาบสองคมที่เปิดโอกาสให้นายทุนเข้าไปกว้านซื้อที่ดินริมถนน และสุดท้ายชาวบ้านก็ต้องกลายเป็นลูกจ้าง หรือบางส่วนก็ถางป่าเข้าไปลึกขึ้นเพื่อหาที่ทำกินใหม่แทน ซึ่งเป็นเหมือนการถอยหลังเข้าคลอง

ดังนั้นเมื่อมีคนมาบอกให้ในหลวงร.9 สร้างถนนต่อไปที่หนองพลับ เพื่อนำรถแทรกเตอร์ไปให้กะเหรี่ยง พระองค์จึงทรงไม่เห็นด้วย แต่รับสั่งให้นำจอบเสียมเข้าไปให้ชาวกะเหรี่ยงแทน เพราะคนในพื้นที่จะได้รู้จักการทำงานด้วยมือของตนเองก่อน เมื่อทำงานด้วยอุปกรณ์ราคาไม่แพงอย่างจอบเสียมได้แล้ว จะมีหรือไม่มีแทรกเตอร์ก็จะทำกินได้เหมือนกัน ถือว่าเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้เอง หลังจากนั้นในหลวงร.9 จึงไม่โปรดให้สร้างถนนก่อนที่จะได้พัฒนาคุณภาพและให้แนวคิดในการใช้ชีวิตที่รู้จักพึ่งตนเองและเห็นความสำคัญของพื้นที่ทำกินก่อน หลังจากนั้นถนนจึงจะได้ทำหน้าที่ในการนำความเจริญเข้าไปถึงประชาชน และ นำผลผลิตของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ ออกมาสร้างรายได้ อย่างที่ถนนควรจะเป็น

นี่เป็นบทเรียนหนึ่งในงานช่วงแรกของในหลวงร.9 สู่แนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน...

#สานต่อที่พ่อทำ
เรียบเรียงจาก
- พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะผู้บริหารงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ระดับผู้ว่าราชการจังหวัด ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน 13 มิ.ย. 2512

อ่านพระบรมราโชวาทฉบับเต็มได้ที่ http://bit.ly/2mJjWrx

- หนังสือร้อยเรื่องเกร็ดการทรงงาน โดยสำนักงาน กปร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น