วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ประกวดนางงาม เริ่มจากไหน เชื่อไหมว่าสาวๆ กลุ่มแรกที่เข้าสู่เวทีประกวดนางงาม ไม่ใช่สาวโสดที่งามอย่างมีคุณค่าอย่างทุกวันนี้หรอก แต่เธอๆ ทั้งหลายเป็นสาวโสดที่ไม่สดกันทั้งนั้น เพราะพวกเธอคือ "นางงามโคมเขียว" เวทีโคมเขียว การประกวดเพื่อคัดสรรสุดยอดคนสวยของสำนักโคมเขียว เกิดขึ้นเมื่อประมาณพันปีก่อน ในช่วงปีซีหนิงของราชวงศ์ซ้องเหนือ(ค.ศ. 1068-1077) นับๆ แล้วเกิดก่อนการประกวดนางงามของฝรั่งถึง 800 กว่าปีเลยทีเดียว แต่ในสมัยนั้นคนจีนยังถือกันว่าโสเภณีเป็นอาชีพที่มีเกียรติ คนที่จะทำได้ต้องเป็นสาวสวยที่ต้องเก่งรอบตัว ทั้งการขับร้อง ร่ายรำ แต่งกลอน เดินหมาก จัดว่าเป็นผู้หญิงที่มีการศึกษาของสมัยนั้น แถมบางนางยังเลือกได้อีกด้วยว่าจะขายแต่ศิลปะ ช่วยร้องเพลงดีดพิณกล่อมระหว่างที่แขกกินเหล้า ไม่จำเป็นต้องขายตัว นางคณิกาชั้นสูงในสมัยนั้นจึงไม่ใช่ผู้หญิงที่ถูกดูถูกอย่างปัจจุบัน แต่เป็นสาวสังคมชื่อดังที่ใครๆ ก็ยกย่อง การประกวดนางามของสำนักโคมเขียวมีพวกบัณฑิตหนุ่มๆ มาเข้าคิวสมัครเป็นกรรมการกันตรึมจนแทบจะตีกันตาย ส่วนวิธีประกวดนั้นสาวงามแต่ละคนก็ต้องโชว์ความสามารถกันเต็มพิกัด ทั้งดีดพิณ เล่นหมากรุก เขียนพู่กันจีน วาดภาพ ร้องเพลง ฟ้อนรำ จากนั้นกรรมการหนุ่มก็จะรจนากลอนชื่นชมความงามของผู้เข้าประกวดที่ตัวเองหมายตา สาวคนไหนได้รับกลอนชมมากที่สุดก็จะได้ครองตำแหน่งเป็นนางงามประจำปีนั้นไป การประกวดนางสาวไทย จากเวทีราชวงศ์ซ้อง มองย้อนมาที่เวทีแบบไทยแลนด์แดนยิ้มของเราบ้าง การประกวดนางงามของเราเริ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 10 ธ.ค. 2477 ในงานฉลองรัฐธรรมนูญภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ สมัยนั้นบ้านเรายังชื่อว่า "ประเทศสยาม" อยู่การประกวดในตอนนั้นจึงต้องมีชื่อว่าการประกวด "นางสาวสยาม" หัวใจของการประกวดก็เพื่อดึงให้ประชาชนออกจากบ้านมาเที่ยวงานฉลองรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้เผยแพร่ประชาธิปไตยและคนที่เข้าประกวดก็ทำกันสนุกๆ ไม่ได้หวังจะใช้เวทีเป็นบันไดเข้าวงการบันเทิงอย่างสมัยนี้ มาสมัย ?จอมพล ป.พิบูลสงคราม' เป็นนายกรัฐมนตรี สาวไทยเราได้รับบทบาทให้เป็น "ดอกไม้ของชาติ" ท่านผู้นำก็เลยอยากจะส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงให้ดูสวยเด่นเป็นสง่ายิ่งขึ้น ด้วยการสั่งรื้อชุดที่ใช้ในการประกวดนางสาวสยามใหม่ให้สวยกว่าเดิม จากที่เคยแต่งชุดไทยใส่สไบยาวกรอมเท้า ก็เลยต้องใส่เสื้อกระโปรงเย็บติดกัน เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า จากนั้นชุดประกวดก็เริ่มหดสั้นลงทุกปีๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2493 สาวงามทุกคนก็ต้องเดินโชว์โฉมในชุดว่ายน้ำเป็นครั้งแรก เล่นเอาฮือฮาทำอาเสี่ยผวากันทั้งประเทศมาถึงปี 2482 สยามประเทศได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" คำว่านางงามสยามจึงหายไป กลายเป็นการประกวด "นางสาวไทย" ตั้งแต่นั้นมา และเมื่องามฉลองรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไป การประกวดนางงามก็หายไปพักหนึ่งด้วย จนกระทั่งสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ยื่นมือเข้ามาจัดการ ในตอนแรกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ตั้งชื่อนางงามของตัวว่า "นางงามวชิราวุธ" ก่อน แต่เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเริ่มเติบโต ประกอบกับรัฐบาลอยากใช้ตำแหน่งนางงามมาเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้ประเทศ "นางงามวชิราวุธ" จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นางสาวไทย" และได้เริ่มส่งผู้ได้ตำแหน่งไปประกวดนางงามจักรวาลด้วย เพื่อให้ประเทศไทยได้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศมากขึ้น จุดประสงค์หลักของการประกวดนางสาวไทยในยุคหลังจากนั้นมาจึงเน้นไปที่การหาตัวแทนคนไทยไปประกวดในเวทีโลก รูปแบบการประกวดก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป ผู้เข้าประกวดต้องมีความสามารถหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะความสามารถทางภาษา เพื่อเอาไปแข่งในเวทีสากล บางปีถึงขนาดว่านางงามที่ได้ตำแหน่งเป็นเด็กไทยที่ไปโตเมืองนอกจนพูดไทยไม่ชัด แต่กรรมการก็เทคะแนนให้เพราะเธอพูดภาษาฝรั่งได้คล่องเป็นไฟ แม้แต่วิธีให้คะแนนก็พัฒนาไปสู่ความอินเตอร์ขึ้นเรื่อยๆ จากแรกเริ่มที่ให้คะแนนกันง่ายๆ ด้วยการชูป้ายก็เปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลคะแนน และมีการวัดไอคิว และอีคิวของผู้เข้าประกวดด้วย เพื่อหาตัวแทนที่พร้อมจะเป็นหน้าเป็นตาของประเทศจริงๆ ขอขอบคุณ ที่มา : WOMAN PLUS ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ประกวดนางงาม เริ่มจากไหน

เชื่อไหมว่าสาวๆ กลุ่มแรกที่เข้าสู่เวทีประกวดนางงาม ไม่ใช่สาวโสดที่งามอย่างมีคุณค่าอย่างทุกวันนี้หรอก แต่เธอๆ ทั้งหลายเป็นสาวโสดที่ไม่สดกันทั้งนั้น เพราะพวกเธอคือ "นางงามโคมเขียว"

เวทีโคมเขียว การประกวดเพื่อคัดสรรสุดยอดคนสวยของสำนักโคมเขียว เกิดขึ้นเมื่อประมาณพันปีก่อน ในช่วงปีซีหนิงของราชวงศ์ซ้องเหนือ(ค.ศ. 1068-1077) นับๆ แล้วเกิดก่อนการประกวดนางงามของฝรั่งถึง 800 กว่าปีเลยทีเดียว แต่ในสมัยนั้นคนจีนยังถือกันว่าโสเภณีเป็นอาชีพที่มีเกียรติ คนที่จะทำได้ต้องเป็นสาวสวยที่ต้องเก่งรอบตัว ทั้งการขับร้อง ร่ายรำ แต่งกลอน เดินหมาก จัดว่าเป็นผู้หญิงที่มีการศึกษาของสมัยนั้น แถมบางนางยังเลือกได้อีกด้วยว่าจะขายแต่ศิลปะ ช่วยร้องเพลงดีดพิณกล่อมระหว่างที่แขกกินเหล้า ไม่จำเป็นต้องขายตัว นางคณิกาชั้นสูงในสมัยนั้นจึงไม่ใช่ผู้หญิงที่ถูกดูถูกอย่างปัจจุบัน แต่เป็นสาวสังคมชื่อดังที่ใครๆ ก็ยกย่อง การประกวดนางามของสำนักโคมเขียวมีพวกบัณฑิตหนุ่มๆ มาเข้าคิวสมัครเป็นกรรมการกันตรึมจนแทบจะตีกันตาย ส่วนวิธีประกวดนั้นสาวงามแต่ละคนก็ต้องโชว์ความสามารถกันเต็มพิกัด ทั้งดีดพิณ เล่นหมากรุก เขียนพู่กันจีน วาดภาพ ร้องเพลง ฟ้อนรำ จากนั้นกรรมการหนุ่มก็จะรจนากลอนชื่นชมความงามของผู้เข้าประกวดที่ตัวเองหมายตา สาวคนไหนได้รับกลอนชมมากที่สุดก็จะได้ครองตำแหน่งเป็นนางงามประจำปีนั้นไป

การประกวดนางสาวไทย จากเวทีราชวงศ์ซ้อง มองย้อนมาที่เวทีแบบไทยแลนด์แดนยิ้มของเราบ้าง การประกวดนางงามของเราเริ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 10 ธ.ค. 2477 ในงานฉลองรัฐธรรมนูญภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ สมัยนั้นบ้านเรายังชื่อว่า "ประเทศสยาม" อยู่การประกวดในตอนนั้นจึงต้องมีชื่อว่าการประกวด "นางสาวสยาม" หัวใจของการประกวดก็เพื่อดึงให้ประชาชนออกจากบ้านมาเที่ยวงานฉลองรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้เผยแพร่ประชาธิปไตยและคนที่เข้าประกวดก็ทำกันสนุกๆ ไม่ได้หวังจะใช้เวทีเป็นบันไดเข้าวงการบันเทิงอย่างสมัยนี้

มาสมัย ?จอมพล ป.พิบูลสงคราม' เป็นนายกรัฐมนตรี สาวไทยเราได้รับบทบาทให้เป็น "ดอกไม้ของชาติ" ท่านผู้นำก็เลยอยากจะส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงให้ดูสวยเด่นเป็นสง่ายิ่งขึ้น ด้วยการสั่งรื้อชุดที่ใช้ในการประกวดนางสาวสยามใหม่ให้สวยกว่าเดิม จากที่เคยแต่งชุดไทยใส่สไบยาวกรอมเท้า ก็เลยต้องใส่เสื้อกระโปรงเย็บติดกัน เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า จากนั้นชุดประกวดก็เริ่มหดสั้นลงทุกปีๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2493 สาวงามทุกคนก็ต้องเดินโชว์โฉมในชุดว่ายน้ำเป็นครั้งแรก เล่นเอาฮือฮาทำอาเสี่ยผวากันทั้งประเทศมาถึงปี 2482 สยามประเทศได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" คำว่านางงามสยามจึงหายไป กลายเป็นการประกวด "นางสาวไทย" ตั้งแต่นั้นมา และเมื่องามฉลองรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไป การประกวดนางงามก็หายไปพักหนึ่งด้วย จนกระทั่งสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ยื่นมือเข้ามาจัดการ ในตอนแรกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ตั้งชื่อนางงามของตัวว่า "นางงามวชิราวุธ" ก่อน แต่เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเริ่มเติบโต ประกอบกับรัฐบาลอยากใช้ตำแหน่งนางงามมาเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้ประเทศ "นางงามวชิราวุธ" จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นางสาวไทย" และได้เริ่มส่งผู้ได้ตำแหน่งไปประกวดนางงามจักรวาลด้วย เพื่อให้ประเทศไทยได้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศมากขึ้น จุดประสงค์หลักของการประกวดนางสาวไทยในยุคหลังจากนั้นมาจึงเน้นไปที่การหาตัวแทนคนไทยไปประกวดในเวทีโลก รูปแบบการประกวดก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป ผู้เข้าประกวดต้องมีความสามารถหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะความสามารถทางภาษา เพื่อเอาไปแข่งในเวทีสากล บางปีถึงขนาดว่านางงามที่ได้ตำแหน่งเป็นเด็กไทยที่ไปโตเมืองนอกจนพูดไทยไม่ชัด แต่กรรมการก็เทคะแนนให้เพราะเธอพูดภาษาฝรั่งได้คล่องเป็นไฟ

แม้แต่วิธีให้คะแนนก็พัฒนาไปสู่ความอินเตอร์ขึ้นเรื่อยๆ จากแรกเริ่มที่ให้คะแนนกันง่ายๆ ด้วยการชูป้ายก็เปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลคะแนน และมีการวัดไอคิว และอีคิวของผู้เข้าประกวดด้วย เพื่อหาตัวแทนที่พร้อมจะเป็นหน้าเป็นตาของประเทศจริงๆ

ขอขอบคุณ ที่มา : WOMAN PLUS ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น