วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความหมายแท้จริงของ“อีโก้” ความหมายแท้จริงของคำว่าอีโก้ไม่ได้มีความหมายไปในเชิงลบอย่างที่เราเคยได้ยินมาใช่หรือไม่ และเราจะขอเป็นผู้นำคำตอบมาบอกกล่าวกับทุกคน การที่เรามักจะเรียกคนที่เชื่อมั่นในตัวเองหรือพวกหัวแข็ง ว่าเป็นพวกที่มีอีโก้สูง ซึ่งเป็นเรื่องที่สับสนกันเป็นอย่างมากนั้น ในความเป็นจริงแล้วทางหลักจิตเวชศาสตร์ จะมีการแบ่งแยกเอาไว้ระหว่าง จิตวิทยาอีโก้ (Ego psychology) และ จิตวิทยาตัวตน (Self psychology) โดย จิตวิทยาอีโก้จะเน้นไปเรื่องของความเข้าใจในการทำงานของอีโก้ และการสร้างดุลยภาพรวมไปถึงความเชื่อมโยงระหว่าง Id Ego และ Superego มากกว่า ขณะที่อาการหัวแข็งนั้นจะเป็นเรื่องของการแสดงความรับรู้ถึงตัวตนภายในของตัวเองออกมา จึงควรจัดเข้าไปในหมวดของ Self psychology ซึ่งจะศึกษาเรื่องความแข็งแกร่งและความเชื่อมโยงของความรับรู้ถึงตนเองของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ควรที่จะเรียกคนที่มีบุคลิกประเภทเชื่อมั่นในตัวเอง หัวแข็ง ไม่ฟังใครว่าเป็นพวกอีโก้สูงอีกต่อไป ส่วนผู้ที่คิดค้นหลักจิตวิทยานี้ก็คือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เจ้าของแนวคิด โครงสร้างทางจิต (Structure of Mind) และเป็นผู้นำของกลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis ) โดยฟรอยด์อธิบายว่า บุคลิกภาพเป็นผลแห่งระบบโครงสร้างของจิต 3 ระบบ คือ Id(อิด) Ego(อีโก้) และ Superego(ซูเปอร์อีโก้) ที่ทำหน้าที่สอดประสานกันจนกลายมาเป็นบุคลิกของมนุษย์แต่ละคน ซึ่งแต่ละคนก็จะแสดงออกมาในระดับที่แตกต่างกันไป โดย Id นั้นคือส่วนหนึ่งของสัญชาตญาณ หรือจิตไร้สำนึกที่มีมาแต่กำเนิด เป็นตัวที่มีพลังขับให้คนเราแสดงพฤติกรรมออกมาตามความพึงพอใจของตนเอง โดยมักจะเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์คือ ความต้องการทางเพศ และความก้าวร้าวรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลและความเหมาะสมใดๆ ขอเพียงได้ทำตามต้องการเป็นพอ ซึ่งหากความต้องการของ Id ไม่ได้รับการตอบสนองก็อาจจะเกิดความเครียดได้ ส่วน Ego จะเป็นสิ่งที่อยู่คั่นกลางระหว่าง Id และ Superego เพื่อทำให้เกิดดุลยภาพในความต้องการขั้นพื้นฐาน ซึ่ง Ego จะเป็นส่วนที่คอยควบคุมขัดเกลาพฤติกรรมของคนเรา เพื่อให้แสดงความต้องการตามสัญชาตญาณ ที่เกิดจาก Id ไปในทางที่เหมาะสมกับโลกแห่งความเป็นจริง และเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม โดยการเรียนรู้ศึกษาทั้งจากภายในครอบครัว สังคม และสถานศึกษานั้นจะเป็นการช่วยฝึกสอน Ego ในตัวคนเรา ให้สามารถปฏิบัติตามความต้องการในสังคมได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะเกิดความขัดแย้งกันระหว่าง Id และ Ego ตลอดเวลา ซึ่งแม้ว่าโดยส่วนใหญ่ Ego จะสามารถควบคุม Id เอาไว้ได้ แต่ในบางครั้งที่ Ego อ่อนแรงลง เช่นในขณะที่เรากำลังนอนหลับ Id ก็จะทำให้เราสามารถทำในสิ่งที่ต้องการ แต่ไม่สามารถทำได้ในโลกแห่งความเป็นจริงออกมาในรูปแบบของความฝันได้ ขณะที่ Superego นั้นจะอยู่ตรงข้ามกับความต้องการที่เกิดจาก Id เนื่องจาก Superego นั้นจะตั้งอยู่บนหลักขนบธรรมเนียม ประเพณี และจริยธรรม อันเป็นที่ยอมรับ โดยเด็กจะซึมซับรับรู้ได้จากผู้ปกครอง และสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งทำให้เด็กรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด และสิ่งไหนที่เป็นเรื่องต้องห้ามไม่ควรทำ รวมไปถึงการเป็นผู้ที่รู้จักเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยความเต็มใจ นอกจากนั้น Superego ยังจะคอยยับยั้งการทำงานของ Ego ที่ไปตอบสนองความต้องการของ Id หากเห็นว่าไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมกับมาตรฐานของสังคมอีกด้วย อนึ่ง ระบบทั้ง 3 จะต่อสู้กันอยู่ภายในจิตใจของเราอยู่ตลอดเวลา และหากว่าระบบใดเป็นผู้ชนะในช่วงเวลานั้นๆ คนเราก็จะแสดงพฤติกรรมไปตามระบบดังกล่าว ดังนั้น มนุษย์คนหนึ่งจึงอาจจะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วออกมาได้ ซิกมันด์ ฟรอยด์ http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9480000175563

ความหมายแท้จริงของ“อีโก้”

        ความหมายแท้จริงของคำว่าอีโก้ไม่ได้มีความหมายไปในเชิงลบอย่างที่เราเคยได้ยินมาใช่หรือไม่ และเราจะขอเป็นผู้นำคำตอบมาบอกกล่าวกับทุกคน
      
       การที่เรามักจะเรียกคนที่เชื่อมั่นในตัวเองหรือพวกหัวแข็ง ว่าเป็นพวกที่มีอีโก้สูง ซึ่งเป็นเรื่องที่สับสนกันเป็นอย่างมากนั้น ในความเป็นจริงแล้วทางหลักจิตเวชศาสตร์ จะมีการแบ่งแยกเอาไว้ระหว่าง จิตวิทยาอีโก้ (Ego psychology) และ จิตวิทยาตัวตน (Self psychology) โดย จิตวิทยาอีโก้จะเน้นไปเรื่องของความเข้าใจในการทำงานของอีโก้ และการสร้างดุลยภาพรวมไปถึงความเชื่อมโยงระหว่าง Id Ego และ Superego มากกว่า ขณะที่อาการหัวแข็งนั้นจะเป็นเรื่องของการแสดงความรับรู้ถึงตัวตนภายในของตัวเองออกมา จึงควรจัดเข้าไปในหมวดของ Self psychology ซึ่งจะศึกษาเรื่องความแข็งแกร่งและความเชื่อมโยงของความรับรู้ถึงตนเองของมนุษย์
      
       ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ควรที่จะเรียกคนที่มีบุคลิกประเภทเชื่อมั่นในตัวเอง หัวแข็ง ไม่ฟังใครว่าเป็นพวกอีโก้สูงอีกต่อไป
      
       ส่วนผู้ที่คิดค้นหลักจิตวิทยานี้ก็คือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เจ้าของแนวคิด โครงสร้างทางจิต (Structure of Mind) และเป็นผู้นำของกลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis ) โดยฟรอยด์อธิบายว่า บุคลิกภาพเป็นผลแห่งระบบโครงสร้างของจิต 3 ระบบ คือ Id(อิด) Ego(อีโก้) และ Superego(ซูเปอร์อีโก้) ที่ทำหน้าที่สอดประสานกันจนกลายมาเป็นบุคลิกของมนุษย์แต่ละคน ซึ่งแต่ละคนก็จะแสดงออกมาในระดับที่แตกต่างกันไป
      
       โดย Id นั้นคือส่วนหนึ่งของสัญชาตญาณ หรือจิตไร้สำนึกที่มีมาแต่กำเนิด เป็นตัวที่มีพลังขับให้คนเราแสดงพฤติกรรมออกมาตามความพึงพอใจของตนเอง โดยมักจะเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์คือ ความต้องการทางเพศ และความก้าวร้าวรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลและความเหมาะสมใดๆ ขอเพียงได้ทำตามต้องการเป็นพอ ซึ่งหากความต้องการของ Id ไม่ได้รับการตอบสนองก็อาจจะเกิดความเครียดได้
      
       ส่วน Ego จะเป็นสิ่งที่อยู่คั่นกลางระหว่าง Id และ Superego เพื่อทำให้เกิดดุลยภาพในความต้องการขั้นพื้นฐาน ซึ่ง Ego จะเป็นส่วนที่คอยควบคุมขัดเกลาพฤติกรรมของคนเรา เพื่อให้แสดงความต้องการตามสัญชาตญาณ ที่เกิดจาก Id ไปในทางที่เหมาะสมกับโลกแห่งความเป็นจริง และเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม โดยการเรียนรู้ศึกษาทั้งจากภายในครอบครัว สังคม และสถานศึกษานั้นจะเป็นการช่วยฝึกสอน Ego ในตัวคนเรา ให้สามารถปฏิบัติตามความต้องการในสังคมได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะเกิดความขัดแย้งกันระหว่าง Id และ Ego ตลอดเวลา ซึ่งแม้ว่าโดยส่วนใหญ่ Ego จะสามารถควบคุม Id เอาไว้ได้ แต่ในบางครั้งที่ Ego อ่อนแรงลง เช่นในขณะที่เรากำลังนอนหลับ Id ก็จะทำให้เราสามารถทำในสิ่งที่ต้องการ แต่ไม่สามารถทำได้ในโลกแห่งความเป็นจริงออกมาในรูปแบบของความฝันได้
      
       ขณะที่ Superego นั้นจะอยู่ตรงข้ามกับความต้องการที่เกิดจาก Id เนื่องจาก Superego นั้นจะตั้งอยู่บนหลักขนบธรรมเนียม ประเพณี และจริยธรรม อันเป็นที่ยอมรับ โดยเด็กจะซึมซับรับรู้ได้จากผู้ปกครอง และสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งทำให้เด็กรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด และสิ่งไหนที่เป็นเรื่องต้องห้ามไม่ควรทำ รวมไปถึงการเป็นผู้ที่รู้จักเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยความเต็มใจ นอกจากนั้น Superego ยังจะคอยยับยั้งการทำงานของ Ego ที่ไปตอบสนองความต้องการของ Id หากเห็นว่าไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมกับมาตรฐานของสังคมอีกด้วย
      
       อนึ่ง ระบบทั้ง 3 จะต่อสู้กันอยู่ภายในจิตใจของเราอยู่ตลอดเวลา และหากว่าระบบใดเป็นผู้ชนะในช่วงเวลานั้นๆ คนเราก็จะแสดงพฤติกรรมไปตามระบบดังกล่าว ดังนั้น มนุษย์คนหนึ่งจึงอาจจะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วออกมาได้

ซิกมันด์ ฟรอยด์
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9480000175563

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น