วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 1. กลุ่ม 1 มี 3-6 ลักษณะ ได้แก่ 1.1 Curtis well and William (1960 : 20) ได้รวบรวมคุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ 1.1.1 ไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางความลึกลับที่อธิบายไม่ได้ 1.1.2 มีอุดมคติและความกระตือรือร้น อยากรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เกิดขึ้น โดยชอบทดสอบความจริงที่มีอยู่ไว้แล้ว มีการสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน ชอบหาข้อมูลต่าง ๆ 1.1.3 มีนิสัยรักความจริงและเชื่อเหตุการณ์ที่ตนพิสูจน์ได้ 1.1.3.1 ยอมรับในสิ่งที่ตนพิจารณาแล้วอาจเป็นไปได้ 1.1.3.2 ยอมรับความจริงที่ได้รับการพิสูจน์ 1.1.4 มีนิสัยที่จะประมาณเหตุผลและความเชื่อมั่น ซื่อสัตย์ต่อหลักวิชาและมีเหตุเพียงพอในการกระทำ 1.1.5 ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างและยินดีจะกระทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ความจริงได้เสมอ 1.2 สมหวัง พิริยานุวัฒน์ และจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช (2524 : 6) ได้เสนอคุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ประการ คือ 1.2.1 มีเหตุผล ชอบแสวงหาหาสาเหตุของสิ่งต่าง ๆ 1.2.2 ชอบสงสัย ชอบตรวจตรา และประเมินกรรมวิธี กลวิธีและประสบการณ์ต่าง ๆ 1.2.3 ใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น 1.2.4 ช่างสังเกต 1.2.5 มีความคิดเห็นและลงสรุปบนรากฐานของข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอ 1.2.6 มีความอยากรู้อยากเห็น 1.3 Billeh and Zakhariades (1975 : 157-161) สรุปคุณลักษณะสำคัญของบุคคลที่เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้ 1.3.1 มีเหตุผล 1.3.1.1 เชื่อมั่นในคุณค่าของเหตุผล 1.3.1.2 มีแนวโน้มที่จะทดสอบความเชื่อต่าง ๆ 1.3.1.3 แสวงหาเหตุผลปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ 1.3.1.4 ยอมรับคำพิพากษ์วิจารณ์ที่มีเหตุผล 1.3.1.5 ท้าทายให้มีการพิสูจน์ความเชื่อเท็จจริง 1.3.2 มีความอยากรู้อยากเห็น 1.3.2.1 มีความต้องการที่จะเข้าใจสถานการณ์ใหม่ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยรู้ที่มีอยู่ 1.3.2.2 มีความต้องการที่จะถามว่า ทำไมอย่างไร ต่อปรากฎการณ์ต่าง ๆ 1.3.2.3 มีความต้องการหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ 1.3.3 มีความใจกว้าง 1.3.3.1 เต็มใจที่จะทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นและข้อสรุป 1.3.3.2 มีความปรารถนาที่จะรับรู้ความคิดเห็นใหม่ 1.3.3.3 ยอมรับความคิดเห็นหรือวิธีการแปลก ๆ 1.3.4 ไม่เชื่อโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือไม่ยอมรับความเชื่อถือเกี่ยวกับโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่อธิบายตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ 1.3.5 มีความซื่อสัตย์และใจเป็นกลาง 1.3.5.1 สังเกตและบันทึกผลต่าง ๆ ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ 1.3.5.2 ไม่นำสภาพสังคมหรือเศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวกับการตีความ 1.3.5.3 ไม่ยอมให้ความเชื่อหรือไม่ชอบส่วนตัวมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจใดๆ ในทางวิทยาศาสตร์ 1.3.6 พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ 1.3.6.1 ไม่เต็มใจที่จะสรุปก่อนที่จะมีหลักฐานเพียงพอ 1.3.6.2 ไม่เต็มใจที่จะยอมรับความจริงต่าง ๆ เมื่อไม่มีข้อสนับสนุนมาพิสูจน์ให้เห็นจริง 1.4 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2527 : 5) ได้จำแนกองค์ประกอบของเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 7 ประการคือ 1.4.1 เปลี่ยนแปลงความคิดเห็นได้เมื่อมีเหตุผลถูกต้องกว่า 1.4.2 มีความบากบั่นในการทำงาน 1.4.3 ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น 1.4.4 ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น 1.4.5 มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน 1.4.6 ยอมรับข้อผิดพลาด มีความรับผิดชอบในการกระทำของตน 1.4.7 ไม่เชื่อโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 2. กลุ่มที่ 2 มี 7-11 คุณลักษณะได้แก่ 2.1 Haney (1969 : 204) ได้กำหนดลักษณะเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์มี 8 ลักษณะ ดังนี้ 2.1.1 อยากรู้อยากเห็น (Curiosity) หมายถึง ความพอใจที่จะเผชิญปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยไม่เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ 2.1.2 ความมีเหตุผล (Rationality) หมายถึง การใช้เหตุผลในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยไม่เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ 2.1.3 มีความรอบคอบในการลงข้อสรุปหรือตัดสินใจหรือความรอบคอบ(Suspended - Judgment) หมายถึง การไม่รับตัดสินใจหรือลงข้อสรุปโดยปราศจากข้อสนับสนุนเพียงพอ 2.1.4 ความมีใจกว้าง (Open-Mindedness) หมายถึง ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของตน 2.1.5 การใช้ความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ (Critical Mindedness) หมายถึง ความพยายามที่จะหาข้อมูลสนับสนุนหลักฐานอ้างอิงต่าง ๆ ก่อนที่จะยอมรับความคิดเห็นใด ๆ รู้จักโต้แย้งและหาหลักฐานสนับสนุนความคิดตนเอง 2.1.6 มีความเป็นปรนัย (Objective) หมายถึง การปรนัยหรือความถูกต้องเที่ยงตรงในการรวบรวมข้อมูล การจัดกระทำข้อมูล การตีความหมายโดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง 2.1.7 ความซื่อสัตย์ (Honesty) หมายถึง ความถูกต้องในการรายงานผลการศึกษาโดยปราศจากอคติ ความรู้สึกส่วนตัวหรือปราศจากอิทธิพลของสังคม เศรษฐกิจ และบ้านเมือง 2.18 การยอมรับในข้อจำกัด (Humility) หมายถึง การยอมรับในข้อจำกัดของการแสวงหาความรู้ ความจริงที่ค้นพบวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ในวันหน้า 2.2 Saunders (1955 : 11-12) ได้กล่าวถึงผู้มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ว่ามีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 2.2.1 มีระเบียบในการดำเนินชีวิต 2.2.2 รู้จักสังเกต 2.2.3 ไม่ลำเอียงในการทดลอง 2.2.4 รู้จักสื่อข่าวสารที่ได้รับ 2.2.5 ระมัดระวังความผิดพลาดอันเกิดขึ้นและรู้จักวิธีป้องกัน 2.2.6 มีจิตใจกว้างขวาง 2.2.7 มีความพร้อมที่จะหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ 2.2.8 มีความเต็มใจที่จะทดสอบความจริง 2.2.9 ไม่สรุปอะไรจนกว่าจะมีหลักฐานยืนยัน 2.2.10 มีทักษะในการตั้งสมมติฐานจากข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ 2.3 Neuman (1993 : 13-16) ได้เสนอคุณลักษณะพฤติกรรมของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 7 ประการ 2.3.1 มีความอยากรู้อยากเห็น 2.3.2 มีความซื่อสัตย์ 2.3.3 มีความเป็นปรนัย 2.3.4 มีใจกว้าง 2.3.5 มีความวิริยะอุตสาหะ 2.3.6 มีความสงสัย 2.3.7 มีความรอบคอบในการลงข้อสรุป หรือตัดสินใจ 3. กลุ่มที่ 3 มี 12-20 คุณลักษณะ ได้แก่ Neuman (1993 : 17-18) ได้สรุปคุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 2 ประการ คือ 1. ด้านความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความปรารถนาสำรวจตรวจสอบแนวความคิด สิ่งต่าง ๆ ที่แปลกใหม่ มีความปรารถนา ในการสำรวจค้นหาข้อสนเทศเพิ่มเติมค้นคว้าหลักฐานมาสนับสนุนข้อสรุปต่าง ๆ สนใจประเด็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่พบเห็นในสื่อมวลชนปรารถนามีคำอธิบายที่เชื่อถือได้ในการตอบคำถามที่สนใจ 2. ความใจกว้าง (Openness) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความเต็มใจที่ให้ผู้อื่นวิพากษ์ข้อมูลหรือแนวคิดที่ตนเองเสาะหาหลักฐานมาสนับสนุนข้อสรุปต่าง ๆ 3. มุ่งมั่นในความจริง (Reality Orientation) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่แน่นอนเสมอ ตระหนักว่าแหล่งความรู้หลากหลาย มีความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม 4. ความชอบเสี่ยง (Risk - taking) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ เต็มใจที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์และล้มเหลวในการทำงาน แสดงความคิดเห็นความรู้สึกหรือการวิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลาร่วมอภิปรายอย่างอิสระในการเรียนวิทยาศาสตร์ เต็มใจที่จะใช้แนวทางใหม่ ๆ ในการศึกษาหารือในการทำงานเสมอ 5. ความเป็นปรนัย (Objectivity) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ แสดงให้เห็นถึงความยึดมั่นในข้อสรุปที่มีหลักฐานสนับสนุน ยึดมั่นในข้อสรุปเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการตรวจ พิสูจน์แล้ว 6. ความแม่นยำ (Precision) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ยึดมั่นในข้อความสมนัยกัน และหาคำนิยามของศัพท์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความต้องการตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ ในแนวทางแนวความคิดที่ต่างไปจากเดิม 7. ความเชื่อมั่น (Confidence) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสืบเสาะหาความรู้ได้อย่างสำเร็จ ยึดมั่น และเต็มใจที่จะใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ 8. ความอุตสาหะวิริยะ (Perseverance) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ติดตาม ค้นคว้าสืบค้นหาคำตอบของปัญหาต่าง ๆ อย่างไม่ย่อท้อ จนกว่าจะได้คำตอบดังกล่าว ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอดทนจนกว่าจะได้ตามที่ต้องการ 9. ความพึงพอใจ (Satisfaction) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความพึงพอใจในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ มีความเชื่อมั่นในการมีประสบการณ์สืบเสาะที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคตได้ 10. ยึดมั่นในโครงสร้างทฤษฎี (Respect for Theoretical Structure) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ตระหนักถึงความสำคัญของตัวแบบทฤษฎีและมโนคติ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบความรู้ต่าง ๆ ตระหนักถึง ความสำคัญของวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ในการสร้างความรู้ ทฤษฎี และมโนคติ 11. ความรับผิดชอบ (Responsibility) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความเต็มใจทำงานนอกเหนือไปจากที่มอบหมาย ยึดมั่นในการมีหลักฐานอย่างเพียงพอ ในการที่จะได้มาซึ่งข้อสรุปใด ๆเสนอแนะแนวทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุงขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำงาน เคารพในสิทธิของบุคคลอื่นในการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน มีความเต็มใจในการแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่นยึดมั่นในการทำงานเพื่อประโยชน์ของหมู่คณะ มีเหตุผลเสมอในการวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ 12. ประชามติและการช่วยเหลือ (Consensus and Collaboration) ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงแนวความคิด รูปแบบการทำงานเมื่อทำงานร่วมกับคนอื่น ชอบแสวงหาความชัดเจนของแนวคิดของคนอื่นหรือกรอบความคิดของคนอื่น สรุปได้ว่า เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์เป็นความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อของบุคคลที่มีต่อวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และยังเป็นกระบวนการหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้กระทำเพื่อให้เกิดความรู้ขึ้นมา สามารถวัดได้โดยใช้แบบวัด

คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1. กลุ่ม 1 มี 3-6 ลักษณะ ได้แก่
     1.1 Curtis well and William  (1960 : 20) ได้รวบรวมคุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์
1.1.1 ไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางความลึกลับที่อธิบายไม่ได้
1.1.2 มีอุดมคติและความกระตือรือร้น อยากรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เกิดขึ้น โดยชอบทดสอบความจริงที่มีอยู่ไว้แล้ว มีการสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน ชอบหาข้อมูลต่าง ๆ
1.1.3 มีนิสัยรักความจริงและเชื่อเหตุการณ์ที่ตนพิสูจน์ได้
1.1.3.1 ยอมรับในสิ่งที่ตนพิจารณาแล้วอาจเป็นไปได้
1.1.3.2 ยอมรับความจริงที่ได้รับการพิสูจน์
1.1.4 มีนิสัยที่จะประมาณเหตุผลและความเชื่อมั่น ซื่อสัตย์ต่อหลักวิชาและมีเหตุเพียงพอในการกระทำ
1.1.5 ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างและยินดีจะกระทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ความจริงได้เสมอ
     1.2 สมหวัง พิริยานุวัฒน์ และจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช (2524 : 6) ได้เสนอคุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ประการ คือ
1.2.1 มีเหตุผล ชอบแสวงหาหาสาเหตุของสิ่งต่าง ๆ
1.2.2 ชอบสงสัย ชอบตรวจตรา และประเมินกรรมวิธี กลวิธีและประสบการณ์ต่าง ๆ
1.2.3 ใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น
1.2.4 ช่างสังเกต
1.2.5 มีความคิดเห็นและลงสรุปบนรากฐานของข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอ
1.2.6 มีความอยากรู้อยากเห็น
     1.3 Billeh and Zakhariades (1975 : 157-161)  สรุปคุณลักษณะสำคัญของบุคคลที่เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้
1.3.1 มีเหตุผล
1.3.1.1 เชื่อมั่นในคุณค่าของเหตุผล
1.3.1.2 มีแนวโน้มที่จะทดสอบความเชื่อต่าง ๆ
1.3.1.3 แสวงหาเหตุผลปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
1.3.1.4 ยอมรับคำพิพากษ์วิจารณ์ที่มีเหตุผล
1.3.1.5 ท้าทายให้มีการพิสูจน์ความเชื่อเท็จจริง
1.3.2 มีความอยากรู้อยากเห็น
1.3.2.1 มีความต้องการที่จะเข้าใจสถานการณ์ใหม่ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยรู้ที่มีอยู่
1.3.2.2 มีความต้องการที่จะถามว่า ทำไมอย่างไร ต่อปรากฎการณ์ต่าง ๆ
1.3.2.3 มีความต้องการหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
1.3.3 มีความใจกว้าง
1.3.3.1 เต็มใจที่จะทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นและข้อสรุป
1.3.3.2 มีความปรารถนาที่จะรับรู้ความคิดเห็นใหม่
1.3.3.3 ยอมรับความคิดเห็นหรือวิธีการแปลก ๆ
1.3.4 ไม่เชื่อโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือไม่ยอมรับความเชื่อถือเกี่ยวกับโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่อธิบายตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้
1.3.5 มีความซื่อสัตย์และใจเป็นกลาง
1.3.5.1 สังเกตและบันทึกผลต่าง ๆ ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ
1.3.5.2 ไม่นำสภาพสังคมหรือเศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวกับการตีความ
1.3.5.3 ไม่ยอมให้ความเชื่อหรือไม่ชอบส่วนตัวมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจใดๆ ในทางวิทยาศาสตร์
1.3.6 พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ
1.3.6.1 ไม่เต็มใจที่จะสรุปก่อนที่จะมีหลักฐานเพียงพอ
1.3.6.2 ไม่เต็มใจที่จะยอมรับความจริงต่าง ๆ เมื่อไม่มีข้อสนับสนุนมาพิสูจน์ให้เห็นจริง
     1.4 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2527 : 5) ได้จำแนกองค์ประกอบของเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 7 ประการคือ
1.4.1 เปลี่ยนแปลงความคิดเห็นได้เมื่อมีเหตุผลถูกต้องกว่า
1.4.2 มีความบากบั่นในการทำงาน
1.4.3 ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
1.4.4 ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
1.4.5 มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน
1.4.6 ยอมรับข้อผิดพลาด มีความรับผิดชอบในการกระทำของตน
1.4.7 ไม่เชื่อโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์

2. กลุ่มที่ 2 มี 7-11 คุณลักษณะได้แก่
     2.1 Haney (1969 : 204) ได้กำหนดลักษณะเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์มี 8 ลักษณะ ดังนี้
2.1.1 อยากรู้อยากเห็น (Curiosity) หมายถึง ความพอใจที่จะเผชิญปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยไม่เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ
2.1.2 ความมีเหตุผล (Rationality) หมายถึง การใช้เหตุผลในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยไม่เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ
2.1.3 มีความรอบคอบในการลงข้อสรุปหรือตัดสินใจหรือความรอบคอบ(Suspended - Judgment) หมายถึง การไม่รับตัดสินใจหรือลงข้อสรุปโดยปราศจากข้อสนับสนุนเพียงพอ
2.1.4 ความมีใจกว้าง (Open-Mindedness) หมายถึง ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของตน
2.1.5 การใช้ความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ (Critical Mindedness) หมายถึง ความพยายามที่จะหาข้อมูลสนับสนุนหลักฐานอ้างอิงต่าง ๆ ก่อนที่จะยอมรับความคิดเห็นใด ๆ รู้จักโต้แย้งและหาหลักฐานสนับสนุนความคิดตนเอง
2.1.6 มีความเป็นปรนัย (Objective) หมายถึง การปรนัยหรือความถูกต้องเที่ยงตรงในการรวบรวมข้อมูล การจัดกระทำข้อมูล การตีความหมายโดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง
2.1.7 ความซื่อสัตย์ (Honesty) หมายถึง ความถูกต้องในการรายงานผลการศึกษาโดยปราศจากอคติ ความรู้สึกส่วนตัวหรือปราศจากอิทธิพลของสังคม เศรษฐกิจ และบ้านเมือง
2.18 การยอมรับในข้อจำกัด (Humility) หมายถึง การยอมรับในข้อจำกัดของการแสวงหาความรู้ ความจริงที่ค้นพบวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ในวันหน้า
     2.2 Saunders (1955 : 11-12) ได้กล่าวถึงผู้มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ว่ามีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
2.2.1 มีระเบียบในการดำเนินชีวิต
2.2.2 รู้จักสังเกต
2.2.3 ไม่ลำเอียงในการทดลอง
2.2.4 รู้จักสื่อข่าวสารที่ได้รับ
2.2.5 ระมัดระวังความผิดพลาดอันเกิดขึ้นและรู้จักวิธีป้องกัน
2.2.6 มีจิตใจกว้างขวาง
2.2.7 มีความพร้อมที่จะหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
2.2.8 มีความเต็มใจที่จะทดสอบความจริง
2.2.9 ไม่สรุปอะไรจนกว่าจะมีหลักฐานยืนยัน
2.2.10 มีทักษะในการตั้งสมมติฐานจากข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ
     2.3 Neuman (1993 : 13-16) ได้เสนอคุณลักษณะพฤติกรรมของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 7 ประการ
2.3.1 มีความอยากรู้อยากเห็น
2.3.2 มีความซื่อสัตย์
2.3.3 มีความเป็นปรนัย
2.3.4 มีใจกว้าง
2.3.5 มีความวิริยะอุตสาหะ
2.3.6 มีความสงสัย
2.3.7 มีความรอบคอบในการลงข้อสรุป หรือตัดสินใจ

3. กลุ่มที่ 3 มี 12-20 คุณลักษณะ ได้แก่
Neuman (1993 : 17-18) ได้สรุปคุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 2 ประการ คือ
      1. ด้านความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความปรารถนาสำรวจตรวจสอบแนวความคิด สิ่งต่าง ๆ ที่แปลกใหม่ มีความปรารถนา ในการสำรวจค้นหาข้อสนเทศเพิ่มเติมค้นคว้าหลักฐานมาสนับสนุนข้อสรุปต่าง ๆ สนใจประเด็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่พบเห็นในสื่อมวลชนปรารถนามีคำอธิบายที่เชื่อถือได้ในการตอบคำถามที่สนใจ
     2. ความใจกว้าง (Openness)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความเต็มใจที่ให้ผู้อื่นวิพากษ์ข้อมูลหรือแนวคิดที่ตนเองเสาะหาหลักฐานมาสนับสนุนข้อสรุปต่าง ๆ
     3. มุ่งมั่นในความจริง (Reality Orientation)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่แน่นอนเสมอ ตระหนักว่าแหล่งความรู้หลากหลาย มีความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
     4. ความชอบเสี่ยง (Risk - taking)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ เต็มใจที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์และล้มเหลวในการทำงาน แสดงความคิดเห็นความรู้สึกหรือการวิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลาร่วมอภิปรายอย่างอิสระในการเรียนวิทยาศาสตร์ เต็มใจที่จะใช้แนวทางใหม่ ๆ ในการศึกษาหารือในการทำงานเสมอ
     5. ความเป็นปรนัย (Objectivity)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ แสดงให้เห็นถึงความยึดมั่นในข้อสรุปที่มีหลักฐานสนับสนุน ยึดมั่นในข้อสรุปเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการตรวจ พิสูจน์แล้ว
   

     6. ความแม่นยำ (Precision)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ยึดมั่นในข้อความสมนัยกัน และหาคำนิยามของศัพท์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความต้องการตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ ในแนวทางแนวความคิดที่ต่างไปจากเดิม
     7. ความเชื่อมั่น (Confidence)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสืบเสาะหาความรู้ได้อย่างสำเร็จ ยึดมั่น และเต็มใจที่จะใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์
     8. ความอุตสาหะวิริยะ (Perseverance)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ติดตาม ค้นคว้าสืบค้นหาคำตอบของปัญหาต่าง ๆ อย่างไม่ย่อท้อ จนกว่าจะได้คำตอบดังกล่าว ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอดทนจนกว่าจะได้ตามที่ต้องการ
     9. ความพึงพอใจ (Satisfaction)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความพึงพอใจในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ มีความเชื่อมั่นในการมีประสบการณ์สืบเสาะที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคตได้
     10. ยึดมั่นในโครงสร้างทฤษฎี (Respect for Theoretical Structure)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ตระหนักถึงความสำคัญของตัวแบบทฤษฎีและมโนคติ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบความรู้ต่าง ๆ ตระหนักถึง  ความสำคัญของวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ในการสร้างความรู้ ทฤษฎี และมโนคติ
     11. ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความเต็มใจทำงานนอกเหนือไปจากที่มอบหมาย ยึดมั่นในการมีหลักฐานอย่างเพียงพอ ในการที่จะได้มาซึ่งข้อสรุปใด ๆเสนอแนะแนวทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุงขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำงาน เคารพในสิทธิของบุคคลอื่นในการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน มีความเต็มใจในการแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่นยึดมั่นในการทำงานเพื่อประโยชน์ของหมู่คณะ มีเหตุผลเสมอในการวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ
     12. ประชามติและการช่วยเหลือ (Consensus and Collaboration)
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ มีความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงแนวความคิด รูปแบบการทำงานเมื่อทำงานร่วมกับคนอื่น ชอบแสวงหาความชัดเจนของแนวคิดของคนอื่นหรือกรอบความคิดของคนอื่น

     สรุปได้ว่า เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์เป็นความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อของบุคคลที่มีต่อวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และยังเป็นกระบวนการหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้กระทำเพื่อให้เกิดความรู้ขึ้นมา สามารถวัดได้โดยใช้แบบวัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น