วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การสอนธรรมให้สนุกและปฏิบัติได้ 1. การสอนธรรม ด้วยการบอกเล่าและบรรยายอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยให้เด็กได้รับการเรียนรู้ หรือได้รับการศึกษาแต่ อย่างใด ได้เพียง ข้อมูลที่ท่องสอบเท่านั้น 2. การกระทำ สำคัญกว่าการพูด สอนธรรม 1 ข้อ แล้วเขาปฏิบัติได้ ดีกว่า สอนธรรมะมากมาย แต่ปฏิบัติไม่ได้เลยสักข้อ 3. การที่เด็กเชื่อฟัง ตอบคำถามได้ ท่องจำหลักได้ ไม่ได้หมายความว่าเขามีคุณธรรมแล้ว การสอนธรรม ควรวัดผลจาก การปฏิบัติจริง 4. การสอนเด็ก ต้องใช้วิธีการที่ต่างไปจากการสอนผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่สนใจธรรม ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เพราะรู้ว่าดีมีประโยชน์ มาก่อนแล้ว แต่เด็กไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน เด็กเข้าวัด และจะยินดีปฏิบัติธรรมก็เพราะน่าสนใจและสนุกหรือไม่เท่านั้น 5. การสอนธรรม จะได้ผล เมื่อคนเรา”คิดได้” และ”คิดเป็น” แต่เด็กยังคิดไม่ได้ และคิดไม่เป็น จึงควรสอนเด็กให้ “คิด” ก่อนที่จะสอน “แนวคิด” ในเรื่องนั้นๆ 6. การสอนธรรมะ เป็นเรื่องยากที่ต้องสอนให้คนเกิดความซาบซึ้งศรัทธาก่อน แล้วเขาจึงพร้อมจะนำไปปฏิบัติได้ 7. แต่การสอนธรรมปัจจุบัน มักจะสอนแต่ชื่อธรรมะ ไม่ใช่ตัวธรรมะ 8. การสอนธรรมะที่แท้จริงต้องประกอบด้วย การสื่อถึงสัจธรรม สภาพธรรมที่ปรากฏและความเข้าใจที่จะปฏิบัติต่อสภาพ ธรรมนั้น 9. การสอนธรรมะสามเณรภาคฤดูร้อน ในฐานะสอนธรรมะแก่เด็กต้องพิจารณาถึงการสอนที่เหมาะกับวัย สำหรับเด็กนั้น ต้องใช้การสอน - สอนจากง่าย ไปหายาก - สอนจากรูปธรรม ไปหานามธรรม - สอนจากเรื่องใกล้ตัว ไปหาสิ่งไกลตัว - สอนจากปัจจุบันไปหาอดีตและอนาคต 10. การสอนให้ได้ผล อยู่ที่กระบวนการสอน โดยต้องคำนึงถึงวัย และประสบการณ์ของเด็ก โดยต้องเข้าใจจิตวิทยา เด็กด้วย กระบวนการสอนธรรมแบบบูรณาการ การสอนด้วยฐานการเรียนรู้ : ห้องเรียนที่เคลื่อนไหว - ฝึกพฤติกรรมไปพร้อมกับการเรียนธรรมะ - ฐานวิชาการ ผสมกับฐานการปฏิบัติ - ใช้ในการสอนหรือการสอบก็ได้ การสอนด้วยเกม : สนุกแต่มีคติ - สนุกสนานวันละเกม - สรุปมีสาระจากการเล่น - เกมนันทนาการ - เกมเพื่อการเรียนรู้ - เกมเพื่อละลายพฤติกรรม การสอนด้วยนิทาน : การสอนด้วยตัวอย่าง - นิทานชาดก - นิทานธรรมบท - นิทานขำขัน - นิทานกฎแห่งกรรม - นิทานพื้นบ้าน - เรื่องจริง อิงนิยาย การสอนพร้อมกับกิจกรรม : สอนไปทำไป สอนด้วยการกระทำ - กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ : การทำงาน คือการปฏิบัติธรรม - กิจกรรมบิณฑบาต : เรียนรู้การให้ เรียนรู้ชุมชน เรียนรู้หน้าที่ - กิจกรรมสวดมนต์ ภาวนา : เรียนรู้ตนเอง - กิจกรรมการธุดงค์ : เรียนรู้โลกกว้างและตนเอง - กิจกรรมกลุ่ม : เรียนรู้เพื่อน - กิจวัตรประจำวัน : เรียนรู้หน้าที่ การสอนด้วยสื่อ : สอนจากภาพและเสียง - วีดีโอ - ซีดี - เทปเสียง : ดอกไม้คุณธรรม,เสียงปลุก เสียงธรรม,พุทธประวัติ - สไลด์ - คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย การสร้างระเบียบในการอบรม : อยู่ร่วมกันตามกติกา - อย่าลงโทษพร่ำเพรื่อ - ลงโทษให้ได้ประโยชน์ - ให้สำนึกแล้ว จึงลงโทษ - อย่าประกาศประจาน - อย่าเรียกเข้าห้องประชุม - อย่าลงโทษด้วยการนั่งสมาธิ การปลูกจิตสำนึก - กิจกรรมพระคุณแม่ - กิจกรรมจุดเทียนปัญญา - กิจกรรมสารภาพความผิด การปรับพฤติกรรม คือ เครื่องวัดผลสำเร็จของการสอน - จะปรับพฤติกรรมได้ ต้องปรับทัศนคติ (ใจ) - พฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ กาย วาจา ตัวอย่างการปลูกฝังพฤติกรรมชาวพุทธ ทางกาย - กราบงาม กราบถูกต้อง - สำรวม เก็บมือ จนเป็นนิสัย - ไม่ยืนดื่มน้ำ - ไม่วิ่ง - ไม่เล่นในห้องประชุม - ทำอะไรตามระเบียบแถว - เข้าห้องประชุมตรงเวลา - ที่พัก ที่อบรมสะอาด - ตื่นและหลับตามเวลา ทางวาจา - พูดมีหางเสียง เจ้าค่ะ ครับผม - การสัมโมทนียกถา - การท่องพุทธศาสนสุภาษิตและบทกลอนธรรมะ - ไม่ตะโกนพูดกัน - พูดกับเพื่อนด้วยคำสุภาพ - ขอโทษ ขอบคุณ ขอบใจ ไม่เป็นไร อนุโมทนาบุญ ทางใจ - สงบใจได้ไม่ต่ำกว่า 20 นาที - คิดในเชิงบวก - อดได้ ทนได้ รอได้ สิ่งที่น่าจะต้องได้เมื่อจบโครงการแล้ว - เด็กรู้จักใส่บาตร - เด็กรู้จักปฏิบัติต่อพระสงฆ์ - เด็กรู้จักไหว้พระก่อนนอน - เด็กเคารพพ่อแม่ ครูอาจารย์ - เด็กไม่พูดคำหยาบ - เด็กมีวินัยในตน การเป็นพระวิทยากรที่ดี - มีเทคนิคการสร้างสัมพันธภาพที่ดี - รู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง - มีเทคนิคสร้างอารมณ์ขัน - มีจิตวิทยาในการจูงใจ - คิด ค้นคว้า - ใจดี รู้ตามกาลเทศะ - มีปฏิภาณไหวพริบและความกล้า - สร้างความสามารถพิเศษ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน - ประพฤติตนเป็นคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี - รู้จักตัวเอง และมีความกระจ่างในตน


การสอนธรรมให้สนุกและปฏิบัติได้
      
1. การสอนธรรม ด้วยการบอกเล่าและบรรยายอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยให้เด็กได้รับการเรียนรู้ หรือได้รับการศึกษาแต่
อย่างใด ได้เพียง ข้อมูลที่ท่องสอบเท่านั้น
2. การกระทำ สำคัญกว่าการพูด สอนธรรม 1 ข้อ แล้วเขาปฏิบัติได้ ดีกว่า สอนธรรมะมากมาย แต่ปฏิบัติไม่ได้เลยสักข้อ
3. การที่เด็กเชื่อฟัง ตอบคำถามได้  ท่องจำหลักได้ ไม่ได้หมายความว่าเขามีคุณธรรมแล้ว การสอนธรรม ควรวัดผลจาก
การปฏิบัติจริง
4. การสอนเด็ก ต้องใช้วิธีการที่ต่างไปจากการสอนผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่สนใจธรรม ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เพราะรู้ว่าดีมีประโยชน์
มาก่อนแล้ว แต่เด็กไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน เด็กเข้าวัด และจะยินดีปฏิบัติธรรมก็เพราะน่าสนใจและสนุกหรือไม่เท่านั้น
5. การสอนธรรม จะได้ผล เมื่อคนเรา”คิดได้” และ”คิดเป็น” แต่เด็กยังคิดไม่ได้ และคิดไม่เป็น จึงควรสอนเด็กให้ “คิด”
ก่อนที่จะสอน “แนวคิด” ในเรื่องนั้นๆ
6. การสอนธรรมะ เป็นเรื่องยากที่ต้องสอนให้คนเกิดความซาบซึ้งศรัทธาก่อน แล้วเขาจึงพร้อมจะนำไปปฏิบัติได้
7. แต่การสอนธรรมปัจจุบัน มักจะสอนแต่ชื่อธรรมะ ไม่ใช่ตัวธรรมะ
8. การสอนธรรมะที่แท้จริงต้องประกอบด้วย การสื่อถึงสัจธรรม สภาพธรรมที่ปรากฏและความเข้าใจที่จะปฏิบัติต่อสภาพ
ธรรมนั้น
9. การสอนธรรมะสามเณรภาคฤดูร้อน ในฐานะสอนธรรมะแก่เด็กต้องพิจารณาถึงการสอนที่เหมาะกับวัย สำหรับเด็กนั้น
ต้องใช้การสอน
- สอนจากง่าย ไปหายาก
- สอนจากรูปธรรม  ไปหานามธรรม
- สอนจากเรื่องใกล้ตัว ไปหาสิ่งไกลตัว
- สอนจากปัจจุบันไปหาอดีตและอนาคต
10. การสอนให้ได้ผล อยู่ที่กระบวนการสอน โดยต้องคำนึงถึงวัย และประสบการณ์ของเด็ก โดยต้องเข้าใจจิตวิทยา
เด็กด้วย                                                                                                                   

กระบวนการสอนธรรมแบบบูรณาการ
การสอนด้วยฐานการเรียนรู้ : ห้องเรียนที่เคลื่อนไหว
- ฝึกพฤติกรรมไปพร้อมกับการเรียนธรรมะ
- ฐานวิชาการ ผสมกับฐานการปฏิบัติ
- ใช้ในการสอนหรือการสอบก็ได้
การสอนด้วยเกม : สนุกแต่มีคติ
- สนุกสนานวันละเกม
- สรุปมีสาระจากการเล่น
- เกมนันทนาการ
- เกมเพื่อการเรียนรู้
- เกมเพื่อละลายพฤติกรรม

การสอนด้วยนิทาน : การสอนด้วยตัวอย่าง
- นิทานชาดก
- นิทานธรรมบท
- นิทานขำขัน
- นิทานกฎแห่งกรรม
- นิทานพื้นบ้าน
- เรื่องจริง อิงนิยาย

การสอนพร้อมกับกิจกรรม : สอนไปทำไป สอนด้วยการกระทำ
- กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ : การทำงาน คือการปฏิบัติธรรม
- กิจกรรมบิณฑบาต : เรียนรู้การให้ เรียนรู้ชุมชน เรียนรู้หน้าที่
- กิจกรรมสวดมนต์ ภาวนา : เรียนรู้ตนเอง
- กิจกรรมการธุดงค์ : เรียนรู้โลกกว้างและตนเอง
- กิจกรรมกลุ่ม : เรียนรู้เพื่อน
- กิจวัตรประจำวัน : เรียนรู้หน้าที่

การสอนด้วยสื่อ :  สอนจากภาพและเสียง
- วีดีโอ
- ซีดี
- เทปเสียง : ดอกไม้คุณธรรม,เสียงปลุก เสียงธรรม,พุทธประวัติ
- สไลด์
- คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
การสร้างระเบียบในการอบรม : อยู่ร่วมกันตามกติกา
- อย่าลงโทษพร่ำเพรื่อ
- ลงโทษให้ได้ประโยชน์
- ให้สำนึกแล้ว จึงลงโทษ
- อย่าประกาศประจาน
- อย่าเรียกเข้าห้องประชุม
- อย่าลงโทษด้วยการนั่งสมาธิ

การปลูกจิตสำนึก
- กิจกรรมพระคุณแม่
- กิจกรรมจุดเทียนปัญญา
- กิจกรรมสารภาพความผิด

การปรับพฤติกรรม คือ เครื่องวัดผลสำเร็จของการสอน
- จะปรับพฤติกรรมได้ ต้องปรับทัศนคติ (ใจ)
- พฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ กาย วาจา

ตัวอย่างการปลูกฝังพฤติกรรมชาวพุทธ
ทางกาย
- กราบงาม กราบถูกต้อง
- สำรวม เก็บมือ จนเป็นนิสัย
- ไม่ยืนดื่มน้ำ
- ไม่วิ่ง
- ไม่เล่นในห้องประชุม
- ทำอะไรตามระเบียบแถว
- เข้าห้องประชุมตรงเวลา
- ที่พัก ที่อบรมสะอาด
- ตื่นและหลับตามเวลา
ทางวาจา
- พูดมีหางเสียง เจ้าค่ะ ครับผม
- การสัมโมทนียกถา
- การท่องพุทธศาสนสุภาษิตและบทกลอนธรรมะ
- ไม่ตะโกนพูดกัน
- พูดกับเพื่อนด้วยคำสุภาพ
- ขอโทษ ขอบคุณ ขอบใจ ไม่เป็นไร  อนุโมทนาบุญ
ทางใจ
- สงบใจได้ไม่ต่ำกว่า 20 นาที
- คิดในเชิงบวก
- อดได้ ทนได้ รอได้
สิ่งที่น่าจะต้องได้เมื่อจบโครงการแล้ว
- เด็กรู้จักใส่บาตร
- เด็กรู้จักปฏิบัติต่อพระสงฆ์
- เด็กรู้จักไหว้พระก่อนนอน
- เด็กเคารพพ่อแม่ ครูอาจารย์
- เด็กไม่พูดคำหยาบ
- เด็กมีวินัยในตน

การเป็นพระวิทยากรที่ดี
- มีเทคนิคการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
- รู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง
- มีเทคนิคสร้างอารมณ์ขัน
- มีจิตวิทยาในการจูงใจ
- คิด ค้นคว้า
- ใจดี รู้ตามกาลเทศะ
- มีปฏิภาณไหวพริบและความกล้า
- สร้างความสามารถพิเศษ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
- ประพฤติตนเป็นคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
- รู้จักตัวเอง และมีความกระจ่างในตน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น