วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ที่มาถนน อังรี ดูนังต์ " ๘ พฤษภา วันกาชาดสากล กับผู้ชายหนึ่งคน และชื่อถนนแถวสยามแสควร์" วันที่ ๘ พฤษภาคม วันกาชาดสากลนี้ เกิดขึ้นภายใต้แรงผลักดันของ ญัง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นายธนาคารชาวสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากที่เขาได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๒ โดยเกิดการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ณ บริเวณใกล้ๆ หมู่บ้านของซอลเฟริโน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี ทำให้มีทหารบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคนช่วยเหลือพยาบาล เขาจึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียน มาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู ครั้นเมื่อเขาเดินทางกลับถึงกรุงเจนีวา ญัง อังรี ดูนังต์ ได้นำแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ดังกล่าว มาถ่ายทอดผ่านหนังสือ "ความทรงจำที่ซอลเฟริโน" ขึ้น ทั้งนี้ มีใจความสำคัญระบุตอนหนึ่งว่า "จะเป็นไปไม่ได้หรือ ที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือดูแลทหารบาดเจ็บในสงคราม" และเสนอแนะว่า ควรจะมีการตระเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องมือในการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เพราะเมื่อมีสงครามเกิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บทุกฝ่ายได้ทันท่วงที และขอให้ทหารฝ่ายใดผ่ายหนึ่งอย่ายิงคนที่ช่วยบรรเทาทุกข์เหล่านี้ เพราะอาสาสมัครเหล่านี้ยังจะให้ประโยชน์ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ อีกด้วย จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ทำให้เกิดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงเจนีวา โดยมีผู้แทนจาก ๑๖ ประเทศ เข้าร่วมประชุม กระทั่งนำไปสู่การก่อตั้งสภากาชาดสากลขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ พร้อมกันนี้ ได้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาทุกข์ทหารบาดเจ็บ" ขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันคือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The Internation Committee of the Red Cross หรือ ICRC) ทั้งนี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ วันที่ ๘ พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ นายอังรี ดูนังต์ เป็นวันกาชาดโลก และในวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ประเทศไทยก็ได้เปลี่ยนชื่อถนนสนามม้า ซึ่งเป็นถนนที่ตัดผ่ายนสภากาชาดไทย เป็นถนนอังรีดูนังต์ หลังจากที่สภากาชาดสากลได้เสนอให้ประเทศสมาชิกจัดทำอนุสรณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีกาชาดสากลและระลึกถึงอ็องรี ดูว์น็อง (Henri Dunant) ชาวสวิส ผู้ริเริ่มกิจการกาชาดสากล แต่เดิมถนนสายนี้จะมี "คลองอรชร" ขนานอยู่ด้านตะวันตกหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างคลองหัวลำโพง (โดยมีถนนหัวลำโพงนอกตัดข้ามคลองอรชรที่สะพานเฉลิมศักดิ์ ๔๓ ปัจจุบันคือสี่แยกอังรีดูนังต์ ถนนพระรามที่ ๔๔) และคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ส่วนบริเวณสุดถนนอังรีดูนังต์ ยังมีถนนพระรามที่ ๑ ข้ามคลองอรชร ที่สะพานเฉลิมเผ่า ๕๒ ปัจจุบันคือสามแยกเฉลิมเผ่า) แต่ปัจจุบันได้ถมคลองตลอดช่วงถนนอังรีดูนังต์ไปแล้ว และขยายเป็นพื้นที่การจราจรแทนค่ะ (สังเกตุตรงบริเวณแยกเฉลิมเผ่า ยังมีสะพานเฉลิมเผ่าเป็นร่องรอยอยู่ด้วยค่ะ) Sense & Scene

ที่มาถนน อังรี ดูนังต์
" ๘ พฤษภา วันกาชาดสากล กับผู้ชายหนึ่งคน และชื่อถนนแถวสยามแสควร์"

วันที่ ๘ พฤษภาคม วันกาชาดสากลนี้ เกิดขึ้นภายใต้แรงผลักดันของ ญัง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นายธนาคารชาวสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากที่เขาได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๒ โดยเกิดการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ณ บริเวณใกล้ๆ หมู่บ้านของซอลเฟริโน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี ทำให้มีทหารบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคนช่วยเหลือพยาบาล เขาจึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียน มาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู

ครั้นเมื่อเขาเดินทางกลับถึงกรุงเจนีวา ญัง อังรี ดูนังต์ ได้นำแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ดังกล่าว มาถ่ายทอดผ่านหนังสือ "ความทรงจำที่ซอลเฟริโน" ขึ้น ทั้งนี้ มีใจความสำคัญระบุตอนหนึ่งว่า "จะเป็นไปไม่ได้หรือ ที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือดูแลทหารบาดเจ็บในสงคราม" และเสนอแนะว่า ควรจะมีการตระเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องมือในการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เพราะเมื่อมีสงครามเกิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บทุกฝ่ายได้ทันท่วงที และขอให้ทหารฝ่ายใดผ่ายหนึ่งอย่ายิงคนที่ช่วยบรรเทาทุกข์เหล่านี้ เพราะอาสาสมัครเหล่านี้ยังจะให้ประโยชน์ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ อีกด้วย

จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ทำให้เกิดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงเจนีวา โดยมีผู้แทนจาก ๑๖ ประเทศ เข้าร่วมประชุม กระทั่งนำไปสู่การก่อตั้งสภากาชาดสากลขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ พร้อมกันนี้ ได้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาทุกข์ทหารบาดเจ็บ" ขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันคือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The Internation Committee of the Red Cross หรือ ICRC)

ทั้งนี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ วันที่ ๘ พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ นายอังรี ดูนังต์ เป็นวันกาชาดโลก

และในวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ประเทศไทยก็ได้เปลี่ยนชื่อถนนสนามม้า ซึ่งเป็นถนนที่ตัดผ่ายนสภากาชาดไทย เป็นถนนอังรีดูนังต์ หลังจากที่สภากาชาดสากลได้เสนอให้ประเทศสมาชิกจัดทำอนุสรณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีกาชาดสากลและระลึกถึงอ็องรี ดูว์น็อง (Henri Dunant) ชาวสวิส ผู้ริเริ่มกิจการกาชาดสากล

แต่เดิมถนนสายนี้จะมี "คลองอรชร" ขนานอยู่ด้านตะวันตกหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างคลองหัวลำโพง (โดยมีถนนหัวลำโพงนอกตัดข้ามคลองอรชรที่สะพานเฉลิมศักดิ์ ๔๓ ปัจจุบันคือสี่แยกอังรีดูนังต์ ถนนพระรามที่ ๔๔) และคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ส่วนบริเวณสุดถนนอังรีดูนังต์ ยังมีถนนพระรามที่ ๑ ข้ามคลองอรชร ที่สะพานเฉลิมเผ่า ๕๒ ปัจจุบันคือสามแยกเฉลิมเผ่า) แต่ปัจจุบันได้ถมคลองตลอดช่วงถนนอังรีดูนังต์ไปแล้ว และขยายเป็นพื้นที่การจราจรแทนค่ะ (สังเกตุตรงบริเวณแยกเฉลิมเผ่า ยังมีสะพานเฉลิมเผ่าเป็นร่องรอยอยู่ด้วยค่ะ)

Sense & Scene

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น