วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สุรพล โทณะวณิก - "ใครหนอ" เพลงจากประสบการณ์เด็กกำพร้า ขจรพรรณ์ แก้วสุวรรณ์ เขียนไว้ใน ปริญญานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ชีวประวัติและเทคนิคการประพันธ์เพลงไทยสากล ของ สุรพล โทณะวณิก ว่า “...ทั้งแนวทำนองและคำประพันธ์ จะถูกสร้างสรรค์ขึ้นพร้อมๆ กัน ซึ่งในการสร้างคำประพันธ์นั้น ผู้ประพันธ์ไม่ได้สนใจในเรื่องทฤษฎี หรือหลักการทางดนตรีวิทยา เพราะไม่ได้สนใจ จากการสัมภาษณ์ ทำให้ทราบว่า “จุดประสงค์คือต้องการที่จะสื่อ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหา สาระของเพลง และผู้ร้องสามารถนำบทประพันธ์นี้ ไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง ตามที่ตนเองได้มุ่งหวังไว้ คือในเรื่องการใช้ภาษา มาร้อยเรียงกันให้มีคำสัมผัส ทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน ซึ่งการประพันธ์เป็นลักษณะของคำกลอน... ภาษาที่นำมาใช้นั้น เน้นในเรื่องของเสียงดนตรี ในวรรณยุกต์ไทยเป็นอย่างมาก ได้สรรหาคำที่ต้องใช้ความสามารถของนักร้องมาใช้ โดยตลอดทุกท่อนเพลง ทำให้นักร้องต้องใช้ความสามารถสูงมาก ในเรื่องของลีลาของเสียง เพื่อจะทำให้ทำนองเกิดความกลมกลืน ลื่นไหลไม่สะดุด เพราะต้องมีการเอื้อนเสียงตลอด เกือบทุกวรรคเพลง หรือพูดได้ว่าเกือบจะทุกคำ มิฉะนั้นจะไม่ได้ความชัดเจนของภาษา และความหมายตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการ ด้วยเหตุนี้ เพลงในโลกแห่งความฝัน จึงส่งผลให้ สุเทพ วงศ์กำแหง ได้รับพระราชทานรางวัล แผ่นเสียงทองคำ พระราชทาน ในฐานะนักร้อง...” ในปี พ.ศ. 2498 ก็แต่ง เพลงใครหนอ ให้ สวลี ผกาพันธ์ เป็นผู้ขับร้อง ซึ่งเป็นเพลงที่มีคำร้องที่มีความหมายที่ดีมาก และมีทำนองน่าฟัง เป็นเพลงอมตะที่ได้รับความนิยมตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แม้ในปัจจุบัน ... เพลงใครหนอ คำร้อง / ทำนอง สุรพล โทณะวณิก ใครหนอ รักเราเท่าชีวี ใครหนอ ปรานี ไม่มีเสื่อมคลาย ใครหนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย รักเขาไม่หน่าย มิคิดทำลาย ใครหนอ ใครหนอ เห็นเราเศร้าทรวงใน ใครหนอ เอาใจปลอบเราเรื่อยมา ใครหนอ รักเราดังดวงแก้วตา รักเขากว้างกว่า พื้นพสุธา นภากาศ จะเอาโลก มาทำปากกา แล้วเอานภา มาแทนกระดาษ เอาน้ำหมด มหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศ พระคุณไม่พอ ใครหนอ รักเราเท่าชีวัน ใครหนอ ใครกัน ให้เราขี่คอ ใครหนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ รู้แล้วละก้อ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ เป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับ สุรพล โทณะวณิก และ สวลี ผกาพันธุ์ มาก เพราะเป็นเพลงฮิต ติดใจฟังกันทั่วเมือง เนื่องจากมีเนื้อหากินใจ เพราะมีประสบการณ์เป็นเด็กกำพร้ามาก่อน สามารถใช้คำ “ใครหนอ” ซ้ำถึง 10 คำ แต่ก็กลมกลืน ได้ความหมายที่เหมาะสมลงตัว และมีจังหวะที่ร้องสนุก เด็กเล็กก็ร้องกันได้ เพลงนี้แต่งขึ้นในราว ปี พ.ศ. 2498 และบันทึกเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ ที่ ห้องบันทึกเสียง กมลสุโกศล เป็นครั้งแรก โดยได้รับรางวัล แผ่นเสียงทองคำ พระราชทาน ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2507 สุรพล โทณะวณิก (4) - ใครหนอ เพลงจากประสบการณ์เด็กกำพร้า แนวคิดของ เพลงใครหนอ นี้ ครูสุรพล โทณะวณิก คงจะนำเอามาจาก โคลงโลกนิติ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร กวีเอกท่านหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ว่า คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา คุณบิดรดุจอา กาศกว้าง คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร ครูสุรพล โทณะวณิก เขียน ถึง สวลี ผกาพันธ์ และ เพลงใครหนอ เอาไว้ ใน ขอฝากหัวใจไว้ในตัวหนังสือแด่คุณ จาก หนังสือ คอนเสิร์ตวันดวลเพลง ชาลี อินทรวิจิตร สุรพล โทณะวณิก ว่า “...สวลี ผกาพันธุ์ ผมเป็นตัวประกอบ เป็นเด็กลูกมือคนเขียนฉาก เป็นเด็กยกฉาก เด็กขายสูจิบัตร เธอเป็นนางเอกละคร เพิ่งสาวสวยแรกผลิ เป็นนักร้องที่ร้องเสียงดี เทคนิคการร้องดี มีชีวิตชีวา มีคุณภาพ ผู้ชมและผู้ร่วมงานต่างชอบ เธอโด่งดังมากยามนั้น เธอมีเมตตา เคยแบ่งข้าวเย็นที่นายแม่เธอ ทำมาส่งเธอตอนการแสดงรอบบ่ายจบ เป็นอาหารมื้อเย็นของเธอ ยามเธอต้องอยู่หลังโรง เพื่อแสดงรอบค่ำ, เธอแบ่งข้าวให้ผมกิน เป็นเวลาที่ผมอดอยากหิวจัด ผมสำนึกบุญคุณของเธอไม่มีวันลืม, ต่อมาเธอเป็นนักร้องโด่งดัง แผ่นเสียงที่เธอร้องบันทึกเสียงขายดี เพราะความสามารถของเธอ ผมเลยมุมานะที่จะเป็นนักแต่งเพลง และอยากให้เธอร้องเพลงของผม เธอร้องเพลงให้ผมแล้ว เธอมีส่วนอย่างมาก ทำให้ผมโด่งดัง เพราะเธอร้องเพลงให้ผมมากกว่าใคร และทุกครั้งที่ร้องเพลงให้ผม ทราบว่าผมถึงแม้จะเป็นนักแต่งเพลงแล้ว ยังเร่ร่อนไม่มีบ้านอยู่ เวลาไม่มีงานทำ ยังอดๆ อยากๆ เธอยกค่าร้องให้ผม แล้วยังร้องเพลงโฆษณามากมายหลายเพลง ฯลฯ...” “...ผมมาจากข้างถนน เรียนจากเศษกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อน ได้เข้าโรงเรียนนิดเดียว ต้องทุ่มเวลาทั้งหมดเพื่อหาอาหารใส่ท้อง พอเริ่มแต่งเพลง ก็มีงานทำมาตลอดไม่เคยขาดงาน ว่างก็ต้องอ่านหนังสือ เพราะต้องเขียนหนังสือ เลยไม่มีเวลาเรียน ผมบอกว่า บางทีผมฟังเพลงฝรั่งก่อนแต่ง เขาก็เอาไปออกอากาศว่า ผมแต่ง เพลงใครหนอ เอาทำนองมาจากเพลงฝรั่ง ขอโทษครับ เอามาจากเพลงไหน ไม่ทราบ สมัยก่อน ถ้าเอาเพลงต่างชาติมา ผมก็จะแจ้งให้ทราบเสมอว่า เอามาจาก เพลงฝรั่ง หรือ เพลงจีน เรียนให้ทราบตามตรง ผมไม่ทราบชื่อคนแต่ง ผมจะบอกเฉพาะสัญชาติเท่านั้น...” ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช เขียนเอาไว้ ใน นิตยสาร พลอยแกมเพชร ฉบับ ที่ 384 ประจำ งวด 31 มกราคม 2551 ถึง เพลงใครหนอ ไว้อย่างน่าอ่านมาก ว่า “... แต่ ใครหนอ ของ ครูสุรพล โทณะวณิก นั้น ทั้งท่วงทำนองและเนื้อร้อง ราวกับว่า คิดถึงพ่อและแม่ด้วยใจรื่นรมย์ นึกถึงภาพเก่าๆ ที่พ่อ แม่ ปลอบใจ ไม่ให้เศร้าสร้อย ภาพที่ลูกขี่คอ นั้นน่ารัก สดชื่น เดาได้ไกลไปอีกว่า พ่อ แม่ ลูก กำลังเล่นสนุกกัน มีแต่เสียงหัวเราะ และ แม้แต่ เด็กรุ่นใหม่ ก็ยังมีความเข้าใจ “หนังสี่จอ” แต่เด็กรุ่นโทรทัศน์นั้น ยิ่งซาบซึ้ง เพราะเป็นเวลาแห่งจินตนาการ ยิ่งมี พ่อ แม่ ช่างเล่า ช่างสอน เวลาที่จะได้เข้ามุ้งไปดู หนังสี่จอ ก็ทำให้ได้ใกล้ชิดกัน อย่างที่สุด สัญลักษณ์ง่ายๆ ที่ ครูสุรพล โทณะวณิก ใช้ “...เอาโลกมาทำปากกา จะเอานภามาแทนกระดาษ เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึก...” เด็กเล็กๆ รุ่นไหนๆ ก็ใช้มโนภาพร่วมไปได้ ใครหนอ... ใครจะนึกว่า ผู้วาดความสุข ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ด้วยตัวโน้ต และ เนื้อร้อง จะไม่มี ทั้งพ่อและแม่ อยู่เคียงใกล้ เหมือนเด็กทั่วไป จากครอบครัวที่แตกแยก ครูสุรพล โทณะวณิก เกือบไม่เคยรู้จักพ่อ และจากประวัติที่ท่านเล่าเอง ครูมีเวลาได้ใกล้ชิดกับแม่ เพียง 3 ปี ในช่วงอายุ6 ขวบ ถึง 9 ขวบ ก่อนที่แม่จะเสียชีวิตไปด้วยโรคร้าย ผู้เขียน ใครหนอ มีเวลาน้อยนิด ที่จะได้ดู หนังสี่จอ กับแม่ ไม่เคยได้ดูกับพ่อ ไม่เคยมีพ่อหรือแม่คอยปลอบใจ เมื่อต้องร่อนเร่ไปอาศัยวัด หลับนอนใต้สะพาน เมื่อหิวจนแสบท้อง ต้องอาศัยกินข้าวเหลือที่เก็บเอาตามแผงอาหาร แต่เด็กน้อยไร้พ่อแม่ เติบใหญ่ เป็นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สามารถบรรยาย ความซาบซึ้งในรัก ของบิดามารดา ได้อย่างตรึงใจ คนทั้งชาติ คนที่ “...เอาโลก มาทำปากกา จะเอาน้ำตามาแทนกระดาษ เอาน้ำมหาสมุทรแทนหมึก...” ได้อย่างแท้จริง คือ ครูสุรพล โทณะวณิก แต่เราไม่ต้องแหงนหน้า หาคำประกาศในความรักของพ่อแม่ ของ ครูสุรพล โทณะวณิก แต่หลับตา ฟัง ใครหนอ ก็เห็นรักนั้น ยิ่งใหญ่กว่าจักรวาล ครูชาลี อินทรวิจิตร ก็เขียนถึง เพลงใครหนอ นี้ เอาไว้ใน หกแยกบันเทิง หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน อีกเช่นกันว่า “... หากจะไม่พูดถึง ผลงานอันวิเศษ เหนือความพิเศษใดๆ ในบทเพลงของ สุรพล โทณะวณิก ก็ดูจะปิดกั้น ความอหังการในบางบทเพลงของเขาเกินไป เช่น เพลงใครหนอ รอ จูบ ยามรัก ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน ฟ้ามิอาจกั้น เก็บรัก พิษรัก ลมรัก อยากลืมกลับจำ คน ฉงน ท่าเตียน แดดออก เห็นแล้วหิว หัวใจขายขาด บาดหัวใจ เท่านี้ก็ซึ้ง... โดยเฉพาะ เพลงใครหนอ เพลงเดียวก็สุดๆ แล้ว ร.ร.ทั่วประเทศ (โรงเรียน นะครับ) ร้องกันทุกๆวันสำคัญ ไม่ว่าวันพ่อ วันแม่ วันเปิดโรงเรียน วันที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับโรงเรียน...” ครูใหญ่ (สมาน นภายน) เขียนเอาไว้ ใน สุรพล (โทณะวณิก) ผู้มีมนต์แห่งความฝัน ว่า “...เพลงที่ น้อย แต่ง กินใจเหลือเกิน พระคุณของแม่นั้น ไม่มีใครสามารถยกบทกลอนขึ้นมาเปรียบเทียบได้ดีเท่ากับ น้อย คือ น้อย มองเห็นความยิ่งใหญ่ ในพระคุณอันเหลือล้นสุดที่จะพรรณนาได้ “จะเอาโลกมาทำปากกา แล้วเอานภามาแทนกระดาษ เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศพระคุณไม่พอ... แค่ท่อนนี้เท่านั้นเอง ก็ไม่รู้ว่า จะเอาอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ มาทดแทนพระคุณได้ ที่ น้อย แต่ง มีพร้อมมูลทุกอย่าง มีทั้งโลก มีทั้งท้องฟ้า มีทั้งมหาสมุทร แล้วใครล่ะ จะสรรหาอะไรที่มันยิ่งใหญ่ไปกว่านี้ จริงไหม...” จาก ปริญญานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ชีวประวัติและเทคนิคการประพันธ์เพลงไทยสากล ของ สุรพล โทณะวณิก ของ ขจรพรรณ แก้วสุวรรณ์ ได้กล่าวถึง เพลงใครหนอ ไว้ว่า “...ด้านการใช้คำร้อง ได้สรรหาคำประพันธ์ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบ ในเรื่องพระคุณของ แม่ ได้ยิ่งใหญ่ ดูเหมือนจะเกินความเป็นจริง แต่ผู้ฟังยังรู้สึกว่าน้อยเกินไป เป็นการใช้ภาษาที่ง่าย บุคคลทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าใจ มีการสัมผัสคล้องจองกัน ทำให้จดจำง่าย ลักษณะการใช้ภาษาก็เป็นภาษาจินตนาการ แต่ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน และเป็นความจริง ให้ความรู้สึกอบอุ่น และความผูกพันในครอบครัว ที่สำคัญ คือ คำร้องกับทำนอง สามารถผสมผสานไปด้วยกันได้อย่างกลมกลืน ซึ่งไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ ลักษณะของการใช้คำร้องเช่นนี้ จึงควรนำมายึดถือเป็นแบบอย่างที่ดี ในการประพันธ์เพลงในทุกยุคทุกสมัย” ในประวัติชีวิตของ ครูสุรพล โทณะวณิก ที่เจ้าตัวเขียนเอาไว้ ใน หนังสือ คอนเสิร์ต บันทึกแผ่นดิน ศิลปินประชาชน สุรพล โทณะวณิก นั้น บอกว่า “...ที่นี่ มีความอบอุ่น มากมาย เมื่ออยู่กับแม่ นอนกับแม่ นั่งดูแม่ทำกับข้าว หรือแม่ถอดกางเกงติดก้น จับอาบน้ำหน้าบ้าน ซึ่งมีตุ่มอยู่สามใบ สำหรับอาบน้ำหนึ่งใบ ถัดมาเป็นตุ่มน้ำกินปิดฝาสนิท ใบเล็กข้างบันไดด้านขวา คือตุ่มสำหรับตักน้ำล้างเท้า แม่อาบน้ำให้เสร็จ ฟอกตัวด้วยสบู่สีเขียว หอมฉุย เป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่เจอสบู่ รู้สึกชื่นใจมาก อยู่วัด ลูกศิษย์หลวงพ่ออาบให้ แค่เอาน้ำรดๆ แล้วเอาผ้าอาบของหลวงพ่อ ห่ม เช็ดตัวคลุมให้เท่านั้น ไม่เหมือนแม่ พอบอกว่าหนาว แม่ก็เอาผ้าขนหนูนิ่มมาพันรอบตัว อุ้มขึ้นวางบนชาน รอแม่อาบต่อจนเสร็จ แม่ก็อุ้มเข้าห้อง ที่เล่าตรงนี้ค่อนข้างละเอียด เพราะเป็นต้นกำเนิด เพลงใครหนอ เป็นความทรงจำที่ลืมได้ยาก...”

สุรพล โทณะวณิก  - "ใครหนอ" เพลงจากประสบการณ์เด็กกำพร้า


       ขจรพรรณ์ แก้วสุวรรณ์ เขียนไว้ใน ปริญญานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ชีวประวัติและเทคนิคการประพันธ์เพลงไทยสากล ของ สุรพล โทณะวณิก ว่า “...ทั้งแนวทำนองและคำประพันธ์ จะถูกสร้างสรรค์ขึ้นพร้อมๆ กัน ซึ่งในการสร้างคำประพันธ์นั้น ผู้ประพันธ์ไม่ได้สนใจในเรื่องทฤษฎี หรือหลักการทางดนตรีวิทยา เพราะไม่ได้สนใจ
      
        จากการสัมภาษณ์ ทำให้ทราบว่า “จุดประสงค์คือต้องการที่จะสื่อ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหา สาระของเพลง และผู้ร้องสามารถนำบทประพันธ์นี้ ไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง ตามที่ตนเองได้มุ่งหวังไว้ คือในเรื่องการใช้ภาษา มาร้อยเรียงกันให้มีคำสัมผัส ทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน ซึ่งการประพันธ์เป็นลักษณะของคำกลอน...
      
        ภาษาที่นำมาใช้นั้น เน้นในเรื่องของเสียงดนตรี ในวรรณยุกต์ไทยเป็นอย่างมาก ได้สรรหาคำที่ต้องใช้ความสามารถของนักร้องมาใช้ โดยตลอดทุกท่อนเพลง ทำให้นักร้องต้องใช้ความสามารถสูงมาก ในเรื่องของลีลาของเสียง เพื่อจะทำให้ทำนองเกิดความกลมกลืน ลื่นไหลไม่สะดุด เพราะต้องมีการเอื้อนเสียงตลอด เกือบทุกวรรคเพลง หรือพูดได้ว่าเกือบจะทุกคำ มิฉะนั้นจะไม่ได้ความชัดเจนของภาษา และความหมายตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการ
      
        ด้วยเหตุนี้ เพลงในโลกแห่งความฝัน จึงส่งผลให้ สุเทพ วงศ์กำแหง ได้รับพระราชทานรางวัล แผ่นเสียงทองคำ พระราชทาน ในฐานะนักร้อง...”
      
        ในปี พ.ศ. 2498 ก็แต่ง เพลงใครหนอ ให้ สวลี ผกาพันธ์ เป็นผู้ขับร้อง ซึ่งเป็นเพลงที่มีคำร้องที่มีความหมายที่ดีมาก และมีทำนองน่าฟัง เป็นเพลงอมตะที่ได้รับความนิยมตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แม้ในปัจจุบัน
       ...
       เพลงใครหนอ
       คำร้อง / ทำนอง สุรพล โทณะวณิก
       ใครหนอ รักเราเท่าชีวี
       ใครหนอ ปรานี ไม่มีเสื่อมคลาย
       ใครหนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย
       รักเขาไม่หน่าย มิคิดทำลาย ใครหนอ
      
       ใครหนอ เห็นเราเศร้าทรวงใน
       ใครหนอ เอาใจปลอบเราเรื่อยมา
       ใครหนอ รักเราดังดวงแก้วตา
       รักเขากว้างกว่า พื้นพสุธา นภากาศ
      
       จะเอาโลก มาทำปากกา
       แล้วเอานภา มาแทนกระดาษ
       เอาน้ำหมด มหาสมุทรแทนหมึกวาด
       ประกาศ พระคุณไม่พอ
      
       ใครหนอ รักเราเท่าชีวัน
       ใครหนอ ใครกัน ให้เราขี่คอ
       ใครหนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ
       รู้แล้วละก้อ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ
      
        เป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับ สุรพล โทณะวณิก และ สวลี ผกาพันธุ์ มาก เพราะเป็นเพลงฮิต ติดใจฟังกันทั่วเมือง เนื่องจากมีเนื้อหากินใจ เพราะมีประสบการณ์เป็นเด็กกำพร้ามาก่อน สามารถใช้คำ “ใครหนอ” ซ้ำถึง 10 คำ แต่ก็กลมกลืน ได้ความหมายที่เหมาะสมลงตัว และมีจังหวะที่ร้องสนุก เด็กเล็กก็ร้องกันได้
      
        เพลงนี้แต่งขึ้นในราว ปี พ.ศ. 2498 และบันทึกเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ ที่ ห้องบันทึกเสียง กมลสุโกศล เป็นครั้งแรก โดยได้รับรางวัล แผ่นเสียงทองคำ พระราชทาน ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2507

สุรพล โทณะวณิก (4) - ใครหนอ เพลงจากประสบการณ์เด็กกำพร้า

       แนวคิดของ เพลงใครหนอ นี้ ครูสุรพล โทณะวณิก คงจะนำเอามาจาก โคลงโลกนิติ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร กวีเอกท่านหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ว่า
      
       คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา
       คุณบิดรดุจอา กาศกว้าง
       คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ
       คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร
      
        ครูสุรพล โทณะวณิก เขียน ถึง สวลี ผกาพันธ์ และ เพลงใครหนอ เอาไว้ ใน ขอฝากหัวใจไว้ในตัวหนังสือแด่คุณ จาก หนังสือ คอนเสิร์ตวันดวลเพลง ชาลี อินทรวิจิตร สุรพล โทณะวณิก ว่า “...สวลี ผกาพันธุ์ ผมเป็นตัวประกอบ เป็นเด็กลูกมือคนเขียนฉาก เป็นเด็กยกฉาก เด็กขายสูจิบัตร เธอเป็นนางเอกละคร เพิ่งสาวสวยแรกผลิ เป็นนักร้องที่ร้องเสียงดี เทคนิคการร้องดี มีชีวิตชีวา มีคุณภาพ ผู้ชมและผู้ร่วมงานต่างชอบ เธอโด่งดังมากยามนั้น
      
        เธอมีเมตตา เคยแบ่งข้าวเย็นที่นายแม่เธอ ทำมาส่งเธอตอนการแสดงรอบบ่ายจบ เป็นอาหารมื้อเย็นของเธอ ยามเธอต้องอยู่หลังโรง เพื่อแสดงรอบค่ำ, เธอแบ่งข้าวให้ผมกิน เป็นเวลาที่ผมอดอยากหิวจัด ผมสำนึกบุญคุณของเธอไม่มีวันลืม, ต่อมาเธอเป็นนักร้องโด่งดัง แผ่นเสียงที่เธอร้องบันทึกเสียงขายดี เพราะความสามารถของเธอ ผมเลยมุมานะที่จะเป็นนักแต่งเพลง และอยากให้เธอร้องเพลงของผม
      
        เธอร้องเพลงให้ผมแล้ว เธอมีส่วนอย่างมาก ทำให้ผมโด่งดัง เพราะเธอร้องเพลงให้ผมมากกว่าใคร และทุกครั้งที่ร้องเพลงให้ผม ทราบว่าผมถึงแม้จะเป็นนักแต่งเพลงแล้ว ยังเร่ร่อนไม่มีบ้านอยู่ เวลาไม่มีงานทำ ยังอดๆ อยากๆ เธอยกค่าร้องให้ผม แล้วยังร้องเพลงโฆษณามากมายหลายเพลง ฯลฯ...”
      
        “...ผมมาจากข้างถนน เรียนจากเศษกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อน ได้เข้าโรงเรียนนิดเดียว ต้องทุ่มเวลาทั้งหมดเพื่อหาอาหารใส่ท้อง
      
        พอเริ่มแต่งเพลง ก็มีงานทำมาตลอดไม่เคยขาดงาน ว่างก็ต้องอ่านหนังสือ เพราะต้องเขียนหนังสือ เลยไม่มีเวลาเรียน ผมบอกว่า บางทีผมฟังเพลงฝรั่งก่อนแต่ง เขาก็เอาไปออกอากาศว่า ผมแต่ง เพลงใครหนอ เอาทำนองมาจากเพลงฝรั่ง ขอโทษครับ เอามาจากเพลงไหน ไม่ทราบ
      
        สมัยก่อน ถ้าเอาเพลงต่างชาติมา ผมก็จะแจ้งให้ทราบเสมอว่า เอามาจาก เพลงฝรั่ง หรือ เพลงจีน เรียนให้ทราบตามตรง ผมไม่ทราบชื่อคนแต่ง ผมจะบอกเฉพาะสัญชาติเท่านั้น...”
      
        ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช เขียนเอาไว้ ใน นิตยสาร พลอยแกมเพชร ฉบับ ที่ 384 ประจำ งวด 31 มกราคม 2551 ถึง เพลงใครหนอ ไว้อย่างน่าอ่านมาก ว่า “... แต่ ใครหนอ ของ ครูสุรพล โทณะวณิก นั้น ทั้งท่วงทำนองและเนื้อร้อง ราวกับว่า คิดถึงพ่อและแม่ด้วยใจรื่นรมย์ นึกถึงภาพเก่าๆ ที่พ่อ แม่ ปลอบใจ ไม่ให้เศร้าสร้อย
      
        ภาพที่ลูกขี่คอ นั้นน่ารัก สดชื่น เดาได้ไกลไปอีกว่า พ่อ แม่ ลูก กำลังเล่นสนุกกัน มีแต่เสียงหัวเราะ และ แม้แต่ เด็กรุ่นใหม่ ก็ยังมีความเข้าใจ “หนังสี่จอ” แต่เด็กรุ่นโทรทัศน์นั้น ยิ่งซาบซึ้ง เพราะเป็นเวลาแห่งจินตนาการ ยิ่งมี พ่อ แม่ ช่างเล่า ช่างสอน เวลาที่จะได้เข้ามุ้งไปดู หนังสี่จอ ก็ทำให้ได้ใกล้ชิดกัน อย่างที่สุด
      
        สัญลักษณ์ง่ายๆ ที่ ครูสุรพล โทณะวณิก ใช้ “...เอาโลกมาทำปากกา จะเอานภามาแทนกระดาษ เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึก...”
      
        เด็กเล็กๆ รุ่นไหนๆ ก็ใช้มโนภาพร่วมไปได้
      
        ใครหนอ... ใครจะนึกว่า ผู้วาดความสุข ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ด้วยตัวโน้ต และ เนื้อร้อง จะไม่มี ทั้งพ่อและแม่ อยู่เคียงใกล้ เหมือนเด็กทั่วไป
      
        จากครอบครัวที่แตกแยก ครูสุรพล โทณะวณิก เกือบไม่เคยรู้จักพ่อ และจากประวัติที่ท่านเล่าเอง ครูมีเวลาได้ใกล้ชิดกับแม่ เพียง 3 ปี ในช่วงอายุ6 ขวบ ถึง 9 ขวบ ก่อนที่แม่จะเสียชีวิตไปด้วยโรคร้าย
      
        ผู้เขียน ใครหนอ มีเวลาน้อยนิด ที่จะได้ดู หนังสี่จอ กับแม่ ไม่เคยได้ดูกับพ่อ ไม่เคยมีพ่อหรือแม่คอยปลอบใจ
      
        เมื่อต้องร่อนเร่ไปอาศัยวัด หลับนอนใต้สะพาน เมื่อหิวจนแสบท้อง ต้องอาศัยกินข้าวเหลือที่เก็บเอาตามแผงอาหาร
      
        แต่เด็กน้อยไร้พ่อแม่ เติบใหญ่ เป็นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สามารถบรรยาย ความซาบซึ้งในรัก ของบิดามารดา ได้อย่างตรึงใจ คนทั้งชาติ
      
        คนที่ “...เอาโลก มาทำปากกา จะเอาน้ำตามาแทนกระดาษ เอาน้ำมหาสมุทรแทนหมึก...” ได้อย่างแท้จริง คือ ครูสุรพล โทณะวณิก
      
        แต่เราไม่ต้องแหงนหน้า หาคำประกาศในความรักของพ่อแม่ ของ ครูสุรพล โทณะวณิก แต่หลับตา ฟัง ใครหนอ ก็เห็นรักนั้น ยิ่งใหญ่กว่าจักรวาล
ครูชาลี อินทรวิจิตร ก็เขียนถึง เพลงใครหนอ นี้ เอาไว้ใน หกแยกบันเทิง หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน อีกเช่นกันว่า
      
        “... หากจะไม่พูดถึง ผลงานอันวิเศษ เหนือความพิเศษใดๆ ในบทเพลงของ สุรพล โทณะวณิก ก็ดูจะปิดกั้น ความอหังการในบางบทเพลงของเขาเกินไป เช่น เพลงใครหนอ รอ จูบ ยามรัก ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน ฟ้ามิอาจกั้น เก็บรัก พิษรัก ลมรัก อยากลืมกลับจำ คน ฉงน ท่าเตียน แดดออก เห็นแล้วหิว หัวใจขายขาด บาดหัวใจ เท่านี้ก็ซึ้ง...
      
        โดยเฉพาะ เพลงใครหนอ เพลงเดียวก็สุดๆ แล้ว ร.ร.ทั่วประเทศ (โรงเรียน นะครับ) ร้องกันทุกๆวันสำคัญ ไม่ว่าวันพ่อ วันแม่ วันเปิดโรงเรียน วันที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับโรงเรียน...”
      
        ครูใหญ่ (สมาน นภายน) เขียนเอาไว้ ใน สุรพล (โทณะวณิก) ผู้มีมนต์แห่งความฝัน ว่า “...เพลงที่ น้อย แต่ง กินใจเหลือเกิน พระคุณของแม่นั้น ไม่มีใครสามารถยกบทกลอนขึ้นมาเปรียบเทียบได้ดีเท่ากับ น้อย คือ น้อย มองเห็นความยิ่งใหญ่ ในพระคุณอันเหลือล้นสุดที่จะพรรณนาได้
      
        “จะเอาโลกมาทำปากกา แล้วเอานภามาแทนกระดาษ
      
        เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศพระคุณไม่พอ...
      
        แค่ท่อนนี้เท่านั้นเอง ก็ไม่รู้ว่า จะเอาอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ มาทดแทนพระคุณได้ ที่ น้อย แต่ง มีพร้อมมูลทุกอย่าง มีทั้งโลก มีทั้งท้องฟ้า มีทั้งมหาสมุทร แล้วใครล่ะ จะสรรหาอะไรที่มันยิ่งใหญ่ไปกว่านี้ จริงไหม...”
      
        จาก ปริญญานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ชีวประวัติและเทคนิคการประพันธ์เพลงไทยสากล
       ของ สุรพล โทณะวณิก ของ ขจรพรรณ แก้วสุวรรณ์ ได้กล่าวถึง เพลงใครหนอ ไว้ว่า
      
        “...ด้านการใช้คำร้อง ได้สรรหาคำประพันธ์ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบ ในเรื่องพระคุณของ แม่ ได้ยิ่งใหญ่ ดูเหมือนจะเกินความเป็นจริง แต่ผู้ฟังยังรู้สึกว่าน้อยเกินไป
      
        เป็นการใช้ภาษาที่ง่าย บุคคลทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าใจ มีการสัมผัสคล้องจองกัน ทำให้จดจำง่าย ลักษณะการใช้ภาษาก็เป็นภาษาจินตนาการ แต่ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน และเป็นความจริง ให้ความรู้สึกอบอุ่น และความผูกพันในครอบครัว
      
        ที่สำคัญ คือ คำร้องกับทำนอง สามารถผสมผสานไปด้วยกันได้อย่างกลมกลืน ซึ่งไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้
      
        ลักษณะของการใช้คำร้องเช่นนี้ จึงควรนำมายึดถือเป็นแบบอย่างที่ดี ในการประพันธ์เพลงในทุกยุคทุกสมัย”
      
        ในประวัติชีวิตของ ครูสุรพล โทณะวณิก ที่เจ้าตัวเขียนเอาไว้ ใน หนังสือ คอนเสิร์ต บันทึกแผ่นดิน ศิลปินประชาชน สุรพล โทณะวณิก นั้น บอกว่า
      
        “...ที่นี่ มีความอบอุ่น มากมาย เมื่ออยู่กับแม่ นอนกับแม่ นั่งดูแม่ทำกับข้าว หรือแม่ถอดกางเกงติดก้น จับอาบน้ำหน้าบ้าน ซึ่งมีตุ่มอยู่สามใบ สำหรับอาบน้ำหนึ่งใบ ถัดมาเป็นตุ่มน้ำกินปิดฝาสนิท ใบเล็กข้างบันไดด้านขวา คือตุ่มสำหรับตักน้ำล้างเท้า
      
        แม่อาบน้ำให้เสร็จ ฟอกตัวด้วยสบู่สีเขียว หอมฉุย เป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่เจอสบู่ รู้สึกชื่นใจมาก
      
        อยู่วัด ลูกศิษย์หลวงพ่ออาบให้ แค่เอาน้ำรดๆ แล้วเอาผ้าอาบของหลวงพ่อ ห่ม เช็ดตัวคลุมให้เท่านั้น
      
        ไม่เหมือนแม่ พอบอกว่าหนาว แม่ก็เอาผ้าขนหนูนิ่มมาพันรอบตัว อุ้มขึ้นวางบนชาน รอแม่อาบต่อจนเสร็จ แม่ก็อุ้มเข้าห้อง
      
        ที่เล่าตรงนี้ค่อนข้างละเอียด เพราะเป็นต้นกำเนิด เพลงใครหนอ เป็นความทรงจำที่ลืมได้ยาก...”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น