วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ถาม : ในสถานที่ทำงานเราควรทำตัวอย่างไร ไม่ให้เป็นที่ติฉินนินทาของผู้อื่นครับ ท่านชยสาโรตอบ : พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าคนพูดมากเขาก็นินทา คน พูดน้อยเขาก็นินทา คนไม่พูดเลยเขาก็นินทา ไม่มีใครในโลกนี้ที่เขาไม่นินทา อย่าไปหวังเลยว่าจะทำงานโดยไม่มีใครนินทา อย่าไปคิดว่าถ้าเราทำงานแบบดีเลิศประเสริฐ ไม่มีข้อบกพร่องแม้แต่ข้อเดียวแล้วคงจะพ้นจากการนินทาไม่เลย ในการนินทาผู้นินทาก็มีเจตนาต่างๆ บางที เขาอาจจะไม่ชอบเรา หรืออิจฉาเรา เขาจะหาอะไรมานินทาเราได้ ทั้งๆ ที่ไม่จริงก็ใส่ร้ายเราได้ ถ้าเป็นคนเก่งก็แน่นอนคือโทษของความเก่งคือต้องมีคนอิจฉา คนอิจฉา แล้วเขาอยากจะทำให้คนที่เคารพเราเสียศรัทธา เพราะ ฉะนั้นก็ต้องหาอะไรมาว่าเราจนได้ การที่เราทำดีทุกประการไม่ใช่ว่าปลอดภัยแล้วไม่มีใครนินทาเราได้ ใช่ ถ้าโลกนี้ถูกต้อง ถ้าโลกนี้ยุติธรรมก็ ใช่ แต่โลกนี้มันไม่ยุติธรรม โลกนี้เป็นโลกของคนมีกิเลส เพราะฉะนั้นต้องยอมรับ แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากว่า เราทำดีที่สุดที่เราทำได้ เมื่อเราถูกนินทาในสิ่งที่ไม่จริง ใจหนึ่ง ก็สบายใจว่าไม่ใช่ เราก็คอยชี้แจงตามความเป็นจริงในเวลาอันสมควร แต่ถ้าหากว่าเรามีข้อบกพร่องอยู่ แล้วเขามานินทา ถึงจะเรื่องนั้นไม่จริงเราก็รู้ว่าเรื่องอื่นที่ เป็นจริงก็มีอยู่เหมือนกัน มันก็เลยทุกข์ได้ เราถือว่านินทาเป็นส่วนหนึ่งของโลก สรรเสริญ อยู่ที่ไหนนินทาอยู่ที่นั่น โลกมนุษย์เป็นโลกที่ต้องมีทั้งสองอย่าง แม้แต่พระพุทธเจ้าก็มีคนสรรเสริญด้วยนินทาด้วย พระอริยเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน พระอริยเจ้าไม่ได้ทำอะไรผิดก็มีคนเข้าใจท่านผิด จับคำพูดของท่านไปบิดเบือน หรือว่าจำผิดแล้วก็ไปพูดต่อ ทำให้ท่านเป็นที่ตำหนิติเตียนก็มี มันธรรมดาของโลก ถาม : แต่ประเด็นคงไม่ได้อยู่ที่ว่าใครจะนินทาว่าอย่างไร เราก็ไม่สนใจ ปล่อยไปเลย คงต้องหยิบมาวิเคราะห์ด้วยเพื่อเป็นบทเรียนใช่ไหมครับ ท่านชยสาโรตอบ : ก็ใช่บางทีเป็นเรื่องจริง เราไม่สนใจเลยมันก็น่าเสียดาย เพราะว่าผลดีของการอยู่ในหมู่อย่างหนึ่งก็คือ เขาสามารถจะชี้ขุมทรัพย์ของเราได้ใช่ไหม เราก็ต้องมี จุดบอดแน่นอน แต่ถ้าเราอยู่คนเดียวเราก็ไม่เห็น อยู่จนวันตายเราก็ยังไม่เห็น ถ้าอยู่กับเพื่อนเวลาคนชี้ให้เราเห็น จุดบอดของตัวเอง เราก็คงไม่ชอบ แต่ที่จริงถ้าพูดในภาพรวมของชีวิตก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ถาม : อีกอย่างหนึ่งก็คงจะขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้พูดด้วยใช่ไหมครับ สมมติว่าใกล้ชิดกับเราขนาดไหน ถ้ายิ่งใกล้มากก็อาจจะยิ่งรู้สึกมาก ท่านชยสาโรตอบ : ใช่ มันอยู่ที่ว่าผู้นินทานั้นมีความหมายกับเราอย่างไร คือถ้าเป็นคนที่เราถือว่าต่ำกว่าเรา เขานินทาเราก็เฉย ๆ ไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่ถ้าเป็นคนที่เราเคารพนับถือ ต้องการให้ท่าน มองเราในแง่ดี ถ้าท่านกลับมองเราในแง่ร้าย เราก็จะทุกข์มาก แต่สิ่งที่เราควรจะระลึกอยู่ก็คือ บางทีคนเป็นศัตรูและคนมีเจตนาร้าย บางทีเขาก็นินทาในเรื่องจริงก็ได้ คือไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่ชอบเรา หรือเพราะเขาอิจฉาเรา คำตำหนิเราต้องผิดเสมอไปไม่ใช่ใส่ร้ายเสมอไป เขาอาจจะหยิบเอาความจริงมาว่าเราก็ได้ ฉะนั้นเราต้องพร้อมที่จะวางใจเป็นกลางเป็นอุเบกขาในการวิเคราะห์สิ่งที่พูดว่าใช่หรือไม่ใช่ *********** เรื่อง : หนังสือ ธรรมเอาการเอางาน หน้าที่ ๓๑-๓๓ เครดิต สาขาวัดหนองป่าพง

ถาม : ในสถานที่ทำงานเราควรทำตัวอย่างไร ไม่ให้เป็นที่ติฉินนินทาของผู้อื่นครับ

ท่านชยสาโรตอบ : พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าคนพูดมากเขาก็นินทา คน พูดน้อยเขาก็นินทา คนไม่พูดเลยเขาก็นินทา ไม่มีใครในโลกนี้ที่เขาไม่นินทา

อย่าไปหวังเลยว่าจะทำงานโดยไม่มีใครนินทา อย่าไปคิดว่าถ้าเราทำงานแบบดีเลิศประเสริฐ ไม่มีข้อบกพร่องแม้แต่ข้อเดียวแล้วคงจะพ้นจากการนินทาไม่เลย

ในการนินทาผู้นินทาก็มีเจตนาต่างๆ บางที เขาอาจจะไม่ชอบเรา หรืออิจฉาเรา เขาจะหาอะไรมานินทาเราได้ ทั้งๆ ที่ไม่จริงก็ใส่ร้ายเราได้ ถ้าเป็นคนเก่งก็แน่นอนคือโทษของความเก่งคือต้องมีคนอิจฉา คนอิจฉา แล้วเขาอยากจะทำให้คนที่เคารพเราเสียศรัทธา เพราะ ฉะนั้นก็ต้องหาอะไรมาว่าเราจนได้

การที่เราทำดีทุกประการไม่ใช่ว่าปลอดภัยแล้วไม่มีใครนินทาเราได้ ใช่ ถ้าโลกนี้ถูกต้อง ถ้าโลกนี้ยุติธรรมก็ ใช่

แต่โลกนี้มันไม่ยุติธรรม โลกนี้เป็นโลกของคนมีกิเลส เพราะฉะนั้นต้องยอมรับ แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากว่า เราทำดีที่สุดที่เราทำได้ เมื่อเราถูกนินทาในสิ่งที่ไม่จริง ใจหนึ่ง ก็สบายใจว่าไม่ใช่ เราก็คอยชี้แจงตามความเป็นจริงในเวลาอันสมควร

แต่ถ้าหากว่าเรามีข้อบกพร่องอยู่ แล้วเขามานินทา ถึงจะเรื่องนั้นไม่จริงเราก็รู้ว่าเรื่องอื่นที่ เป็นจริงก็มีอยู่เหมือนกัน มันก็เลยทุกข์ได้

เราถือว่านินทาเป็นส่วนหนึ่งของโลก สรรเสริญ อยู่ที่ไหนนินทาอยู่ที่นั่น โลกมนุษย์เป็นโลกที่ต้องมีทั้งสองอย่าง แม้แต่พระพุทธเจ้าก็มีคนสรรเสริญด้วยนินทาด้วย พระอริยเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน พระอริยเจ้าไม่ได้ทำอะไรผิดก็มีคนเข้าใจท่านผิด จับคำพูดของท่านไปบิดเบือน หรือว่าจำผิดแล้วก็ไปพูดต่อ ทำให้ท่านเป็นที่ตำหนิติเตียนก็มี มันธรรมดาของโลก

ถาม : แต่ประเด็นคงไม่ได้อยู่ที่ว่าใครจะนินทาว่าอย่างไร เราก็ไม่สนใจ ปล่อยไปเลย คงต้องหยิบมาวิเคราะห์ด้วยเพื่อเป็นบทเรียนใช่ไหมครับ

ท่านชยสาโรตอบ : ก็ใช่บางทีเป็นเรื่องจริง เราไม่สนใจเลยมันก็น่าเสียดาย เพราะว่าผลดีของการอยู่ในหมู่อย่างหนึ่งก็คือ เขาสามารถจะชี้ขุมทรัพย์ของเราได้ใช่ไหม เราก็ต้องมี
จุดบอดแน่นอน แต่ถ้าเราอยู่คนเดียวเราก็ไม่เห็น อยู่จนวันตายเราก็ยังไม่เห็น ถ้าอยู่กับเพื่อนเวลาคนชี้ให้เราเห็น จุดบอดของตัวเอง เราก็คงไม่ชอบ แต่ที่จริงถ้าพูดในภาพรวมของชีวิตก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์

ถาม : อีกอย่างหนึ่งก็คงจะขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้พูดด้วยใช่ไหมครับ สมมติว่าใกล้ชิดกับเราขนาดไหน ถ้ายิ่งใกล้มากก็อาจจะยิ่งรู้สึกมาก

ท่านชยสาโรตอบ : ใช่ มันอยู่ที่ว่าผู้นินทานั้นมีความหมายกับเราอย่างไร คือถ้าเป็นคนที่เราถือว่าต่ำกว่าเรา เขานินทาเราก็เฉย ๆ ไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่ถ้าเป็นคนที่เราเคารพนับถือ ต้องการให้ท่าน มองเราในแง่ดี ถ้าท่านกลับมองเราในแง่ร้าย เราก็จะทุกข์มาก

แต่สิ่งที่เราควรจะระลึกอยู่ก็คือ บางทีคนเป็นศัตรูและคนมีเจตนาร้าย บางทีเขาก็นินทาในเรื่องจริงก็ได้ คือไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่ชอบเรา หรือเพราะเขาอิจฉาเรา คำตำหนิเราต้องผิดเสมอไปไม่ใช่ใส่ร้ายเสมอไป เขาอาจจะหยิบเอาความจริงมาว่าเราก็ได้

ฉะนั้นเราต้องพร้อมที่จะวางใจเป็นกลางเป็นอุเบกขาในการวิเคราะห์สิ่งที่พูดว่าใช่หรือไม่ใช่

***********
เรื่อง : หนังสือ ธรรมเอาการเอางาน หน้าที่ ๓๑-๓๓

เครดิต สาขาวัดหนองป่าพง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น