วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

RECAP: สรุปเหตุน้ำท่วมใหญ่ ‘สกลนคร’ ในรอบ 43 ปี . เพียงพายุลูกแรกที่พาดผ่านประเทศไทยในฤดูฝนนี้ ก็ทำให้ จ.สกลนคร ต้องจมบาดาลในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน ส่งคำเตือนกลับมาว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ คงจะหนักหน่วงไม่แพ้หรือยิ่งกว่าปีก่อนๆ The MATTER ขอสรุปข้อเท็จจริงกว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เหตุใดเมืองแห่งเทือกเขาภูพานนี้จึงต้องเผชิญกับอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 43 ปี . 1. ค่ำวันที่ 27 ก.ค. อิทธิพลจากพายุโซนร้อน ‘เซินกา’ ได้ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้น้ำจากเทือกเขาภูพานไหลหลากเข้าท่วม จ.สกลนคร จนผู้ว่าฯสกลนครต้องประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติทั้งจังหวัด 18 อำเภอ โดยเฉพาะชุมชนเมืองชั้นในและย่านเขตเศรษฐกิจ เนื่องจากสภาพของเมืองเป็นแอ่งกระทะ ระดับน้ำในตัวเมืองสูงเฉลี่ย 1-2 เมตร ทำให้ถนนหลายสายไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ขณะที่สนามบินต้องปิดทำการ . 2. ระยะแรกมีข่าวว่า ‘อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น’ ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำสำคัญจากเทือกเขาภูพาน ‘แตก’ แต่กรมชลประทานอ้างว่า ไม่ได้แตกเพียงแค่ ‘ถูกกัดเซาะ’ ทว่าสภาพของอ่างที่ได้เห็นจากคลิปวีดิโอซึ่งชาวบ้านถ่ายเอาไว้ ปรากฏภาพมวลน้ำที่ไหลผ่านสันของอ่างเก็บน้ำนี้อย่างรวดเร็ว และรุนแรง . 3. ภาพที่ปรากฏตามสื่อ คือบ้านเรือนส่วนใหญ่ใน จ.สกลนครต้องจมอยู่ใต้น้ำ เช่นเดียวกับรถยนต์นับพันๆ คันที่หนีไม่ทัน เนื่องจากน้ำไหลมาอย่างรวดเร็ว นำไปสู่เสียงวิจารณ์ว่า ภาครัฐไม่มีการ ‘แจ้งเตือน’ หรือแจ้งเตือนล่าช้า ทว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตอบโต้ว่า ได้มีการแจ้งเตือนเป็นระยะอยู่แล้ว และเมื่อเกิดเหตุก็ระดมสรรพกำลังเข้าบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยทันที . 4. หลายฝ่ายได้เข้าไปให้การช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่น้ำท่วม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดบัญชีรับบริจาคเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล เลขที่บัญชี 067-0-06895-0 นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมอนุมัติเงินช่วยเหลือ กรณีเสียชีวิตจะได้ 5 หมื่นบาท บ้านพักทั้งหลังได้ 2 แสนบาท บ้านเสียหายบางส่วนจะพิจารณาช่วยเหลือตามความเป็นจริง . 5. ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สกลนคร เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่หลังจังหวัดยังมีปรากฏเหตุน้ำท่วมอยู่ ทั้ง ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย ฯลฯ โดยฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า จากจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมทั้งหมด 42 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 30 จังหวัด ยังไม่คลี่คลาย 12 จังหวัด อยู่ในภาคอีสานและภาคกลางตอนบน . 6. ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่า (อัพเดท บ่ายสามโมง วันที่ 31 ก.ค.) มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยแล้ว 5 ศพ . 7. วันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า หลังจากพายุเซินกา จะยังไม่มีพายุลูกใหม่เข้าไทย ใน 1-2 วันนี้ ทำให้จะไม่ต้องกังวลเรื่องจะเกิดน้ำท่วมซ้ำเติมอีก ส่วนที่มีข่าวลือเรื่องพายุไต้ฝุ่น ‘เนสาท’ ที่มีความแรงมากกว่าจะเข้าไทย กรมอุตุฯได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะพายุเนสาทได้ไปถึงไต้หวันแล้ว . 8. ระยะหลัง เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมในเมืองไทย มักจะรุนแรงในระดับ “ที่สุดประวัติศาสตร์” “ครั้งแรกในรอบสิบๆ ปี” เช่น เหตุน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้เมื่อปลายปี 2559 ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี โดยผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์กันว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เกิดจากการวางผังเมืองไปขวางทางน้ำไหล และเกิดจากการบริหารจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ . อ้างอิงจาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_456267 https://www.thairath.co.th/content/1019010 https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/61024 https://www.posttoday.com/politic/506200 http://www.posttoday.com/social/general/505777 https://news.thaipbs.or.th/content/264756 https://www.tmd.go.th/programs//uploads/specialevents/2017-07-28_SpecialEventTh__200449.pdf . ที่มาภาพประกอบ เพจ 'มหัศจรรย์สกลนคร'

RECAP: สรุปเหตุน้ำท่วมใหญ่ ‘สกลนคร’ ในรอบ 43 ปี
.
เพียงพายุลูกแรกที่พาดผ่านประเทศไทยในฤดูฝนนี้ ก็ทำให้ จ.สกลนคร ต้องจมบาดาลในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน ส่งคำเตือนกลับมาว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ คงจะหนักหน่วงไม่แพ้หรือยิ่งกว่าปีก่อนๆ

The MATTER ขอสรุปข้อเท็จจริงกว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เหตุใดเมืองแห่งเทือกเขาภูพานนี้จึงต้องเผชิญกับอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 43 ปี
.
1. ค่ำวันที่ 27 ก.ค. อิทธิพลจากพายุโซนร้อน ‘เซินกา’ ได้ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้น้ำจากเทือกเขาภูพานไหลหลากเข้าท่วม จ.สกลนคร จนผู้ว่าฯสกลนครต้องประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติทั้งจังหวัด 18 อำเภอ โดยเฉพาะชุมชนเมืองชั้นในและย่านเขตเศรษฐกิจ เนื่องจากสภาพของเมืองเป็นแอ่งกระทะ ระดับน้ำในตัวเมืองสูงเฉลี่ย 1-2 เมตร ทำให้ถนนหลายสายไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ขณะที่สนามบินต้องปิดทำการ
.
2. ระยะแรกมีข่าวว่า ‘อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น’ ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำสำคัญจากเทือกเขาภูพาน ‘แตก’ แต่กรมชลประทานอ้างว่า ไม่ได้แตกเพียงแค่ ‘ถูกกัดเซาะ’

ทว่าสภาพของอ่างที่ได้เห็นจากคลิปวีดิโอซึ่งชาวบ้านถ่ายเอาไว้ ปรากฏภาพมวลน้ำที่ไหลผ่านสันของอ่างเก็บน้ำนี้อย่างรวดเร็ว และรุนแรง
.
3. ภาพที่ปรากฏตามสื่อ คือบ้านเรือนส่วนใหญ่ใน จ.สกลนครต้องจมอยู่ใต้น้ำ เช่นเดียวกับรถยนต์นับพันๆ คันที่หนีไม่ทัน เนื่องจากน้ำไหลมาอย่างรวดเร็ว นำไปสู่เสียงวิจารณ์ว่า ภาครัฐไม่มีการ ‘แจ้งเตือน’ หรือแจ้งเตือนล่าช้า ทว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตอบโต้ว่า ได้มีการแจ้งเตือนเป็นระยะอยู่แล้ว และเมื่อเกิดเหตุก็ระดมสรรพกำลังเข้าบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยทันที
.
4. หลายฝ่ายได้เข้าไปให้การช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่น้ำท่วม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

สำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดบัญชีรับบริจาคเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล เลขที่บัญชี 067-0-06895-0

นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมอนุมัติเงินช่วยเหลือ กรณีเสียชีวิตจะได้ 5 หมื่นบาท บ้านพักทั้งหลังได้ 2 แสนบาท บ้านเสียหายบางส่วนจะพิจารณาช่วยเหลือตามความเป็นจริง
.
5. ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สกลนคร เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่หลังจังหวัดยังมีปรากฏเหตุน้ำท่วมอยู่ ทั้ง ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย ฯลฯ โดยฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า จากจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมทั้งหมด 42 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 30 จังหวัด ยังไม่คลี่คลาย 12 จังหวัด อยู่ในภาคอีสานและภาคกลางตอนบน
.
6. ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่า (อัพเดท บ่ายสามโมง วันที่ 31 ก.ค.) มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยแล้ว 5 ศพ
.
7. วันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า หลังจากพายุเซินกา จะยังไม่มีพายุลูกใหม่เข้าไทย ใน 1-2 วันนี้ ทำให้จะไม่ต้องกังวลเรื่องจะเกิดน้ำท่วมซ้ำเติมอีก ส่วนที่มีข่าวลือเรื่องพายุไต้ฝุ่น ‘เนสาท’ ที่มีความแรงมากกว่าจะเข้าไทย กรมอุตุฯได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะพายุเนสาทได้ไปถึงไต้หวันแล้ว
.
8. ระยะหลัง เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมในเมืองไทย มักจะรุนแรงในระดับ “ที่สุดประวัติศาสตร์” “ครั้งแรกในรอบสิบๆ ปี” เช่น เหตุน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้เมื่อปลายปี 2559 ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี โดยผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์กันว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เกิดจากการวางผังเมืองไปขวางทางน้ำไหล และเกิดจากการบริหารจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ
.
อ้างอิงจาก

https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_456267

https://www.thairath.co.th/content/1019010

https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/61024

https://www.posttoday.com/politic/506200

http://www.posttoday.com/social/general/505777

https://news.thaipbs.or.th/content/264756

https://www.tmd.go.th/programs//uploads/specialevents/2017-07-28_SpecialEventTh__200449.pdf
.
ที่มาภาพประกอบ

เพจ 'มหัศจรรย์สกลนคร'

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น