วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

พระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมสำรวจและแผนที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นนักสำรวจ และผู้เชี่ยวชาญการใช้แผนที่พระองค์หนึ่ง ในการเสด็จพระราชดำเนินไปในภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศ พระองค์จะทรงนำแผนที่ไปด้วยทุกครั้ง ดังปรากฏเป็นภาพที่คุ้นแก่สายตาของผู้ประสบพบเห็นจากหน้าหนังสือพิมพ์ จากโทรทัศน์ หรือในโอกาสที่ได้เฝ้าชมพระบารมี พระองค์ได้ทรงจัดเตรียมและตัดต่อแผนที่ดังกล่าวด้วยพระองค์เอง และทรงศึกษาภูมิประเทศจากแผนที่อย่างละเอียด เพื่อประกอบการวางแผนโครงการตามพระราชดำริด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ การชลประทาน การพัฒนาการเกษตร การป้องกันน้ำท่วมในขณะที่ทรงใช้งานแผนที่ จะทรงเติมข้อมูลต่าง ๆ ลงไป และทรงแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของแผนที่ให้ถูกต้องด้วย เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เสด็จพระราชดำเนินนั้นมักเป็นที่ทุรกันดาร หรือเป็นชนบทห่างไกล ซึ่งกรมแผนที่ทหารไม่สามารถจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริงได้ทั้งหมด เพราะมีเจ้าหน้าที่และงบประมาณจำกัด ข้อมูลที่พระราชทานให้แก่นายทหารแผนที่ที่ตามเสด็จฯ จึงมีประโยชน์ต่อกรมแผนที่ทหารอย่างมาก ข้อมูลดังกล่าวนี้มีเกือบทุกรูปแบบเช่น ชื่อหมู่บ้านที่ถูกต้อง ทางคมนาคมที่เกิดใหม่ ความผิดพลาดของระดับความสูงทางน้ำ แนวเขตการปกครอง หมู่บ้านที่เกิดใหม่ นอกจากจะทรงใช้แผนที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังทรงสนพระราชหฤทัยและใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายทางอากาศทั้งภาพปรกติและภาพพิเศษ ภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา แผนที่พยากรณ์อากาศ ตลอดจนอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่ติดประจำในเครื่องบิน ในรถพระที่นั่ง หรือที่ทรงถือติดพระองค์ไปด้วย เช่น บารอมิเตอร์ มาตรวัดระยะทาง และเข็มทิศ ทรงเชี่ยวชาญในการแปลความหมายของภาพถ่ายทางอากาศ ได้ทรงใช้ข้อมูลนี้ประกอบการใช้แผนที่อยู่เนือง ๆ นอกจากนี้ยังทรงสามารถใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ในการคาดคะเนแนวเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่น และพายุโซนร้อนได้อย่างถูกต้องใกล้เคียงอีกด้วย

พระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมสำรวจและแผนที่

         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นนักสำรวจ และผู้เชี่ยวชาญการใช้แผนที่พระองค์หนึ่ง ในการเสด็จพระราชดำเนินไปในภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศ พระองค์จะทรงนำแผนที่ไปด้วยทุกครั้ง ดังปรากฏเป็นภาพที่คุ้นแก่สายตาของผู้ประสบพบเห็นจากหน้าหนังสือพิมพ์ จากโทรทัศน์ หรือในโอกาสที่ได้เฝ้าชมพระบารมี พระองค์ได้ทรงจัดเตรียมและตัดต่อแผนที่ดังกล่าวด้วยพระองค์เอง และทรงศึกษาภูมิประเทศจากแผนที่อย่างละเอียด เพื่อประกอบการวางแผนโครงการตามพระราชดำริด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ การชลประทาน การพัฒนาการเกษตร การป้องกันน้ำท่วมในขณะที่ทรงใช้งานแผนที่ จะทรงเติมข้อมูลต่าง ๆ ลงไป และทรงแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของแผนที่ให้ถูกต้องด้วย เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เสด็จพระราชดำเนินนั้นมักเป็นที่ทุรกันดาร หรือเป็นชนบทห่างไกล ซึ่งกรมแผนที่ทหารไม่สามารถจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริงได้ทั้งหมด เพราะมีเจ้าหน้าที่และงบประมาณจำกัด ข้อมูลที่พระราชทานให้แก่นายทหารแผนที่ที่ตามเสด็จฯ จึงมีประโยชน์ต่อกรมแผนที่ทหารอย่างมาก ข้อมูลดังกล่าวนี้มีเกือบทุกรูปแบบเช่น ชื่อหมู่บ้านที่ถูกต้อง ทางคมนาคมที่เกิดใหม่ ความผิดพลาดของระดับความสูงทางน้ำ แนวเขตการปกครอง หมู่บ้านที่เกิดใหม่
        
        นอกจากจะทรงใช้แผนที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังทรงสนพระราชหฤทัยและใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายทางอากาศทั้งภาพปรกติและภาพพิเศษ ภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา แผนที่พยากรณ์อากาศ ตลอดจนอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่ติดประจำในเครื่องบิน ในรถพระที่นั่ง หรือที่ทรงถือติดพระองค์ไปด้วย เช่น บารอมิเตอร์ มาตรวัดระยะทาง และเข็มทิศ ทรงเชี่ยวชาญในการแปลความหมายของภาพถ่ายทางอากาศ ได้ทรงใช้ข้อมูลนี้ประกอบการใช้แผนที่อยู่เนือง ๆ นอกจากนี้ยังทรงสามารถใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ในการคาดคะเนแนวเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่น และพายุโซนร้อนได้อย่างถูกต้องใกล้เคียงอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น