การเรียนรู้คืออะไร? ACTIVE LEARNING เป็นอย่างไร?
April 7, 2015
การเรียนรู้คืออะไร?
learning-concept_23-2147507702มนุษย์เรานั้น มีการเรียนรู้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการดำเนินชีวิตในวันหนึ่งๆ เราทุกคนอาจต้องเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับที่เคยประสบการณ์มาแต่ไม่ได้เป็นสถานการณ์ที่ตรงกันเลยทีเดียว มนุษย์จึงได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวด้วยการแสดงพฤติกรรมต่างๆ กับสถานการณ์ที่ตนประสบอยู่ เป็นไปได้ยากยิ่งที่ที่เมื่อถามถึงคำจำกัดความของการเรียนรู้ แล้วจะสามารถบอกได้ทันที ว่า การเรียนรู้ คือ อะไร ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน จึงขอเสนอคำจำกัดความของการเรียนรู้ จากนักจิตวิทยาและนักการศึกษาหลายๆ ท่าน
โดย Marcy P. Driscoll (2000) ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ยังมีนักการศึกษาไทยหลายท่านได้ ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่นเดียวกัน สุรางค์ โค้วตระกูล (2553:186) ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน ส่วน สิริอร วิชชาวุธ (2554:2) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ 1) มนุษย์ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจาก “ไม่รู้” เป็น “รู้” “ทำไม่ได้” เป็น “ทำได้” “ไม่เคยทำ” เป็น “ทำ” 2) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมนั้นต้องเป็นไปอย่างถาวร (Permanent not Temporary) และ 3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น เกิดจากประสบการณ์การฝึกฝนและการฝึกหัด ไม่ใช่จากเหตุอื่นๆนอกจากนั้น จิราภา เต็งไตรรัตน์ (2554:123) กล่าว่า การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึกหัด พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วคราวไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ เช่น ความเหน็ดเหนื่อย ผลจากการกินยา การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากวุฒิภาวะ เป็นต้น และอัชรา เอิบสุขศิริ (2556: 48) กล่าวว่า นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์มิได้เป็นการเรียนรู้เสมอไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในช่วงระยะหนึ่งซึ่งเกิดจากการมีสิ่งเร้ามากระตุ้น
จะเห็นว่าจากคำจำกัดความที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรของบุคคลอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต ทั้งจากการฝึกฝนและการที่มนุษย์ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมีปริมาณของความรู้ที่เพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวนั้นไม่ได้ เกิดขึ้นจากการกินยา ความเหน็ดเหนื่อย หรือเป็นผลเนื่องมาจากวุฒิภาวะ
การเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING
Untitled-1(Michael, and Modell, 2003 อ้างใน ดุษฎี โยเหลาและคณะ, 2557) กล่าวถึง การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ว่าเป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายกลุ่มของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีส่วนร่วม (Engage) ในการเรียนรู้ โดยมีการให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เกิดเมื่อผู้เรียนเปลี่ยนความคิด หรือ พฤติกรรม ผ่านการมีประสบการณ์ตรงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้คือ
การเรียนรู้ เกิดขึ้น บนฐานของความรู้และทักษะ ที่เรียนรู้มาแล้ว การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการส่งต่อจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่ครูทำคือช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
ความรู้ที่ผู้เรียนมี อาจผิดบางส่วน หรือ ผิดทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ใหม่มีอุปสรรค และทำให้ยากขึ้น เรียกว่า Conceptual Change
ความรู้มี 3 ประเภท ประกอบด้วย ความรู้ด้านความหมาย (what) ความรู้ด้านขั้นตอน (how) และความรู้ด้านทักษะปฏิบัติ (Psychomotor skills) การเรียนรู้ความรู้แต่ละประเภทจะใช้วิธีการที่แตกต่างกัน
การเรียนรู้ความรู้ด้านความหมาย ทำโดยให้ผู้เรียนได้สร้างความคิดใหม่ด้วยตัวเอง โดยผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียน สร้าง ทดสอบ ขยาย จากความรู้เดิมที่ตนเองมี
การเรียนรู้ด้านขั้นตอน ทำโดยจัดสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ หลายๆครั้ง จนทำได้โดยอัตโนมัติ โดยมีผู้รู้ให้ข้อมูลย้อนกลับที่จะให้เกิดความเข้าใจว่าอะไรที่ทำถูก และอะไรที่ทำผิด
การเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ในบางเรื่องอาจต้องให้ผู้เรียนมี ความรู้ด้านความหมาย ด้านขั้นตอนก่อน จึงจะสามารถจัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ในขณะที่การเรียนรู้ทักษะปฏิบัติบางเรื่อง อาจไม่จำเป็นต้องผ่านการเรียนรู้ทั้งสองประเภทนี้ก่อนก็ได้
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดควรเป็นระดับที่สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในบริบทเดิม หรือบริบทที่แตกต่างจากเดิมหรือที่เรียนว่า Meaningful Learning
การจัดเก็บและการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ ต้องเกิดจากการเชื่อมโยงความรู้เดิม กับ ความรู้ใหม่
การร่วมมือกันในการเรียนรู้จะทำให้เกิดการเรียนรู้มากว่าที่เรียนรู้โดยลำพัง
การอธิบายสิ่งที่เรียนรู้ ให้กับเพื่อน ครู หรือ ตนเอง จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
ลำดับต่อไปจะได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
(ภาพประกอบจาก http://www.freepik.com)
Advertisements
SHARE THIS:
320Share on Facebook (Opens in new window)320Click to email (Opens in new window)Click to print (Opens in new window)
RELATED
การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ตอนที่ ๑
In "Active Learning"
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)
In "การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน"
การสอนแบบ Scaffolding ตอนที่ ๑
In "Active Learning"
Posted in: Active Learning, Learning | Tagged: Active Learning, การเรียนรู้, Learning
POST NAVIGATION
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ตอนที่ ๑
LEAVE A REPLY
Your email address will not be published. Required fields are marked *
Comment
Name *
Email *
Website
POST COMMENT
Notify me of new comments via email.
Search for:
Search …
RECENT POSTS
การสอนแบบ Scaffolding ตอนที่ ๒
การสอนแบบ Scaffolding ตอนที่ ๑
การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๓
การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๒
การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๑
RECENT COMMENTS
ARCHIVES
May 2015
April 2015
CATEGORIES
AAR
Active Learning
After Action Review
การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เทคนิคการทบทวนผลการปฏิบัติงาน
เทคนิคการใช้เรื่องเล่า
Creative Problem Solving
Learning
PLC
Problem-Based Learning
Professional Learning Community
Project Based Learning
Scaffolding
Storytelling
waterfall yggdragil-tree-of-life-fantasy-hd-wallpaper-1920x1080-4167
META
Register
Log in
Entries RSS
Comments RSS
WordPress.com
CREATE A FREE WEBSITE OR BLOG AT WORDPRESS.COM.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น