วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

น่าสนใจ อ่านเเล้วคงไม่อยากเล่นสงกรานต์ “วันสงกรานต์” ซึ่งเริ่มในเดือน ๕ นั้น เป็นวันสำคัญยิ่งสำหรับชาวพม่า เพราะ เป็นปีใหม่ของเขา ปีใหม่ของเขาต้องเป็นต้นเดือน ๕ และวันสงกรานต์ต้องเป็น วันสำคัญที่สุด อันที่จริงต้นเดือน ๕ และวันสงกรานต์ หรือปีตามจุลศักราชนั้น ควรจะเป็นวันที่ระลึกของพม่าอย่างแท้จริง และเป็นงานชิ้นหนึ่งที่พม่าทำไว้ เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะเหนือชนชาติอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือเหนือ ชนชาติไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อก่อน ๓๘๐ ปีมาแล้ว ไทยเราใช้ พุทธศักราช หรือมหาศักราช และเริ่มปีใหม่ของเราในเดือนอ้าย ซึ่งเรานับ เป็นเดือนที่ ๑ และตกในราวธันวาคม ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็น ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ พม่าได้นำเอาจุลศักราชมาบังคับให้เราใช้ พร้อมกับ การขึ้นปีใหม่ในต้นเดือน ๕ การให้วันสำคัญในวันสงกรานต์นั้น เป็นเครื่องหมาย ของความพ่ายแพ้ เพราะเราได้ตกเป็นทาสของพม่าอยู่ถึง ๑๕ ปี แต่ไทยเราเป็น ชาติที่ลืมง่าย และรับขนบธรรมเนียมของต่างชาติได้ง่าย วันที่เราถูกบังคับให้ ใช้ เพราะเคยแพ้เขาและเป็นเมืองขึ้นเขา ได้กลับกลายมาเป็นวันสำคัญของเราเอง “ต่อมาอีก ๒๐๐ ปี คือใน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าก็ได้เตือนให้เราทราบอีกครั้งหนึ่ง ว่าวันสงกรานต์นั้นคือวันเคราะห์ร้ายพ่ายแพ้ของไทย เป็นวันแห่งความมีชัย ของพม่า เมื่อกองทัพพม่ามาล้อมกรุงเป็นครั้งที่ ๒ ในสมัยของมังระ ราชโอรส ของอะลองพญา ล้อมอยู่ตั้งปียังตีไม่ได้ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่ของพม่า ได้เตรียมการทุกอย่างที่จะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ในวันสงกรานต์ ซึ่งเขาถือเป็น วันโชคชัย ก่อนจะถึงวันนั้น พม่าได้ทำสะพาน ขุดอุโมงค์เข้ามาจนถึงเชิง กำแพงพระนครศรีอยุธยา ครั้นถึงวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ซึ่งเป็นวันเนาว์ สงกรานต์ของปีนั้น เนเมียวสีหบดีก็ออกคำสั่งว่าต้องตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกใน วันนี้ให้จงได้ เพราะเป็นวันสำคัญ เป็นวันฤกษ์งามยามดีของเขา “พอบ่ายสามโมงวันนั้น พม่าก็จุดไฟสุมกำแพงเมือง พอเวลาพลบค่ำ กำแพง เมืองตอนที่ถูกไฟสุมนั้นก็ทรุดลง ในเวลาสองทุ่ม พม่าก็เข้าเมืองได้ และได้เปิด ประตูรับทหารพม่าเข้าเมืองได้ทุกด้าน กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ “ถ้าเป็นชนชาติอื่น เขาจะต้องถือวันสงกรานต์เป็นวันอัปมงคล เขาจะไม่นำวันนี้ เป็นวันขัตฤกษ์ รื่นเริงสนุกสนานเล่นสาดน้ำ หรือทำอะไรกันอย่างที่เราทำ ตรงกันข้าม บางทีเขาจะถือเอาวันอย่างนี้ เป็นวันไว้ทุกข์ให้แก่ชาติ แต่ไทย เราลืมง่าย วันแพ้ วันอัปมงคล วันที่ตกเป็นทาส ก็ไม่เป็นไร เรายังถือเป็น วันสำคัญ นางสงกรานต์ยังมีชื่อไพเราะเพราะพริ้ง มีเครื่องแต่งกายที่สวยงาม ทัดดอกไม้ต่าง ๆ ประทับบนหลังสัตว์หลายชนิด นับถือบูชากันจนกระทั่งทุก วันนี้ ไม่มีชาติไหนที่จะใจดีเหมือนกับชาติไทยเรา” บทความจาก หลวงวิจิตรวาทการ เรื่องวันสงกรานต์ ไว้ในนวนิยาย ‘กรุงแตก’ และ ‘ฟากฟ้าสาละวิน’

น่าสนใจ อ่านเเล้วคงไม่อยากเล่นสงกรานต์

“วันสงกรานต์” ซึ่งเริ่มในเดือน ๕ นั้น เป็นวันสำคัญยิ่งสำหรับชาวพม่า เพราะ เป็นปีใหม่ของเขา ปีใหม่ของเขาต้องเป็นต้นเดือน ๕ และวันสงกรานต์ต้องเป็น วันสำคัญที่สุด อันที่จริงต้นเดือน ๕ และวันสงกรานต์ หรือปีตามจุลศักราชนั้น ควรจะเป็นวันที่ระลึกของพม่าอย่างแท้จริง และเป็นงานชิ้นหนึ่งที่พม่าทำไว้ เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะเหนือชนชาติอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือเหนือ ชนชาติไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อก่อน ๓๘๐ ปีมาแล้ว ไทยเราใช้ พุทธศักราช หรือมหาศักราช และเริ่มปีใหม่ของเราในเดือนอ้าย ซึ่งเรานับ เป็นเดือนที่ ๑ และตกในราวธันวาคม ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็น ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ พม่าได้นำเอาจุลศักราชมาบังคับให้เราใช้ พร้อมกับ การขึ้นปีใหม่ในต้นเดือน ๕ การให้วันสำคัญในวันสงกรานต์นั้น เป็นเครื่องหมาย ของความพ่ายแพ้ เพราะเราได้ตกเป็นทาสของพม่าอยู่ถึง ๑๕ ปี แต่ไทยเราเป็น ชาติที่ลืมง่าย และรับขนบธรรมเนียมของต่างชาติได้ง่าย วันที่เราถูกบังคับให้ ใช้ เพราะเคยแพ้เขาและเป็นเมืองขึ้นเขา ได้กลับกลายมาเป็นวันสำคัญของเราเอง
“ต่อมาอีก ๒๐๐ ปี คือใน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าก็ได้เตือนให้เราทราบอีกครั้งหนึ่ง ว่าวันสงกรานต์นั้นคือวันเคราะห์ร้ายพ่ายแพ้ของไทย เป็นวันแห่งความมีชัย ของพม่า เมื่อกองทัพพม่ามาล้อมกรุงเป็นครั้งที่ ๒ ในสมัยของมังระ ราชโอรส ของอะลองพญา ล้อมอยู่ตั้งปียังตีไม่ได้ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่ของพม่า ได้เตรียมการทุกอย่างที่จะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ในวันสงกรานต์ ซึ่งเขาถือเป็น วันโชคชัย ก่อนจะถึงวันนั้น พม่าได้ทำสะพาน ขุดอุโมงค์เข้ามาจนถึงเชิง กำแพงพระนครศรีอยุธยา ครั้นถึงวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ซึ่งเป็นวันเนาว์ สงกรานต์ของปีนั้น เนเมียวสีหบดีก็ออกคำสั่งว่าต้องตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกใน วันนี้ให้จงได้ เพราะเป็นวันสำคัญ เป็นวันฤกษ์งามยามดีของเขา
“พอบ่ายสามโมงวันนั้น พม่าก็จุดไฟสุมกำแพงเมือง พอเวลาพลบค่ำ กำแพง เมืองตอนที่ถูกไฟสุมนั้นก็ทรุดลง ในเวลาสองทุ่ม พม่าก็เข้าเมืองได้ และได้เปิด ประตูรับทหารพม่าเข้าเมืองได้ทุกด้าน กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒
“ถ้าเป็นชนชาติอื่น เขาจะต้องถือวันสงกรานต์เป็นวันอัปมงคล เขาจะไม่นำวันนี้ เป็นวันขัตฤกษ์ รื่นเริงสนุกสนานเล่นสาดน้ำ หรือทำอะไรกันอย่างที่เราทำ ตรงกันข้าม บางทีเขาจะถือเอาวันอย่างนี้ เป็นวันไว้ทุกข์ให้แก่ชาติ แต่ไทย เราลืมง่าย วันแพ้ วันอัปมงคล วันที่ตกเป็นทาส ก็ไม่เป็นไร เรายังถือเป็น วันสำคัญ นางสงกรานต์ยังมีชื่อไพเราะเพราะพริ้ง มีเครื่องแต่งกายที่สวยงาม ทัดดอกไม้ต่าง ๆ ประทับบนหลังสัตว์หลายชนิด นับถือบูชากันจนกระทั่งทุก วันนี้ ไม่มีชาติไหนที่จะใจดีเหมือนกับชาติไทยเรา”

บทความจาก หลวงวิจิตรวาทการ เรื่องวันสงกรานต์ ไว้ในนวนิยาย ‘กรุงแตก’ และ ‘ฟากฟ้าสาละวิน’

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น