วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

ทำไมต้องขนทรายเข้าวัด ประเพณีการขนทรายเข้าวัดนับเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งในเทศกาลสงกรานต์ โดยประวัติความเป็นมานั้นเกี่ยวข้องกับสังคมในอดีตที่ชุมชนมีความสัมพันธ์กันมากกับศาสนาซึ่งก็คือ ’วัด“ ที่ต้องเข้าออกเพื่อปฏิบัติศาสนกิจหรือทำบุญกันอยู่เสมอ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันในชุมชน โดยในแต่ละวันนั้นการเข้าออกศาสนสถานย่อมไม่เพียงเป็นเรื่องมงคล หากแต่อีกด้านหนึ่งเชื่อว่าจะมีเรื่องที่ไม่ดีงามผสมปนเปกันอยู่ คือทรายที่เป็นทรัพย์สมบัติของวัดที่ติดตัวไปเมื่อเดินทางออกจากวัด เนื่องจากการเข้าวัดต้องถอดรองเท้าก่อนจึงมีโอกาสที่ทรายเม็ดเล็ก ๆ จะติดเท้าออกไป ทั้งนี้วัดทางเหนือนั้นมักเป็นลานทรายโดยรอบซึ่งเชื่อว่ามาจากคติการสร้างวัดให้เปรียบเสมือนจักรวาลทางศาสนาอันบริสุทธิ์ โดยมีองค์เจดีย์อันเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเป็นเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของวัดและมีกลุ่มอาคารต่าง ๆ ทั้งวิหารหรือโบสถ์โดยรอบ ซึ่งพื้นที่ว่างระหว่างอาคารนั้นจะเว้นให้เป็นลานทรายที่เปรียบเสมือนทะเลสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ เมื่อแดดส่องสะท้อนเหล่าเม็ดทรายก็จะมีประกายและเงาที่เปลี่ยนแปลงไปคล้ายกับคลื่นในทะเลจริง ๆ สำหรับประโยชน์ด้านการใช้งานนั้น ลานทรายสามารถทำความสะอาดง่าย ผิวแห้งไม่เฉอะแฉะ วัชพืชโตได้ยาก การมาทำบุญในวัดตลอดทั้งปีจึงมีการเหยียบย่ำเอาทรายของวัดออกไปโดยที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว ดังนั้นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดีต้องดูแลค้ำจุนพระพุทธศาสนา จึงได้มีประเพณีในการนำทรายที่เรานำออกไปโดยไม่รู้ตัวกลับมาคืน เปรียบเป็นการสร้างแนวคิดในการปฏิบัติเรื่องผิดที่ไม่รู้ตัวแต่สร้างให้มีสำนึกและต้องแก้ไข เพื่อช่วยสร้างจิตสำนึกที่เป็นกรอบปฏิบัติทางสังคมร่วมกัน ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ประกอบกับทรายเป็นวัสดุหลักหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้างและบูรณะเสนาสนะทั้งหลายภายในวัด ดังนั้นช่วงฤดูแล้งที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำลดลง เป็นช่วงว่างก่อนการเพาะปลูกจึงสะดวกในการที่สมาชิกในชุมชนทั้งชายหญิง เด็กผู้ใหญ่จะร่วมมือกันขนทรายสะอาดและละเอียดที่เหมาะสมกับการใช้ผสมปูนเพื่อที่จะใช้ในการสร้างและบูรณะสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเมื่อขนทรายมาแล้ววิธีการเก็บควรให้เป็น กองทรงกรวยอย่างที่ได้พบเห็นทั่วไปเพื่อให้แห้งและขนย้ายไปใช้งานได้ง่ายเพราะน้ำหนักจะเบากว่าทรายที่เปียกน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปจึงมีการประดับหรือทำเป็นรูปทรงที่ชัดเจนขึ้น ต่อมาทำเป็นทรงเจดีย์เพื่อเป็นการป้องกันลมที่จะพัดทรายแห้งปลิวไปได้ด้วยอีกทางหนึ่ง สำหรับกิจกรรมของพิธี จะเริ่มในช่วงบ่ายด้วยการรวมตัวกันเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ แล้วจึงไปยังแหล่งน้ำของชุมชน หรือแหล่งใหญ่เพื่อช่วยกันนำทรายสะอาดจากแม่น้ำบรรจุภาชนะที่เตรียมไปมายังวัดโดยระหว่างนั้นก็จะมีการเล่นรดน้ำกันพอสนุกสนาน โดยที่วัดพระภิกษุและผู้เฒ่าผู้แก่จะเป็นผู้จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดกระบะที่ทำขึ้นจากไม้ตีเป็นกรอบสี่เหลี่ยมหรือไม้ไผ่สานเป็นทรงกระบอกขนาดลดหลั่นกันไปเพื่อใช้ในการบรรจุทราย เมื่อชั้นล่างบรรจุทรายเต็มแล้วก็จะนำกระบะที่เล็กกว่าวางซ้อนด้านบนเพื่อใช้บรรจุทรายต่อไปจนซ้อนกันเป็นรูปคล้ายเจดีย์สามชั้นและห้าชั้นตามศรัทธาที่จะขนมายังวัด บ้างก็จะจัดเป็นกรวยขนาดเล็กๆ จำนวนมาก จัดวางอยู่ตามความต้องการของผู้นำมา ทั้งนี้ยังมีการประดับตกแต่งกองทรายน้อยใหญ่ที่ขนเข้ามาในวัดด้วยตุง (ธง) ให้มีสีสันสวยงาม เพื่อให้แล้วเสร็จภายในช่วงค่ำของวันเดียวกัน เนื่องจากในวันถัดมาคือ วันพญาวันก็จะกลับมาที่วัดเพื่อทำบุญและถวายเจดีย์ทรายที่ได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างให้วัดได้ใช้ประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตามประเพณีใด ๆ ที่เกิดขึ้นมาในอดีตนั้นล้วนพัฒนามาจากวิถีชีวิตและนิยมประพฤติปฏิบัติสืบกันมาตามที่เห็นว่าดีงาม สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของชุมชนและสภาพแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันล้วนเป็นสิ่งที่แสดงคุณค่าและสะท้อนความเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ประกอบเข้ากับการเสริมสร้างความคิด ความเชื่อที่เป็นสิริมงคลเพื่อใช้เป็นกุศโลบายที่จะคงไว้ซึ่งการปฏิบัติต่อๆ กันมาบนพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาอันเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของสังคมไทยทุกระดับ หากเพียงในปัจจุบันนั้นมุมมองด้านศาสนากลับเป็นเรื่องของความงมงาย เข้าใจและปฏิบัติได้ยาก ส่งผลให้ประเพณีหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงและค่อย ๆ เลือนหายไป สุดท้ายอาจเหลือเพียงกิจกรรมที่จัดเพื่อนักท่องเที่ยวและประโยชน์ทางเม็ดเงินในด้านธุรกิจเท่านั้น https://www.facebook.com/creativetops.by.colormepretty/posts/392932754064154

ทำไมต้องขนทรายเข้าวัด

ประเพณีการขนทรายเข้าวัดนับเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งในเทศกาลสงกรานต์

โดยประวัติความเป็นมานั้นเกี่ยวข้องกับสังคมในอดีตที่ชุมชนมีความสัมพันธ์กันมากกับศาสนาซึ่งก็คือ ’วัด“ ที่ต้องเข้าออกเพื่อปฏิบัติศาสนกิจหรือทำบุญกันอยู่เสมอ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันในชุมชน โดยในแต่ละวันนั้นการเข้าออกศาสนสถานย่อมไม่เพียงเป็นเรื่องมงคล หากแต่อีกด้านหนึ่งเชื่อว่าจะมีเรื่องที่ไม่ดีงามผสมปนเปกันอยู่ คือทรายที่เป็นทรัพย์สมบัติของวัดที่ติดตัวไปเมื่อเดินทางออกจากวัด เนื่องจากการเข้าวัดต้องถอดรองเท้าก่อนจึงมีโอกาสที่ทรายเม็ดเล็ก ๆ
จะติดเท้าออกไป

ทั้งนี้วัดทางเหนือนั้นมักเป็นลานทรายโดยรอบซึ่งเชื่อว่ามาจากคติการสร้างวัดให้เปรียบเสมือนจักรวาลทางศาสนาอันบริสุทธิ์ โดยมีองค์เจดีย์อันเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเป็นเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของวัดและมีกลุ่มอาคารต่าง ๆ ทั้งวิหารหรือโบสถ์โดยรอบ ซึ่งพื้นที่ว่างระหว่างอาคารนั้นจะเว้นให้เป็นลานทรายที่เปรียบเสมือนทะเลสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ เมื่อแดดส่องสะท้อนเหล่าเม็ดทรายก็จะมีประกายและเงาที่เปลี่ยนแปลงไปคล้ายกับคลื่นในทะเลจริง ๆ

สำหรับประโยชน์ด้านการใช้งานนั้น ลานทรายสามารถทำความสะอาดง่าย ผิวแห้งไม่เฉอะแฉะ วัชพืชโตได้ยาก

การมาทำบุญในวัดตลอดทั้งปีจึงมีการเหยียบย่ำเอาทรายของวัดออกไปโดยที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว ดังนั้นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดีต้องดูแลค้ำจุนพระพุทธศาสนา จึงได้มีประเพณีในการนำทรายที่เรานำออกไปโดยไม่รู้ตัวกลับมาคืน เปรียบเป็นการสร้างแนวคิดในการปฏิบัติเรื่องผิดที่ไม่รู้ตัวแต่สร้างให้มีสำนึกและต้องแก้ไข เพื่อช่วยสร้างจิตสำนึกที่เป็นกรอบปฏิบัติทางสังคมร่วมกัน ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ประกอบกับทรายเป็นวัสดุหลักหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้างและบูรณะเสนาสนะทั้งหลายภายในวัด ดังนั้นช่วงฤดูแล้งที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำลดลง เป็นช่วงว่างก่อนการเพาะปลูกจึงสะดวกในการที่สมาชิกในชุมชนทั้งชายหญิง เด็กผู้ใหญ่จะร่วมมือกันขนทรายสะอาดและละเอียดที่เหมาะสมกับการใช้ผสมปูนเพื่อที่จะใช้ในการสร้างและบูรณะสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเมื่อขนทรายมาแล้ววิธีการเก็บควรให้เป็น กองทรงกรวยอย่างที่ได้พบเห็นทั่วไปเพื่อให้แห้งและขนย้ายไปใช้งานได้ง่ายเพราะน้ำหนักจะเบากว่าทรายที่เปียกน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปจึงมีการประดับหรือทำเป็นรูปทรงที่ชัดเจนขึ้น ต่อมาทำเป็นทรงเจดีย์เพื่อเป็นการป้องกันลมที่จะพัดทรายแห้งปลิวไปได้ด้วยอีกทางหนึ่ง

สำหรับกิจกรรมของพิธี จะเริ่มในช่วงบ่ายด้วยการรวมตัวกันเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์

แล้วจึงไปยังแหล่งน้ำของชุมชน หรือแหล่งใหญ่เพื่อช่วยกันนำทรายสะอาดจากแม่น้ำบรรจุภาชนะที่เตรียมไปมายังวัดโดยระหว่างนั้นก็จะมีการเล่นรดน้ำกันพอสนุกสนาน โดยที่วัดพระภิกษุและผู้เฒ่าผู้แก่จะเป็นผู้จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดกระบะที่ทำขึ้นจากไม้ตีเป็นกรอบสี่เหลี่ยมหรือไม้ไผ่สานเป็นทรงกระบอกขนาดลดหลั่นกันไปเพื่อใช้ในการบรรจุทราย เมื่อชั้นล่างบรรจุทรายเต็มแล้วก็จะนำกระบะที่เล็กกว่าวางซ้อนด้านบนเพื่อใช้บรรจุทรายต่อไปจนซ้อนกันเป็นรูปคล้ายเจดีย์สามชั้นและห้าชั้นตามศรัทธาที่จะขนมายังวัด บ้างก็จะจัดเป็นกรวยขนาดเล็กๆ จำนวนมาก จัดวางอยู่ตามความต้องการของผู้นำมา ทั้งนี้ยังมีการประดับตกแต่งกองทรายน้อยใหญ่ที่ขนเข้ามาในวัดด้วยตุง (ธง) ให้มีสีสันสวยงาม เพื่อให้แล้วเสร็จภายในช่วงค่ำของวันเดียวกัน เนื่องจากในวันถัดมาคือ วันพญาวันก็จะกลับมาที่วัดเพื่อทำบุญและถวายเจดีย์ทรายที่ได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างให้วัดได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

อย่างไรก็ตามประเพณีใด ๆ ที่เกิดขึ้นมาในอดีตนั้นล้วนพัฒนามาจากวิถีชีวิตและนิยมประพฤติปฏิบัติสืบกันมาตามที่เห็นว่าดีงาม สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของชุมชนและสภาพแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันล้วนเป็นสิ่งที่แสดงคุณค่าและสะท้อนความเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ประกอบเข้ากับการเสริมสร้างความคิด ความเชื่อที่เป็นสิริมงคลเพื่อใช้เป็นกุศโลบายที่จะคงไว้ซึ่งการปฏิบัติต่อๆ กันมาบนพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาอันเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของสังคมไทยทุกระดับ หากเพียงในปัจจุบันนั้นมุมมองด้านศาสนากลับเป็นเรื่องของความงมงาย เข้าใจและปฏิบัติได้ยาก ส่งผลให้ประเพณีหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงและค่อย ๆ เลือนหายไป สุดท้ายอาจเหลือเพียงกิจกรรมที่จัดเพื่อนักท่องเที่ยวและประโยชน์ทางเม็ดเงินในด้านธุรกิจเท่านั้น

https://www.facebook.com/creativetops.by.colormepretty/posts/392932754064154

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น