วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันราชาภิเษกสมรส 28 เมษายน

วันราชาภิเษกสมรส 28 เมษายน
 
           การสมรส  คือ  การที่ชายและหญิงจะเริ่มต้นชีวิตครอบครัว สร้างหลักฐานให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น  และมีผู้สืบสกุลต่อไป  ชายและหญิงที่จะมาอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกราบรื่น โดยตลอดนั้นจำเป็นต้องยึดหลักธรรมะหลายประการ  เช่น  คหบดีธรรม  หรือธรรมะของผู้ครองเรือน ได้แก่
           1. สัจจะ  ซื่อสัตย์ต่อกัน ไว้วางใจกัน และจริงใจต่อกัน
           2. ทมะ  รู้จักข่มจิต มีความยับยั้งชั่งใจ  ไม่แสดงความหุนหันพลันแล่น
           3. ขันติ  อดทน ต่อความยากลำบาก อดทนหากอีกฝ่ายหนึ่งมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรืออดทนต่อสิ่งไม่พอใจต่างๆ
           4. จาคะ การให้ การเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันทั้งด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังปัญญา
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงบัญญัติถ้อยคำเกี่ยวกับการสมรสไว้เป็น  3  อย่าง คือ ข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์เรียกว่า "สมรส" พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้าเรียกว่า "เสกสมรส" เจ้าฟ้าเรียกว่า "อภิเษกสมรส"
          เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน "ราชาภิเษก" ได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอัครมเหสี โดยประกาศวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 ความตอนหนึ่งว่า "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า "ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ถูกต้องตามกฎหมายและราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว"
          ในปีพ.ศ.2489 เมื่อรัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศ กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนั้น ประเทศไทยขาดพระบรมราชินีมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้นคือ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2492 ประชาชนชาวไทยจึงพากันตื่นเต้นยินดี ยิ่งได้ทราบว่าพระคู่หมั้นทรงมีพระสิริโฉมงดงาม มีพระปรีชาสามารถ
             พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสมีขึ้นวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น