วันงดสูบบุหรี่โลก (World No-Tobacco Day) 31 พฤษภาคม
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ข้อมูลทั่วไป ของบุหรี่ (Cigarette)
|
ต้นยาสูบ ใบและดอกพร้อมที่จะนำมาผลิต ยาเส้น และ บุหรี่
บุหรี่ ในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ หมายถึง ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ไม่ว่าจะมีใบยาแห้งหรือยาอัดเจือปนหรือไม่ ซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษหรือใบยาแห้งหรือยาอัด บุหรี่ผลิตมาจากใบยาสูบ ซึ่งเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งมีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่าNicotiana Tabacum โดยนำใบยาสูบมาหั่นเป็นฝอย ๆ เรียกว่า ยาเส้น แล้วนำยาเส้นมามวนด้วยใบตองแห้ง ใบจากหรือกระดาษแล้วจุดสูบ แต่บางคนก็ชอบบรรจุยาเส้นลงในกล้องแล้วจุดสูบเช่นเดียวกัน
สารต่างๆ ที่มีอยู่ในบุหรี่ ๑.นิโคติา (Nicotine) เป็นสารแอลคาลอยด์(Alkaloid) มีลักษณะเป็นน้ำมัน ไม่มีสี นิโคตินมีในควันบุหรี่ประมาณ 95% จะเข้าไปจับอยู่ในปอด บางส่วนจับอยู่ในปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางและกระตุ้นต่อมหมวกไต ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วหลอดเลือดรัดตัวนิโคตินเป็นสารสำคัญในบุหรี่ทำให้เสพติด ต้องสูบอยู่เรื่อยๆ แต่เลิกสูบยาก ๒. ทาร์ (Tar) เป็นน้ำมันเหนียวข้น สีน้ำตาล เมื่อสูบบุหรี่ทาร์ที่เข้าไปพร้อมกับควันบุหรี่จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้ระคายเคือง มีอาการไอ ถุงลมในปอดขยาย และให้เป็นมะเร็งได้ ๓. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) เป็นก๊าซจากควันบุหรี่ ที่ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง รู้สึกอ่อนเพลีย หายใจ สั้น เหนื่อยง่าย อาจจะหน้ามืดเป็นลม และถ้ามีปริมาณคาร์บอนมอนนอกไซด์ในเลือดสูงถึง 60 % ก็อาจเสียชีวิตได้ ๔. ไฮโดรเจนไซยาไนต์ (Hydrogencyanide) ก๊าซชนิดนี้จะเข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมชนิดมีขน ทำให้สิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าไปทำลายหลอดลม ก่อให้เกิดอาการไอมีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ๕. ไนโตรเจนไดออกไซด์(Nitrogendioxide) เป็นก๊าชที่สามารถทำลายเยื่อหลอดลม ทำให้ถุงลมโป่งพอง ๖. แอมโมเนีย (Ammonia) เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดลมอักเสบ ๗. สารกัมมันตภาพรังสี ในควันบุหรี่มีรังสีแอลฟาอยู่ ซึ่งรังสีชนิดนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ๘. แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นสารที่ตกค้างอยู่ในใบยาสูบจากการพ่นยาฆ่าแมลง เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็ทำให้เกิดภาวะเป็นพิษได้ โทษของบุหรี่ ๑. เกิดโรคต่างๆ คือ - โรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น มะเร็งในปอด มะเร็งใน ช่องปาก มะเร็งที่กล่องเสียง มะเร็งที่ลำคอ เป็นต้น - โรคหลอดลมอักเสบ - โรคไอเรื้อรัง - โรคถุงลมในปอดโป่งพอง - โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว - โรคกระเพาะอาหาร - โรคความดันโลหิต - โรคสมองเสื่อมสมรรถภาพ - โรคหัวใจ ๒. สิ้นเปลืองเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าบุหรี่ ๓. เสียนิสัย ถ้าอยากสูบบุหรี่แล้วไม่ได้สูบก็จะหงุดหงิดอารมณ์เสียอย่างไร้เหตุผล ๔. ทำให้อากาศเป็นพิษ ๕. เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของบุตรหลาน และเยาวชนอื่นๆ ๖. มีกลิ่นปาก ฟันดำ ฟันผุ ๗. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศทั้งชายทั้งหญิง ๘. อายุสั้น การสูบบุหรี่ ๑ มวน ทำให้อายุสั้นลงประมาณ ๕ นาที ๙. ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียวเดือดร้อนรำคาญ ๑๐. หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่ จะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์อาจจะทำให้แท้งหรือเกิดมาไม่แข็งแรง แคระแกร็นผิดปกติ ตายง่าย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น