วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระราชประวัติ
                  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน) เป็นบุตรของขุนพัฒน์ (นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้) และ นางนกเอี้ยง (กรมพระเทพามาตย์) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ. 2277 ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะ จึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัย ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง) และ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีตามขนบประเพณี ของไทยบวชอยู่ 3 พรรษา หลังจากสึกออกมาได้เข้ารับราชการ ต่อ ณ. กรมมหาดไทยที่ศาลหลวงในกรมวัง ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากจนได้เป็นพระยาตาก ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้ถูกเรียกตัวเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เพื่อแต่งตั้งไปเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรมลงใน พ.ศ. 2310 ครั้นเจริญวัยวัฒนา ก็ได้ไปถวายตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความดีความชอบจนได้รับเลื่อนหน้าที่ราชการไปเป็นผู้ปกครองหัวหน้าฝ่ายเหนือคือ เมืองตาก และเรียกติดปากมาว่า "พระยาตากสิน" สมเด็จพระเจ้าตากสินหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ตามหนังสือราชการ) เป็นยอดวีรบุตรนักรบ ฝีหัตถ์เยี่ยม ทรหดอดทน กล้าหาญ ไม่กลัวตาย และเป็นผู้ดึงอิสระเสรีของชาติไทยมาจากเงื้อมมือของผู้ช่วงชิงไป
                  สมเด็จพระเจ้าตากสิน หลังจากที่ได้กอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาก็ทรงปกครองบ้านเมืองคล้ายคลึงกับพระราโชบายของพ่อขุนรามคำแหง คือ แบบพ่อปกครองลูก พระเจ้าตากสินทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่ไม่ถือตัว ชอบปรากฎพระวรกายให้ประชาราษฎรเห็น และชอบถามสารทุกข์สุขดิบของประชาชนทั่วไป ทรงหาวิธีให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ทำมาหากินโดยปกติสุข ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ผู้ใดทำไม่พอพระทัย ก็ดุด่าว่ากล่าวดังพ่อสอนลูก อาจารย์สอนศิษย์ ซึ่งสมกับโคลงยอพระเกียรติของนายสวนมหาดเล็กที่ว่า
     พระเดียวบุญลาภเลี้ยงประชากร
เป็นบิตุรมาดรทั่วหล้า
เป็นเจ้าและครูสอนสั่งโลก
เป็นสุขทุขถ้วนหน้านิกรทั้งชายหญิง

                  ในสมัยของพระองค์นอกจากเกณฑ์ผู้คนเข้ากองทัพไปราชการสงครามแล้ว ความเดือดร้อนอื่นๆ หามีไม่เพราะเป็นพระมหากษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรมยิ่งมีพระเมตตาจิตต่อพศกนิกรของพระองค์อย่างทั่วหน้า และ มีพระศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงอนุญาตให้ศาสนาลัทธิอื่นข้ามาเผยแพร่ศาสนาในไทย คือ บาทหลวงฝรั่งเศส แต่ครั้นได้รับสิทธิให้ทำการเผยแพร่ศาสนาของตนแล้ว กลับยุยงให้คนไทยที่เข้ารีดให้ขัดขืนต่อราชการหลายหนเป็นการนำผลร้ายให้แก่ไทย จึงขอทรงให้บาทหลวงคณะนั้นออกไปพ้นพระราชอาณาเขต และทรงห้ามคนไทยมิให้ถือศาสนานั้นอีกเป็นอันขาดในยามรบทัพจับศึก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเหี้ยมหาญ อดทน สมเป็นชายชาตรีชาตินักรบฝีมือเยี่ยมจะเห็นได้ว่าในราชการสงครามแต่ละครั้งในสมรภูมิ นายทัพนายกองตลอดจนไพร่พลมักถูกลงโทษด้วยทำการไม่ได้ดังพระทัยเสมอ เช่น เมื่อคราวเรียกกองทัพกลับแล้วให้เลยไปราชบุรี มีนายทัพคนหนึ่งขัดรับสั่งแวะบ้านเสียก่อน ถึงหัวขาด นี่แสดงถึงความพิโรธของพระองค์ แต่เมื่อถึงคราวเสียสละพระองค์ก็ยอมตัดสินพระทัยไม่อยู่ดูอาการสมเด็จพระชนนีทรงพระประชวรพระอาการน่าวิตก ทั้งๆ ที่ " เมียร้อยคนหรือจะสู้พระแม่ได้ " แต่ทรงเป็นห่วงราชการสงครามมากกว่าพระราชชนนี ทรงห่วงใยว่า " ถ้ามิได้เสด็จไปบัญชาการ ก็คงจะเอาชนะพม่ามิได้ " ในคราวรบพม่าที่บางแก้ว จังหวัดราชบุรี เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2317 แล้วทรงปรารภด้วยความน้อยพระทัยว่า " ใช้พวกลูกๆ ไปทำสงครามครั้งใด ถ้าพ่อไม่เข้ากองทัพไปด้วย ไม่เห็นรบชนะศึกสักราย "
                  ข้อนี้เป็นความจริง สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ไปทำสงครามตามลำพัง หลังจากเป็นแม่ทัพไปรบกับพม่าคราวอะแซหวุ่นกี้หัวเมืองฝ่ายเหนือ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2318 และสองท่านนี้เท่านั้น เป็นพระกรขวาซ้ายในราชการสงครามทุกครั้ง และทรงเป็นทหารเอกยอดนักรบคู่พระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระราชภารกิจ
                  หลังจากกอบกู้เอกราชให้แก่ประเทศชาติ คือ การปราบชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า ตั้งแต่ชุมนุมสุกี้พระนายกอง จนถึงชุมนุมเจ้าพระฝางให้ราบคาบ รวมอาณาจักรเป็นอันเดียวกันนับเป็นเวลาสามปี ครั้นสำเร็จตามพระทัยปราถนาแล้ว ก็ต้องทำสงครามกับพม่าต่อ ทรงยืนหยัดต่อสู้อยู่ด้วยพระทัยเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง จนได้อาณาเขตกว้างขวางออกไปทั้งสี่ทิศ คือ
                  ทิศเหนือ ได้ดินแดนเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์
                  ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาวและเขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจดอาณาเขตญวน
                  ทิศใต้ ได้ดินแดนเมืองกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
                  ทิศตะวันตก จดดินแดนเมืองเมาะตะมะ ทวาย มะริด และตะนาวศรี
                  เจ้าตาก สมภพเมื่อปีขาล พ.ศ. 2277 เวลาเมื่อเข้ามากู้กรุงศรีอยุธยา อายุย่างเข้า 34 ปี พระเจ้าตากสินมีชื่อเสียงปรากฎว่ามีฝีมือรบพุ่งเข้มแข้ง แม้พวกพม่าข้าศึก ก็ยกย่องว่าเป็นนายทหารสำคัญคนหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พาทหารกล้าตายห้าร้อยคนออกจากค่ายวัดพิชัย หนีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แล้วและได้ปะทะกับพม่ากลางทุ่งนา คราวนั้นก็รบเอาชัยเป็นฤกษ์เสียแล้ว ต่อไปก็รบชนะเรื่อยมา แม้เมืองจันทบุรีเป็นเมืองใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มีกำลังทหารมาก ก็สามารถรบชนะเข้าไปกินข้าวเช้ากันในเมืองได้ ครั้นยกกองทัพเรือขึ้นมากอบกู้อิสระเสรี ก็มีชัยชนะตั้งแต่เมืองธนบุรี ที่กรุงศรีอยุธยา มีคราวเดียวกับที่รบกับอะแซหวุ่นกี้ และนับเป็นราชการสงครามที่พระองค์ทรงเป็นจอมทัพ ไม่ถึงแก่แพ้ชนะแก่กัน พม่าถอยทัพกลับไปเองเสียก่อนแต่กระนั้นก็ขับไล่พม่าที่ตกค้างแตกพ่ายเสียหายอย่างยับเยิน

                                        
                                  
ผลงานที่สร้างชื่อของพระเจ้าตากสิน
                  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีความสำคัญที่ชาวไทยไม่สามารถจะลืมในพระคุณงามความดีที่ทรงกอบกู้เอกราชเริ่มแต่ทรงตีฝ่าวงล้อมพม่าเมื่อออกจากค่ายวัดพิชัย พร้อมด้วยสมัครพรรคพวกห้าร้อยคน มีอาวุธคือปืนเพียงกระบอกเดียว นอกนั้นเป็นหอกดาบ ก็สามารถตีหักฝ่าวงล้อมพม่าออกไปได้ หรือทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรี ถือเป็นการเริ่มต้นของพระองค์ เพราะได้เริ่มประกาศพระองค์ขึ้นเป็นเจ้าคนทั้งปวงเรียกพระนามว่า "เจ้าตากสิน" แต่นั้นมา พระองค์เริ่มสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ กำลังทหาร เพื่อเข้าทำการกอบกู้อิสรภาพ ทรงได้อิสรภาพคืน ที่เรียกว่ากอบกู้อิสระเสรีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเตรียมรบพร้อมสรรพและตีได้เมืองธนบุรีแล้ว ได้ขึ้นมาตีพม่าที่ค่ายโพธิสามต้น รบชนะพม่าแตกพ่ายทรงยึดกรุงศรีอยุธยาได้ ข้าราชการได้อัญเชิญเสด็จขึ้นเสวยราชย์ เป็นพระเจ้าอยู่หัวของชาติไทยทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ขนานนามเรียกแตกต่างเป็นหลายอย่างเช่น ขุนหลวงตากเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครองราชย์สมบัติกรุงธนบุรีได้ 15 ปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์มีชนมายุ 48 พรรษา กรุงธนบุรีมีกำหนดอายุกาลได้ 15 ปี

      
**********************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น