วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

"งั้นคุณก็ไม่ได้เที่ยวเลยสิ" "เที่ยวน่ะหรอ..ผมว่าการสอนสนุกกว่านะ" . นี่คือจุดเริ่มต้นของบทสัมภาษณ์คุณครู ม.ปลาย ผู้เป็นเบื้องหลังของนักฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นจำนวน 13 คน "โอทากิ มาซาโยชิ" (อายุ 54) ภายนอกที่ไร้รอยยิ้ม แต่ภายในเต็มไปด้วยความจริงใจ จิตวิญญาณของความเป็นครูที่แท้จริง . เขาคือคนที่ปั้นนักฟุตบอลชื่อดังของญี่ปุ่นขึ้นมาหลายคน เขาทำได้อย่างไร มีวิธีการสอนแบบไหน ไปดูกันครับ! . โอทากิเริ่มต้นทุกวัน ด้วยการเดินทางมาที่ สนามกีฬาโรงเรียนตั้งแต่เช้าตรู่ เพราะทีมฟุตบอลที่เขาดูแลอยู่ จะมีซ้อมทั้งเช้าและเย็น 100 คนในชมรมฟุตบอลซ้อมกันอย่างหนัก ด้วยการดูแลของโอทากิ ในหนึ่งปีโอทากิมีวันหยุดไม่ถึง สิบวัน นั่นทำให้คนสัมภาษณ์รู้สึกสงสัยว่า "แล้วอาจารย์ เอาเวลาไหนไปเที่ยวครับ" . แกหันมายิ้มแบบเฝื่อนๆ แล้วตอบว่า "เที่ยวน่ะหรอ ผมว่าสอนแบบนี้สนุกกว่าไปเที่ยวเสียอีก" . เนื้อหาการซ้อมก็ทั่วไปไม่ได้แตกต่าง จากโรงเรียน ม.ปลายอื่นๆ หรอกครับ มีการซ้อมเตะ ซ้อมส่ง แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การจ้องมองอย่างห่างๆ จากคุณครูคนนี้อยู่ข้างนอกสนาม คอยดูว่าเด็กของเค้าเล่นฟุตบอลด้วยจิตใจอย่างไร มุ่งมั่นจริงจังหรือไม่ ********************** -"ปล่อยให้เด็กได้คิดเอง"- เวลาโอทากิเห็นอะไรผิดปกติ เค้าก็จะเรียกเด็กคนนั้นเข้ามาคุยที่ข้างสนาม เค้าจะเป็นนักถามที่ดี จะไม่บอกคำตอบตายตัว แต่จะคอยถามให้เด็กได้รู้จักคิดเอง ดังนั้นคำพูดติดปากของครูท่านนี้คือ "考えろ คังกะเอโร่" หรือ "คิดสิ" . โอทากิทำแบบนี้เพราะเชื่อว่า "คำตอบที่หาออกมาได้ด้วยตัวของเด็กเองนั้น จะกลายเป็นคำตอบที่แท้จริง และอยู่กับเด็กคนนั้นตลอดไป" ถ้าถ้ามัวแต่ชี้คำตอบให้เค้า เค้าก็จะคอยพึ่งเราตลอด ไม่สามารถเดินได้ด้วยลำแข้งตัวเองเสียที ************************** -สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า "ชัยชนะ"- เช้าวันนึงก่อนจะเริ่มซ้อม โอทากิได้เรียกให้ นักเรียนทุกคนหยิบรองเท้าหนังมาโชว์ให้ดู เพราะโอทากิบังเอิญไปเห็นส้นรองเท้าหนังคู่หนึ่งที่ส้นสึก เมื่อเจอเจ้าตัวเขาจึงได้ว่ากล่าวกับนักเรียน ที่ไม่สามารถรักษาแม้กระทั่งรองเท้าของตัวเอง ถึงจะซ้อมหนักแค่ไหน ถ้าเป็นแบบนี้ ทุกอย่างที่พยายามก็จะไม่มีประโยชน์ . ใครหลายคนอาจจะมองว่าโหดไปมั้ย แต่โอทากิมองว่า พื้นฐานที่สำคัญของการเล่นฟุตบอลคือร่ายกาย ถ้าอุปกรณ์ เครื่องแต่งกายยังรักษาไม่ได้ แล้วจะเอาตัวรอดในสังคมข้างหน้าได้อย่างไร โอทากิจะพยายามใช้ กีฬาฟุตบอล ในการสอนคนให้เป็นคน เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมต่อไป . และสิ่งที่เค้าย้ำให้นักเรียนฟังอยู่ตลอดเลย "อย่ากลัวที่จะประทะกัน" . โอทากิจะสอนอีกในอีกรูปแบบนึง เค้าจะบอกให้นักกีฬาในทีมตะโกน บอกเพื่อนร่วมทีมไปตรงๆ ว่าฟอร์มการเล่น หรือการตัดสินใจที่เป็นอยู่ ดีหรือไม่ดีอย่างไร "ให้กล้าติกล้าชมเพื่อนด้วยความจริง" เพราะเค้าเชื่อว่า นี่แหละคือสิ่งที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ทีมเติบโต . เขาจะหัดให้นักเตะคิดรูปแบบการฝึกเอง นำเสนอเอง เมื่อนักเรียนได้เริ่มคิดด้วยตนเองแล้ว เค้าเติบโตกันเร็วมากจนน่าตกใจ ทำให้โอทากิเชื่อมั่นอย่างสนิทใจว่า "หน้าที่ของครูนั้น ไม่ใช่การสอนสั่ง แต่เป็นการทำ(ฝึก) ให้นักเรียนได้คิด ต่างหากล่ะ" . แม้ตัวผมไม่ได้ดีอะไร แต่ถ้าทำให้เด็กได้คิด ได้มีชีวิตที่ดี..ผมก็พอใจแล้ว . การสร้างคน คือ ไม่คาดหวัง แต่คิดถึงความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนอย่างจริงใจ เหมือนกับการรักข้างเดียวก่อน เอาใจใส่ จนอีกฝ่าย...เริ่มเห็นใจ แล้วก็กลายเป็นรักกัน.. ตัวอย่างความคิดของคนที่ประกอบอาชีพครู ลึกซึ้ง กินใจจริงๆครับ JapanSalaryman Content cr: รายการ Professional shigoto no Ryugi ออกอากาศวันที่ 1/6/2006 ***************************************** ผมเล่น twitter แล้ว! ติดตามกัน ผมรวมหลักคิด แรงบันดาลใจจากญี่ปุ่น ที่สั้นๆ ซึมซับง่ายได้ที่นี่ Twitter.com/japansalaryboom

"งั้นคุณก็ไม่ได้เที่ยวเลยสิ"
"เที่ยวน่ะหรอ..ผมว่าการสอนสนุกกว่านะ"
.
นี่คือจุดเริ่มต้นของบทสัมภาษณ์คุณครู ม.ปลาย
ผู้เป็นเบื้องหลังของนักฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นจำนวน 13 คน

"โอทากิ มาซาโยชิ"  (อายุ 54)
ภายนอกที่ไร้รอยยิ้ม แต่ภายในเต็มไปด้วยความจริงใจ
จิตวิญญาณของความเป็นครูที่แท้จริง
.
เขาคือคนที่ปั้นนักฟุตบอลชื่อดังของญี่ปุ่นขึ้นมาหลายคน
เขาทำได้อย่างไร มีวิธีการสอนแบบไหน ไปดูกันครับ!
.
โอทากิเริ่มต้นทุกวัน ด้วยการเดินทางมาที่
สนามกีฬาโรงเรียนตั้งแต่เช้าตรู่
เพราะทีมฟุตบอลที่เขาดูแลอยู่
จะมีซ้อมทั้งเช้าและเย็น
100 คนในชมรมฟุตบอลซ้อมกันอย่างหนัก
ด้วยการดูแลของโอทากิ
ในหนึ่งปีโอทากิมีวันหยุดไม่ถึง สิบวัน
นั่นทำให้คนสัมภาษณ์รู้สึกสงสัยว่า
"แล้วอาจารย์ เอาเวลาไหนไปเที่ยวครับ"
.
แกหันมายิ้มแบบเฝื่อนๆ แล้วตอบว่า
"เที่ยวน่ะหรอ ผมว่าสอนแบบนี้สนุกกว่าไปเที่ยวเสียอีก"
.
เนื้อหาการซ้อมก็ทั่วไปไม่ได้แตกต่าง
จากโรงเรียน ม.ปลายอื่นๆ หรอกครับ
มีการซ้อมเตะ ซ้อมส่ง แต่สิ่งที่แตกต่างคือ
การจ้องมองอย่างห่างๆ จากคุณครูคนนี้อยู่ข้างนอกสนาม
คอยดูว่าเด็กของเค้าเล่นฟุตบอลด้วยจิตใจอย่างไร
มุ่งมั่นจริงจังหรือไม่
**********************

-"ปล่อยให้เด็กได้คิดเอง"-

เวลาโอทากิเห็นอะไรผิดปกติ
เค้าก็จะเรียกเด็กคนนั้นเข้ามาคุยที่ข้างสนาม
เค้าจะเป็นนักถามที่ดี จะไม่บอกคำตอบตายตัว
แต่จะคอยถามให้เด็กได้รู้จักคิดเอง
ดังนั้นคำพูดติดปากของครูท่านนี้คือ
"考えろ คังกะเอโร่" หรือ "คิดสิ"
.
โอทากิทำแบบนี้เพราะเชื่อว่า

"คำตอบที่หาออกมาได้ด้วยตัวของเด็กเองนั้น
จะกลายเป็นคำตอบที่แท้จริง
และอยู่กับเด็กคนนั้นตลอดไป"

ถ้าถ้ามัวแต่ชี้คำตอบให้เค้า
เค้าก็จะคอยพึ่งเราตลอด
ไม่สามารถเดินได้ด้วยลำแข้งตัวเองเสียที
**************************
-สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า "ชัยชนะ"-

เช้าวันนึงก่อนจะเริ่มซ้อม โอทากิได้เรียกให้
นักเรียนทุกคนหยิบรองเท้าหนังมาโชว์ให้ดู
เพราะโอทากิบังเอิญไปเห็นส้นรองเท้าหนังคู่หนึ่งที่ส้นสึก
เมื่อเจอเจ้าตัวเขาจึงได้ว่ากล่าวกับนักเรียน
ที่ไม่สามารถรักษาแม้กระทั่งรองเท้าของตัวเอง
ถึงจะซ้อมหนักแค่ไหน ถ้าเป็นแบบนี้
ทุกอย่างที่พยายามก็จะไม่มีประโยชน์
.
ใครหลายคนอาจจะมองว่าโหดไปมั้ย
แต่โอทากิมองว่า
พื้นฐานที่สำคัญของการเล่นฟุตบอลคือร่ายกาย
ถ้าอุปกรณ์ เครื่องแต่งกายยังรักษาไม่ได้
แล้วจะเอาตัวรอดในสังคมข้างหน้าได้อย่างไร
โอทากิจะพยายามใช้ กีฬาฟุตบอล
ในการสอนคนให้เป็นคน
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมต่อไป 
.
และสิ่งที่เค้าย้ำให้นักเรียนฟังอยู่ตลอดเลย
"อย่ากลัวที่จะประทะกัน"
.
โอทากิจะสอนอีกในอีกรูปแบบนึง
เค้าจะบอกให้นักกีฬาในทีมตะโกน
บอกเพื่อนร่วมทีมไปตรงๆ ว่าฟอร์มการเล่น
หรือการตัดสินใจที่เป็นอยู่ ดีหรือไม่ดีอย่างไร
"ให้กล้าติกล้าชมเพื่อนด้วยความจริง" 
เพราะเค้าเชื่อว่า นี่แหละคือสิ่งที่ดีที่สุด
ที่จะทำให้ทีมเติบโต
.
เขาจะหัดให้นักเตะคิดรูปแบบการฝึกเอง นำเสนอเอง
เมื่อนักเรียนได้เริ่มคิดด้วยตนเองแล้ว
เค้าเติบโตกันเร็วมากจนน่าตกใจ
ทำให้โอทากิเชื่อมั่นอย่างสนิทใจว่า

"หน้าที่ของครูนั้น ไม่ใช่การสอนสั่ง
แต่เป็นการทำ(ฝึก) ให้นักเรียนได้คิด ต่างหากล่ะ"
.
แม้ตัวผมไม่ได้ดีอะไร แต่ถ้าทำให้เด็กได้คิด
ได้มีชีวิตที่ดี..ผมก็พอใจแล้ว
.
การสร้างคน คือ ไม่คาดหวัง
แต่คิดถึงความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนอย่างจริงใจ
เหมือนกับการรักข้างเดียวก่อน เอาใจใส่
จนอีกฝ่าย...เริ่มเห็นใจ แล้วก็กลายเป็นรักกัน..

ตัวอย่างความคิดของคนที่ประกอบอาชีพครู
ลึกซึ้ง กินใจจริงๆครับ
JapanSalaryman

Content cr:
รายการ Professional shigoto no Ryugi
ออกอากาศวันที่ 1/6/2006

*****************************************
ผมเล่น twitter แล้ว!
ติดตามกัน ผมรวมหลักคิด แรงบันดาลใจจากญี่ปุ่น
ที่สั้นๆ ซึมซับง่ายได้ที่นี่
Twitter.com/japansalaryboom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น