วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ใครจะรู้ว่า อิงวาร์ คัมพราด เจ้าของ “อิเกีย” เป็นผู้ที่มีหัวการค้ามาตั้งแต่วัยเพียง 6 ขวบ เขาค้นพบว่าที่กรุงสต็อกโฮล์มมีแหล่งขายไม้ขีดไฟราคาถูก หนูน้อยคัมพราดที่เติบโตมาในหมู่บ้านเล็กๆ ในเมือง Smalandทางตอนใต้ของสวีเดนก็ลงทุนนำเงินเก็บไปซื้อไม้ขีดไฟแบบยกแพ็กแล้วนำมาแบ่งขายแบบปลีกด้วยการขี่จักรยานไปขายตามหมู่บ้าน กระทั่งเปลี่ยนไปขายเมล็ดพันธุ์พืช เครื่องเขียน และอุปกรณ์ตกแต่งต้นคริสต์มาสที่ราคาถูกกว่าท้องตลาด กระทั่งจบชั้นไฮสคูลเมื่อรวมกับเงินที่ได้รับมาจากบิดาแล้ว อิงวาร์ คัมพราด ในวัย 17 ปีก็สามารถเปิดร้านขายของชำเล็กๆ ในหมู่บ้านเป็นของตนเองในชื่อ “อิเกีย (IKEA)” เมื่อปี 1943 ร้านชำอิเกียอันมีที่มาจากชื่อตัว ชื่อฟาร์ม (Elmtaryd) และชื่อหมู่บ้าน (Agunnaryd) ที่เขาเติบโตขึ้นมา ในช่วงเริ่มต้นเน้นขายสินค้าพวกเครื่องประดับ เช่น นาฬิกา กระเป๋าสตางค์ ต่อมาธุรกิจได้เติบโตขึ้นมากเกินกว่าที่จะขายของด้วยตัวคนเดียวได้ เขาจึงเริ่มใช้วิธีลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และเปิดบริการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ชั่วคราว โดยใช้รถส่งนมในการนำส่งสินค้าไปยังสถานีรถไฟในละแวกใกล้ๆต่อมาในปี 1947 ก็เริ่มขายเฟอร์นิเจอร์ โดยเน้นที่มีคุณภาพดี มีความเรียบง่ายสไตล์มินิมอล และใช้สอยคุ้มค่าในราคาย่อมเยา สิ่งนี้สร้างความสำเร็จให้กับคัมพราดอย่างมากจนเขาตัดสินใจลดปริมาณและความหลากหลายของสินค้าอย่างอื่นลง แล้วหันจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เป็นหลัก และบุกตลาดเฟอร์นิเจอร์เต็มที่ โดยศึกษาเรื่องการออกแบบ การประกอบและการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในร้านอย่างจริงจัง จนอิเกียกลายเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลก จากเอกลักษณ์สินค้าที่โดดเด่นคือ ผู้ซื้อสามารถนําเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นกลับไปประกอบเองที่บ้านได้ การขายเฟอร์นิเจอร์ถือเป็นการแข่งขันเรื่องราคาที่ค่อนข้างดุเดือดโดยต่างคนต่างพยายามลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาซื้อสินค้าที่ร้านของตนเองจนทำให้ประสบปัญหาที่ผู้คนไม่แน่ใจเรื่องคุณภาพสินค้า หากจะเอาชนะคู่แข่งขันให้ได้ คัมพราดจึงมองหากลยุทธ์การขายในรูปแบบใหม่ นั่นก็คือการเปิดโชว์รูมบนพื้นที่กว่า 6,800 ตารางเมตร ซึ่งเป็นของแปลกใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีใครทำในสมัยนั้น เพราะผู้ขายสินค้าส่วนใหญ่ขายผ่านแคตตาล็อกและจดหมายสั่งซื้อ ดังนั้นการเปิดโชว์รูมจึงสร้างความตื่นเต้นให้ลูกค้าเพราะนอกจากอิเกียจะเป็นห้างเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียการเปิดโชว์รูมยังทำให้อิเกียสามารถสาธิตการจัดวาง การใช้งานและคุณภาพของสินค้าได้ เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าคุ้มราคา โดยลูกค้ายังได้เห็นและได้ลองจับก่อนซื้อ ถือเป็นก้าวสำคัญแห่งความสำเร็จในธุรกิจของอิเกีย นอกจากนี้อิเกียยังประสบปัญหาสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการถูกคู่แข่งกดดันผู้ผลิตไม่ให้ผลิตสินค้าให้อิเกีย ซึ่งนับเป็นอุปสรรคใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็กลับเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ IKEA ทิ้งห่างคู่แข่งไกลไปอีกขั้น เมื่ออิเกียได้นำเสนอเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบ และได้มีการนำกล่องแบนบรรจุสินค้ามาใช้เป็นครั้งแรก โดยแนวคิดนี้มีที่มาจากการที่พนักงานคนหนึ่งถอดขาโต๊ะรุ่น LÖVET ออก เพื่อให้นำโต๊ะใส่เข้าไปในรถได้โดยไม่เกิดความเสียหายระหว่างขนส่ง จึงกลายเป็นต้นกำเนิดของแนวคิดบรรจุภัณฑ์แบบกล่องแบนเพื่อนำเฟอร์นิเจอร์กลับไปประกอบเองที่บ้าน ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของแนวความคิดแบบ IKEA เพราะเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบนั้นนอกจากช่วยให้ลูกค้าสามารถยกใส่รถกลับบ้านได้ทันที โดยไม่ต้องมีบริการขนส่งหรือบริการติดตั้งใดๆ ก็ยังทำให้อิเกียสามารถลดต้นทุนด้านการขนส่งลงไปได้จำนวนมากอีกด้วย เสน่ห์ของอิเกียนั้นอยู่ที่ความเรียบง่าย และคัมพราดก็มักพูดอยู่เสมอว่า “ความเรียบง่ายคือคุณธรรม” ซึ่งนับเป็นแก่นแท้ของความสำเร็จของอิเกีย และมี “ราคา” เป็นกลยุทธ์นำไปสู่การสร้างยอดขาย โดยอิเกียจะซื้อและดีลผ่านเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่มีอยู่กว่า 1,400 รายใน 70 ประเทศทั่วโลกในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ในระยะยาว เพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดและสามารถวางขายในราคาที่ต่ำได้ ปัจจุบัน IKEA ได้ขยายสาขาไปมากกว่า 300 แห่ง ใน 44 ประเทศทั่วโลก สำหรับตัวคัมพราดเองนั้นนิตยสาร Forbes ได้ประเมินความมั่งคั่งของเขาเมื่อปี 2015 ไว้ที่ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐแม้ว่าวันนี้เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในบอร์ดบริหารของบริษัทแล้ว เพื่อให้มาธิอัส-บุตรชายคนสุดท้องก้าวขึ้นรับตำแหน่งประธานคนใหม่แทน แต่เขายังคงมีบทบาทในการดูแลความเป็นไปของบริษัทอยู่ อย่างไรก็ตาม แม้จะร่ำรวยเพียงใดแต่คัมพาร์ดกลับใช้ชีวิตเรียบง่ายและมัธยัสถ์เช่นเดียวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีของสหรัฐอเมริกา โดยเขาจะแต่งตัวเหมือนชายชราธรรมดา ขับรถวอลโว่คันเก่าแก่ บางครั้งก็นั่งรถไฟใต้ดิน นั่งเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ รวมถึงการนั่งรถเมล์ธรรมดาๆ และกินอาหารในร้านเล็กๆ การใช้ชีวิตมัธยัสถ์นี้แสดงถึงการรู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ #KKSME #SME #SMEs #KiatnakinBankใครจะรู้ว่า อิงวาร์ คัมพราด เจ้าของ “อิเกีย” เป็นผู้ที่มีหัวการค้ามาตั้งแต่วัยเพียง 6 ขวบ เขาค้นพบว่าที่กรุงสต็อกโฮล์มมีแหล่งขายไม้ขีดไฟราคาถูก หนูน้อยคัมพราดที่เติบโตมาในหมู่บ้านเล็กๆ ในเมือง Smalandทางตอนใต้ของสวีเดนก็ลงทุนนำเงินเก็บไปซื้อไม้ขีดไฟแบบยกแพ็กแล้วนำมาแบ่งขายแบบปลีกด้วยการขี่จักรยานไปขายตามหมู่บ้าน กระทั่งเปลี่ยนไปขายเมล็ดพันธุ์พืช เครื่องเขียน และอุปกรณ์ตกแต่งต้นคริสต์มาสที่ราคาถูกกว่าท้องตลาด กระทั่งจบชั้นไฮสคูลเมื่อรวมกับเงินที่ได้รับมาจากบิดาแล้ว อิงวาร์ คัมพราด ในวัย 17 ปีก็สามารถเปิดร้านขายของชำเล็กๆ ในหมู่บ้านเป็นของตนเองในชื่อ “อิเกีย (IKEA)” เมื่อปี 1943 ร้านชำอิเกียอันมีที่มาจากชื่อตัว ชื่อฟาร์ม (Elmtaryd) และชื่อหมู่บ้าน (Agunnaryd) ที่เขาเติบโตขึ้นมา ในช่วงเริ่มต้นเน้นขายสินค้าพวกเครื่องประดับ เช่น นาฬิกา กระเป๋าสตางค์ ต่อมาธุรกิจได้เติบโตขึ้นมากเกินกว่าที่จะขายของด้วยตัวคนเดียวได้ เขาจึงเริ่มใช้วิธีลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และเปิดบริการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ชั่วคราว โดยใช้รถส่งนมในการนำส่งสินค้าไปยังสถานีรถไฟในละแวกใกล้ๆต่อมาในปี 1947 ก็เริ่มขายเฟอร์นิเจอร์ โดยเน้นที่มีคุณภาพดี มีความเรียบง่ายสไตล์มินิมอล และใช้สอยคุ้มค่าในราคาย่อมเยา สิ่งนี้สร้างความสำเร็จให้กับคัมพราดอย่างมากจนเขาตัดสินใจลดปริมาณและความหลากหลายของสินค้าอย่างอื่นลง แล้วหันจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เป็นหลัก และบุกตลาดเฟอร์นิเจอร์เต็มที่ โดยศึกษาเรื่องการออกแบบ การประกอบและการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในร้านอย่างจริงจัง จนอิเกียกลายเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลก จากเอกลักษณ์สินค้าที่โดดเด่นคือ ผู้ซื้อสามารถนําเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นกลับไปประกอบเองที่บ้านได้ การขายเฟอร์นิเจอร์ถือเป็นการแข่งขันเรื่องราคาที่ค่อนข้างดุเดือดโดยต่างคนต่างพยายามลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาซื้อสินค้าที่ร้านของตนเองจนทำให้ประสบปัญหาที่ผู้คนไม่แน่ใจเรื่องคุณภาพสินค้า หากจะเอาชนะคู่แข่งขันให้ได้ คัมพราดจึงมองหากลยุทธ์การขายในรูปแบบใหม่ นั่นก็คือการเปิดโชว์รูมบนพื้นที่กว่า 6,800 ตารางเมตร ซึ่งเป็นของแปลกใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีใครทำในสมัยนั้น เพราะผู้ขายสินค้าส่วนใหญ่ขายผ่านแคตตาล็อกและจดหมายสั่งซื้อ ดังนั้นการเปิดโชว์รูมจึงสร้างความตื่นเต้นให้ลูกค้าเพราะนอกจากอิเกียจะเป็นห้างเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียการเปิดโชว์รูมยังทำให้อิเกียสามารถสาธิตการจัดวาง การใช้งานและคุณภาพของสินค้าได้ เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าคุ้มราคา โดยลูกค้ายังได้เห็นและได้ลองจับก่อนซื้อ ถือเป็นก้าวสำคัญแห่งความสำเร็จในธุรกิจของอิเกีย นอกจากนี้อิเกียยังประสบปัญหาสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการถูกคู่แข่งกดดันผู้ผลิตไม่ให้ผลิตสินค้าให้อิเกีย ซึ่งนับเป็นอุปสรรคใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็กลับเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ IKEA ทิ้งห่างคู่แข่งไกลไปอีกขั้น เมื่ออิเกียได้นำเสนอเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบ และได้มีการนำกล่องแบนบรรจุสินค้ามาใช้เป็นครั้งแรก โดยแนวคิดนี้มีที่มาจากการที่พนักงานคนหนึ่งถอดขาโต๊ะรุ่น LÖVET ออก เพื่อให้นำโต๊ะใส่เข้าไปในรถได้โดยไม่เกิดความเสียหายระหว่างขนส่ง จึงกลายเป็นต้นกำเนิดของแนวคิดบรรจุภัณฑ์แบบกล่องแบนเพื่อนำเฟอร์นิเจอร์กลับไปประกอบเองที่บ้าน ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของแนวความคิดแบบ IKEA เพราะเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบนั้นนอกจากช่วยให้ลูกค้าสามารถยกใส่รถกลับบ้านได้ทันที โดยไม่ต้องมีบริการขนส่งหรือบริการติดตั้งใดๆ ก็ยังทำให้อิเกียสามารถลดต้นทุนด้านการขนส่งลงไปได้จำนวนมากอีกด้วย เสน่ห์ของอิเกียนั้นอยู่ที่ความเรียบง่าย และคัมพราดก็มักพูดอยู่เสมอว่า “ความเรียบง่ายคือคุณธรรม” ซึ่งนับเป็นแก่นแท้ของความสำเร็จของอิเกีย และมี “ราคา” เป็นกลยุทธ์นำไปสู่การสร้างยอดขาย โดยอิเกียจะซื้อและดีลผ่านเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่มีอยู่กว่า 1,400 รายใน 70 ประเทศทั่วโลกในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ในระยะยาว เพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดและสามารถวางขายในราคาที่ต่ำได้ ปัจจุบัน IKEA ได้ขยายสาขาไปมากกว่า 300 แห่ง ใน 44 ประเทศทั่วโลก สำหรับตัวคัมพราดเองนั้นนิตยสาร Forbes ได้ประเมินความมั่งคั่งของเขาเมื่อปี 2015 ไว้ที่ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐแม้ว่าวันนี้เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในบอร์ดบริหารของบริษัทแล้ว เพื่อให้มาธิอัส-บุตรชายคนสุดท้องก้าวขึ้นรับตำแหน่งประธานคนใหม่แทน แต่เขายังคงมีบทบาทในการดูแลความเป็นไปของบริษัทอยู่ อย่างไรก็ตาม แม้จะร่ำรวยเพียงใดแต่คัมพาร์ดกลับใช้ชีวิตเรียบง่ายและมัธยัสถ์เช่นเดียวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีของสหรัฐอเมริกา โดยเขาจะแต่งตัวเหมือนชายชราธรรมดา ขับรถวอลโว่คันเก่าแก่ บางครั้งก็นั่งรถไฟใต้ดิน นั่งเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ รวมถึงการนั่งรถเมล์ธรรมดาๆ และกินอาหารในร้านเล็กๆ การใช้ชีวิตมัธยัสถ์นี้แสดงถึงการรู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ KiatnakinBank

ใครจะรู้ว่า อิงวาร์ คัมพราด เจ้าของ “อิเกีย” เป็นผู้ที่มีหัวการค้ามาตั้งแต่วัยเพียง 6 ขวบ เขาค้นพบว่าที่กรุงสต็อกโฮล์มมีแหล่งขายไม้ขีดไฟราคาถูก หนูน้อยคัมพราดที่เติบโตมาในหมู่บ้านเล็กๆ ในเมือง Smalandทางตอนใต้ของสวีเดนก็ลงทุนนำเงินเก็บไปซื้อไม้ขีดไฟแบบยกแพ็กแล้วนำมาแบ่งขายแบบปลีกด้วยการขี่จักรยานไปขายตามหมู่บ้าน กระทั่งเปลี่ยนไปขายเมล็ดพันธุ์พืช เครื่องเขียน และอุปกรณ์ตกแต่งต้นคริสต์มาสที่ราคาถูกกว่าท้องตลาด กระทั่งจบชั้นไฮสคูลเมื่อรวมกับเงินที่ได้รับมาจากบิดาแล้ว อิงวาร์ คัมพราด ในวัย 17 ปีก็สามารถเปิดร้านขายของชำเล็กๆ ในหมู่บ้านเป็นของตนเองในชื่อ “อิเกีย (IKEA)” เมื่อปี 1943

ร้านชำอิเกียอันมีที่มาจากชื่อตัว ชื่อฟาร์ม (Elmtaryd) และชื่อหมู่บ้าน (Agunnaryd) ที่เขาเติบโตขึ้นมา ในช่วงเริ่มต้นเน้นขายสินค้าพวกเครื่องประดับ เช่น นาฬิกา กระเป๋าสตางค์ ต่อมาธุรกิจได้เติบโตขึ้นมากเกินกว่าที่จะขายของด้วยตัวคนเดียวได้ เขาจึงเริ่มใช้วิธีลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และเปิดบริการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ชั่วคราว โดยใช้รถส่งนมในการนำส่งสินค้าไปยังสถานีรถไฟในละแวกใกล้ๆต่อมาในปี 1947 ก็เริ่มขายเฟอร์นิเจอร์ โดยเน้นที่มีคุณภาพดี มีความเรียบง่ายสไตล์มินิมอล และใช้สอยคุ้มค่าในราคาย่อมเยา สิ่งนี้สร้างความสำเร็จให้กับคัมพราดอย่างมากจนเขาตัดสินใจลดปริมาณและความหลากหลายของสินค้าอย่างอื่นลง แล้วหันจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เป็นหลัก และบุกตลาดเฟอร์นิเจอร์เต็มที่ โดยศึกษาเรื่องการออกแบบ การประกอบและการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในร้านอย่างจริงจัง จนอิเกียกลายเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลก จากเอกลักษณ์สินค้าที่โดดเด่นคือ ผู้ซื้อสามารถนําเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นกลับไปประกอบเองที่บ้านได้

การขายเฟอร์นิเจอร์ถือเป็นการแข่งขันเรื่องราคาที่ค่อนข้างดุเดือดโดยต่างคนต่างพยายามลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาซื้อสินค้าที่ร้านของตนเองจนทำให้ประสบปัญหาที่ผู้คนไม่แน่ใจเรื่องคุณภาพสินค้า หากจะเอาชนะคู่แข่งขันให้ได้ คัมพราดจึงมองหากลยุทธ์การขายในรูปแบบใหม่ นั่นก็คือการเปิดโชว์รูมบนพื้นที่กว่า 6,800 ตารางเมตร ซึ่งเป็นของแปลกใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีใครทำในสมัยนั้น เพราะผู้ขายสินค้าส่วนใหญ่ขายผ่านแคตตาล็อกและจดหมายสั่งซื้อ ดังนั้นการเปิดโชว์รูมจึงสร้างความตื่นเต้นให้ลูกค้าเพราะนอกจากอิเกียจะเป็นห้างเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียการเปิดโชว์รูมยังทำให้อิเกียสามารถสาธิตการจัดวาง การใช้งานและคุณภาพของสินค้าได้ เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าคุ้มราคา โดยลูกค้ายังได้เห็นและได้ลองจับก่อนซื้อ ถือเป็นก้าวสำคัญแห่งความสำเร็จในธุรกิจของอิเกีย

นอกจากนี้อิเกียยังประสบปัญหาสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการถูกคู่แข่งกดดันผู้ผลิตไม่ให้ผลิตสินค้าให้อิเกีย ซึ่งนับเป็นอุปสรรคใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็กลับเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ IKEA ทิ้งห่างคู่แข่งไกลไปอีกขั้น เมื่ออิเกียได้นำเสนอเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบ และได้มีการนำกล่องแบนบรรจุสินค้ามาใช้เป็นครั้งแรก โดยแนวคิดนี้มีที่มาจากการที่พนักงานคนหนึ่งถอดขาโต๊ะรุ่น LÖVET ออก เพื่อให้นำโต๊ะใส่เข้าไปในรถได้โดยไม่เกิดความเสียหายระหว่างขนส่ง จึงกลายเป็นต้นกำเนิดของแนวคิดบรรจุภัณฑ์แบบกล่องแบนเพื่อนำเฟอร์นิเจอร์กลับไปประกอบเองที่บ้าน ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของแนวความคิดแบบ IKEA เพราะเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบนั้นนอกจากช่วยให้ลูกค้าสามารถยกใส่รถกลับบ้านได้ทันที โดยไม่ต้องมีบริการขนส่งหรือบริการติดตั้งใดๆ ก็ยังทำให้อิเกียสามารถลดต้นทุนด้านการขนส่งลงไปได้จำนวนมากอีกด้วย

เสน่ห์ของอิเกียนั้นอยู่ที่ความเรียบง่าย และคัมพราดก็มักพูดอยู่เสมอว่า “ความเรียบง่ายคือคุณธรรม” ซึ่งนับเป็นแก่นแท้ของความสำเร็จของอิเกีย และมี “ราคา” เป็นกลยุทธ์นำไปสู่การสร้างยอดขาย โดยอิเกียจะซื้อและดีลผ่านเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่มีอยู่กว่า 1,400 รายใน 70 ประเทศทั่วโลกในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ในระยะยาว เพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดและสามารถวางขายในราคาที่ต่ำได้

ปัจจุบัน IKEA ได้ขยายสาขาไปมากกว่า 300 แห่ง ใน 44 ประเทศทั่วโลก สำหรับตัวคัมพราดเองนั้นนิตยสาร Forbes ได้ประเมินความมั่งคั่งของเขาเมื่อปี 2015 ไว้ที่ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐแม้ว่าวันนี้เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในบอร์ดบริหารของบริษัทแล้ว เพื่อให้มาธิอัส-บุตรชายคนสุดท้องก้าวขึ้นรับตำแหน่งประธานคนใหม่แทน แต่เขายังคงมีบทบาทในการดูแลความเป็นไปของบริษัทอยู่

อย่างไรก็ตาม แม้จะร่ำรวยเพียงใดแต่คัมพาร์ดกลับใช้ชีวิตเรียบง่ายและมัธยัสถ์เช่นเดียวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีของสหรัฐอเมริกา โดยเขาจะแต่งตัวเหมือนชายชราธรรมดา ขับรถวอลโว่คันเก่าแก่ บางครั้งก็นั่งรถไฟใต้ดิน นั่งเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ รวมถึงการนั่งรถเมล์ธรรมดาๆ และกินอาหารในร้านเล็กๆ การใช้ชีวิตมัธยัสถ์นี้แสดงถึงการรู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ

#KKSME #SME #SMEs #KiatnakinBankใครจะรู้ว่า อิงวาร์ คัมพราด เจ้าของ “อิเกีย” เป็นผู้ที่มีหัวการค้ามาตั้งแต่วัยเพียง 6 ขวบ เขาค้นพบว่าที่กรุงสต็อกโฮล์มมีแหล่งขายไม้ขีดไฟราคาถูก หนูน้อยคัมพราดที่เติบโตมาในหมู่บ้านเล็กๆ ในเมือง Smalandทางตอนใต้ของสวีเดนก็ลงทุนนำเงินเก็บไปซื้อไม้ขีดไฟแบบยกแพ็กแล้วนำมาแบ่งขายแบบปลีกด้วยการขี่จักรยานไปขายตามหมู่บ้าน กระทั่งเปลี่ยนไปขายเมล็ดพันธุ์พืช เครื่องเขียน และอุปกรณ์ตกแต่งต้นคริสต์มาสที่ราคาถูกกว่าท้องตลาด กระทั่งจบชั้นไฮสคูลเมื่อรวมกับเงินที่ได้รับมาจากบิดาแล้ว อิงวาร์ คัมพราด ในวัย 17 ปีก็สามารถเปิดร้านขายของชำเล็กๆ ในหมู่บ้านเป็นของตนเองในชื่อ “อิเกีย (IKEA)” เมื่อปี 1943

ร้านชำอิเกียอันมีที่มาจากชื่อตัว ชื่อฟาร์ม (Elmtaryd) และชื่อหมู่บ้าน (Agunnaryd) ที่เขาเติบโตขึ้นมา ในช่วงเริ่มต้นเน้นขายสินค้าพวกเครื่องประดับ เช่น นาฬิกา กระเป๋าสตางค์ ต่อมาธุรกิจได้เติบโตขึ้นมากเกินกว่าที่จะขายของด้วยตัวคนเดียวได้ เขาจึงเริ่มใช้วิธีลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และเปิดบริการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ชั่วคราว โดยใช้รถส่งนมในการนำส่งสินค้าไปยังสถานีรถไฟในละแวกใกล้ๆต่อมาในปี 1947 ก็เริ่มขายเฟอร์นิเจอร์ โดยเน้นที่มีคุณภาพดี มีความเรียบง่ายสไตล์มินิมอล และใช้สอยคุ้มค่าในราคาย่อมเยา สิ่งนี้สร้างความสำเร็จให้กับคัมพราดอย่างมากจนเขาตัดสินใจลดปริมาณและความหลากหลายของสินค้าอย่างอื่นลง แล้วหันจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เป็นหลัก และบุกตลาดเฟอร์นิเจอร์เต็มที่ โดยศึกษาเรื่องการออกแบบ การประกอบและการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในร้านอย่างจริงจัง จนอิเกียกลายเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลก จากเอกลักษณ์สินค้าที่โดดเด่นคือ ผู้ซื้อสามารถนําเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นกลับไปประกอบเองที่บ้านได้

การขายเฟอร์นิเจอร์ถือเป็นการแข่งขันเรื่องราคาที่ค่อนข้างดุเดือดโดยต่างคนต่างพยายามลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาซื้อสินค้าที่ร้านของตนเองจนทำให้ประสบปัญหาที่ผู้คนไม่แน่ใจเรื่องคุณภาพสินค้า หากจะเอาชนะคู่แข่งขันให้ได้ คัมพราดจึงมองหากลยุทธ์การขายในรูปแบบใหม่ นั่นก็คือการเปิดโชว์รูมบนพื้นที่กว่า 6,800 ตารางเมตร ซึ่งเป็นของแปลกใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีใครทำในสมัยนั้น เพราะผู้ขายสินค้าส่วนใหญ่ขายผ่านแคตตาล็อกและจดหมายสั่งซื้อ ดังนั้นการเปิดโชว์รูมจึงสร้างความตื่นเต้นให้ลูกค้าเพราะนอกจากอิเกียจะเป็นห้างเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียการเปิดโชว์รูมยังทำให้อิเกียสามารถสาธิตการจัดวาง การใช้งานและคุณภาพของสินค้าได้ เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าคุ้มราคา โดยลูกค้ายังได้เห็นและได้ลองจับก่อนซื้อ ถือเป็นก้าวสำคัญแห่งความสำเร็จในธุรกิจของอิเกีย

นอกจากนี้อิเกียยังประสบปัญหาสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการถูกคู่แข่งกดดันผู้ผลิตไม่ให้ผลิตสินค้าให้อิเกีย ซึ่งนับเป็นอุปสรรคใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็กลับเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ IKEA ทิ้งห่างคู่แข่งไกลไปอีกขั้น เมื่ออิเกียได้นำเสนอเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบ และได้มีการนำกล่องแบนบรรจุสินค้ามาใช้เป็นครั้งแรก โดยแนวคิดนี้มีที่มาจากการที่พนักงานคนหนึ่งถอดขาโต๊ะรุ่น LÖVET ออก เพื่อให้นำโต๊ะใส่เข้าไปในรถได้โดยไม่เกิดความเสียหายระหว่างขนส่ง จึงกลายเป็นต้นกำเนิดของแนวคิดบรรจุภัณฑ์แบบกล่องแบนเพื่อนำเฟอร์นิเจอร์กลับไปประกอบเองที่บ้าน ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของแนวความคิดแบบ IKEA เพราะเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบนั้นนอกจากช่วยให้ลูกค้าสามารถยกใส่รถกลับบ้านได้ทันที โดยไม่ต้องมีบริการขนส่งหรือบริการติดตั้งใดๆ ก็ยังทำให้อิเกียสามารถลดต้นทุนด้านการขนส่งลงไปได้จำนวนมากอีกด้วย

เสน่ห์ของอิเกียนั้นอยู่ที่ความเรียบง่าย และคัมพราดก็มักพูดอยู่เสมอว่า “ความเรียบง่ายคือคุณธรรม” ซึ่งนับเป็นแก่นแท้ของความสำเร็จของอิเกีย และมี “ราคา” เป็นกลยุทธ์นำไปสู่การสร้างยอดขาย โดยอิเกียจะซื้อและดีลผ่านเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่มีอยู่กว่า 1,400 รายใน 70 ประเทศทั่วโลกในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ในระยะยาว เพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดและสามารถวางขายในราคาที่ต่ำได้

ปัจจุบัน IKEA ได้ขยายสาขาไปมากกว่า 300 แห่ง ใน 44 ประเทศทั่วโลก สำหรับตัวคัมพราดเองนั้นนิตยสาร Forbes ได้ประเมินความมั่งคั่งของเขาเมื่อปี 2015 ไว้ที่ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐแม้ว่าวันนี้เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในบอร์ดบริหารของบริษัทแล้ว เพื่อให้มาธิอัส-บุตรชายคนสุดท้องก้าวขึ้นรับตำแหน่งประธานคนใหม่แทน แต่เขายังคงมีบทบาทในการดูแลความเป็นไปของบริษัทอยู่

อย่างไรก็ตาม แม้จะร่ำรวยเพียงใดแต่คัมพาร์ดกลับใช้ชีวิตเรียบง่ายและมัธยัสถ์เช่นเดียวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีของสหรัฐอเมริกา โดยเขาจะแต่งตัวเหมือนชายชราธรรมดา ขับรถวอลโว่คันเก่าแก่ บางครั้งก็นั่งรถไฟใต้ดิน นั่งเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ รวมถึงการนั่งรถเมล์ธรรมดาๆ และกินอาหารในร้านเล็กๆ การใช้ชีวิตมัธยัสถ์นี้แสดงถึงการรู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ

KiatnakinBank

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น