วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

“กาลิเลโอ” กับการลงทุน Galileo Galilei เกิดเมื่อปี ค.ศ.1564 ในเมือง Pisa ประเทศอิตาลี เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ที่สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นไว้จำนวนมาก ที่โดดเด่นที่สุดคงเป็นผู้คิดทฤษฎี Velocity หรือ Law of Free Fall ตอนสมัยเรียนชั้นประถม หลายคนคงเคยทดลองปล่อยหินสองก้อนที่มีน้ำหนักต่างกันจากที่สูง ผลปรากฏว่า หินทั้งสองกลับตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอเป็นคนคิดทฤษฎีดังกล่าว และได้ทำการทดสอบจริง ๆ ที่หอเอนแห่งเมืองปิซ่า บ้านเกิดของกาลิเลโอ นอกจากนี้ สิ่งที่กาลิเลโอประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกอย่าง คือความสามารถในทางดาราศาสตร์ เขาเป็นคนแรกในโลกที่พิสูจน์ได้ว่า โลกโครจรรอบดวงอาทิตย์โดยการสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวในระบบสุริยะเทียบกับดวงอาทิตย์ ซึ่งในตอนนั้นคนทั้งโลกเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง แต่การค้นพบดังกล่าวกลับทำให้เขาโดนลงโทษจำคุกในปี ค.ศ.1633 เนื่องจากการกล่าวอ้างดังกล่าวขัดกับคำสอนของศาสนจักรที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ชะตากรรมของกาลิเลโอให้บทเรียนสำคัญแก่คนรุ่นหลัง โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในสังคมที่คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่บนความเชื่อ มากกว่าความจริง บางครั้งการที่เราพูดความจริงบางอย่าง อาจส่งผลเสียแก่เราหากความรู้นั้น ๆ ขัดต่อความเชื่อของคนส่วนใหญ่ สิ่งที่เราทำได้คือ พยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะนั้นให้ได้ สำหรับคนที่เติบโตในสังคมแห่งความเชื่อที่เข้มข้น วิธีหนึ่งที่ทำให้เราตาสว่างขึ้นมาได้ด้วยตนเองคือ พยายามเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ รอบโลก โดยเฉพาะประเทศที่ค่อนข้างต่างจากเรามาก ๆ ท่านจะพบว่า ความเชื่อแปลก ๆ ที่คนไทยเกือบทั้งหมดเชื่อ คนอีกซีกโลกแทบไม่มีใครเชื่อเช่นนั้น หากเราเห็นแนวคิดที่แตกต่าง แล้วคิดวิเคราะห์ด้วยใจที่เป็นกลาง จะส่งผลให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คนไทยเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ฝรั่งเชื่อว่าคนเรามีชีวิตเดียว ผลคือฝรั่งมักทำสิ่งที่อยากทำ ใช้ชีวิตที่ค่อนข้างคุ้มค่า เห็นว่าเวลามีค่า แต่คนไทยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบเรื่อย ๆ ไม่รีบ ไม่ทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง เกิด แก่ มีลูก แล้วตาย หลายอย่างที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำ ก็รอไว้ชาติหน้าค่อยทำ อีกตัวอย่างคือ คนไทยเชื่อว่า คนเราเกิดมาไม่เท่ากัน เนื่องจากวาสนาต่างกัน มีบุญไม่เท่ากัน คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวย ในตระกูลที่สูงศักดิ์เป็นผู้มีบุญญาธิการ ในขณะที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เคยพูดว่า เด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยคือ Lucky Sperms แน่นอนว่าหากวอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นคนไทย คงโดนจับไปปรับทัศนคติเสียใหม่ เราในฐานะนักลงทุนคงทำได้แค่เรียนรู้ให้มาก เข้าใจโลกให้มาก เข้าใจพฤติกรรมของเพื่อนมนุษย์ทั้งในไทยและต่างประเทศให้มาก สุดท้าย องค์ความรู้ต่าง ๆ หลายแขนงอาจช่วยให้เรามีแนวคิดที่เป็นอิสระจากคนส่วนใหญ่ สามารถตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ดีขึ้น ฉลาดขึ้น คุ้มค่ากับเวลาอันแสนสั้นที่เราทุกคนมีในโลกนี้ เพราะเรื่องน่าเศร้าที่สุดของมนุษย์ก็คือ คนเราส่วนใหญ่แก่เร็วเกินไป แต่มีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันชีวิตช้าไป... คอลัมน์ #จัตุรัสนักลงทุน โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ ประชาชาติธุรกิจฯ 28.07.2017

“กาลิเลโอ” กับการลงทุน

Galileo Galilei เกิดเมื่อปี ค.ศ.1564 ในเมือง Pisa ประเทศอิตาลี เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ที่สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นไว้จำนวนมาก ที่โดดเด่นที่สุดคงเป็นผู้คิดทฤษฎี Velocity หรือ Law of Free Fall

ตอนสมัยเรียนชั้นประถม หลายคนคงเคยทดลองปล่อยหินสองก้อนที่มีน้ำหนักต่างกันจากที่สูง ผลปรากฏว่า หินทั้งสองกลับตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอเป็นคนคิดทฤษฎีดังกล่าว และได้ทำการทดสอบจริง ๆ ที่หอเอนแห่งเมืองปิซ่า บ้านเกิดของกาลิเลโอ

นอกจากนี้ สิ่งที่กาลิเลโอประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกอย่าง คือความสามารถในทางดาราศาสตร์ เขาเป็นคนแรกในโลกที่พิสูจน์ได้ว่า โลกโครจรรอบดวงอาทิตย์โดยการสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวในระบบสุริยะเทียบกับดวงอาทิตย์ ซึ่งในตอนนั้นคนทั้งโลกเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง แต่การค้นพบดังกล่าวกลับทำให้เขาโดนลงโทษจำคุกในปี ค.ศ.1633 เนื่องจากการกล่าวอ้างดังกล่าวขัดกับคำสอนของศาสนจักรที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง

ชะตากรรมของกาลิเลโอให้บทเรียนสำคัญแก่คนรุ่นหลัง โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในสังคมที่คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่บนความเชื่อ มากกว่าความจริง บางครั้งการที่เราพูดความจริงบางอย่าง อาจส่งผลเสียแก่เราหากความรู้นั้น ๆ ขัดต่อความเชื่อของคนส่วนใหญ่

สิ่งที่เราทำได้คือ พยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะนั้นให้ได้ สำหรับคนที่เติบโตในสังคมแห่งความเชื่อที่เข้มข้น วิธีหนึ่งที่ทำให้เราตาสว่างขึ้นมาได้ด้วยตนเองคือ พยายามเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ รอบโลก โดยเฉพาะประเทศที่ค่อนข้างต่างจากเรามาก ๆ ท่านจะพบว่า ความเชื่อแปลก ๆ ที่คนไทยเกือบทั้งหมดเชื่อ คนอีกซีกโลกแทบไม่มีใครเชื่อเช่นนั้น หากเราเห็นแนวคิดที่แตกต่าง แล้วคิดวิเคราะห์ด้วยใจที่เป็นกลาง จะส่งผลให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น คนไทยเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ฝรั่งเชื่อว่าคนเรามีชีวิตเดียว ผลคือฝรั่งมักทำสิ่งที่อยากทำ ใช้ชีวิตที่ค่อนข้างคุ้มค่า เห็นว่าเวลามีค่า แต่คนไทยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบเรื่อย ๆ ไม่รีบ ไม่ทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง เกิด แก่ มีลูก แล้วตาย หลายอย่างที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำ ก็รอไว้ชาติหน้าค่อยทำ

อีกตัวอย่างคือ คนไทยเชื่อว่า คนเราเกิดมาไม่เท่ากัน เนื่องจากวาสนาต่างกัน มีบุญไม่เท่ากัน คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวย ในตระกูลที่สูงศักดิ์เป็นผู้มีบุญญาธิการ ในขณะที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เคยพูดว่า เด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยคือ Lucky Sperms

แน่นอนว่าหากวอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นคนไทย คงโดนจับไปปรับทัศนคติเสียใหม่ เราในฐานะนักลงทุนคงทำได้แค่เรียนรู้ให้มาก เข้าใจโลกให้มาก เข้าใจพฤติกรรมของเพื่อนมนุษย์ทั้งในไทยและต่างประเทศให้มาก

สุดท้าย องค์ความรู้ต่าง ๆ หลายแขนงอาจช่วยให้เรามีแนวคิดที่เป็นอิสระจากคนส่วนใหญ่ สามารถตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ดีขึ้น ฉลาดขึ้น คุ้มค่ากับเวลาอันแสนสั้นที่เราทุกคนมีในโลกนี้

เพราะเรื่องน่าเศร้าที่สุดของมนุษย์ก็คือ คนเราส่วนใหญ่แก่เร็วเกินไป แต่มีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันชีวิตช้าไป...

คอลัมน์ #จัตุรัสนักลงทุน
โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
ประชาชาติธุรกิจฯ 28.07.2017

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น