วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

ทุกข์(เพราะร่ำรวย)ของเจ้าสัว แจ็ค หม่า จะจนหรือจะรวยก็มีทุกข์เหมือนกัน แต่สาเหตุแห่งทุกข์ของคนจนและคนรวยนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะคนรวยนั้นอาจจะมีทุกข์เพราะความร่ำรวยของตนเองก็ได้ อย่างกรณีของแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร อาลีบาบา กรุ๊ป เจ้าของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของจีน ผู้ที่เพิ่งครองตำแหน่งมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในแดนมังกรไปเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่นายหม่านำหุ้นไอพีโอ (หุ้นซื้อขายต่อสาธารณชนครั้งแรก) ของอาลีบาบาออกจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ จนทำให้อาลีบาบา กรุ๊ป มีมูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และนายหม่าก็ขยับจากมหาเศรษฐี เป็นอภิมหาเศรษฐีในชั่วข้ามคืน แต่นายหม่า กลับให้สัมภาษณ์ต่อสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีว่า ตนกลับไม่มีความสุขหลังจากที่เป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของจีน เพราะการที่มีเงินร่ำรวยมหาศาลกลายเป็นความเจ็บปวดที่รุนแรงสำหรับตนเอง นายหม่า กล่าวว่า "ในเดือนนี้ (พฤศจิกายน) ผมไม่มีความสุขเลย ผมคิดว่าเพราะมีแรงกดดันมหาศาลเข้ามาสู่ตัวผม ผมต้องพยายามทำตัวให้มีความสุข เพราะถ้าผมไม่สุขแล้ว ผู้ร่วมงานก็จะไม่มีความสุข และจะส่งต่อไปยังผู้ถือหุ้น และลูกค้าของผมต่อไป" ทั้งยังกล่าวด้วยว่า สาเหตุนั้นอาจจะมาจากการที่ราคาหุ้นไอพีโอของอาลีบาบานั้นพุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ "แม้ราคาหุ้นจะสูงขึ้น ความคาดหวังของผู้อื่นที่มีต่อตัวผมก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และผมอาจจะกังวลถึงอนาคตและเรื่องต่างๆ มากเกินไปด้วย" ขณะที่ "เมื่อผู้คนต่างคาดหวังกับคุณมากขึ้นมาก คุณก็ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ดังนั้น คุณจึงต้องทำใจให้สงบให้จงได้" ที่สำคัญการที่หุ้นไอพีโอของอาลีบาบาประสบความสำเร็จได้รับการตอบรับมหาศาลที่ทำให้นายหม่าชื่นชมกับผลสำเร็จนั้น เป็นเพียงอารมณ์ที่พุ่งสูงขึ้นชั่ววูบราวกับพลุที่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วดับไปเหลือไว้แต่ความมืดกับพลุลูกใหม่ที่จะพุ่งขึ้นส่องแสงในยามค่ำคืนอีกครั้ง นายหม่ามีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม แม้ผู้คนจะรู้จักเขาจากงานที่เขาทำ แต่นายหม่าก็ยืนยันว่าตัวตนที่แท้จริงของเขานั้นมากกว่างานที่รับผิดชอบ การเป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของจีน ทำให้คนทั่วไปมองเขาในมุมมองที่ต่างไปจากเดิมและมีอคติที่ต้องการแต่เงินจากเขา ซึ่งนายหม่าสารภาพว่าตนเองอยากถูกมองในฐานะนักธุรกิจที่มีความสุขกับการเป็นตัวของตัวเอง และเขาก็โหยหาความรู้สึกของการเป็นตัวของตัวเองที่สูญหายไปจากการที่ความร่ำรวยเข้ามาแทนที่ ดังนั้น นายหม่าจึงพยายามหาทางลดความเจ็บปวดจากหอกดาบของความร่ำรวยที่ได้มาจากการทำงานอย่างมีชั้นเชิงและวิสัยทัศน์ที่เฉียบขาดของเขา ด้วยการใช้เงินที่ได้มานั้นตอบแทนให้แก่สังคม ทุกข์ของนายหม่ายังไม่หมดไป เพราะแม้จะพยายามใช้เงินที่มีอยู่ในการตอบแทนสังคม เขาก็ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากสังคมที่จะนำเขาไปเปรียบเทียบกับอภิมหาเศรษฐีใจบุญ อย่างนายบิล เกตส์ เศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบิล-เมลินดา เกตส์ ที่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาและยกระดับการศึกษาและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศยากจน ดังนั้นนายหม่าจึงตั้งใจที่จะก่อตั้งมูลนิธิที่สามารถนำเงินเข้าไปพัฒนาสังคมในรูปแบบของธุรกิจ ที่จะแตกต่างจากมูลนิธิของผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ ซึ่งนายหม่ากล่าวติดตลกไว้ด้วยว่า "สังคมอาจจะมองว่าการใช้เงินตอบแทนสังคมระหว่างผมกับบิล เกตส์นั้นใครใช้เงินมากกว่า ก็จะเป็นผู้ที่ใจบุญมากกว่ากัน" อภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งแห่งแดนมังกรกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยความขมขื่น อันเกิดจากทุกข์ของความร่ำรวยจริงๆ http://www.komchadluek.net/news/foreign/195886

ทุกข์(เพราะร่ำรวย)ของเจ้าสัว แจ็ค หม่า

จะจนหรือจะรวยก็มีทุกข์เหมือนกัน แต่สาเหตุแห่งทุกข์ของคนจนและคนรวยนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะคนรวยนั้นอาจจะมีทุกข์เพราะความร่ำรวยของตนเองก็ได้ อย่างกรณีของแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร อาลีบาบา กรุ๊ป เจ้าของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของจีน ผู้ที่เพิ่งครองตำแหน่งมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในแดนมังกรไปเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่นายหม่านำหุ้นไอพีโอ (หุ้นซื้อขายต่อสาธารณชนครั้งแรก) ของอาลีบาบาออกจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ จนทำให้อาลีบาบา กรุ๊ป มีมูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และนายหม่าก็ขยับจากมหาเศรษฐี เป็นอภิมหาเศรษฐีในชั่วข้ามคืน

แต่นายหม่า กลับให้สัมภาษณ์ต่อสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีว่า ตนกลับไม่มีความสุขหลังจากที่เป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของจีน เพราะการที่มีเงินร่ำรวยมหาศาลกลายเป็นความเจ็บปวดที่รุนแรงสำหรับตนเอง

นายหม่า กล่าวว่า "ในเดือนนี้ (พฤศจิกายน) ผมไม่มีความสุขเลย ผมคิดว่าเพราะมีแรงกดดันมหาศาลเข้ามาสู่ตัวผม ผมต้องพยายามทำตัวให้มีความสุข เพราะถ้าผมไม่สุขแล้ว ผู้ร่วมงานก็จะไม่มีความสุข และจะส่งต่อไปยังผู้ถือหุ้น และลูกค้าของผมต่อไป"

ทั้งยังกล่าวด้วยว่า สาเหตุนั้นอาจจะมาจากการที่ราคาหุ้นไอพีโอของอาลีบาบานั้นพุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ "แม้ราคาหุ้นจะสูงขึ้น ความคาดหวังของผู้อื่นที่มีต่อตัวผมก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และผมอาจจะกังวลถึงอนาคตและเรื่องต่างๆ มากเกินไปด้วย" ขณะที่ "เมื่อผู้คนต่างคาดหวังกับคุณมากขึ้นมาก คุณก็ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ดังนั้น คุณจึงต้องทำใจให้สงบให้จงได้"

ที่สำคัญการที่หุ้นไอพีโอของอาลีบาบาประสบความสำเร็จได้รับการตอบรับมหาศาลที่ทำให้นายหม่าชื่นชมกับผลสำเร็จนั้น เป็นเพียงอารมณ์ที่พุ่งสูงขึ้นชั่ววูบราวกับพลุที่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วดับไปเหลือไว้แต่ความมืดกับพลุลูกใหม่ที่จะพุ่งขึ้นส่องแสงในยามค่ำคืนอีกครั้ง

นายหม่ามีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม แม้ผู้คนจะรู้จักเขาจากงานที่เขาทำ แต่นายหม่าก็ยืนยันว่าตัวตนที่แท้จริงของเขานั้นมากกว่างานที่รับผิดชอบ การเป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของจีน ทำให้คนทั่วไปมองเขาในมุมมองที่ต่างไปจากเดิมและมีอคติที่ต้องการแต่เงินจากเขา ซึ่งนายหม่าสารภาพว่าตนเองอยากถูกมองในฐานะนักธุรกิจที่มีความสุขกับการเป็นตัวของตัวเอง และเขาก็โหยหาความรู้สึกของการเป็นตัวของตัวเองที่สูญหายไปจากการที่ความร่ำรวยเข้ามาแทนที่

ดังนั้น นายหม่าจึงพยายามหาทางลดความเจ็บปวดจากหอกดาบของความร่ำรวยที่ได้มาจากการทำงานอย่างมีชั้นเชิงและวิสัยทัศน์ที่เฉียบขาดของเขา ด้วยการใช้เงินที่ได้มานั้นตอบแทนให้แก่สังคม

ทุกข์ของนายหม่ายังไม่หมดไป เพราะแม้จะพยายามใช้เงินที่มีอยู่ในการตอบแทนสังคม เขาก็ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากสังคมที่จะนำเขาไปเปรียบเทียบกับอภิมหาเศรษฐีใจบุญ อย่างนายบิล เกตส์ เศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบิล-เมลินดา เกตส์ ที่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาและยกระดับการศึกษาและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศยากจน ดังนั้นนายหม่าจึงตั้งใจที่จะก่อตั้งมูลนิธิที่สามารถนำเงินเข้าไปพัฒนาสังคมในรูปแบบของธุรกิจ ที่จะแตกต่างจากมูลนิธิของผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ ซึ่งนายหม่ากล่าวติดตลกไว้ด้วยว่า "สังคมอาจจะมองว่าการใช้เงินตอบแทนสังคมระหว่างผมกับบิล เกตส์นั้นใครใช้เงินมากกว่า ก็จะเป็นผู้ที่ใจบุญมากกว่ากัน"

อภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งแห่งแดนมังกรกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยความขมขื่น อันเกิดจากทุกข์ของความร่ำรวยจริงๆ

http://www.komchadluek.net/news/foreign/195886

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น