วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

#CaiNiaoโลจิสติกส์โตได้จากป๋าดันอาลีบาบา #เป้าหมายใหญ่ส่งในจีนภายใน1วันและส่งหาลูกค้าทั้งโลกภายใน3วัน ต้นแบบระบบขนส่งอัจฉริยะแดนมังกร ……………………. หลังจากที่อาลีบาบาปักธงเป็นที่หนึ่งของโลกตะวันออก ในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการค้าขายออนไลน์อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยบริการทุกๆ อย่างที่สร้างขึ้นจากทีมงานสายเลือดมังกรของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บศูนย์กลางเพื่อการค้าออนไลน์ที่ครอบคลุมทุกตลาด ทั้งในประเทศ ได้แก่ เถาเป่าTaobao.com (ค้าปลีก C2C) เทียนเมา Tmall.com (ค้าปลีก B2C) 1688.com (ค้าส่ง B2C) จู้ฮว๋าส้วน Juhuasuan.com (เว็บขายดีล) และค้าขายกับชาวต่างประเทศ อาทิ alibaba.com (ค้นหาโรงงานในจีน) aliexpress.com (ค้าปลีก B2C) การทำระบบแชตระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายของตัวเองในนาม ว่างว่าง (Aliwangwang.com) การทำระบบจ่ายเงินที่มีบริษัทเป็นคนกลางรับส่งเงินในนามอาลีเพย์ (Alipay) ซึ่งทุกอย่างถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง “อาลีหยุน (Aliyun.com)” และฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ “หยุน (Yun Operating System)” หากมองให้ดีทั้งหมดนี้เป็นเหมือนสมองและแขนขาของระบบอี-คอมเมิร์ซ แต่ยังขาดอีกอย่างที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ที่จะทำให้การชอปออนไลน์ปิดดีลได้จริงๆ นั่นก็คือ ผู้ซื้อได้ของถึงมือดังที่ตั้งใจ ซึ่งก็ต้องหนีไม่พ้น “ระบบขนส่ง” ซึ่งเป็นเพียงธุรกิจเดียวที่อาลีบาบาตัดสินใจไม่ทำด้วยตัวเองตั้งแต่วันแรก นั่นก็เพราะธุรกิจขนส่งเป็นธุรกิจเก่า ที่มีผู้เล่นในตลาดมากมายซึ่งทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว และที่สำคัญกว่านั้นคือ เป็นธุรกิจที่กำไรน้อยมากๆ นั่นเอง แต่เพราะเว็บขายของในเครืออาลีบาบา กินตลาดอี-คอมเมิร์ซมากกว่า 80% ดังนั้นอาลีบาบา จึงถือเป็นผู้กุมอำนาจข้อมูลสำคัญสำหรับการขนส่งไปโดยปริยาย หลังจากปี 2011-2012 ปัญหาใหญ่ของนับร้อยๆ ล้านชิ้นค้างอยู่ในโกดังต่างๆ ทั่วจีน เพราะคนทั้งประเทศพร้อมใจกันคลิกชอปสินค้าเซลล์ในวันคนโสด 11.11 ซึ่งกลายเป็นชอปปิงแห่งชาติของคนจีนไปเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นในปี 2013 “หม่า หยุน (马云 JACK MA)” จึงประกาศร่วมมือกับบริษัทขนส่งรายใหญ่ของประเทศ 3 ทง ได้แก่ จงทง หยวนทง เชินทง และยุ่นต๋า ฟู่ชุน บริษัทอสังหาฯ อิ๋นไท่ บริษัทค้าปลีก ก่อตั้งบริษัทใหม่เพื่อมาดูแลระบบขนส่งสินค้าทั้งประเทศจีนในนาม “ไช่เหนี่ยว (菜鸟 Cainiao)” โดยมีอาลีฯ ถือหุ้นใหญ่ 47% พร้อมเงินลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท “ไช่เหนี่ยว” สตาร์ตในฐานะคนจ่ายงาน ชื่อ “ไช่เหนี่ยว” ในภาษาจีนหมายถึง “มือใหม่” ซึ่งชื่อนี้สะท้อนถึงภารกิจและบทบาทแรกของบริษัทได้เป็นอย่างดีว่า ไม่ได้เป็นบริษัทขนส่งรายใหม่ที่จะมาแข่งกับพันธมิตร แต่หน้าที่ที่แท้จริงคือ เป็นคนรวมและจัดสรรข้อมูลเพื่อการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ (Alibaba’s logistics affiliate) โดยผู้ขายไม่ต้องหาข้อมูลเองว่า การส่งหาลูกค้าแต่ละรายใช้บริษัทขนส่งเจ้าไหนถูกที่สุด ระบบ “บิ๊กดาต้า (Big data 大数据)” จะเป็นคนเลือกบริษัทที่เชี่ยวชาญในแต่ละพื้นที่และมีราคาถูกที่สุดมาให้ ทุกวันนี้ไช่เหนี่ยวดูแลการส่งพัสดุในจีน 42 ล้านชิ้น/วัน จากสถิติของกรมไปรษณีย์แห่งชาติจีนระบุว่าปี 2016 มีการสั่งพัสดุเฉลี่ย 23 ชิ้น/คน (รายจ่ายส่วนนี้ประมาณ 1,200 บาท) ไช่เหนี่ยว โตได้เพราะป๋าดันแซ่หม่า หลังจาก “หม่า หยุน” เป็นเดอะบอสตัวจริงของไช่เหนี่ยว เพราะเขาเป็นตัวตั้งตัวตีของการสร้างไช่เหนี่ยวแล้ว ภารกิจต่อมาคือ การทำให้การค้าข้ามพรมแดนสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยค่าขนส่งและภาษีที่สมเหตุสมผล ช่วงปี 2013-14 หม่า หยุนจึงเดินทางไปพบปะกับรัฐบาลทั่วยุโรปและอเมริกา เพื่อขอให้นำแบรนด์แห่งชาติของแต่ละประเทศมาเปิดหน้าร้านใน tmall.comเพื่อค้าขายกับลูกค้าจีน ผลก็คือ แบรนด์ใหญ่จากทั้งโลกมามีหน้าร้านที่นี่ รวมๆ แล้ววันนี้ในเว็บของทีมอลล์มี แบรนด์จากทั่วโลกมากกว่า 30,000 แบรนด์ ซึ่งจุดนี้ก็ต้องทำควบคู่ไปกับการเริ่มนโยบาย eWTP (Electronic World Trade Platform) ที่หม่าเอามาเปิดประเด็นครั้งแรกในเวที G20 เมื่อปีที่ผ่านมา เป้าหมายคือ ทำให้เกิดระบบการเงิน การขนส่ง ภาษี และการชำระเงิน ข้ามโลกในรูปแบบดิจิทัลที่ไวขึ้นและถูกลง และผลลัพธ์หลังบ้านของการโปรโมตนโยบายนี้ก็คือ การที่ไช่เหนี่ยวเข้าไปเป็นพันธมิตรกับบริการที่เป็นเจ้าของโกดังและการขนส่งของทั่วโลก เพื่อช่วยเป็นตัวแทนรับส่งสินค้าจากประเทศต้นทางมายังจีน โดยเป็นโกดังปลอดภาษี และจะเสียต่อเมื่อของถูกสั่งและส่งออกจากโกดัง ผลก็คือ การค้าอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (Cross boarder E-commerce 跨境电子商务) การเป็นคลื่นลูกใหม่ของโลกอี-คอมเมิร์ซจีน ซึ่งมาสร้างเทรนด์ชอปปิงของนอกออนไลน์ให้กับคนจีนได้พอดิบพอดี ปัจจุบันไช่เหนี่ยวมีโกดังนานาชาติครอบคลุมกว่า 250 ประเทศ และส่วนใหญ่ใช้ระบบสมาร์ตโลจิสติกส์ที่มีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องในการคัดแยกและจับสินค้าลงกล่อง เป้าหมายใหญ่ของไช่เหนี่ยว คือ ส่งในจีนภายใน 1 วัน และส่งหาลูกค้าทั้งโลกภายใน 3 วัน ซึ่งฝันนี้ก็ไม่ไกลเกินจริง และสำหรับคนไทย จะยิ่งได้ใกล้ชิดกับไช่เหนี่ยวมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ลาซาด้า หนึ่งในบริษัทลูกของอาลีบาบา ได้ประกาศแผนการก่อตั้งโปรเจกต์อี-คอมเมิร์ซปาร์ค ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย (EEC) ซึ่งคาดว่า จะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2562 โดยหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นประตูเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ที่เปิดสู่ตลาดนานาประเทศ ทั้งยังอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อด้านการขนส่ง โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ปัจจุบัน “ไช่เหนี่ยว” ยังเป็นบริษัทไม่ทำเงิน เพราะให้บริการฟรี และมีบัญชีติดลบขาดทุนปีละกว่า 3,000 ล้านบาท แต่ก็ยังเป็นบริษัทสตาร์ตอัปอนาคตไกล วันนี้มีบริษัทต่างชาติอยากร่วมทุนด้วย ล่าสุดก็มีกลุ่มทุนเทมาเส็กจากสิงคโปร์มาลงขันกว่า 50,000 ล้านบาท นอกจากนี้ไช่เหนี่ยวยังมีแม่ทัพเป็นหญิงอย่าง “จูดี้ (Tong Wenhong)” รั้งตำแหน่งซีอีโอ ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเป็น 1 ใน 25 จอมยุทธ์ผู้ร่วมก่อตั้งอาลีบาบาในวันแรกๆ และเธอยังเคยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่แผนกต้อนรับของบริษัทอีกด้วย #TAPmagazine

#CaiNiaoโลจิสติกส์โตได้จากป๋าดันอาลีบาบา
#เป้าหมายใหญ่ส่งในจีนภายใน1วันและส่งหาลูกค้าทั้งโลกภายใน3วัน
ต้นแบบระบบขนส่งอัจฉริยะแดนมังกร
…………………….

หลังจากที่อาลีบาบาปักธงเป็นที่หนึ่งของโลกตะวันออก ในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการค้าขายออนไลน์อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยบริการทุกๆ อย่างที่สร้างขึ้นจากทีมงานสายเลือดมังกรของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บศูนย์กลางเพื่อการค้าออนไลน์ที่ครอบคลุมทุกตลาด ทั้งในประเทศ ได้แก่ เถาเป่าTaobao.com (ค้าปลีก C2C) เทียนเมา Tmall.com (ค้าปลีก B2C) 1688.com (ค้าส่ง B2C) จู้ฮว๋าส้วน Juhuasuan.com (เว็บขายดีล) และค้าขายกับชาวต่างประเทศ อาทิ alibaba.com (ค้นหาโรงงานในจีน) aliexpress.com (ค้าปลีก B2C)

การทำระบบแชตระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายของตัวเองในนาม ว่างว่าง (Aliwangwang.com) การทำระบบจ่ายเงินที่มีบริษัทเป็นคนกลางรับส่งเงินในนามอาลีเพย์ (Alipay) ซึ่งทุกอย่างถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง “อาลีหยุน (Aliyun.com)” และฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ “หยุน (Yun Operating System)”

หากมองให้ดีทั้งหมดนี้เป็นเหมือนสมองและแขนขาของระบบอี-คอมเมิร์ซ แต่ยังขาดอีกอย่างที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ที่จะทำให้การชอปออนไลน์ปิดดีลได้จริงๆ นั่นก็คือ ผู้ซื้อได้ของถึงมือดังที่ตั้งใจ ซึ่งก็ต้องหนีไม่พ้น “ระบบขนส่ง” ซึ่งเป็นเพียงธุรกิจเดียวที่อาลีบาบาตัดสินใจไม่ทำด้วยตัวเองตั้งแต่วันแรก นั่นก็เพราะธุรกิจขนส่งเป็นธุรกิจเก่า ที่มีผู้เล่นในตลาดมากมายซึ่งทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว และที่สำคัญกว่านั้นคือ เป็นธุรกิจที่กำไรน้อยมากๆ นั่นเอง

แต่เพราะเว็บขายของในเครืออาลีบาบา กินตลาดอี-คอมเมิร์ซมากกว่า 80% ดังนั้นอาลีบาบา จึงถือเป็นผู้กุมอำนาจข้อมูลสำคัญสำหรับการขนส่งไปโดยปริยาย หลังจากปี 2011-2012 ปัญหาใหญ่ของนับร้อยๆ ล้านชิ้นค้างอยู่ในโกดังต่างๆ ทั่วจีน เพราะคนทั้งประเทศพร้อมใจกันคลิกชอปสินค้าเซลล์ในวันคนโสด 11.11 ซึ่งกลายเป็นชอปปิงแห่งชาติของคนจีนไปเป็นที่เรียบร้อย

ดังนั้นในปี 2013 “หม่า หยุน (马云 JACK MA)” จึงประกาศร่วมมือกับบริษัทขนส่งรายใหญ่ของประเทศ 3 ทง ได้แก่ จงทง หยวนทง เชินทง และยุ่นต๋า ฟู่ชุน บริษัทอสังหาฯ อิ๋นไท่ บริษัทค้าปลีก ก่อตั้งบริษัทใหม่เพื่อมาดูแลระบบขนส่งสินค้าทั้งประเทศจีนในนาม “ไช่เหนี่ยว (菜鸟 Cainiao)” โดยมีอาลีฯ ถือหุ้นใหญ่ 47% พร้อมเงินลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท

“ไช่เหนี่ยว” สตาร์ตในฐานะคนจ่ายงาน

ชื่อ “ไช่เหนี่ยว” ในภาษาจีนหมายถึง “มือใหม่” ซึ่งชื่อนี้สะท้อนถึงภารกิจและบทบาทแรกของบริษัทได้เป็นอย่างดีว่า ไม่ได้เป็นบริษัทขนส่งรายใหม่ที่จะมาแข่งกับพันธมิตร แต่หน้าที่ที่แท้จริงคือ เป็นคนรวมและจัดสรรข้อมูลเพื่อการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ (Alibaba’s logistics affiliate) โดยผู้ขายไม่ต้องหาข้อมูลเองว่า การส่งหาลูกค้าแต่ละรายใช้บริษัทขนส่งเจ้าไหนถูกที่สุด ระบบ “บิ๊กดาต้า (Big data 大数据)” จะเป็นคนเลือกบริษัทที่เชี่ยวชาญในแต่ละพื้นที่และมีราคาถูกที่สุดมาให้

ทุกวันนี้ไช่เหนี่ยวดูแลการส่งพัสดุในจีน 42 ล้านชิ้น/วัน จากสถิติของกรมไปรษณีย์แห่งชาติจีนระบุว่าปี 2016 มีการสั่งพัสดุเฉลี่ย 23 ชิ้น/คน (รายจ่ายส่วนนี้ประมาณ 1,200 บาท)

ไช่เหนี่ยว โตได้เพราะป๋าดันแซ่หม่า

หลังจาก “หม่า หยุน” เป็นเดอะบอสตัวจริงของไช่เหนี่ยว เพราะเขาเป็นตัวตั้งตัวตีของการสร้างไช่เหนี่ยวแล้ว ภารกิจต่อมาคือ การทำให้การค้าข้ามพรมแดนสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยค่าขนส่งและภาษีที่สมเหตุสมผล ช่วงปี 2013-14 หม่า หยุนจึงเดินทางไปพบปะกับรัฐบาลทั่วยุโรปและอเมริกา เพื่อขอให้นำแบรนด์แห่งชาติของแต่ละประเทศมาเปิดหน้าร้านใน tmall.comเพื่อค้าขายกับลูกค้าจีน ผลก็คือ แบรนด์ใหญ่จากทั้งโลกมามีหน้าร้านที่นี่ รวมๆ แล้ววันนี้ในเว็บของทีมอลล์มี แบรนด์จากทั่วโลกมากกว่า 30,000 แบรนด์

ซึ่งจุดนี้ก็ต้องทำควบคู่ไปกับการเริ่มนโยบาย eWTP (Electronic World Trade Platform) ที่หม่าเอามาเปิดประเด็นครั้งแรกในเวที G20 เมื่อปีที่ผ่านมา เป้าหมายคือ ทำให้เกิดระบบการเงิน การขนส่ง ภาษี และการชำระเงิน ข้ามโลกในรูปแบบดิจิทัลที่ไวขึ้นและถูกลง

และผลลัพธ์หลังบ้านของการโปรโมตนโยบายนี้ก็คือ การที่ไช่เหนี่ยวเข้าไปเป็นพันธมิตรกับบริการที่เป็นเจ้าของโกดังและการขนส่งของทั่วโลก เพื่อช่วยเป็นตัวแทนรับส่งสินค้าจากประเทศต้นทางมายังจีน โดยเป็นโกดังปลอดภาษี และจะเสียต่อเมื่อของถูกสั่งและส่งออกจากโกดัง ผลก็คือ การค้าอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (Cross boarder E-commerce 跨境电子商务) การเป็นคลื่นลูกใหม่ของโลกอี-คอมเมิร์ซจีน ซึ่งมาสร้างเทรนด์ชอปปิงของนอกออนไลน์ให้กับคนจีนได้พอดิบพอดี ปัจจุบันไช่เหนี่ยวมีโกดังนานาชาติครอบคลุมกว่า 250 ประเทศ และส่วนใหญ่ใช้ระบบสมาร์ตโลจิสติกส์ที่มีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องในการคัดแยกและจับสินค้าลงกล่อง

เป้าหมายใหญ่ของไช่เหนี่ยว คือ ส่งในจีนภายใน 1 วัน และส่งหาลูกค้าทั้งโลกภายใน 3 วัน ซึ่งฝันนี้ก็ไม่ไกลเกินจริง

และสำหรับคนไทย จะยิ่งได้ใกล้ชิดกับไช่เหนี่ยวมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ลาซาด้า หนึ่งในบริษัทลูกของอาลีบาบา ได้ประกาศแผนการก่อตั้งโปรเจกต์อี-คอมเมิร์ซปาร์ค ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย (EEC) ซึ่งคาดว่า จะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2562 โดยหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นประตูเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ที่เปิดสู่ตลาดนานาประเทศ ทั้งยังอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อด้านการขนส่ง โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม

ปัจจุบัน “ไช่เหนี่ยว” ยังเป็นบริษัทไม่ทำเงิน เพราะให้บริการฟรี และมีบัญชีติดลบขาดทุนปีละกว่า 3,000 ล้านบาท แต่ก็ยังเป็นบริษัทสตาร์ตอัปอนาคตไกล วันนี้มีบริษัทต่างชาติอยากร่วมทุนด้วย ล่าสุดก็มีกลุ่มทุนเทมาเส็กจากสิงคโปร์มาลงขันกว่า 50,000 ล้านบาท นอกจากนี้ไช่เหนี่ยวยังมีแม่ทัพเป็นหญิงอย่าง “จูดี้ (Tong Wenhong)” รั้งตำแหน่งซีอีโอ ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเป็น 1 ใน 25 จอมยุทธ์ผู้ร่วมก่อตั้งอาลีบาบาในวันแรกๆ และเธอยังเคยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่แผนกต้อนรับของบริษัทอีกด้วย

#TAPmagazine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น