วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทานพื้นบ้าน เรื่องตำนานขนมครก ไอ้กะทิ หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย แอบมีความรักกับ หนูแป้ง สาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียว ของผู้ใหญ่บ้าน ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง และสัญญา กันต่อหน้าพระจันทร์ ไม่ว่าข้างหน้า แม้จะมีอุปสรรค ขวางกั้นเพียงใด ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้ ที่มีต่อ กันชั่วฟ้าดินสลาย ไอ้กะทิ ก้มหน้าก้มตาเก็บหอมรอมริบหาเงินเพื่อมาสู่ขอ ลูกสาวจากผู้ใหญ่บ้าน แต่กลับถูกปฏิเสธ แถมยังโดนผู้ ใหญ่ส่งชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธครบมือมาลอบทำร้าย แต่ ไอ้กะทิก็ไม่ว่ากระไร มันพาร่างอันสะบักสะบอมกลับไป บ้าน นอนหยอดน้ำข้าวต้มซะหลายวัน แต่ใจยังตั้งมั่นว่า วันหน้าจะมาสู่ขอหนูแป้งใหม่จนกว่าผู้ใหญ่จะใจอ่อน แต่แล้วความฝันของไอ้กะทิ ก็พังพินาศเมื่อผู้ใหญ่ยก หนู แป้ง ลูกสาวคนสวยให้แต่งงานกับปลัดหนุ่มจากบางกอก ไอ้กะทิ รู้ข่าวจึงรีบกระเสือกกระสน หมายจะมายับยั้งการ แต่งงานครั้งนี้ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็วางแผนป้องกันไว้แล้วโดย ขุดหลุมพรางดักรอไว้ แต่แม่แป้งแอบได้ยินแผนร้ายเสีย ก่อน จึงลอบหนีออกมาหมายจะห้ามหนุ่มคนรักไม่ให้ตก หลุมพราง คืนนั้นเป็นคืนเดือนแรม หนูแป้งวิ่งฝ่าความมืดออกมา เพื่อดักหน้าไอ้กะทิ ไอ้กะทิเห็นหนูแป้งวิ่งมาก็ดีใจ ทั้งคู่ รีบวิ่งเข้าหากัน ฉับพลัน!!...ร่างของหนูแป้งก็ร่วงหล่นลง ไปในหลุมพรางของผู้ใหญ่ผู้เป็นพ่อต่อหน้าต่อตาไอ้กะทิ อารามตกใจไอ้กะทิก็รีบกระโดดตามลงไปเพื่อช่วยเหลือ หนูแป้ง อารามดีใจสมุนชายฉกรรจ์ของผู้ใหญ่บ้านซึ่ง แอบซุ่มอยู่ ก็รีบเข้ามาโกยดินฝังกลบหลุมที่ทั้งคู่หล่นลง ไป เพราะคิดว่าในหลุมมีเพียงไอ้กะทิผู้เดียว ... รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ขุดหลุมเพื่อดูผลงาน แทบไม่เชื่อ สายตาเบื้องล่างปรากฏร่างของ ไอ้กะทิตระกองกอดทับ ร่างหนูแป้งลูกสาวของตน ทั้งสองนอนตายคู่กันอย่างมี ความสุข เมื่อรอยยิ้มถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตา ผู้ใหญ่บ้านรำ พึงต่อหน้าศพของลูกสาวว่า.. "พ่อไม่น่าคิดทำลายความรักของลูกเลย" ตั้งแต่นั้นมา อนุสรณ์แห่งความรักที่กระทำสืบทอดกันมา จนเป็นประเพณี ทุกแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ชาวบ้านที่ศรัทธา ในความรักของไอ้กะทิ กับ หนูแป้ง ก็จะตื่นตั้งแต่เช้ามืด เข้าครัวเพื่อทำขนมที่หอมหวาน ปรุงจากแป้ง และกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำ มาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่า "จะได้อยู่ร่วม กันตลอดไป" ขนมนี้จึงถูกเรียกขานกันในนาม "ขนมแห่ง ความรัก" หรือ ขนม คน-รัก-กัน ต่อมาถูกเรียกย่อ ๆ ว่า 'ขนม ค-ร-ก' นั่นเอง ที่มา : http://coffeezaa.blogspot.com/2010/02/blog-post_20.html ภาพ : http://bkkseek.com/

นิทานพื้นบ้าน เรื่องตำนานขนมครก

ไอ้กะทิ  หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย แอบมีความรักกับ
หนูแป้ง    สาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียว
ของผู้ใหญ่บ้าน   ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง  และสัญญา
กันต่อหน้าพระจันทร์     ไม่ว่าข้างหน้า   แม้จะมีอุปสรรค
ขวางกั้นเพียงใด   ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้  ที่มีต่อ
กันชั่วฟ้าดินสลาย

ไอ้กะทิ  ก้มหน้าก้มตาเก็บหอมรอมริบหาเงินเพื่อมาสู่ขอ
ลูกสาวจากผู้ใหญ่บ้าน   แต่กลับถูกปฏิเสธ แถมยังโดนผู้
ใหญ่ส่งชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธครบมือมาลอบทำร้าย แต่
ไอ้กะทิก็ไม่ว่ากระไร   มันพาร่างอันสะบักสะบอมกลับไป
บ้าน นอนหยอดน้ำข้าวต้มซะหลายวัน  แต่ใจยังตั้งมั่นว่า
วันหน้าจะมาสู่ขอหนูแป้งใหม่จนกว่าผู้ใหญ่จะใจอ่อน

แต่แล้วความฝันของไอ้กะทิ ก็พังพินาศเมื่อผู้ใหญ่ยก หนู
แป้ง ลูกสาวคนสวยให้แต่งงานกับปลัดหนุ่มจากบางกอก
ไอ้กะทิ  รู้ข่าวจึงรีบกระเสือกกระสน หมายจะมายับยั้งการ
แต่งงานครั้งนี้ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็วางแผนป้องกันไว้แล้วโดย
ขุดหลุมพรางดักรอไว้  แต่แม่แป้งแอบได้ยินแผนร้ายเสีย
ก่อน  จึงลอบหนีออกมาหมายจะห้ามหนุ่มคนรักไม่ให้ตก
หลุมพราง

คืนนั้นเป็นคืนเดือนแรม     หนูแป้งวิ่งฝ่าความมืดออกมา
เพื่อดักหน้าไอ้กะทิ   ไอ้กะทิเห็นหนูแป้งวิ่งมาก็ดีใจ ทั้งคู่
รีบวิ่งเข้าหากัน ฉับพลัน!!...ร่างของหนูแป้งก็ร่วงหล่นลง
ไปในหลุมพรางของผู้ใหญ่ผู้เป็นพ่อต่อหน้าต่อตาไอ้กะทิ
อารามตกใจไอ้กะทิก็รีบกระโดดตามลงไปเพื่อช่วยเหลือ
หนูแป้ง     อารามดีใจสมุนชายฉกรรจ์ของผู้ใหญ่บ้านซึ่ง
แอบซุ่มอยู่ ก็รีบเข้ามาโกยดินฝังกลบหลุมที่ทั้งคู่หล่นลง
ไป เพราะคิดว่าในหลุมมีเพียงไอ้กะทิผู้เดียว ...

รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ขุดหลุมเพื่อดูผลงาน แทบไม่เชื่อ
สายตาเบื้องล่างปรากฏร่างของ ไอ้กะทิตระกองกอดทับ
ร่างหนูแป้งลูกสาวของตน  ทั้งสองนอนตายคู่กันอย่างมี
ความสุข  เมื่อรอยยิ้มถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตา  ผู้ใหญ่บ้านรำ
พึงต่อหน้าศพของลูกสาวว่า..
"พ่อไม่น่าคิดทำลายความรักของลูกเลย"

ตั้งแต่นั้นมา อนุสรณ์แห่งความรักที่กระทำสืบทอดกันมา
จนเป็นประเพณี ทุกแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ชาวบ้านที่ศรัทธา
ในความรักของไอ้กะทิ กับ หนูแป้ง  ก็จะตื่นตั้งแต่เช้ามืด
เข้าครัวเพื่อทำขนมที่หอมหวาน    ปรุงจากแป้ง และกะทิ
บรรจงหยอดลงหลุม  พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม   แล้วนำ
มาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่า   "จะได้อยู่ร่วม
กันตลอดไป" ขนมนี้จึงถูกเรียกขานกันในนาม "ขนมแห่ง
ความรัก"  หรือ ขนม คน-รัก-กัน    ต่อมาถูกเรียกย่อ ๆ ว่า
'ขนม ค-ร-ก' นั่นเอง

ที่มา : http://coffeezaa.blogspot.com/2010/02/blog-post_20.html
ภาพ : http://bkkseek.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น