วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

1 เมษายน วัน April’s Fool Day ใครไม่ปลื้มการโกหกแต่ไม่อยากตกเทรนด์ อ่านเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการโกหก 10 ข้อนี้... แล้วไปเล่าให้ใครสักคนฟังแทนการโกหก น่าจะแทนกันได้ครับ “เรื่องโกหก” เหมือนกัน . 1. อายุ 6-12 ปีเป็นช่วงวัยที่เด็กจะเริ่มอยากโกหกอย่างจริงจัง (Erik Erikson : The 8 Stages of Psychosocial Development) เพราะเป็นช่วงที่เด็กต้องการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง ดังนั้นการเปรียบเทียบและไม่รู้จักชมลูก ไม่ฝึกการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยให้กับเด็กวัยนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กใช้การโกหกเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการในระยะยาว... พึงระวังนะครับ บิดามารดาทั้งหลาย . 2. การผิดศีลข้อ 4 ในประเด็นของการพูดเท็จ มุสาวาท (มุสาวาทะ) เป็นจุดเริ่มต้นของการผิดศีลข้ออื่นๆ ลองนึกเล่นๆดูนะครับ เกือบทุกความผิดที่คนเราทำมักเริ่มจากการโกหก รักษาวาจาให้สุจริตชอบ ศีลข้ออื่นๆก็มีแนวโน้มที่จะคงสภาพปฏิบัติชอบได้ สาธุสิครับ รออะไร . 3. White Lies โกหกสีขาว เป็นศัพท์ยอดนิยมในยุคนี้ หมายถึงการโกหกที่มีเจตนาดี เช่น การโกหกเพื่อรักษาน้ำใจ โกหกให้ผู้ฟังทำตามที่ต้องการ (กุศโลบาย) เรื่องนี้ผิดถูกดีเลวอย่างไร คงต้องถกกันนาน ส่วนตัวผมมองเรื่องนี้เป็น “ศรีธนญไชยโมเดล” หลักการอาจจะดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เอามาใช้โกหกและปัจจัยอื่นๆอีกร้อยแปด โกหกสีขาวอาจจะกลายเป็นข้ออ้างในการโกหกดำๆของคนฉลาดก็ได้ . 4. 40% ของเรซูเม่ในการสมัครงาน มีข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง มักจะมาในรูปแบบเกินจริงทั้งในเรื่องตำแหน่งงาน เงินเดือน ประสบการณ์ที่บริษัทเก่า นอกเหนือจากการโกหก สิ่งที่ยากที่สุดคือการกรอกความสามารถทางภาษาและการพิมพ์ดีด เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือดีมาก ดี พอใช้ และคนส่วนใหญ่ไม่เคยนับคำที่พิมพ์ดีดได้ใน 1 นาที . 5. ยังมีการโกหกที่เป็น“อาการ”ทางจิตเวช (Pathological Liar) เป็นการโกหกจากพยาธิสภาพ ที่ไม่ได้ตั้งใจจะโกหก ควบคุมไม่ได้ เช่น โรคซึมเศร้า กลุ่มโรคบุคลิกภาพบกพร่อง เป็นการหลอกตัวเองโดยการเปลี่ยนความจริงในระดับความทรงจำ ภาวะนี้เอาเครื่องจับเท็จมาตรวจก็“อาจจะ”จับไม่ได้ . 6. มาต่อที่ “เครื่องจับเท็จ” เรียกอีกอย่างว่า “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องจับเท็จจากการตอบสนองของร่างกายขณะโกหก ความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับหลายๆประการ อเมริกายอมรับการตรวจด้วยโพลีกราฟให้เป็นหลักฐานในชั้นศาลแค่บางรัฐเท่านั้น แคนาดาไม่สามารถเลย ส่วนพี่ไทยเอามาใช้ประกอบความเห็นได้เฉยๆครับ เป็นเครื่องมือของตำรวจที่ใช้เขียนสำนวนส่งฟ้องศาล . 7. การโกหกมีความสัมพันธ์กับรหัสพันธุกรรมทางสมอง ใครที่มีสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ (Neocortex) พัฒนาได้ดี จะเป็นคนที่โกหกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการโกหกมีส่วนสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่จมูกและกระบอกตา นักจิตวิทยาเรียกว่า พินอคคิโอเอฟเฟก (Pinocchio Effect) คือระหว่างการโกหก จมูกและตาจะอุ่นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ขณะโกหกยังมีการหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาทำให้เนื้อเยื่อในจมูกพองตัว เป็นเหตุให้ต้องเอามือมาจับหรือขยี้จมูก . 8. เป็นไปได้ว่าข้อคิดของ “การโกหก” เรื่องแรกของเด็กหลายๆคนคือเรื่อง “เด็กเลี้ยงแกะ” จากนิทานอีสป เป็นนิทานที่มีมาประมาณ 2,700 ปี เล่าโดยอีสป ทาสชาวกรีกโบราณที่สุดท้ายกลายเป็นนักเล่านิทานชื่อก้องโลก เรื่องเล่าหรือนิทานอีสปถูกเล่าต่อๆกันมา และรวบรวมเขียนเป็นบันทึกไว้หลังจากที่เขาเสียชีวิตแล้วเกือบ 500 ปี ตราบจนปัจจุบัน . 9. April’s Fool Day คนไทยเอาแปลว่า วันเมษาหน้าโง่ เป็นวันโกหกที่สามารถแกล้งหลอกกันได้ในประเทศตะวันตก มีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม แต่ในสมัยก่อนการส่งข่าวยังล่าช้าทำให้บางแห่งยังไม่รู้จึงฉลองปีใหม่ในวันเดิมคือ 1 เมษายน ซึ่งก็จะมีการส่งการ์ดเชิญมาร่วมงานฉลองที่ไม่มีอยู่จริง เหมือนการโกหกกันจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของการหลอกแกล้งกันในวันนี้ . 10. เรื่องสุดท้ายเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมเชื่อว่าการโกหกที่ส่งผลเสียที่สุดคือการโกหกตัวเอง และเรื่องโกหกที่เลวร้ายที่สุดในการโกหกตัวเองคือ “โกหกว่าตัวเราทำไม่ได้” มีเรื่องในชีวิตของคุณมากมาย ที่คุณสามารถทำได้แน่นอนถ้าคุณพยายามมากพอ เลิกโกหกตัวเองแล้วจงลงมือทำอะไรบางอย่าง ยอมรับความจริงเถอะครับว่า คุณทำได้ ขอให้มีความสุขนะครับ -------------------------------------- #สื่อสารสร้างสุข เพราะคำพูดบางคำ เปลี่ยนชีวิตบางคน

1 เมษายน วัน April’s Fool Day
ใครไม่ปลื้มการโกหกแต่ไม่อยากตกเทรนด์
อ่านเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการโกหก 10 ข้อนี้...
แล้วไปเล่าให้ใครสักคนฟังแทนการโกหก
น่าจะแทนกันได้ครับ “เรื่องโกหก” เหมือนกัน
.
1. อายุ 6-12 ปีเป็นช่วงวัยที่เด็กจะเริ่มอยากโกหกอย่างจริงจัง (Erik Erikson : The 8 Stages of Psychosocial Development) เพราะเป็นช่วงที่เด็กต้องการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง ดังนั้นการเปรียบเทียบและไม่รู้จักชมลูก ไม่ฝึกการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยให้กับเด็กวัยนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กใช้การโกหกเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการในระยะยาว... พึงระวังนะครับ บิดามารดาทั้งหลาย
.
2. การผิดศีลข้อ 4 ในประเด็นของการพูดเท็จ มุสาวาท (มุสาวาทะ) เป็นจุดเริ่มต้นของการผิดศีลข้ออื่นๆ ลองนึกเล่นๆดูนะครับ เกือบทุกความผิดที่คนเราทำมักเริ่มจากการโกหก รักษาวาจาให้สุจริตชอบ ศีลข้ออื่นๆก็มีแนวโน้มที่จะคงสภาพปฏิบัติชอบได้ สาธุสิครับ รออะไร
.
3. White Lies โกหกสีขาว เป็นศัพท์ยอดนิยมในยุคนี้ หมายถึงการโกหกที่มีเจตนาดี เช่น การโกหกเพื่อรักษาน้ำใจ โกหกให้ผู้ฟังทำตามที่ต้องการ (กุศโลบาย) เรื่องนี้ผิดถูกดีเลวอย่างไร คงต้องถกกันนาน ส่วนตัวผมมองเรื่องนี้เป็น “ศรีธนญไชยโมเดล” หลักการอาจจะดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เอามาใช้โกหกและปัจจัยอื่นๆอีกร้อยแปด โกหกสีขาวอาจจะกลายเป็นข้ออ้างในการโกหกดำๆของคนฉลาดก็ได้ 
.
4. 40% ของเรซูเม่ในการสมัครงาน มีข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง มักจะมาในรูปแบบเกินจริงทั้งในเรื่องตำแหน่งงาน เงินเดือน ประสบการณ์ที่บริษัทเก่า นอกเหนือจากการโกหก สิ่งที่ยากที่สุดคือการกรอกความสามารถทางภาษาและการพิมพ์ดีด เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือดีมาก ดี พอใช้ และคนส่วนใหญ่ไม่เคยนับคำที่พิมพ์ดีดได้ใน 1 นาที 
.
5. ยังมีการโกหกที่เป็น“อาการ”ทางจิตเวช (Pathological Liar) เป็นการโกหกจากพยาธิสภาพ ที่ไม่ได้ตั้งใจจะโกหก ควบคุมไม่ได้ เช่น โรคซึมเศร้า กลุ่มโรคบุคลิกภาพบกพร่อง เป็นการหลอกตัวเองโดยการเปลี่ยนความจริงในระดับความทรงจำ ภาวะนี้เอาเครื่องจับเท็จมาตรวจก็“อาจจะ”จับไม่ได้
.
6. มาต่อที่ “เครื่องจับเท็จ” เรียกอีกอย่างว่า “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องจับเท็จจากการตอบสนองของร่างกายขณะโกหก ความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับหลายๆประการ อเมริกายอมรับการตรวจด้วยโพลีกราฟให้เป็นหลักฐานในชั้นศาลแค่บางรัฐเท่านั้น แคนาดาไม่สามารถเลย ส่วนพี่ไทยเอามาใช้ประกอบความเห็นได้เฉยๆครับ เป็นเครื่องมือของตำรวจที่ใช้เขียนสำนวนส่งฟ้องศาล
.
7. การโกหกมีความสัมพันธ์กับรหัสพันธุกรรมทางสมอง ใครที่มีสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ (Neocortex) พัฒนาได้ดี จะเป็นคนที่โกหกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการโกหกมีส่วนสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่จมูกและกระบอกตา นักจิตวิทยาเรียกว่า พินอคคิโอเอฟเฟก (Pinocchio Effect) คือระหว่างการโกหก จมูกและตาจะอุ่นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ขณะโกหกยังมีการหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาทำให้เนื้อเยื่อในจมูกพองตัว เป็นเหตุให้ต้องเอามือมาจับหรือขยี้จมูก
.
8. เป็นไปได้ว่าข้อคิดของ “การโกหก” เรื่องแรกของเด็กหลายๆคนคือเรื่อง “เด็กเลี้ยงแกะ” จากนิทานอีสป เป็นนิทานที่มีมาประมาณ 2,700 ปี เล่าโดยอีสป ทาสชาวกรีกโบราณที่สุดท้ายกลายเป็นนักเล่านิทานชื่อก้องโลก เรื่องเล่าหรือนิทานอีสปถูกเล่าต่อๆกันมา และรวบรวมเขียนเป็นบันทึกไว้หลังจากที่เขาเสียชีวิตแล้วเกือบ 500 ปี ตราบจนปัจจุบัน
.
9. April’s Fool Day คนไทยเอาแปลว่า วันเมษาหน้าโง่ เป็นวันโกหกที่สามารถแกล้งหลอกกันได้ในประเทศตะวันตก มีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม แต่ในสมัยก่อนการส่งข่าวยังล่าช้าทำให้บางแห่งยังไม่รู้จึงฉลองปีใหม่ในวันเดิมคือ 1 เมษายน ซึ่งก็จะมีการส่งการ์ดเชิญมาร่วมงานฉลองที่ไม่มีอยู่จริง เหมือนการโกหกกันจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของการหลอกแกล้งกันในวันนี้
.
10. เรื่องสุดท้ายเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมเชื่อว่าการโกหกที่ส่งผลเสียที่สุดคือการโกหกตัวเอง และเรื่องโกหกที่เลวร้ายที่สุดในการโกหกตัวเองคือ “โกหกว่าตัวเราทำไม่ได้” มีเรื่องในชีวิตของคุณมากมาย ที่คุณสามารถทำได้แน่นอนถ้าคุณพยายามมากพอ เลิกโกหกตัวเองแล้วจงลงมือทำอะไรบางอย่าง ยอมรับความจริงเถอะครับว่า คุณทำได้

ขอให้มีความสุขนะครับ
--------------------------------------
#สื่อสารสร้างสุข
เพราะคำพูดบางคำ เปลี่ยนชีวิตบางคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น