วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พระอารมณ์ขัน...'ทูลเกล้าฯ ถวาย' พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกันเองกับราษฎรไม่ทรงถือสาหากใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง แต่ทรงพิถีพิถันและให้ความสำคัญในการใช้ภาษากฎหมายเป็นอย่างยิ่ง มีรับสั่งเสมอว่า การใช้ถ้อยคำในกฎหมายต้องใช้ให้เหมาะสม เคยมีร่างกฎหมายฉบับหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยบัญญัติว่า "ทูลเกล้าฯ" โดยไม่มีคำว่า "ถวาย" ต่อท้าย ทั้งๆที่หลักการใช้คำกริยาราชาศัพท์ที่ถูกต้องควรใช้คำว่า "ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย" หรือ "ทูลเกล้าฯ ถวาย" ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวก็ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนและวุฒิสภามาโดยไม่มีผู้ใดสังเกตข้อผิดพลาด เมื่อนายกรัฐมนตรีได้นำทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ทรงแย้มสรวลรับสั่งในเชิงสัพยอกกับนายกรัฐมนตรีว่า... "ถ้าทูลเกล้าฯ มาเฉยๆ ไม่ต่อท้ายว่าถวาย เรื่องก็จะไม่ถึงฉัน...จะทูลอยู่บนเกล้าของรัฐบาลอย่างนั้นแหละ" ต่อมามีพระราชกระแสรับสั่งย้ำเตือนว่า..."การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องในที่นี้ ไม่ใช่เรื่องจุกจิก แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นกฎหมาย" (พบเรื่องนี้ในบทความพิเศษ 'พระราชอัจฉริยภาพทางกฎหมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว' โดย ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร จากหนังสือ My King ในหลวงของเรา National Geographic)) 🌸🍀🌸 ท ร ง พ ร ะ เ จ ริ ญ ยิ่ ง ยื น น า น 🌸🍀🌸 พ่อแห่งแผ่นดินผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของชาวไทย ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลด้วยความจงรักภักดี ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและอานุภาพแห่งสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากล ได้โปรดอภิบาลให้พ่อของแผ่นดินทรงพระสิริสวัสดิ์ ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย มีพระราชประสงค์จำนงหมายในสิ่งใดขอจงสัมฤทธิ์ดังพระราชหฤทัยปรารถนา สถิตเป็นมิ่งขวัญของปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตราบชั่วนิรันดร์กาล ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ กราบแทบพระบาท...

พระอารมณ์ขัน...'ทูลเกล้าฯ ถวาย'

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกันเองกับราษฎรไม่ทรงถือสาหากใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง แต่ทรงพิถีพิถันและให้ความสำคัญในการใช้ภาษากฎหมายเป็นอย่างยิ่ง มีรับสั่งเสมอว่า การใช้ถ้อยคำในกฎหมายต้องใช้ให้เหมาะสม

เคยมีร่างกฎหมายฉบับหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยบัญญัติว่า "ทูลเกล้าฯ" โดยไม่มีคำว่า "ถวาย" ต่อท้าย ทั้งๆที่หลักการใช้คำกริยาราชาศัพท์ที่ถูกต้องควรใช้คำว่า "ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย" หรือ "ทูลเกล้าฯ ถวาย" ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวก็ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนและวุฒิสภามาโดยไม่มีผู้ใดสังเกตข้อผิดพลาด

เมื่อนายกรัฐมนตรีได้นำทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ทรงแย้มสรวลรับสั่งในเชิงสัพยอกกับนายกรัฐมนตรีว่า...

"ถ้าทูลเกล้าฯ มาเฉยๆ ไม่ต่อท้ายว่าถวาย เรื่องก็จะไม่ถึงฉัน...จะทูลอยู่บนเกล้าของรัฐบาลอย่างนั้นแหละ"

ต่อมามีพระราชกระแสรับสั่งย้ำเตือนว่า..."การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องในที่นี้ ไม่ใช่เรื่องจุกจิก แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นกฎหมาย"

(พบเรื่องนี้ในบทความพิเศษ 'พระราชอัจฉริยภาพทางกฎหมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว' โดย ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร จากหนังสือ My King ในหลวงของเรา National Geographic))

🌸🍀🌸 ท ร ง พ ร ะ เ จ ริ ญ ยิ่ ง ยื น น า น 🌸🍀🌸
พ่อแห่งแผ่นดินผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของชาวไทย ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลด้วยความจงรักภักดี ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและอานุภาพแห่งสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากล ได้โปรดอภิบาลให้พ่อของแผ่นดินทรงพระสิริสวัสดิ์ ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย มีพระราชประสงค์จำนงหมายในสิ่งใดขอจงสัมฤทธิ์ดังพระราชหฤทัยปรารถนา สถิตเป็นมิ่งขวัญของปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตราบชั่วนิรันดร์กาล ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ กราบแทบพระบาท...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น