วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ทำไม ของดี หลายทีพบว่ามันขายไม่ได้ เรื่องราวดีๆ ทำไมเล่าแล้ว คนฟังเบือนหน้าหนี ผมเชื่อว่า หลายคนมีอะไรดีๆ ที่อยากเล่าให้คนอื่นฟัง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่คุณมี แนวคิดที่คุณรู้ ประโยชน์บางอย่างที่อยากให้เขาได้รับ แต่... สุดท้าย คนฟังไม่ชอบ เขาไม่ปลื้ม จบลงด้วยความคิดที่ว่า... “เรื่องของเธอนะ ฉันพูดในสิ่งที่ดี เธอไม่ฟัง เธอไม่เชื่อฉัน ก็สุดแท้แต่เธอ” เราแก้ที่คนฟังไม่ได้ครับ แต่เราสำรวจตัวเองได้ว่าเราพลาดในการสื่อสารตรงไหนไปหรือเปล่า ผมมี 2 กรณีที่เป็นเหตุมาจากคนพูด ลองสำรวจดูนะครับ กรณีแรก “มันไม่ใช่เรื่องที่เขาอยากฟัง” ...มนุษย์ไม่สนใจเรื่องที่ “ไม่เกี่ยวกับเขา” ...มนุษย์ไม่สนใจเรื่องที่ “เขารู้อยู่แล้ว” ...มนุษย์ไม่สนใจเรื่องที่ “เขาคิดว่ามันไม่มีประโยชน์กับเขา” เรื่องดีๆของคุณ ต่อให้มันสุดยอดในสายตาของคุณแค่ไหน ถ้ามันไม่ใช่ในสายตาของเขา เขาจะแค่ได้ยิน แต่เขาไม่ได้ฟัง จงทำให้สิ่งที่เขาอยากฟังและสิ่งที่คุณอยากพูดเป็นเรื่องเดียวกัน คุยสามวันก็ไม่จบ กรณีต่อมา “เรื่องน่าฟัง แต่คนพูดน่าหมั่นใส้เหลือเกิน” คนส่วนใหญ่ไม่ชอบคนขี้อวด… อวดหรือไม่อวดแตกต่างที่เจตนา ถามตัวเองก่อนครับว่าคุณพูดให้คนฟังรู้สึกดี หรือพูดให้ตัวเองรู้สึกดี จริงๆการอวด เป็นหนึ่งในเทคนิคสร้างแรงบันดาลใจให้คนฟังที่ได้ผลมาก แต่ขอให้คุณอวด เมื่อคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น“ในสายตาคนฟัง”แล้วเท่านั้น ณเดชน์พูดเรื่องความหล่อ ไม่มีใครคิดว่าณเดชน์ขี้อวด คุณตันโออิชิพูดเรื่องความรวย ไม่มีใครคิดว่าคุณตันขี้อวด “ถ้าคุณยังไม่ตัวใหญ่จริง อย่าพูดให้ตัวเองดูใหญ่ ถ้าคุณตัวใหญ่แล้วจริงๆ ยิ่งพูดให้ตัวเองดูเล็ก คุณจะยิ่งตัวใหญ่” เรื่องดีๆจากลมปากของคุณ อย่าให้มันพัดออกมาทื่อๆ กรองก่อนพูดซักนิด ห่อหุ้มด้วยศิลปะซักหน่อย คนฟังจะเชื่อและเอาไปปฏิบัติตามหรือเปล่า อย่าไปคิดแทน แค่ทำให้เขาอยากฟัง ฟังแล้วความสุขเกิดกับเขา เราเองจะได้ความสุขคูณสอง --------------------------------------------- #สื่อสารสร้างสุข เพราะคำพูดบางคำ เปลี่ยนชีวิตบางคน

ทำไม ของดี หลายทีพบว่ามันขายไม่ได้
เรื่องราวดีๆ ทำไมเล่าแล้ว คนฟังเบือนหน้าหนี

ผมเชื่อว่า หลายคนมีอะไรดีๆ ที่อยากเล่าให้คนอื่นฟัง
ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่คุณมี แนวคิดที่คุณรู้ ประโยชน์บางอย่างที่อยากให้เขาได้รับ
แต่... สุดท้าย คนฟังไม่ชอบ เขาไม่ปลื้ม  จบลงด้วยความคิดที่ว่า...
“เรื่องของเธอนะ ฉันพูดในสิ่งที่ดี เธอไม่ฟัง เธอไม่เชื่อฉัน ก็สุดแท้แต่เธอ”

เราแก้ที่คนฟังไม่ได้ครับ แต่เราสำรวจตัวเองได้ว่าเราพลาดในการสื่อสารตรงไหนไปหรือเปล่า
ผมมี 2 กรณีที่เป็นเหตุมาจากคนพูด ลองสำรวจดูนะครับ

กรณีแรก “มันไม่ใช่เรื่องที่เขาอยากฟัง”
...มนุษย์ไม่สนใจเรื่องที่ “ไม่เกี่ยวกับเขา”
...มนุษย์ไม่สนใจเรื่องที่ “เขารู้อยู่แล้ว”
...มนุษย์ไม่สนใจเรื่องที่ “เขาคิดว่ามันไม่มีประโยชน์กับเขา”
เรื่องดีๆของคุณ ต่อให้มันสุดยอดในสายตาของคุณแค่ไหน
ถ้ามันไม่ใช่ในสายตาของเขา เขาจะแค่ได้ยิน แต่เขาไม่ได้ฟัง
จงทำให้สิ่งที่เขาอยากฟังและสิ่งที่คุณอยากพูดเป็นเรื่องเดียวกัน
คุยสามวันก็ไม่จบ

กรณีต่อมา “เรื่องน่าฟัง แต่คนพูดน่าหมั่นใส้เหลือเกิน”
คนส่วนใหญ่ไม่ชอบคนขี้อวด… อวดหรือไม่อวดแตกต่างที่เจตนา
ถามตัวเองก่อนครับว่าคุณพูดให้คนฟังรู้สึกดี หรือพูดให้ตัวเองรู้สึกดี
จริงๆการอวด เป็นหนึ่งในเทคนิคสร้างแรงบันดาลใจให้คนฟังที่ได้ผลมาก
แต่ขอให้คุณอวด เมื่อคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น“ในสายตาคนฟัง”แล้วเท่านั้น
ณเดชน์พูดเรื่องความหล่อ ไม่มีใครคิดว่าณเดชน์ขี้อวด
คุณตันโออิชิพูดเรื่องความรวย ไม่มีใครคิดว่าคุณตันขี้อวด
“ถ้าคุณยังไม่ตัวใหญ่จริง อย่าพูดให้ตัวเองดูใหญ่
ถ้าคุณตัวใหญ่แล้วจริงๆ ยิ่งพูดให้ตัวเองดูเล็ก คุณจะยิ่งตัวใหญ่”

เรื่องดีๆจากลมปากของคุณ อย่าให้มันพัดออกมาทื่อๆ
กรองก่อนพูดซักนิด ห่อหุ้มด้วยศิลปะซักหน่อย
คนฟังจะเชื่อและเอาไปปฏิบัติตามหรือเปล่า อย่าไปคิดแทน
แค่ทำให้เขาอยากฟัง ฟังแล้วความสุขเกิดกับเขา เราเองจะได้ความสุขคูณสอง
---------------------------------------------
#สื่อสารสร้างสุข
เพราะคำพูดบางคำ เปลี่ยนชีวิตบางคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น