วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เต้ยเป็นเด็กหนุ่มเกเร ติดเหล้า ติดการพนัน แม่ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง อับจนปัญญาที่จะทำให้เด็กคนนี้กลับตัวเป็นคนดีได้ หลวงตาซึ่งบวชเป็นพระใกล้บ้านทราบเรื่อง จึงเดินทางกลับมายังบ้านลูกสาวและพำนักที่บ้านหลังนั้นหนึ่งคืน เช้ามาขณะกำลังจะเดินทางกลับวัด หลวงตาหารองเท้ามาไม่เจอและด้วยกิริยางกๆ เงิ่นๆ เต้ยที่เพิ่งฟื้นจากอาการเมาจากบ่อนเมื่อใกล้รุ่งเห็นเข้า เขาจึงกุลีกุจอเข้าช่วยหารองเท้าจนเจอนำมาให้หลวงตา ท่านลูบหัวพร้อมกล่าวว่า "โยมหลานเอ๊ยย.ย..หลวงตาต้องขอโทษด้วยที่รบกวนเธอ ดูเอาเถอะ คนเราวันหนึ่งก็ต้องแก่เหมือนหลวงตานี่แหละ พอแก่แล้วทำอะไรก็ไม่สะดวก หูตาก็ฝ้าฟางลงทุกที นี่แค่หารองเท้าแค่นี้ยังต้องพึ่งคนอื่นเลย หลวงตาขอโทษเธอจริงๆนะ ไม่น่าเกิดมาสร้างภาระให้ใครเลย" ......................... น้ำตาหลวงตาร่วงพรูลงบนหลังมือเจ้าหลานชายที่กำลังสวมรองเท้าให้ นาทีนั้นเอง!! เต้ยเริ่มรู้สึกว่าเขาทอดทิ้งหลวงตามาเป็นเวลานานแล้ว ใจก็เชื่อมโยงถึงผู้เป็นแม่ขึ้นมาทันที ที่แม่ต้องคอยเป็นห่วงเป็นใยเขาวันแล้ววันเล่า ........................ นี่เขากลายเป็นภาระของแม่ไปตั้งแต่เมื่อไหร่กัน? หยาดน้ำตาบนหลังมือพลันให้เขาเกิดสามัญสำนึกถึงความไม่ได้เรื่องของตน น้ำตาเขาไหลรินโดยไม่รู้สึกตัว ได้กล่าวกับหลวงตาน้ำเสียงสะอื้นว่า "หลวงตาครับ ผมต่างหากที่ต้องขอโทษ ผมละเลยทั้งแม่และหลวงตามาโดยตลอด จากวันนี้ไปผมจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ขอหลวงตาให้อภัยผมด้วยเถิดครับ" เต้ยก้มกราบแทบเท้าหลวงตา ด้วยจิตสำนึกในสิ่งที่เขาได้กระทำมาในอดีต ........................ จากนั้นเป็นต้นมา แม่ก็ได้ลูกชายคนใหม่มาด้วยกุศโลบายในการทำให้หลานชายรู้สึกสำนึกผิดจากหลวงตาของเขานั่นเอง การให้อภัยจึงไม่ใช่การบอกว่า .."ฉันยกโทษให้เธอ" แล้วจบกัน หากแต่ต้องมาจากการที่คนทำผิด เกิดจิตสำนึกขึ้นมาอย่างถ่องแท้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้นผิด แล้วอยากเริ่มต้นใหม่ อยากแก้ไขตัวเอง หากดำเนินไปในลักษณะนี้ จึงจะเป็นการให้อภัยในความหมายที่แท้.

เต้ยเป็นเด็กหนุ่มเกเร ติดเหล้า ติดการพนัน แม่ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง อับจนปัญญาที่จะทำให้เด็กคนนี้กลับตัวเป็นคนดีได้
หลวงตาซึ่งบวชเป็นพระใกล้บ้านทราบเรื่อง จึงเดินทางกลับมายังบ้านลูกสาวและพำนักที่บ้านหลังนั้นหนึ่งคืน
เช้ามาขณะกำลังจะเดินทางกลับวัด หลวงตาหารองเท้ามาไม่เจอและด้วยกิริยางกๆ เงิ่นๆ เต้ยที่เพิ่งฟื้นจากอาการเมาจากบ่อนเมื่อใกล้รุ่งเห็นเข้า เขาจึงกุลีกุจอเข้าช่วยหารองเท้าจนเจอนำมาให้หลวงตา ท่านลูบหัวพร้อมกล่าวว่า
"โยมหลานเอ๊ยย.ย..หลวงตาต้องขอโทษด้วยที่รบกวนเธอ ดูเอาเถอะ คนเราวันหนึ่งก็ต้องแก่เหมือนหลวงตานี่แหละ พอแก่แล้วทำอะไรก็ไม่สะดวก หูตาก็ฝ้าฟางลงทุกที นี่แค่หารองเท้าแค่นี้ยังต้องพึ่งคนอื่นเลย หลวงตาขอโทษเธอจริงๆนะ ไม่น่าเกิดมาสร้างภาระให้ใครเลย"
.........................
น้ำตาหลวงตาร่วงพรูลงบนหลังมือเจ้าหลานชายที่กำลังสวมรองเท้าให้ นาทีนั้นเอง!! เต้ยเริ่มรู้สึกว่าเขาทอดทิ้งหลวงตามาเป็นเวลานานแล้ว ใจก็เชื่อมโยงถึงผู้เป็นแม่ขึ้นมาทันที ที่แม่ต้องคอยเป็นห่วงเป็นใยเขาวันแล้ววันเล่า
........................
นี่เขากลายเป็นภาระของแม่ไปตั้งแต่เมื่อไหร่กัน? หยาดน้ำตาบนหลังมือพลันให้เขาเกิดสามัญสำนึกถึงความไม่ได้เรื่องของตน น้ำตาเขาไหลรินโดยไม่รู้สึกตัว ได้กล่าวกับหลวงตาน้ำเสียงสะอื้นว่า
"หลวงตาครับ ผมต่างหากที่ต้องขอโทษ ผมละเลยทั้งแม่และหลวงตามาโดยตลอด จากวันนี้ไปผมจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ขอหลวงตาให้อภัยผมด้วยเถิดครับ"
เต้ยก้มกราบแทบเท้าหลวงตา ด้วยจิตสำนึกในสิ่งที่เขาได้กระทำมาในอดีต
........................
จากนั้นเป็นต้นมา แม่ก็ได้ลูกชายคนใหม่มาด้วยกุศโลบายในการทำให้หลานชายรู้สึกสำนึกผิดจากหลวงตาของเขานั่นเอง
การให้อภัยจึงไม่ใช่การบอกว่า .."ฉันยกโทษให้เธอ" แล้วจบกัน หากแต่ต้องมาจากการที่คนทำผิด เกิดจิตสำนึกขึ้นมาอย่างถ่องแท้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้นผิด แล้วอยากเริ่มต้นใหม่ อยากแก้ไขตัวเอง หากดำเนินไปในลักษณะนี้ จึงจะเป็นการให้อภัยในความหมายที่แท้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น