วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เราได้อะไรจากการโกรธแค้นกันบ้างครับ? . การให้อภัยเขา คือการให้ที่ตัวเราได้รับมากที่สุด เราได้รับการปลดปล่อยจากภาระหนักๆที่กำลังแบก เป็นการวางจากภาระที่ทำให้ใจตกต่ำ . เขาทำผิด ให้วางแล้วอภัย? ...อะไรคือความถูกต้อง? การให้อภัย ไม่ใช่ให้มองว่า สิ่งที่เขาทำผิดเป็นเรื่องถูก หรือให้เพิกเฉยต่อความผิดนั้น ความผิดของเขายังคงอยู่ แต่ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ที่ต้องเป็นคนไปลงมือทำโทษเขาด้วยตัวเอง เพราะเวลาที่เราลงโทษด้วยเจตนาโกรธแค้น วิธีการจะอุบาทว์เสมอ... ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกฎแห่งกรรม และกฎแห่งความยุติธรรมของสังคมดีกว่าครับ . นักให้อภัยมืออาชีพ ไม่ใช่ว่าเขาไม่รู้จักโกรธ แต่เขายอมรับความโกรธนั้น แล้วดับมันลงได้ ไม่ให้ความโกรธมีตัวตน จะพูดจะทำอะไร อยู่บนเจตนาของการยกโทษให้แล้ว . ความโกรธอาจจะเกิดขึ้นโดยเราไม่ได้ตั้งใจ แต่การให้อภัย ต้องใช้ความพยายาม ไม่มีคำว่าบังเอิญ คุณต้องฝึกครับ! . จะฝึกให้อภัย ต้องเริ่มจากฝึกไม่โกรธ จำไว้ว่า ตัวเราไม่ได้โกรธ จิตต่างหากที่โกรธ ในทางพุทธฯ ครูบาอาจารย์ท่านไม่เคยสอนให้ใช้วิธี “ห้ามจิต” ไม่ให้โกรธ อย่าไป “ห้าม” แค่ “รู้ตัว” แล้ว “ดู” ตามดูไปเรื่อยๆ เหมือนเราดูหนังตอนนางเอกโดนทำร้าย ตัวเรา...คือคนดู จิตเรา...คือดาวพระศุกร์ที่กำลังแสดงความโกรธต่อมาหยารัศมี . ฝึกอย่างนี้ไปสักพัก ฝึกดู ไม่โหม ไม่ต้าน จิตจะไม่ถูกครอบงำ มันจะสงบได้เอง . แต่ถ้าความโกรธนั้น มันกำลังจะทำให้เรา โต้ตอบ ด่า หรือทำร้ายใคร ต้องห้ามความโกรธ อย่ามัวไปดูมัน อย่าเป็นไทยมุงตอนจิตกำลังสั่งให้ทำร้ายใคร ห้ามจิตให้ได้ หยุดมันให้อยู่ ค่อยมามุงดูตามวิสัย . จะด่า หรือทำร้ายตอบโต้เวลาโกรธเป็นของง่าย น้ำมันท่วมขนาดนั้น ใช้ไฟนิดเดียวก็ลุกโชน ได้ความร้อน ความหนักติดตัวมา ได้หลอกตัวเองว่าสะใจเป็นของแถม . การให้อภัยต่างหาก ที่ต้องอาศัยความกล้าหาญมากๆ ได้ของตอบแทนมาอย่างเดียว ก็แค่ ความสุข เอง ^_^ --------------------- #สื่อสารสร้างสุข #happytalk เพราะคำพูดบางคำ เปลี่ยนชีวิตบางคน

เราได้อะไรจากการโกรธแค้นกันบ้างครับ?
.
การให้อภัยเขา คือการให้ที่ตัวเราได้รับมากที่สุด
เราได้รับการปลดปล่อยจากภาระหนักๆที่กำลังแบก
เป็นการวางจากภาระที่ทำให้ใจตกต่ำ
.
เขาทำผิด ให้วางแล้วอภัย? ...อะไรคือความถูกต้อง?
การให้อภัย ไม่ใช่ให้มองว่า สิ่งที่เขาทำผิดเป็นเรื่องถูก
หรือให้เพิกเฉยต่อความผิดนั้น
ความผิดของเขายังคงอยู่ แต่ไม่ใช่หน้าที่ของเรา
ที่ต้องเป็นคนไปลงมือทำโทษเขาด้วยตัวเอง
เพราะเวลาที่เราลงโทษด้วยเจตนาโกรธแค้น
วิธีการจะอุบาทว์เสมอ...
ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกฎแห่งกรรม
และกฎแห่งความยุติธรรมของสังคมดีกว่าครับ
.
นักให้อภัยมืออาชีพ ไม่ใช่ว่าเขาไม่รู้จักโกรธ
แต่เขายอมรับความโกรธนั้น
แล้วดับมันลงได้ ไม่ให้ความโกรธมีตัวตน
จะพูดจะทำอะไร อยู่บนเจตนาของการยกโทษให้แล้ว
.
ความโกรธอาจจะเกิดขึ้นโดยเราไม่ได้ตั้งใจ
แต่การให้อภัย ต้องใช้ความพยายาม ไม่มีคำว่าบังเอิญ
คุณต้องฝึกครับ!
.
จะฝึกให้อภัย ต้องเริ่มจากฝึกไม่โกรธ
จำไว้ว่า ตัวเราไม่ได้โกรธ จิตต่างหากที่โกรธ
ในทางพุทธฯ ครูบาอาจารย์ท่านไม่เคยสอนให้ใช้วิธี
“ห้ามจิต” ไม่ให้โกรธ
อย่าไป “ห้าม” แค่ “รู้ตัว” แล้ว “ดู”
ตามดูไปเรื่อยๆ เหมือนเราดูหนังตอนนางเอกโดนทำร้าย
ตัวเรา...คือคนดู
จิตเรา...คือดาวพระศุกร์ที่กำลังแสดงความโกรธต่อมาหยารัศมี
.
ฝึกอย่างนี้ไปสักพัก ฝึกดู ไม่โหม ไม่ต้าน
จิตจะไม่ถูกครอบงำ มันจะสงบได้เอง
.
แต่ถ้าความโกรธนั้น มันกำลังจะทำให้เรา
โต้ตอบ ด่า หรือทำร้ายใคร
ต้องห้ามความโกรธ อย่ามัวไปดูมัน
อย่าเป็นไทยมุงตอนจิตกำลังสั่งให้ทำร้ายใคร
ห้ามจิตให้ได้ หยุดมันให้อยู่ ค่อยมามุงดูตามวิสัย
.
จะด่า หรือทำร้ายตอบโต้เวลาโกรธเป็นของง่าย
น้ำมันท่วมขนาดนั้น ใช้ไฟนิดเดียวก็ลุกโชน
ได้ความร้อน ความหนักติดตัวมา
ได้หลอกตัวเองว่าสะใจเป็นของแถม
.
การให้อภัยต่างหาก
ที่ต้องอาศัยความกล้าหาญมากๆ
ได้ของตอบแทนมาอย่างเดียว
ก็แค่ ความสุข เอง ^_^
---------------------
#สื่อสารสร้างสุข #happytalk
เพราะคำพูดบางคำ เปลี่ยนชีวิตบางคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น