วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ช่างสังเกต . . . เชื่อไหมครับว่าตอนเด็กเราช่างสังเกตมาก วันหนึ่งเราตั้งคำถามคำสิ่งรอบๆตัวเป็นร้อยๆพันๆครั้ง . แต่ความสามารถนี้ลดลงอย่างน่าใจหายเมื่อเราโตขึ้น . เหมือนกับเรื่องราวของช้างกับคนเลี้ยงช้าง . เวลาคนเลี้ยงช้างเอาลูกช้างมาเลี้ยงเขาจะมัดมันไว้กับเสา . ตอนเล็กๆมันจะพยายามดิ้นให้หลุดจากเสา แต่ดิ้นยังก็ดิ้นไม่หลุดเพราะเชือกมันเหนียวและแข็งแรงมาก ดิ้นตั้งแต่เล็กจนโตยังไงก็ไม่หลุด . เมื่อช้างโตขึ้นเป็นแม่ช้าง คนเลี้ยงช้างไม่ต้องใช้เชือกเหนียวๆแล้วใช้แค่เชือกฟางมาผูกกับเสาแม่ช้างก็ไม่ดิ้นไปไหน เพราะมันคิดว่าดิ้นยังไงก็ไปไหนไม่ได้ . แม่ช้างคลอดลูกออกมา . คนเลี้ยงช้างเอาลูกมาผูกกับเสาอีกเช่นกัน แต่ผูกด้วยเชือกที่เหนียวและแข็งแรง . ลูกช้างพยายามจะดิ้นให้หลุด . มีเด็กคนนึงเดินผ่านมาแล้วสังเกตพฤิตกรรมของ ช้างแม่ลูกคู่นี้และถามคนเลี้ยงช้างด้วยความสงสัย . “ทำไมลูกช้างพยายามจะดิ้นหนีทั้งๆที่รู้ว่าหนีไม่ได้ แต่แม่ช้างไม่หนีทั้งๆที่หนีได้?” . คุณมีคำตอบให้เด็กน้อยอยู่ในใจแล้วใช่ไหมครับ . คืนนึงในปี 1936 ใน Oklahoma City . Sylvan Goldman เป็นเจ้าของร้านซูเปอร์มาร์เกตชื่อ Piggly Wiggly ในตอนนั้นซูเปอร์มาร์เกตทุกร้านยังคงใช้ตระกร้าเป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวในการใส่ของอยู่ . เขาสังเกตว่าจำนวนของที่ขายได้จะขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญคือความสามารถในการถือตระกร้าของลูกค้าคนนั้น เรียกได้ว่าถ้าตระกร้าเต็มเกินไปหรือหนักเกินไปเมื่อไรก็เป็นอันหยุดช็อป . วันนั้นเองจู่ๆ เขาก็คิดถึงคำถามสุดเบสิคขึ้นมาว่า . “จะทำยังไงให้ลูกค้าซื้อของในร้านเยอะขึ้นได้” . คิดได้ดังนั้นก็ไม่รอช้า Sylvan ไปเรียกช่างชื่อ Fred Young มาเพื่อเอา ตระกร้ามาวางบนเก้าอี้ไม้และต่อล้อเข้าไปที่ปลายขา . จุดประสงค์เพื่อสร้างเครื่องทุ่นแรงในการชอบให้แก่ลูกค้า . ปรากฏว่า แป๊กครับแป๊ก คนไม่อยากใช้ . ลูกค้าผู้ชายรู้สึกว่ามันไม่แมนเพราะรถเข็นทำให้พวกเขาเหมือนไม่มีพลังพอจะถือของที่ตัวเองมาซื้อ ซึ่งราวกับมันไปทำลายอีโก้อย่างใหญ่หลวงยังไงยังงั้น สำหรับผู้หญิงมันทำให้พวกเธอนึกถึงรถเข็นเด็กซึ่งมันให้ความรู้สึกที่ไม่ดีเอาซะเลย . แต่ Sylvan ไม่ยอมแพ้ครับ . เขาจ้างนายแบบและนางแบบมาเดินเข็นรถเข็นนี้เพื่อช่วยลูกค้าซื้อของเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่ามันช่วยให้ชีวิตลูกค้านั้นง่ายและดีขึ้นทำให้การซื้อของสะดวกขึ้น . นางแบบและนายแบบยังช่วยในเรื่องภาพลักษณ์ว่าภาพลักษณ์ของลูกค้าไม่ได้ดูแย่ลงจากการใช้รถเข็นหรอกนะ . Sylvan สามารถทำให้ลูกค้าเห็นว่ารถเข็นของเราทำให้ลูกค้าประหยัดแรง, ซื้อของได้มากขึ้น และยังประหยัดเวลาอีกด้วย . ในที่สุดรถเข็นในซุเปอร์มาร์เกตก็กลายมาเป็นที่นิยมอย่างมากจนซูเปอร์มาร์เกตต่างๆทั่วโลกต้องออกแบบทางเดินใหม่เพื่อรองรับรถเข็นเหล่านี้ . ความช่างสังเกตของ Sylvan ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีจากการเก็บค่าลิขสิทธิ์การขายรถเข็นทุกคัน . และสิ่งประดิษฐ์ของเขายังเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ . ความช่างสังเกตเป็นสัญชาติญาณของเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องฝึกที่จะเรียกมันกลับมา . อย่าปล่อยให้กรอบของความเคยชินบังตา Cr. Mission To The Moon

ช่างสังเกต
.
.
.

เชื่อไหมครับว่าตอนเด็กเราช่างสังเกตมาก วันหนึ่งเราตั้งคำถามคำสิ่งรอบๆตัวเป็นร้อยๆพันๆครั้ง
.
แต่ความสามารถนี้ลดลงอย่างน่าใจหายเมื่อเราโตขึ้น
.
เหมือนกับเรื่องราวของช้างกับคนเลี้ยงช้าง
.
เวลาคนเลี้ยงช้างเอาลูกช้างมาเลี้ยงเขาจะมัดมันไว้กับเสา
.
ตอนเล็กๆมันจะพยายามดิ้นให้หลุดจากเสา แต่ดิ้นยังก็ดิ้นไม่หลุดเพราะเชือกมันเหนียวและแข็งแรงมาก ดิ้นตั้งแต่เล็กจนโตยังไงก็ไม่หลุด
.
เมื่อช้างโตขึ้นเป็นแม่ช้าง คนเลี้ยงช้างไม่ต้องใช้เชือกเหนียวๆแล้วใช้แค่เชือกฟางมาผูกกับเสาแม่ช้างก็ไม่ดิ้นไปไหน เพราะมันคิดว่าดิ้นยังไงก็ไปไหนไม่ได้
.
แม่ช้างคลอดลูกออกมา
.
คนเลี้ยงช้างเอาลูกมาผูกกับเสาอีกเช่นกัน แต่ผูกด้วยเชือกที่เหนียวและแข็งแรง
.
ลูกช้างพยายามจะดิ้นให้หลุด
.
มีเด็กคนนึงเดินผ่านมาแล้วสังเกตพฤิตกรรมของ ช้างแม่ลูกคู่นี้และถามคนเลี้ยงช้างด้วยความสงสัย
.
“ทำไมลูกช้างพยายามจะดิ้นหนีทั้งๆที่รู้ว่าหนีไม่ได้ แต่แม่ช้างไม่หนีทั้งๆที่หนีได้?”
.
คุณมีคำตอบให้เด็กน้อยอยู่ในใจแล้วใช่ไหมครับ
.
คืนนึงในปี 1936 ใน Oklahoma City
.
Sylvan Goldman เป็นเจ้าของร้านซูเปอร์มาร์เกตชื่อ Piggly Wiggly ในตอนนั้นซูเปอร์มาร์เกตทุกร้านยังคงใช้ตระกร้าเป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวในการใส่ของอยู่
.
เขาสังเกตว่าจำนวนของที่ขายได้จะขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญคือความสามารถในการถือตระกร้าของลูกค้าคนนั้น เรียกได้ว่าถ้าตระกร้าเต็มเกินไปหรือหนักเกินไปเมื่อไรก็เป็นอันหยุดช็อป
.
วันนั้นเองจู่ๆ เขาก็คิดถึงคำถามสุดเบสิคขึ้นมาว่า
.
“จะทำยังไงให้ลูกค้าซื้อของในร้านเยอะขึ้นได้”
.
คิดได้ดังนั้นก็ไม่รอช้า Sylvan ไปเรียกช่างชื่อ Fred Young มาเพื่อเอา ตระกร้ามาวางบนเก้าอี้ไม้และต่อล้อเข้าไปที่ปลายขา
.
จุดประสงค์เพื่อสร้างเครื่องทุ่นแรงในการชอบให้แก่ลูกค้า
.
ปรากฏว่า แป๊กครับแป๊ก คนไม่อยากใช้
.
ลูกค้าผู้ชายรู้สึกว่ามันไม่แมนเพราะรถเข็นทำให้พวกเขาเหมือนไม่มีพลังพอจะถือของที่ตัวเองมาซื้อ ซึ่งราวกับมันไปทำลายอีโก้อย่างใหญ่หลวงยังไงยังงั้น สำหรับผู้หญิงมันทำให้พวกเธอนึกถึงรถเข็นเด็กซึ่งมันให้ความรู้สึกที่ไม่ดีเอาซะเลย
.
แต่ Sylvan ไม่ยอมแพ้ครับ
.
เขาจ้างนายแบบและนางแบบมาเดินเข็นรถเข็นนี้เพื่อช่วยลูกค้าซื้อของเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่ามันช่วยให้ชีวิตลูกค้านั้นง่ายและดีขึ้นทำให้การซื้อของสะดวกขึ้น
.
นางแบบและนายแบบยังช่วยในเรื่องภาพลักษณ์ว่าภาพลักษณ์ของลูกค้าไม่ได้ดูแย่ลงจากการใช้รถเข็นหรอกนะ
.
Sylvan สามารถทำให้ลูกค้าเห็นว่ารถเข็นของเราทำให้ลูกค้าประหยัดแรง, ซื้อของได้มากขึ้น และยังประหยัดเวลาอีกด้วย
.
ในที่สุดรถเข็นในซุเปอร์มาร์เกตก็กลายมาเป็นที่นิยมอย่างมากจนซูเปอร์มาร์เกตต่างๆทั่วโลกต้องออกแบบทางเดินใหม่เพื่อรองรับรถเข็นเหล่านี้
.
ความช่างสังเกตของ Sylvan ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีจากการเก็บค่าลิขสิทธิ์การขายรถเข็นทุกคัน
.
และสิ่งประดิษฐ์ของเขายังเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้
.
ความช่างสังเกตเป็นสัญชาติญาณของเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องฝึกที่จะเรียกมันกลับมา
.
อย่าปล่อยให้กรอบของความเคยชินบังตา

Cr. Mission To The Moon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น