วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

150 เครื่องมือที่ครู อาจารย์ วิทยากร ควรรู้จัก เครื่องมือที่ 7 Panel Discussion การอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญ อีกหนึ่งเครื่องมือที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดสัมมนาวิชาการ นั่งคือการทำการอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญ เราเห็นกันบ่อยครั้งและเราก็ได้เรียกมันรวมๆเป็นคำไทยว่า "สัมมนา" แต่แท้จริงแล้วนั้นในนิยามของการสัมมนาในรูปแบบนี้ สามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันทั้ง Panel (การอภิปรายโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความคิดต่อเรื่องนั้นๆ โดยมีผู้ดำเนินรายการเชื่อมจากอีกท่านสู่อีกท่าน โดยพูดในเรื่องเดียวกันแต่ต่างมุมมอง) Symposium (การอภิปรายโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความคิดต่อเรื่องนั้นๆ โดยจะมีหัวข้อหลัก 1 หัวข้อและแยกย่อยเนื้อหาเป็นส่วนๆ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านจะรับผิดชอบอภิปรายเฉพาะส่วนนั้นๆ โดยพูดเฉพาะส่วนของตัวเองไม่ก้าวก่าย) Forum (การอภิปรายแบบ Panel หรือ Symposium ก็ได้แต่เน้นให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการพูดคุยและเปิดโอกาสให้ซักถามอย่างอิสระ) ซึ่งในไทยนั้นคิดว่าทั้งสามคำคือเรื่องเดียวกัน แต่ถ้าเราดูในรายละเอียดแล้วนั้นค่อนข้างต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่กลับกลายเป็นเรื่องดีที่ได้มีการผสมกันเนื่องจากสิ่งนั้น จะทำให้ได้เนื้อหาของเรื่องนั้นๆอย่างสมบูรณ์ที่สุด เพราะได้หลากหลายแง่มุม นอกจากนั้นยังมีช่วงท้ายที่ได้คลายข้อสงสัยหรือขยายประเด็นจากผู้ฟังอีกด้วย ซึ่งจะได้ประโยชน์อย่างมาก แต่สิ่งที่ควรระวังอย่างมากของการจัดแบบนี้คือ ..........ผู้พูด.......... ในทุกประเทศที่มีการจัดแนวนี้นั้นจะมีข่าวประเภท - ด่ากันกลางที่ประชุม - แขวะ.....จนออกอาการ - Walk Out - กระโดดต่อยหน้าผู้สัมมนา ผู้บรรยายท่านอื่น ฯลฯ ฉะนั้นตัวร้ายสุดของการสัมมนาในแบบนี้คือ อารมณ์ ทัศนคติ และความรู้สึก ผู้ดำเนินรายการจึงเป็นส่วนสำคัญในการลดปัญหาเหล่านี้ให้เกิดน้อยที่สุด และเพื่อป้องกันความเสี่ยงก็ควรต้องเลือกหัวข้อที่ไม่มีความสุ่มเสี่ยง เพื่อลดปัญหาที่จะตามมาจากการสัมมนาแบบนี้นั่นเอง พัดลม เอบีแอลแมน (อ.พัดลม อินโนเวท)

150 เครื่องมือที่ครู อาจารย์ วิทยากร ควรรู้จัก
เครื่องมือที่ 7 Panel Discussion
การอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญ

อีกหนึ่งเครื่องมือที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดสัมมนาวิชาการ
นั่งคือการทำการอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญ

เราเห็นกันบ่อยครั้งและเราก็ได้เรียกมันรวมๆเป็นคำไทยว่า "สัมมนา"
แต่แท้จริงแล้วนั้นในนิยามของการสัมมนาในรูปแบบนี้
สามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันทั้ง

Panel
(การอภิปรายโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความคิดต่อเรื่องนั้นๆ
โดยมีผู้ดำเนินรายการเชื่อมจากอีกท่านสู่อีกท่าน
โดยพูดในเรื่องเดียวกันแต่ต่างมุมมอง)

Symposium
(การอภิปรายโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความคิดต่อเรื่องนั้นๆ
โดยจะมีหัวข้อหลัก 1 หัวข้อและแยกย่อยเนื้อหาเป็นส่วนๆ
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านจะรับผิดชอบอภิปรายเฉพาะส่วนนั้นๆ
โดยพูดเฉพาะส่วนของตัวเองไม่ก้าวก่าย)

Forum
(การอภิปรายแบบ Panel หรือ Symposium
ก็ได้แต่เน้นให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการพูดคุยและเปิดโอกาสให้ซักถามอย่างอิสระ)

ซึ่งในไทยนั้นคิดว่าทั้งสามคำคือเรื่องเดียวกัน
แต่ถ้าเราดูในรายละเอียดแล้วนั้นค่อนข้างต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

แต่กลับกลายเป็นเรื่องดีที่ได้มีการผสมกันเนื่องจากสิ่งนั้น
จะทำให้ได้เนื้อหาของเรื่องนั้นๆอย่างสมบูรณ์ที่สุด เพราะได้หลากหลายแง่มุม
นอกจากนั้นยังมีช่วงท้ายที่ได้คลายข้อสงสัยหรือขยายประเด็นจากผู้ฟังอีกด้วย
ซึ่งจะได้ประโยชน์อย่างมาก

แต่สิ่งที่ควรระวังอย่างมากของการจัดแบบนี้คือ ..........ผู้พูด..........
ในทุกประเทศที่มีการจัดแนวนี้นั้นจะมีข่าวประเภท
- ด่ากันกลางที่ประชุม
- แขวะ.....จนออกอาการ
- Walk Out
- กระโดดต่อยหน้าผู้สัมมนา ผู้บรรยายท่านอื่น
ฯลฯ

ฉะนั้นตัวร้ายสุดของการสัมมนาในแบบนี้คือ อารมณ์ ทัศนคติ และความรู้สึก
ผู้ดำเนินรายการจึงเป็นส่วนสำคัญในการลดปัญหาเหล่านี้ให้เกิดน้อยที่สุด
และเพื่อป้องกันความเสี่ยงก็ควรต้องเลือกหัวข้อที่ไม่มีความสุ่มเสี่ยง
เพื่อลดปัญหาที่จะตามมาจากการสัมมนาแบบนี้นั่นเอง

พัดลม เอบีแอลแมน
(อ.พัดลม อินโนเวท)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น