โลกใบนี้ มีความสำเร็จให้กับคนที่ == สม่ำเสมอ == อยู่ตลอดเวลา
เรื่องราวในบทความที่ผมแชร์มานี้เล่าถึง นักสำรวจชาวนอร์เวย์ชื่อโรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen) และนักสำรวจชาวอังกฤษนั้นชื่อโรเบิร์ต ฟอลคอน สก๊อต (Robert Falcon Scott) ที่ต่างฝ่ายต่างที่จะพยายามพิชิตขั้วโลกใต้ให้ได้เป็นคนแรกของโลก ทั้งสองทีมออกเดินทางไปในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน
โดยทีมของอมุนด์เซ็น ได้ตั้งเป้าหมายว่า ไม่ว่าจะเจอสภาวะอากศที่ดี หรือไม่ดี ก็ต้องเดินทางให้ได้ 15 - 20 ไมล์ต่อวัน วันที่อากาศดี ก็เดินทางเท่านี้ล่ะครับ แล้วก็หยุดพักไม่ให้ร่างกายล้าเกินไป ส่วนวันที่ต้องเจอกับสภาพอากาศที่เลวร้าย ก็จะพยายามกัดฟันไปให้ได้สัก 20 ไมล์ ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องเอาให้ได้สัก 15 ไมล์
แผนการเดินทางนี้แตกต่างจากทีมของสก๊อตราวฟ้ากับเหว สำหรับทีมของสก๊อตในวันที่ท้องฟ้าเป็นใจ พวกเขาจะเดินทางให้ได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ แบบไม่เหนื่อยเจียนตายก็จะไม่เลิก ส่วนวันไหนอากาศไม่ดี ก็จะหยุดพักโทษฟ้าโทษฝนไปเรื่อย
ปรากฎว่าในวันที่ 14 ธันวาคม 1911 ทีมของอมุนด์เซนก็ประสบความสำเร็จด้วยการเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่พิชิตขั้วโลกใต้
กว่าทีมของสก๊อตจะไปถึง ก็หลังจากที่ทีมของอมุนด์เซ็นปักธงชาตินอร์เวย์ไปแล้วตั้ง 35 วันแน่ะครับ ที่แย่ำปกว่านั้นก็คือ ทีมของสก๊อตไม่มีใครรอดชีวิตกลับอังกฤษได้เลยแม้แต่คนเดียว
คนเรานะครับ ถ้ารู้จักที่จะย่อยเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ให้กลายเป็นเป้าหมายย่อยๆ และพยายามทำมันให้ได้มนทุกๆ วัน ไม่ว่าวันนั้นมันจะมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นก็ตาม ก็จะไม่เอาอุปสรรคเหล่านั้นมาเป็นข้ออ้างในการเบี้ยวไม่ทำตามเป้าหมาย ชีวิตมันก็จะเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเรื่อยๆ จนเคยชินเป็นนิสัย ไม่ท้อ ไม่ล้า สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที
ถ้าเรามัวแต่ "รอคอย" จังหวะที่ดี โอกาสที่เหมาะ แล้วเราถึงจะลงมือทำ เราจะไม่ได้ลงมือทำอะไรเสียที เพราะใจเราจะมัวคิดแต่ว่า พรุ่งนี้อาจจะมีจังหวะที่ดีกว่านี้ก็ได้ พอพรุ่งนี้เจอปัญหากวนใจสักหน่อย ก็จะนึกถึงแต่เมื่อวาน "รู้งี้ทำเมื่อวานก็ดี รออีกหน่อยดีกว่า" พอเงลาผ่านไปเรื่อยๆ จนเวลางวดเข้ามาทุกที สุดท้ายไฟลนก้น ดินพอดหางหมู ต่อให้กวดสุดชีวิต ทำมัน 24 ชั่วโมง มันก็ไม่มีทีท่าว่าจะเสร็จ ถึงเสร็จก็เสร็จแบบส่งเดช คาดหวังความสำเร็จอะไรไม่ได้ ยิ่งทำก็ยิ่งท้อ ยิ่งท้อก็ยิ่งอู้ ยิ่งอู้ก็ยิ่งล้มเหลว
ความสำเร็จในโลกใบนี้ มีไว้สำหรับคนที่สม่ำเสมอเท่านั้นครับ
กฎ 20 ไมล์
ในปีค.ศ.1911 สองนักสำรวจชาวนอร์เวย์และอังกฤษแข่งกันว่า ใครจะสามารถพิชิตขั้วโลกใต้ได้เป็นคนแรก
นักสำรวจชาวนอร์เวย์ชื่อโรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen)
ส่วนนักสำรวจชาวอังกฤษนั้นชื่อโรเบิร์ต ฟอลคอน สก๊อต (Robert Falcon Scott)
ทั้งสองคนอายุพอๆ กัน มีประสบการณ์พอๆ กัน ออกเดินทางในเวลาไล่เลี่ยกัน แถมในช่วงสองเดือนแรกหลังจากออกเดินทาง ทั้งสองคณะยังเจอวันที่อากาศแย่พอๆ กันด้วย (อ้างอิงจากสมุดบันทึกที่ทั้งสองคนเขียนเอาไว้)
ในวันที่ 14 ธันวาคม 1911 คณะของอมุนด์เซนได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่พิชิตขั้วโลกใต้
ผ่านไปอีก 35 วัน กว่าคณะของสก๊อตจะเดินทางมาถึง และได้เห็นภาพอันน่าเจ็บปวดเป็นธงชาตินอร์เวย์ที่ปักอยู่ก่อนแล้ว
(อย่าลืมว่าในยุคนั้นยังไม่มีเครื่องมือสื่อสารใดๆ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงไม่มีทางรู้ว่าแต่ละคนเดินทางถึงไหนกันแล้วจนกว่าจะมาถึงขั้วโลกใต้และเห็นว่ามีธงปักอยู่หรือไม่)
คณะของอมุนเซนด์นั้นเดินทางกลับไปยัง Framheim ซึ่งเป็น Basecamp และประกาศให้โลกรับรู้ถึงความสำเร็จในวันที่ 25 มกราคม 1912
แต่คณะของสก๊อตไม่มีใครเหลือรอดกลับมาซักคนเดียว ทุกคนเสียชีวิตระหว่างทางอันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่เลวร้ายลง
อะไรคือความแตกต่างของคณะของอมุนเซนด์ชาวนอร์เวย์และคณะของสก๊อตชาวอังกฤษ?
ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ อมุนเซนด์นั้นจะเดินทางวันละประมาณ 15-20 ไมล์เสมอ
แม้เวลาเจออากาศดีๆ สามารถเดินทางได้วันละ 30 ไมล์ แต่อมุนเซนด์ก็ยังเลือกที่จะเดินทางไม่เกิน 20 ไมล์อยู่ดี เพื่อให้คณะไม่ล้าจนเกินไป
แต่ในวันที่อากาศเลวร้ายมากๆ อมุนเซนด์ก็ยังออกเดินทาง แม้จะไปได้แค่ 10-15 ไมล์ก็ยังดี
ส่วนสก๊อตนั้นแตกต่าง ในวันที่อากาศแย่ๆ เขาและคณะจะหลบอยู่ในเต๊นท์และเขียนบันทึกแบบเซ็งๆ ว่าวันนี้อากาศไม่เป็นใจเอาเสียเลย
แต่ถ้าวันไหนอากาศดีมาก สก๊อตก็จะบุกตะลุยให้ได้ระยะไกลที่สุดเพื่อชดเชยวันที่ไม่ได้เดินทาง แต่การทำเช่นนั้นส่งผลให้คณะของสก๊อตเหนื่อยล้าเกินไป พอวันไหนที่อากาศแย่ๆ จึงไม่มีแรงใจและแรงกายพอที่จะทำอะไร
และนี่คือที่มาของกฎ 20 ไมล์ที่ผมอยากพูดถึงในวันนี้
ถ้าเราอยากจะประสบความสำเร็จในเรื่องใด เราควรจะสร้างความก้าวหน้าในเรื่องนั้นทุกวัน
ไม่ว่าวันนั้นจะเจอเรื่องร้ายดีอย่างไร ‘สภาพอากาศ’ จะไม่เป็นใจแค่ไหน เราก็ไม่ควรหยุดเคลื่อนที่
และแม้ว่าวันไหนจะเส้นทางสดใสหรือเราจะมีกำลังเต็มพิกัด ก็ต้องระวังไม่หักโหมเกินไปจนเราไม่ได้พักผ่อน
ผมเองก็เหมือนจะใช้กฎ 20 ไมล์นี้โดยไม่รู้ตัว คือเขียนบล็อกวันละหนึ่งตอนมาปีครึ่งแล้ว และตั้งใจจะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
ลองดูนะครับ หาเป้าหมายหนึ่งที่มีคุณค่ากับเรา และเดินตามกฎ 20 ไมล์นี้ทุกวัน
วันหนึ่ง เราอาจพิชิตขั้วโลกใต้ของตัวเองก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น